พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331-1332/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้ที่มีประกันเท่ากัน พิจารณาหนี้ดอกเบี้ยสูงก่อน และการลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน
ในบรรดาหนี้ที่ถึงกำหนดชำระพร้อมกันและมีประกันเท่ากันหนี้ที่มี ดอกเบี้ย สูงกว่า เป็นหนี้รายที่ตกหนักแก่ลูกหนี้มากกว่าจึงควรได้รับการปลดเปลื้องไปก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 แม้จะมีข้อสัญญากำหนดเบี้ยปรับที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์เมื่อผิดสัญญาแต่การที่จำเลยไม่ได้ชำระหนี้ใช้ทุนฝึกอบรมครบถ้วนเป็นเพราะโจทก์มีส่วนอนุญาตให้จำเลยไปศึกษาต่อต่างประเทศเป็นเหตุให้จำเลยไม่กลับมาใช้ทุนและลาออกจากราชการไป การคิดเอาเบี้ยปรับสองเท่าจึงเป็นจำนวนที่สูงเกินส่วน ศาลลดลงได้ ตามป.พ.พ. มาตรา 383.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้ภาษีอากรและเงินเพิ่ม: หนี้เก่ากว่าปลดเปลื้องก่อน แม้ธนาคารค้ำประกันชำระเกิน
ที่พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 จัตวา บัญญัติว่า เมื่อผู้นำของเข้านำเงินมาชำระค่าภาษีอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระจนถึงวันที่นำเงินมาชำระนั้น เห็นว่า เงินเพิ่มตามมาตรานี้มิใช่ดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 โจทก์จึงจะนำเงินที่ธนาคารค้ำประกันมาหักชำระเงินเพิ่มค่าภาษีอากรก่อนไม่ได้ กรณีนี้เป็นเรื่องลูกนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย หนี้ถึงกำหนดชำระพร้อมกัน หนี้รายที่เก่าที่สุดเป็นอันได้เปลื้องไปก่อน เมื่อหนี้ค่าภาษีอากรเป็นหนี้เก่ากว่าหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากร ดังนี้หนี้ค่าภาษีอากรย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ภาษีอากรและเงินเพิ่ม: หนี้เก่ากว่าปลดเปลื้องก่อน
ที่พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 จัตวาบัญญัติว่า เมื่อผู้นำของเข้านำเงินมาชำระค่าภาษีอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระจนถึงวันที่นำเงินมาชำระนั้น เห็นว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้ มิใช่ดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 329 โจทก์จึงจะนำเงินที่ธนาคารค้ำประกันมาหักชำระเงินเพิ่มค่าภาษีอากรก่อนไม่ได้ กรณีนี้เป็นเรื่องลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย หนี้ถึงกำหนดชำระพร้อมกัน หนี้รายที่เก่าที่สุดเป็นอันได้เปลื้องไปก่อน เมื่อหนี้ค่าภาษีอากรเป็นหนี้เก่ากว่าหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากร ดังนี้ หนี้ค่าภาษีอากรย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยการส่งมอบสินค้า: การจัดสรรชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328
จำเลยออกเช็คพิพาทใช้หนี้โจทก์ และเป็นหนี้โจทก์ตามใบส่งของซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยนำเงินตามเช็คไปชำระ และโจทก์ได้รับอะลูมินั่มไฮดรอกไซด์ที่จำเลยส่งมาให้โดยไม่ระบุในใบรับว่าหักบัญชีหรือชำระหนี้รายไหน ดังนี้กรณีต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328 โจทก์จัดสรรชำระหนี้ตามความพอใจของโจทก์ไม่ได้ ฟังได้ว่าจำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทซึ่งถึงกำหนดชำระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชำระหนี้หลายราย - ลำดับความสำคัญผู้ค้ำประกัน
