พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเป็นโมฆะเมื่อข้อกำหนดขัดต่อกฎหมายโรงงาน ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก. โจทก์ให้จำเลยเช่าโรงงานแล้วต้องถือว่าบริษัท ก. เลิกประกอบกิจการโรงงานในวันที่ให้เช่าตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง และในวันเดียวกันนั้นใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. ก็เป็นอันสิ้นอายุลงตามมาตรา 16 ดังนั้น เมื่อการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานต้องกระทำโดยผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานและต้องทำการก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามมาตรา 17 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาเช่าข้อ 8 ที่กำหนดให้จำเลยดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการในนามบริษัท ก. ได้ เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว สัญญาเช่าข้อ 8 จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ทำให้สัญญาเช่าเฉพาะข้อ 8 ตกเป็นโมฆะทั้งสิ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 จำเลยจึงไม่ผิดสัญญาที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าโรงงานเป็นโมฆะเมื่อขัดต่อ พ.ร.บ.โรงงาน และผู้เช่าไม่สามารถต่อใบอนุญาตได้
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก. โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าโรงงานต้องถือว่าบริษัท ก. เลิกประกอบกิจการโรงงานในวันที่ให้เช่า ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น และในวันเดียวกันนั้นใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. ก็เป็นอันสิ้นอายุลง ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 16 เช่นกัน การต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานต้องกระทำโดยผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานและต้องทำการก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง แต่ตามสัญญาเช่ากำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการขอต่อใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานในนามของบริษัท ก. และใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. สิ้นอายุลงแล้วในวันทำสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาเช่าดังกล่าวได้ เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ข้อสัญญาเช่าจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 ทำให้สัญญาเช่าเฉพาะ ข้อ 8 ตกเป็นโมฆะทั้งสิ้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 173 จำเลยที่ 1 จึงไม่ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่เลิกแล้ว การเลิกสัญญาโดยปริยาย และผลของการหยุดคิดดอกเบี้ย
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์ โดยมีข้อตกลงว่า ถ้าเงินในบัญชีของผู้ฝากมีไม่พอจ่ายตามเช็คโดยปกติ ธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินโดยสิ้นเชิง แต่เมื่อธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายให้ไป ผู้ฝากย่อมเป็นอันยอมรับผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่เกินคืนให้ธนาคาร เสมือนหนึ่งได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารและธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเงินที่เบิกเกินบัญชีเป็นรายวัน แล้วนำดอกเบี้ยนั้นไปหักบัญชีเป็นรายเดือนจึงมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วย แต่เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดระยะเวลาคู่สัญญาจึงอาจบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859
การบอกเลิกสัญญาสามารถกระทำได้โดยแสดงเจตนาแจ้งชัดไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง หรือมีพฤติการณ์อันถือได้ว่าคู่สัญญามีเจตนาจะเลิกสัญญากันโดยปริยายก็ได้เมื่อปรากฏตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2526 ต่อจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่รายการที่แสดงถึงดอกเบี้ยเท่านั้นเอง ถือได้ว่า โจทก์เจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยโดยปริยายแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์หยุดคิดดอกเบี้ยทบต้นคือวันที่ 30 มิถุนายน 2530 แม้โจทก์จะมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2540 ก็ไม่ทำให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดที่เลิกกันไปแล้วกลับมีผลบังคับกันต่อไปได้อีก การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 เกิน 10 ปี จึงขาดอายุความ
การบอกเลิกสัญญาสามารถกระทำได้โดยแสดงเจตนาแจ้งชัดไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง หรือมีพฤติการณ์อันถือได้ว่าคู่สัญญามีเจตนาจะเลิกสัญญากันโดยปริยายก็ได้เมื่อปรากฏตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2526 ต่อจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่รายการที่แสดงถึงดอกเบี้ยเท่านั้นเอง ถือได้ว่า โจทก์เจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยโดยปริยายแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์หยุดคิดดอกเบี้ยทบต้นคือวันที่ 30 มิถุนายน 2530 แม้โจทก์จะมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2540 ก็ไม่ทำให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดที่เลิกกันไปแล้วกลับมีผลบังคับกันต่อไปได้อีก การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 เกิน 10 ปี จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากทุนทรัพย์ข้อพิพาทในชั้นฎีกาเกิน 200,000 บาท และประเด็นบางส่วนมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์
ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกามีเพียงค่าขาดประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 9 กำหนดเพิ่มให้ แก่โจทก์เป็นเงิน 112,200 บาท เท่านั้น เมื่อไม่เกิน 200,000 บาท จึงห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับพิจารณาเนื่องจากทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท แม้จะอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์แก้ไขจำนวนเงิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยร่วมกันชำระค่าขาดประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อ337,800 บาท กับค่าขาดราคารถยนต์ที่เช่าซื้อ 60,000 บาท รวมเป็น 397,800 บาทให้แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์อุทธรณ์ จำเลยมิได้อุทธรณ์ เท่ากับจำเลยยินยอมที่จะชำระค่าขาดประโยชน์และค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อโดยกำหนดให้450,000 บาท ส่วนค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นกำหนดให้เหมาะสมแล้ว จำเลยฎีกา ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงมีเพียงค่าขาดประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งศาลอุทธรณ์กำหนดเพิ่มให้แก่โจทก์ 112,200 บาท จำเลยจะฎีกาโดยถือเอาจำนวนเงินที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2631/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกได้ทันทีหากผิดนัดชำระ ตามข้อตกลง แม้ขัดกับบทบัญญัติกฎหมาย แต่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ข้อสัญญาระบุว่า กรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันทีโดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ซึ่งข้อสัญญาดังกล่าวแม้จะมีข้อความแตกต่างจากบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 วรรคแรก แต่กฎหมายบทนี้มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้
ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยยังไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด และคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 32,345 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นอาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยยังไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด และคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 32,345 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นอาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อต่อสู้ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น ถือเป็นเหตุต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 225 วรรคแรก
จำเลยเพียงแต่ให้การว่า จำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์ โจทก์หลอกลวงทำบิลรับของมาให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าดินลูกรัง โดยที่จำเลยไม่เคยรับดินลูกรังจากโจทก์เท่านั้น มิได้กล่าวอ้างถึงข้อที่ว่า โจทก์ส่งดินลูกรังให้จำเลยไม่ครบถ้วน จำเลยจึงมีคำสั่งให้ระงับการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ยกข้อต่อสู้ดังกล่าวเป็นประเด็นขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลแจ้งคำสั่งขยายเวลาอุทธรณ์ ความบกพร่องของศาลถือเป็นเหตุสุดวิสัย
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันถัดมาว่าอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แต่น้อยกว่าระยะเวลาที่โจทก์ขอ แม้ท้ายคำร้องของโจทก์จะมีหมายเหตุข้อความว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในวันเดียวกันกับที่โจทก์ยื่นคำร้อง ศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่ต้องแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบ เมื่อไม่ได้มีการแจ้งคำสั่งของศาลชั้นต้นให้โจทก์ทราบ จะถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วมิได้ การที่โจทก์ไม่ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์น้อยกว่าที่โจทก์ขอจึงมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ หากแต่เหตุเกิดจากความบกพร่องของศาลชั้นต้นเองที่ไม่ดำเนินการแจ้งคำสั่งศาลให้โจทก์ทราบ กรณีดังกล่าวจึงนับว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องขอครั้งที่สองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความบกพร่องของศาลในการแจ้งคำสั่งขยายเวลาอุทธรณ์ ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ทำให้โจทก์ยื่นคำร้องขยายเวลาครั้งที่สองได้
หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์แถลงขอคัดสำเนาในวันรุ่งขึ้นต่อมาอีก 1 เดือนโจทก์ยื่นคำร้องว่ายังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาจึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน ศาลชั้นต้นสั่งในวันถัดมาว่าอนุญาตให้ขยายระยะเวลาแต่กำหนดวันให้น้อยกว่าที่โจทก์ขอ ซึ่งเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบเพราะศาลชั้นต้นมิได้สั่งในวันเดียวกันกับที่โจทก์ยื่นคำร้อง เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้โจทก์ทราบแต่อย่างใด จะถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วมิได้ เหตุที่เกิดขึ้นมิใช่ความผิดของโจทก์ หากแต่เกิดจากความบกพร่องของศาลชั้นต้นเอง นับว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่สองก่อนสิ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดในครั้งแรกได้ กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในครั้งที่สองต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองระงับเมื่อหนี้กู้ยืมเงินประธานสิ้นสุด แม้มีข้อตกลงจำนองเป็นประกันหนี้ในอนาคต หากสัญญาสิ่งอุปกรณ์ไม่ได้ระบุชัดเจน
แม้ในสัญญาจำนองที่ดินจะระบุข้อความว่า จำนองเป็นประกันหนี้ซึ่งจำเลยผู้จำนองมีต่อธนาคารโจทก์ผู้รับจำนองในเวลานี้หรือที่จะมีขึ้นใหม่ในภายหน้าก็ตามแต่เมื่อหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานที่มีการจำนองเป็นประกันได้ระงับสิ้นไปโดยจำเลยชำระเงินกู้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว สัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมระงับไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744(1) ทั้งในการทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยก็มิได้ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าวว่ามีการจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี การตีความถึงเจตนาของคู่สัญญาในกรณีมีข้อสงสัยเช่นนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ให้ตีความในทางที่เป็นคุณแก่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น กรณีต้องฟังว่าโจทก์และจำเลยมิได้ตกลงให้นำสัญญาจำนองที่ดินมาเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับจำนองที่ดินเพื่อชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีได้