คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 388

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3468/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การบอกเลิกสัญญาและการปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทน
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้ระบุชัดแจ้งว่าหากโจทก์ผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองผู้ขายตามกำหนดสัญญาจะซื้อจะขายเป็นอันเลิกกันทันที แม้เช็คที่โจทก์สั่งจ่ายให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นการชำระราคาที่เหลือจะถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็ตาม แต่วัตถุประสงค์แห่งสัญญานั้นเห็นได้ว่า โดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้ มิใช่ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 388 สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 กล่าวคือ จำเลยทั้งสองจะต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระราคาที่เหลือภายในระยะเวลาพอสมควรก่อนถ้าโจทก์ไม่ชำระภายในระยะเวลาดังกล่าวนั้น จำเลยทั้งสองจึงจะบอกเลิกสัญญาเสียได้ การที่จำเลยทั้งสองทราบว่า ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วจำเลยทั้งสองไม่ไปที่สำนักงานที่ดินในวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน และต่อมาได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายนั้นจำเลยทั้งสองยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา การซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์อยู่ในฐานะพร้อมที่จะสามารถชำระหนี้ได้จะถือว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาในอันที่จะต้องชำระเบี้ยปรับและใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน, การผิดสัญญา, การเลิกสัญญา, การคืนสภาพเดิม
การที่โจทก์จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยกำหนดวันที่จำเลยผู้จะขายจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ผู้จะซื้อไว้ แต่เมื่อถึงกำหนดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญาดังกล่าวแล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทวงถามให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยก็รับเงินค่าที่ดินจากโจทก์เพิ่มขึ้นอีก โจทก์จำเลยปล่อยล่วงเวลามานานเช่นนี้แสดงว่าคู่กรณีไม่ถือเอาเวลาตามที่กำหนดไว้เป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยมีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและชำระราคาที่ดินที่ค้าง โดยกำหนดเวลาตามสมควรแล้วโจทก์ไม่ไปตามนัด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และสัญญาเป็นอันเลิกกันตามที่จำเลยบอกกล่าว คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยโจทก์ต้องคืนที่ดินให้แก่จำเลย และจำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำแต่ต้องคืนค่าที่ดินที่ได้รับล่วงหน้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการถือเอากำหนดเวลาชำระเงินเป็นสาระสำคัญของสัญญาซื้อขาย และสิทธิในการบอกเลิกสัญญา
ทางปฏิบัติของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อขายสินค้าที่ถือปฏิบัติต่อกันมาไม่ได้ถือเอากำหนดเวลาการชำระเงินที่ได้ตกลงกันไว้ตามใบสั่งโดยเคร่งครัด แสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดระยะเวลาในการชำระเงินเป็นสาระสำคัญตามสัญญาดังที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 388 ทั้งข้อสัญญาตามใบสั่งครั้งแรกก็ไม่ได้ระบุชัดแจ้งว่าหากโจทก์ไม่ชำระเงินภายใน 7 วัน นับจากวันที่รับของ สัญญาซื้อขายเป็นอันเลิกกันทันที ฉะนั้นจำเลยที่ 1 จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ก็ต่อเมื่อได้แจ้งให้โจทก์ชำระเงินภายใน 7 วัน นับจากวันที่รับของตามใบสั่งครั้งแรกในงวดต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 และจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสิทธิเลิกสัญญาตามใบสั่งครั้งที่สองและครั้งที่สาม เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยจะกล่าวอ้างว่าฐานะทางการเงินของโจทก์ไม่ดี เกรงว่าจะไม่ได้รับชำระเงินมาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1762/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: ความรับผิดของผู้รับเหมาที่ผิดสัญญาและค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