หนี้หลายรายลูกหนี้ชำระโดยไม่ระบุว่าชำระรายไหนต้องจัดเป็นชำระรายที่ไม่มีผู้ค้ำประกันก่อนรายที่มีผู้ค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2081-2082/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัด ค่าเสียหายเรียกได้ภายใน 10 ปี แม้โจทก์รับชำระหนี้หลังผิดนัด
จำเลยเช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์ 3 ครั้ง ตามสัญญา 3 ฉบับ รวม 21 คันโดยชำระเงินในวันทำสัญญาแต่ละฉบับจำนวนหนึ่ง ส่วนที่เหลือนั้นผ่อนชำระเป็นงวดค่าเช่าซื้อที่จำเลยส่งชำระให้แก่โจทก์นั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ระบุให้ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถคันใดโดยเฉพาะ จึงเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328 ซึ่งถ้าลูกหนี้ไม่ได้ระบุว่าชำระหนี้รายใด ก็ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดชำระเงินค่าเช่าซื้อโดยไม่ชำระตรงตามวันและเดือนที่กำหนดไว้มาแต่เริ่มแรกและในระยะหลังๆ ก็ผิดนัดกว่า 2 เดือน ถึง 7 เดือน ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อให้ถือว่าโจทก์มีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อได้ทันที และจำเลยต้องส่งรถคืนโจทก์ แต่โจทก์ก็ยอมผ่อนผันไม่ติดตามเอารถคืน ยังคงรับเงินจากจำเลยแบ่งเฉลี่ยชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อทั้ง 3 ฉบับ ยิ่งกว่านั้นเมื่อโจทก์ออกใบรับเงินให้จำเลย จำเลยก็มิได้ทักท้วงหรือโต้แย้ง จึงต้องถือว่าการแบ่งเฉลี่ยหนี้ของโจทก์เป็นไปตามความประสงค์ของจำเลยแล้ว จำเลยจะมาระบุว่าชำระหนี้สินรายใด ให้หนี้สินรายนั้นได้เปลื้องไปอีกหาได้ไม่
จำเลยชำระหนี้ค่าเช่าซื้อไม่ตรงตามกำหนดเวลา โจทก์ก็ยอมผ่อนผันให้จำเลยชำระไม่บังคับตามสัญญาทันที ทั้ง ๆที่สัญญาเช่าซื้อกำหนดไว้ว่า เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใด หรือผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นอันมีผลบังคับทันที บรรดาเงินที่ชำระแล้วให้โจทก์ริบทั้งสิ้น และจำเลยต้องส่งรถคืนแล้วจำเลยก็ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อเกิน 2 ครั้งแล้วแต่ยังคงครอบครองและใช้รถเหล่านั้นตลอดมา โจทก์จึงได้ติดตามยึดรถคืน แต่หลังจากจำเลยผิดสัญญาแล้ว โจทก์ยังยอมรับชำระเงินจากจำเลยทั้งๆ ที่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว โดยโจทก์ไม่ใช้สิทธิกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อจึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับเงินจากจำเลยเป็นค่าเสียหายในการที่จำเลยใช้รถที่เช่าซื้อนั่นเอง ดังนี้ โจทก์จะเรียกค่าเสียหายในระหว่างผิดนัดถึงวันที่จำเลยชำระเงินครั้งสุดท้ายซ้ำอีกไม่ได้คงเรียกค่าเสียหายได้ตั้งแต่วันชำระเงินครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่โจทก์กลับเข้าครอบครองรถที่เช่าซื้อนั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ว่าด้วยเช่าซื้อมิได้บัญญัติเรื่องอายุความสำหรับฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาและยังใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อนั้นอยู่ไว้โดยตรง