พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจช่วงฟ้องคดี: การปิดอากรแสตมป์สำหรับมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า โจทก์ โดย บ. ผู้รับมอบอำนาจขอมอบอำนาจช่วงให้แก่ ก. หรือ ส. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อจำเลยทั้งสองฐานผิดสัญญาเช่าซื้อ ค้ำประกัน เป็นการมอบอำนาจให้ ก. หรือ ส. คนใดคนหนึ่งกระทำการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อจำเลยทั้งสองเท่านั้น กิจการที่ ก. หรือ ส. กระทำเป็นกิจการเดียวกันคือ ฟ้องจำเลยทั้งสองเพียงครั้งเดียว หาได้กระทำกิจการแยกกันต่างคนต่างฟ้องคดีเรื่องอื่นต่อจำเลยทั้งสองหรือฟ้องบุคคลอื่นอันเป็นการกระทำมากกว่าครั้งเดียวไม่แม้ ส. เป็นผู้แต่งตั้งทนายความและ ก. เข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ ก็เป็นกิจการเดียวกัน จึงเป็นกรณีการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียวซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรข้อ 7(ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจช่วงถูกต้องตามกฎหมายอากรแสตมป์ โจทก์มีอำนาจฟ้องคดี
ตามหนังสือมอบอำนาจระบุข้อความไว้โดยแจ้งชัดว่าเป็นการมอบอำนาจให้นาง ก. หรือนาย ส. คนใดคนหนึ่งกระทำการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อจำเลยทั้งสองฐานผิดสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันคดีนี้เท่านั้น ทั้งกิจการที่นาง ก. หรือนาย ส. กระทำเป็นกิจการเดียวกันคือฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้เพียงครั้งเดียว หาได้กระทำกิจการแยกกันต่างคนต่างฟ้องคดีเรื่องอื่นต่อจำเลยทั้งสองหรือฟ้องบุคคลอื่นอันเป็นการกระทำมากกว่าครั้งเดียวไม่ แม้นาย ส. ผู้รับมอบอำนาจคนหนึ่งเป็นผู้แต่งตั้งทนายความและนาง ก. ผู้รับมอบอำนาจอีกคนหนึ่งเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ก็ตาม ก็เป็นที่เห็นได้ว่ากิจการที่ผู้รับมอบอำนาจทั้งสองกระทำเป็นกิจการเดียวกันคือฟ้องร้องดำเนินคดีนี้ต่อจำเลยทั้งสอง จึงเป็นกรณีการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 7 (ก) เมื่อโจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจจำนวน 30 บาท จึงสมบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 104 และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 7 (ก) แล้ว หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจช่วง: การปิดอากรแสตมป์สำหรับฟ้องคดีครั้งเดียว และอำนาจฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจระบุไว้แจ้งชัดว่า บริษัทโจทก์โดย บ. ผู้รับมอบอำนาจมอบอำนาจช่วงให้แก่ ณ. หรือ ส. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องคดีต่อจำเลยทั้งสองต่อศาลฐานผิดสัญญาเช่าซื้อ ค้ำประกัน กรณีจึงเป็นการมอบอำนาจให้ ณ.หรือ ส. คนใดคนหนึ่งฟ้องร้องดำเนินคดีต่อจำเลยทั้งสองฐานผิดสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันเท่านั้น กิจการที่ ณ. หรือ ส. กระทำเป็นกิจการเดียวกันคือฟ้องจำเลยทั้งสองเพียงครั้งเดียวเท่านั้น หาได้กระทำแยกกันต่างคนต่างฟ้องคดีเรื่องอื่นต่อจำเลยทั้งสองหรือฟ้องบุคคลอื่นอันมากกว่าครั้งเดียวไม่ แม้ ส. จะเป็นผู้แต่งตั้งทนายความ และ ณ. เข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ก็ตาม ก็เป็นที่เห็นได้ว่ากิจการที่บุคคลทั้งสองกระทำเป็นกิจการเดียวกัน จึงเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาทตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรฯ ข้อ 7(ก) เมื่อโจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจ 30 บาท จึงสมบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 104และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรฯ ข้อ 7(ก) แล้ว หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะข้าราชการทหาร vs. ทหารกองประจำการ และผลต่อการลงโทษตามกฎหมายยาเสพติด
ข้าราชการ หมายถึง บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนข้าราชการ ทหารจึงเป็นข้าราชการด้วย ซึ่งการเป็นข้าราชการทหารต้องเป็นไปตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯ และพระราชบัญญัติข้าราชการทหารฯ เท่านั้น โดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯ กำหนดให้ "ข้าราชการทหาร"หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วน "ทหารประจำการ" พระราชบัญญัติรับราชการทหารฯ มาตรา 4(8) หมายถึง ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ โดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯ ให้"ทหารกองประจำการ" หมายถึง ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารและพระราชบัญญัติรับราชการทหารฯมาตรา 4(3)"ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลดฉะนั้น ทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ทหารประจำการ ไม่ใช่ข้าราชการทหารและไม่ได้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นทหารกองประจำการจึงไม่เป็นข้าราชการ ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ระวางโทษจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100 ในความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษเป็นสามเท่านั้นจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'ข้าราชการ' ของทหารกองประจำการ และผลต่อการลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
"ข้าราชการ" หมายถึง บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน ข้าราชการทหารจึงเป็นข้าราชการด้วย อย่างไรเป็นข้าราชการทหารต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 เท่านั้น ซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการทหาร" หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารประจำการ" พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4(8) ให้ความหมายว่า ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ โดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 ให้ความหมาย"ทหารกองประจำการ" ว่า ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารและพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4(3)"ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลดทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ทหารประจำการ ไม่ใช่ข้าราชการทหารและไม่ได้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 ดังนั้น ทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ข้าราชการตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 100