จำเลยที่ 1 เพียงแต่มีหนังสือแจ้งว่าบริษัท ก. จำกัดผู้รับเหมาร่วมละทิ้งงาน จำเลยที่ 1 ขออนุมัติเป็นผู้ก่อสร้างทางต่อไปและขอรับเงินค่าจ้างตามผลงานที่ดำเนินการไปแล้วเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการก่อสร้างต่อไป ต่ออธิบดีกรมทางหลวงเท่านั้น โดยจำเลยที่ 1 ไม่เคยเสนอข้อขัดแย้งในการทำงานดังกล่าวเป็นลักษณะของข้อพิพาทให้อธิบดีกรมทางหลวงวินิจฉัยชี้ขาดตามเงื่อนไขของสัญญาจ้างมาแต่ประการใด ดังนั้นอธิบดีกรมทางหลวงจึงไม่มีหน้าที่ต้องวินิจฉัยชี้ขาดข้อขัดแย้งดังกล่าว และไม่จำต้องจัดให้มีอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก่อนฟ้องคดีโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาว่าจ้างตามหนังสือสัญญาว่าจ้างเอกสารหมาย จ.2 และเงื่อนไขของสัญญาตามเอกสารหมาย จ.3 ซึ่งโจทก์ได้บอกเลิกสัญญานั้นแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างผิดสัญญานั้น แม้ค่าวิศวกรที่ปรึกษาที่โจทก์เรียกมาจะมิได้มีระบุไว้ในสัญญาว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาแล้วจะต้องรับผิดในเงินค่าวิศวกรที่ปรึกษา แต่การทำงานสร้างทางพิพาทจะต้องมีวิศวกรที่ปรึกษาไว้ให้คำแนะนำ ควบคุมงานและเร่งรัดงานให้จำเลยที่ 1 ทำให้แล้วเสร็จภายในกำหนด เมื่อจำเลยที่ 1 ตก เป็นผู้ผิดสัญญาทำให้โจทก์ต้องประมูลงานใหม่ จ้างบริษัท ป. จำกัด สร้างทางพิพาทต่อจากจำเลยที่ 1 โจทก์ก็ต้องจ้างวิศวกรที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำ ควบคุมงานต่อไปจนเสร็จ จึงเป็นผลโดยตรงจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในค่าเสียหายส่วนนี้ด้วย สำหรับจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดสัญญาต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัดชำระหลายงวดต่อเนื่อง ยึดทรัพย์ได้ แม้โจทก์เคยผ่อนผัน
แม้สัญญาเช่าซื้อระบุชัดแจ้งว่า ผู้เช่าซื้อจะต้อง ชำระเงินตาม ที่กำหนดไว้ในรายการ แต่ ปรากฏว่าเมื่อจำเลยผู้เช่าซื้อได้ชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลาทุกงวด โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อ ก็ยอมรับโดย มิได้ทักท้วงและออกใบเสร็จรับเงินระบุเป็นการ ชำระ ค่าเช่าซื้องวดที่ค้างชำระ จึงถือ ได้ ว่าคู่สัญญามิได้ ถือ เอากำหนดเวลาชำระเป็นสำคัญแต่ ถือ เอา การชำระตาม งวดเป็น ข้อสำคัญ แต่ จำเลยมิได้ชำระค่างวด 5 งวดติดต่อ กัน จึงเป็น การ ค้าง ชำระติดต่อ กันเกิน 2 งวดแล้ว อันเป็นการผิดสัญญาใน ข้อสำคัญ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3974/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขาย, หนังสือค้ำประกัน, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามสัญญาซื้อขายข้อ 3 มีใจความว่า จำเลยที่ 1 ผู้ขายจะส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายตามสัญญาให้แก่โจทก์ผู้ซื้อภายในกำหนด 200วัน นับแต่วันลงนามในสัญญาเป็นต้นไป โดยแบ่งการส่งมอบออกเป็น4 งวด ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และได้กำหนดจำนวนเงินค่าสิ่งของแต่ละงวดเอาไว้ด้วย นอกจากนี้ตามสัญญาข้อ 5 วรรคสองมีข้อความว่าการจ่ายเงินจะจ่ายให้ตามงวดที่ผู้ขายได้ส่งของถูกต้องครบถ้วนทุกรายการ และคณะกรรมการได้ทำการตรวจรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามสัญญาดังกล่าวจะเห็นว่าการตกลงให้ผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้แก่ผู้ซื้อเป็นงวด ๆ มีกำหนดเวลาแน่นอน นับว่าเป็นสาระสำคัญและเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งของสัญญา เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบสิ่งของสำหรับงวดที่ 1 และงวดที่ 2 ภายในกำหนด ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในสัญญาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด200 วันได้
สัญญาซื้อขายข้อ 7 มีข้อความว่า "ในวันทำสัญญานี้ผู้ขายได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นจำนวนร้อยละ10 (สิบ) ของราคาสิ่งของทั้งหมดตามสัญญานี้คิดเป็นเงิน 1,085,480 บาท มามอบไว้แก่ผู้ซื้อเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานี้..."และวรรคสองมีข้อความว่า "หลักประกันที่ผู้ขายนำมามอบให้ตามวรรคหนึ่งผู้ซื้อจะคืนให้เมื่อผู้ขายพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญานี้แล้ว" และสัญญาข้อ 8 วรรคสอง มีข้อความว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร..." จากข้อความในสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่า การทำสัญญาระหว่างโจทก์ผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้ขายนี้โจทก์ต้องการจะให้จำเลยที่ 1 มีหลักประกันมาวางเพื่อเป็นการปฏิบัติตามสัญญา และจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันได้ถ้าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา แต่หลักประกันที่จำเลยที่ 1 นำมาวางนี้เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์รับรองที่จะชำระเงินให้โจทก์ทันทีถ้าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและโจทก์ใช้สิทธิริบหลักประกันดังที่ปรากฏในหนังสือค้ำประกันข้อ 