ผู้ให้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เพราะมิใช่ค่าเสียหายฐานละเมิด ส่วนการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและเรียกให้ผู้เช่าซื้อส่งทรัพย์คืนหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนนั้น ก็เป็นเรื่องที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์สินคืน ย่อมมีอายุความ 10 ปีเช่นกัน
จำเลยชำระหนี้ค่าเช่าซื้อไม่ตรงตามกำหนดเวลา โจทก์ก็ยอมผ่อนผันให้จำเลยชำระไม่บังคับตามสัญญาทันที ทั้ง ๆที่สัญญาเช่าซื้อกำหนดไว้ว่า เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใด หรือผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นอันมีผลบังคับทันที บรรดาเงินที่ชำระแล้วให้โจทก์ริบทั้งสิ้น และจำเลยต้องส่งรถคืนแล้วจำเลยก็ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อเกิน 2 ครั้งแล้วแต่ยังคงครอบครองและใช้รถเหล่านั้นตลอดมา โจทก์จึงได้ติดตามยึดรถคืน แต่หลังจากจำเลยผิดสัญญาแล้ว โจทก์ยังยอมรับชำระเงินจากจำเลยทั้งๆ ที่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว โดยโจทก์ไม่ใช้สิทธิกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อจึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับเงินจากจำเลยเป็นค่าเสียหายในการที่จำเลยใช้รถที่เช่าซื้อนั่นเอง ดังนี้ โจทก์จะเรียกค่าเสียหายในระหว่างผิดนัดถึงวันที่จำเลยชำระเงินครั้งสุดท้ายซ้ำอีกไม่ได้คงเรียกค่าเสียหายได้ตั้งแต่วันชำระเงินครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่โจทก์กลับเข้าครอบครองรถที่เช่าซื้อนั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ว่าด้วยเช่าซื้อมิได้บัญญัติเรื่องอายุความสำหรับฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาและยังใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อนั้นอยู่ไว้โดยตรง ผู้ให้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เพราะมิใช่ค่าเสียหายฐานละเมิด ส่วนการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและเรียกให้ผู้เช่าซื้อส่งทรัพย์คืนหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนนั้น ก็เป็นเรื่องที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์สินคืน ย่อมมีอายุความ 10 ปีเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าข้าวโพด, การหักกลบลบหนี้, และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
หนี้ที่โจทก์ฟ้องเกิดจากการที่จำเลยซื้อข้าวโพดและโจทก์ได้มอบข้าวโพดให้จำเลยไปแล้ว กรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีหนังสือมาแสดง โจทก์จึงนำพยานบุคคลมาสืบเพิ่มเติมได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
โจทก์เป็นผู้ประกอบกสิกรรมเรียกร้องเอาค่าข้าวโพดอันเป็น ผลิตผลแห่งกสิกรรมจึงมีอายุความ 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคท้าย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 807-808/2510)
จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดรถแทรกเตอร์แทนโจทก์โดยในขณะนั้นหนี้ค่าข้าวโพดของโจทก์ที่มีต่อจำเลยยังไม่ขาดอายุความ ถ้าโจทก์จะนำหนี้ค่าข้าวโพดมาหักกลบลบกับหนี้ค่าเช่าซื้องวดรถแทรกเตอร์ซึ่งจำเลยมีต่อโจทก์ย่อมทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 344 และเมื่อโจทก์ขอหักกลบลบหนี้ ก็ต้องหักกลบลบหนี้กับหนี้ค่าข้าวโพดที่เก่าที่สุด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 348
โจทก์เป็นผู้ประกอบกสิกรรมเรียกร้องเอาค่าข้าวโพดอันเป็น ผลิตผลแห่งกสิกรรมจึงมีอายุความ 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคท้าย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 807-808/2510)
จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดรถแทรกเตอร์แทนโจทก์โดยในขณะนั้นหนี้ค่าข้าวโพดของโจทก์ที่มีต่อจำเลยยังไม่ขาดอายุความ ถ้าโจทก์จะนำหนี้ค่าข้าวโพดมาหักกลบลบกับหนี้ค่าเช่าซื้องวดรถแทรกเตอร์ซึ่งจำเลยมีต่อโจทก์ย่อมทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 344 และเมื่อโจทก์ขอหักกลบลบหนี้ ก็ต้องหักกลบลบหนี้กับหนี้ค่าข้าวโพดที่เก่าที่สุด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 348
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบังคับคดีหนี้ค่าเล่าเรียนรายปี: เริ่มนับหนึ่งเมื่อถึงปีที่ต้องชำระ และบังคับเรียงตามลำดับ
หนี้ตามคำพิพากษา ถ้าหากเกิดขึ้นเป็นรายปีเรียงกันไป ก็ต้องบังคับเรียงกันไปตามลำดับ ส่วนใดเกิน 10 ปี การขอบังคับคดีก็ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
เมื่อมีหนี้หลายราย เงินที่ได้รับมาต้องชำระหนี้รายแรกก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328
เมื่อมีหนี้หลายราย เงินที่ได้รับมาต้องชำระหนี้รายแรกก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบังคับคดีหนี้ค่าเล่าเรียนรายปี: นับหนึ่งใหม่เมื่อถึงกำหนดชำระแต่ละปี
หนี้ตามคำพิพากษา ถ้าหากเกิดขึ้นเป็นรายปีเรียงกันไป ก็ต้องบังคับเรียงกันไปตามลำดับ ส่วนใดเกิน 10 ปี การขอบังคับคดีก็ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
เมื่อมีหนี้หลายราย เงินที่ได้รับมาต้องชำระหนี้รายแรกก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328
เมื่อมีหนี้หลายราย เงินที่ได้รับมาต้องชำระหนี้รายแรกก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389-390/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เช็ค การพิจารณาคดีความเกี่ยวพัน และการปฏิเสธชำระหนี้โดยชอบธรรม
คดีความผิดเกี่ยวพันกัน เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาพิพากษารวมกันได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 25 หาจำต้องมีคู่ความฝ่ายใดร้องขอไม่
จำเลยกู้เงินโจทก์ 2 ครั้ง เพื่อนำไปลงทุนรับเหมาก่อสร้างอาคารของกรมตำรวจครั้งแรกกู้ 150,000 บาท จำเลยทำสัญญากู้และออกเช็คล่วงหน้าลงวันที่ 18 พ.ย. 2499 ลงจำนวนเงิน 150,000 บาท ให้โจทก์ไว้ กับทำหนังสือมอบฉันทะให้โจทก์ไปรับเงินค่าก่อสร้างจากกรมตำรวจด้วย ครั้งที่ 2 กู้ 490,000 บาท ทำสัญญากู้และออกเช็คล่วงหน้าลงวันที่ 28 ก.พ. 2500 ลงจำนวนเงิน 490,000 บาท กับทำหนังสือมอบฉันทะมอบให้โจทก์เหมือนอย่างกู้ครั้งแรก ต่อมาวันที่ 26 ก.ย. 2499 โจทก์นำใบมอบฉันทะนั้นไปรับเงินค่าก่อสร้างจากกรมตำรวจเป็นเงิน 249,000 บาท โดยโจทก์มิได้นำเงินนั้นมามอบให้จำเลยหรือเข้าบัญชีของจำเลยในธนาคาร จึงต้องถือว่าเป็นเงินที่จำเลยชำระหนี้ ให้โจทก์ในมูลหนี้เงินกู้ทั้ง 2 ราย และไม่พอชำระหนี้ได้หมดทั้ง 2 ราย เมื่อลูกหนี้ไม่ได้ระบุว่าชำระหนี้รายใด ก็ต้องถือว่า หนี้รายไหนถึงกำหนดก่อน เป็นอันได้เปลื้องไปก่อน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328 ดังนั้น หนี้เงินกู้รายแรกซึ่งถึงกำหนดชำระก่อน ก็ต้องถือว่าได้ถูกชำระหนี้หมดสิ้นไปแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิห้ามมิให้ธนาคารจ่ายเงินให้โจทก์ตามเช็คฉบับแรก นั้นได้ ส่วนเงินที่โจทก์รับแทนจำเลยจากกรมตำรวจนั้น เมื่อหักหนี้เงินกู้ทั้ง 2 รายแล้ว จำเลยคงเป็นหนี้โจทก์เพียง 391,000 บาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ให้เต็มจำนวน 490,000 บาท ตามเช็คฉบับหลังได้ เมื่อโจทก์เอาเช็คฉบับหลังไปขึ้นเงิน เพื่อเอาชำระหนี้ตนเกินกว่าที่ตนมีสิทธิจำเลยย่อมปฏิเสธชำระหนี้ได้ ฉะนั้น การที่จำเลยห้ามมิให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คฉบับหลัง จึงไม่ใช่เป็นการห้ามโดยเจตนาทุจริต การที่โจทก์นำเช็ค 2 ฉบับ ดังกล่าวไปขึ้นเงินจากธนาคารไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 3
จำเลยกู้เงินโจทก์ 2 ครั้ง เพื่อนำไปลงทุนรับเหมาก่อสร้างอาคารของกรมตำรวจครั้งแรกกู้ 150,000 บาท จำเลยทำสัญญากู้และออกเช็คล่วงหน้าลงวันที่ 18 พ.ย. 2499 ลงจำนวนเงิน 150,000 บาท ให้โจทก์ไว้ กับทำหนังสือมอบฉันทะให้โจทก์ไปรับเงินค่าก่อสร้างจากกรมตำรวจด้วย ครั้งที่ 2 กู้ 490,000 บาท ทำสัญญากู้และออกเช็คล่วงหน้าลงวันที่ 28 ก.พ. 2500 ลงจำนวนเงิน 490,000 บาท กับทำหนังสือมอบฉันทะมอบให้โจทก์เหมือนอย่างกู้ครั้งแรก ต่อมาวันที่ 26 ก.ย. 2499 โจทก์นำใบมอบฉันทะนั้นไปรับเงินค่าก่อสร้างจากกรมตำรวจเป็นเงิน 249,000 บาท โดยโจทก์มิได้นำเงินนั้นมามอบให้จำเลยหรือเข้าบัญชีของจำเลยในธนาคาร จึงต้องถือว่าเป็นเงินที่จำเลยชำระหนี้ ให้โจทก์ในมูลหนี้เงินกู้ทั้ง 2 ราย และไม่พอชำระหนี้ได้หมดทั้ง 2 ราย เมื่อลูกหนี้ไม่ได้ระบุว่าชำระหนี้รายใด ก็ต้องถือว่า หนี้รายไหนถึงกำหนดก่อน เป็นอันได้เปลื้องไปก่อน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328 ดังนั้น หนี้เงินกู้รายแรกซึ่งถึงกำหนดชำระก่อน ก็ต้องถือว่าได้ถูกชำระหนี้หมดสิ้นไปแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิห้ามมิให้ธนาคารจ่ายเงินให้โจทก์ตามเช็คฉบับแรก นั้นได้ ส่วนเงินที่โจทก์รับแทนจำเลยจากกรมตำรวจนั้น เมื่อหักหนี้เงินกู้ทั้ง 2 รายแล้ว จำเลยคงเป็นหนี้โจทก์เพียง 391,000 บาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ให้เต็มจำนวน 490,000 บาท ตามเช็คฉบับหลังได้ เมื่อโจทก์เอาเช็คฉบับหลังไปขึ้นเงิน เพื่อเอาชำระหนี้ตนเกินกว่าที่ตนมีสิทธิจำเลยย่อมปฏิเสธชำระหนี้ได้ ฉะนั้น การที่จำเลยห้ามมิให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คฉบับหลัง จึงไม่ใช่เป็นการห้ามโดยเจตนาทุจริต การที่โจทก์นำเช็ค 2 ฉบับ ดังกล่าวไปขึ้นเงินจากธนาคารไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 3