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'ทหารกองประจำการ' ไม่เป็น 'ข้าราชการ' จึงไม่ถูกลงโทษตามอัตราโทษทวีคูณในคดีจำหน่ายยาเสพติด
"ข้าราชการ" หมายถึง บุคคลซึ่งรับราชการ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน ข้าราชการทหารจึงเป็นข้าราชการ
ตำแหน่งใดเป็นข้าราชการทหารต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 และ พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 เท่านั้น
ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการทหาร" หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารประจำการ" พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4 (8) ให้ความหมายว่า หมายถึง ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ โดย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 ให้ความหมาย "ทหารกองประจำการ" ว่าหมายถึง ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4 (3) "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด ฉะนั้น ทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ทหารประจำการ ไม่ใช่ข้าราชการทหาร และไม่ได้เป็นข้าราชการตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521
จำเลยที่ 2 เป็นทหารกองประจำการ จึงไม่เป็นข้าราชการ ระวางโทษเป็นสามเท่าตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ในความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงใช้กับจำเลยที่ 2 ไม่ได้
ตำแหน่งใดเป็นข้าราชการทหารต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 และ พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 เท่านั้น
ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการทหาร" หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารประจำการ" พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4 (8) ให้ความหมายว่า หมายถึง ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ โดย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 ให้ความหมาย "ทหารกองประจำการ" ว่าหมายถึง ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4 (3) "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด ฉะนั้น ทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ทหารประจำการ ไม่ใช่ข้าราชการทหาร และไม่ได้เป็นข้าราชการตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521
จำเลยที่ 2 เป็นทหารกองประจำการ จึงไม่เป็นข้าราชการ ระวางโทษเป็นสามเท่าตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ในความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงใช้กับจำเลยที่ 2 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีแพ่ง: ศาลมีดุลพินิจอนุญาตได้หากไม่ทำให้คู่ความเสียเปรียบ
การยื่นคำร้องขอถอนฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175วรรคสอง มิได้ระบุให้โจทก์ต้องแสดงเหตุผลในการถอนฟ้องให้จำเลยทราบแต่อย่างใดเพียงแต่กฎหมายห้ามไม่ให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อนเท่านั้น ส่วนที่จำเลยอ้างว่าศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจะทำให้ตนเสียเปรียบในการต่อสู้คดีนั้น ก็ปรากฏว่าคดียังไม่มีการนำพยานทั้งของโจทก์และจำเลยเข้าสืบ ฉะนั้น หากจำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา การที่โจทก์ขอถอนฟ้องก็มิได้ทำให้โจทก์ได้เปรียบหรือทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใด จึงเห็นควรอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าโฆษณาที่ไม่ครบถ้วนตามสัญญา แม้บกพร่องเล็กน้อยก็ถือว่างานเสร็จสมบูรณ์
โจทก์ลงโฆษณาสินค้าของจำเลยทางโทรทัศน์ตามสัญญาที่จำเลยจ้างโจทก์โฆษณาสินค้าในรายการคอนเสิร์ตเลข 9 เป็นเวลา 1 นาที 45 วินาที ขาดไป 15 วินาที ดังนั้นงานที่โจทก์ทำส่วนใหญ่ จึงสมบูรณ์มีความบกพร่องเพียงเล็กน้อย ถือได้ว่าโจทก์ได้ทำงานที่จ้างให้จำเลยเสร็จแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9519/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 กรณีข้อเท็จจริงใหม่ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
ปัญหาที่โจทก์จะยกขึ้นฎีกาเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง มีได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น
ฎีกาโจทก์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก แม้โจทก์จะอ้างว่าไม่สามารถยกปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นในชั้นฎีกาได้ตามมาตรา 249 วรรคสอง ข้อเท็จจริงต้องฟังตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) ประกอบ มาตรา 247 จึงไม่มีเหตุที่จะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่
ฎีกาโจทก์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก แม้โจทก์จะอ้างว่าไม่สามารถยกปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นในชั้นฎีกาได้ตามมาตรา 249 วรรคสอง ข้อเท็จจริงต้องฟังตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) ประกอบ มาตรา 247 จึงไม่มีเหตุที่จะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9519/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 249 วรรคแรก กรณีข้อเท็จจริงใหม่ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง แม้มีเหตุจำเป็นก็ไม่อาจใช้ข้อ ยกเว้นมาตรา 249 วรรคสองได้
ปัญหาที่โจทก์จะยกขึ้นฎีกาเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสองมิได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น