1 วรรคสอง ซึ่งมีข้อความว่า "ข้าพเจ้า(จำเลยที่ 3) ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค (จำเลยที่ 1) ต่อกรมตำรวจ (โจทก์) เป็นวงเงินไม่เกิน 1,085,480 บาท กล่าวคือ หากห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายแผ่นป้ายอลูมิเนียม อัดวัสดุสะท้อนแสงและสีดำอบ แห้งที่ทำไว้กับกรมตำรวจหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าว ซึ่งกรมตำรวจมีสิทธิริบหลักประกันหรือค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค ได้แล้ว ข้าพเจ้ายอมชำระเงินแทนให้ทันทีโดยมิต้องเรียกร้องให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค ชำระก่อน" เมื่อข้อสัญญาเป็นดังนี้ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญามีความประสงค์ที่จะผูกพันกันว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญา เป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิริบหลักประกันแล้วจำเลยที่ 3 รับรองที่จะใช้เงินจำนวน 1,085,480 บาท ให้แก่โจทก์ทันที สัญญาดังกล่าวนี้ย่อมมีผลใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาได้และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวน 1,085,480 แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3974/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายและริบหลักประกันเมื่อผู้ขายผิดสัญญา ส่งมอบสิ่งของไม่ตรงตามกำหนด
ตามสัญญาซื้อขายข้อ 3 มีใจความว่า จำเลยที่ 1 ผู้ขายจะส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายตามสัญญาให้แก่โจทก์ผู้ซื้อภายในกำหนด 200วัน นับแต่วันลงนามในสัญญาเป็นต้นไป โดยแบ่งการส่งมอบออกเป็น4 งวด ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และได้กำหนดจำนวนเงินค่าสิ่งของแต่ละงวดเอาไว้ด้วย นอกจากนี้ตามสัญญาข้อ 5 วรรคสองมีข้อความว่าการจ่ายเงินจะจ่ายให้ตามงวดที่ผู้ขายได้ส่งของถูกต้องครบถ้วนทุกรายการ และคณะกรรมการได้ทำการตรวจรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามสัญญาดังกล่าวจะเห็นว่าการตกลงให้ผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้แก่ผู้ซื้อเป็นงวด ๆ มีกำหนดเวลาแน่นอน นับว่าเป็นสาระสำคัญและเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งของสัญญา เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบสิ่งของสำหรับงวดที่ 1 และงวดที่ 2ภายในกำหนด ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในสัญญาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด200 วันได้ สัญญาซื้อขายข้อ 7 มีข้อความว่า "ในวันทำสัญญานี้ผู้ขายได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นจำนวนร้อยละ10(สิบ) ของราคาสิ่งของทั้งหมดตามสัญญานี้คิดเป็นเงิน 1,085,480บาท มามอบไว้แก่ผู้ซื้อเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานี้..."และวรรคสองมีข้อความว่า "หลักประกันที่ผู้ขายนำมามอบให้ตามวรรคหนึ่งผู้ซื้อจะคืนให้เมื่อผู้ขายพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญานี้แล้ว" และสัญญาข้อ 8 วรรคสอง มีข้อความว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร..." จากข้อความในสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่า การทำสัญญาระหว่างโจทก์ผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้ขายนี้โจทก์ต้องการจะให้จำเลยที่ 1 มีหลักประกันมาวางเพื่อเป็นการปฏิบัติตามสัญญา และจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันได้ถ้าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา แต่หลักประกันที่จำเลยที่ 1 นำมาวางนี้เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์รับรองที่จะชำระเงินให้โจทก์ทันทีถ้าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและโจทก์ใช้สิทธิริบหลักประกันดังที่ปรากฏในหนังสือค้ำประกันข้อ 1 วรรคสอง ซึ่งมีข้อความว่า "ข้าพเจ้า(จำเลยที่ 3) ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค (จำเลยที่ 1) ต่อกรมตำรวจ (โจทก์) เป็นวงเงินไม่เกิน 1,085,480 บาท กล่าวคือ หากห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายแผ่นป้ายอลูมิเนียม อัดวัสดุสะท้อนแสงและสีดำอบ แห้งที่ทำไว้กับกรมตำรวจหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าว ซึ่งกรมตำรวจมีสิทธิริบหลักประกันหรือค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค ได้แล้ว ข้าพเจ้ายอมชำระเงินแทนให้ทันทีโดยมิต้องเรียกร้องให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีเสาวภาค ชำระก่อน" เมื่อข้อสัญญาเป็นดังนี้ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญามีความประสงค์ที่จะผูกพันกันว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญา เป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิริบหลักประกันแล้วจำเลยที่ 3 รับรองที่จะใช้เงินจำนวน 1,085,480 บาท ให้แก่โจทก์ทันที สัญญาดังกล่าวนี้ย่อมมีผลใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยที่ 1ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาได้และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวน 1,085,480 แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3974/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายและการบังคับใช้หนังสือค้ำประกันเมื่อผู้ขายผิดสัญญา
สัญญาซื้อขายข้อ 3 มีใจความว่า จำเลยที่ 1 ผู้ขายจะส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายตามสัญญาให้แก่โจทก์ผู้ซื้อภายในกำหนด200 วัน นับแต่วันลงนามในสัญญาเป็นต้นไป โดยแบ่งการส่งมอบออกเป็น 4 งวด ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และได้กำหนดจำนวนเงินค่าสิ่งของแต่ละงวดเอาไว้ด้วย นอกจากนี้ตามสัญญาข้อ 5 วรรคสอง มีข้อความว่า การจ่ายเงินจะจ่ายให้ตามงวดที่ผู้ขายได้ส่งของถูกต้องครบถ้วนทุกรายการ และคณะกรรมการได้ทำการตรวจรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามสัญญาดังกล่าวการตกลงให้ผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้แก่ผู้ซื้อเป็นงวด ๆ มีกำหนดเวลาแน่นอนนับว่าเป็นสาระสำคัญและเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งของสัญญาเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบสิ่งของสำหรับงวดที่ 1 และงวดที่ 2ภายในกำหนด ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในสัญญาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด200 วันได้ สัญญาซื้อขายข้อ 7 และข้อ 8 มีใจความว่า ในวันทำสัญญานี้ ผู้ขายได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นจำนวนร้อยละ 10(สิบ) ของราคาสิ่งของทั้งหมดตามสัญญานี้คิดเป็นเงิน 1,085,480 บาท มามอบไว้แก่ผู้ซื้อเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานี้ หลักประกันที่ผู้ขายนำมามอบให้ตามวรรคหนึ่งผู้ซื้อจะคืนให้เมื่อผู้ขายพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญานี้แล้ว ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันเป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร การทำสัญญาระหว่างโจทก์ผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้ขายนี้โจทก์ต้องการจะให้จำเลยที่ 1 มีหลักประกันมาวางเพื่อเป็นการปฏิบัติตามสัญญาและจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันได้ถ้าจำเลยที่ 1ผิดสัญญา แต่หลักประกันที่จำเลยที่ 1 นำมาวางนี้เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์รับรองที่จะชำระเงินให้โจทก์ทันทีถ้าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและโจทก์ใช้สิทธิริบหลักประกันทั้งนี้โดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อน สัญญาดังกล่าวนี้ย่อมมีผลใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาได้และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวน 1,085,480 บาทแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาพิมพ์หนังสือไดเร็กตอรี่ การส่งมอบงานช้า และการชำระหนี้
จำเลยสั่งโจทก์พิมพ์หนังสือไดเร็คตอรี่ จำนวน 5,000 เล่มเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2525 โดยกำหนดให้ส่งมอบในวันที่ 8ธันวาคม 2525 มีเวลาให้โจทก์ทำงานและส่งมอบเพียง 13 วันซึ่งไม่สามารถทำได้ทัน โดยจำเลยได้ตกลงผ่อนผันให้ทยอยส่งและให้ทำอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ จำเลยไม่ได้ถือเอาวันที่ 8 ธันวาคม2525 เป็นข้อสำคัญ ทั้งจำเลยก็ส่งต้นฉบับให้โจทก์ล่าช้า แต่โจทก์ก็ได้จัดพิมพ์และทยอยส่งให้จำเลยจนครบเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2526จำเลยรับไว้โดยมิได้บอกกล่าวเลิกสัญญาต่อโจทก์ จึงไม่ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาพิมพ์หนังสือ: การส่งมอบล่าช้า, การผ่อนผัน, และการรับมอบโดยไม่มีข้อโต้แย้งถือเป็นการรับทราบสัญญา
จำเลยสั่งโจทก์พิมพ์หนังสือไดเร็คตอรี่ จำนวน 5,000 เล่ม เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2525 โดยกำหนดให้ส่งมอบในวันที่ 8 ธันวาคม2525 มีเวลาให้โจทก์ทำงานและส่งมอบเพียง 13 วัน ซึ่งโจทก์ไม่สามารถทำได้ทันแต่จำเลยได้ตกลงผ่อนผันให้ทะยอนส่งและให้ทำอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ จำเลยไม่ได้ถือเอาวันที่ 8ธันวาคม 2525 เป็นข้อสำคัญ ทั้งจำเลยก็ส่งต้นฉบับไปให้โจทก์ล่าช้า แต่โจทก์ก็ได้จัดพิมพ์และทะยอยส่งให้จำเลยครบเมื่อวันที่7 กุมภาพันธ์ 2526 เมื่อจำเลยรับไว้โดยมิได้บอกกล่าวเลิกสัญญาต่อโจทก์ จึงไม่ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 15