พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5080/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะตัวไม่ทำให้คำร้องเดิมเป็นคำร้องใหม่ การพิจารณาของศาลชอบแล้ว
ผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก โดยผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำร้องคัดค้าน แต่ต่อมาได้ถอนคำคัดค้านไปแล้ว การที่ผู้ร้องที่ 1 ได้ขอถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะตัวผู้ร้องที่ 1 ไม่มีผลให้คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเดิมของผู้ร้องที่ 2 กลับเป็นคำร้องขอใหม่ขึ้นมาแต่อย่างใด ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะดำเนินการไต่สวนคำร้องขอของผู้ร้องที่ 2 เพื่อวินิจฉัยว่าสมควรตั้งให้ผู้ร้องที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ต่อไป ที่ศาลชั้นต้นไม่ประกาศหนังสือพิมพ์หรือแจ้งให้ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียทราบอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบแล้ว ไม่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบที่ผู้คัดค้านทั้งสองจะขอให้เพิกถอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5080/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ร้องรายหนึ่ง ไม่ทำให้คำร้องของผู้ร้องอีกรายกลายเป็นคำร้องใหม่
ผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 ได้เริ่มคดีโดยร่วมกันยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้าน แต่ภายหลังผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องขอถอนคำคัดค้านไปและยินยอมให้ผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน การที่ผู้ร้องที่ 1 ได้ขอถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะตัวผู้ร้องที่ 1 ในเวลาต่อมา และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ย่อมไม่มีผลให้คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเดิมของผู้ร้องที่ 2 กลับเป็นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกขึ้นมาใหม่ การที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนคำร้องขอของผู้ร้องที่ 2 ต่อไปเพื่อวินิจฉัยว่าสมควรตั้งให้ผู้ร้องที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องประกาศหนังสือพิมพ์หรือแจ้งให้ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียทราบอีกการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่กระทำมาจึงชอบแล้ว ไม่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบที่ผู้คัดค้านจะขอให้เพิกถอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4810/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการกำหนดที่ทำการศาล: การใช้ดุลพินิจเพื่อความสะดวกของประชาชน
คำสั่งศาลจังหวัดที่กำหนดการนั่งพิจารณาคดีของศาลจังหวัด ณ ที่ว่าการอำเภอ ในเขตศาลจังหวัดมิใช่เป็นการจัดตั้งศาลขึ้นใหม่ต่างหากจากศาลจังหวัด เขตอำนาจศาลที่กำหนดในคำสั่งนี้ยังคงอยู่ในอำนาจของศาลจังหวัด บรรดาคดีที่กำหนดในคำสั่งนั่งพิจารณา ณ ที่ว่าการอำเภอก็ยังคงอยู่ในอำนาจศาลจังหวัด คำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นการกำหนดสถานที่เปิดเป็นที่ตั้งศาลถาวรแห่งใหม่ แต่เป็นการกำหนดสถานที่เพื่อให้ประชาชนทราบว่าศาลจังหวัดมีที่ทำการอีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอที่กำหนดเท่านั้นซึ่งเป็นอำนาจของศาลที่จะกำหนดให้นั่งพิจารณา ณ สถานที่อื่นหรือที่ใด ๆ ภายในเขตอำนาจของตนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 35 คำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งจัดตั้งศาลยุติธรรมขึ้นมาใหม่ มิใช่เรื่องที่ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติและไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(9) จะให้คำนิยามคำว่าการนั่งพิจารณาไว้แต่เมื่อถ้อยคำในมาตรา 35 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็วเป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้มีอรรถคดี การแปลความบทบัญญัติดังกล่าวจึงต้องแปลความหมายให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ กล่าวคือย่อมรวมถึงการนั่งพิจารณาคดีอันได้แก่ การยื่นคำฟ้อง คำร้องคำขอต่าง ๆ รวมถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับการนั่งพิจารณาด้วยมิใช่แปลจำกัดเคร่งครัดแต่เฉพาะการนั่งพิจารณาคดีเป็นรายเรื่องไปเพราะมิฉะนั้นแล้วย่อมไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์แห่งกฎหมายและหาประโยชน์อันแท้จริงมิได้อีกทั้งการแปลความจำกัดเฉพาะอำนาจที่กำหนดการนั่งพิจารณา ณ สถานที่อื่นไม่รวมถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว ยิ่งก่อให้เกิดความไม่สะดวกและล่าช้ายิ่งขึ้น คำสั่งศาลจังหวัดดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการจำเป็นตามความหมายแห่งมาตรา 35 หาต้องเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 218 หรือความจำเป็นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 67 ทั้งคำสั่งดังกล่าวมิใช่คำสั่งให้เปิดทำการศาล จึงไม่ต้องกระทำในรูปพระราชกฤษฎีกาและไม่ใช่อำนาจของรัฐมนตรีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและไม่นอกเหนืออำนาจของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 10การที่ศาลแปลความมาตรา 35 ตามวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายของบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4810/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและดุลพินิจการรับคำฟ้อง: ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีอำนาจจัดตั้งที่ทำการ ณ นางรอง และใช้ดุลพินิจรับฟ้องได้
ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งกำหนดให้มีการนั่งพิจารณา ณ ที่ทำการศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) โดยอาศัยอำนาจ ตามความในมาตรา 35 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบกับมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ย่อมทำให้ทั้งศาลจังหวัดบุรีรัมย์กับศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) ต่างมีอำนาจชำระคดีนี้ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลใดศาลหนึ่งดังกล่าวได้ การที่ศาลจังหวัด บุรีรัมย์มีคำสั่งเรื่องกำหนดการนั่งพิจารณาคดีของศาล เพราะเห็นเป็นการจำเป็นที่จะให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและ ประหยัดแก่ประชาชนในพื้นที่ สำหรับคดีนี้เมื่อความผิดที่โจทก์ ฟ้องเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) และไม่ปรากฏว่ามีอุปสรรคหรือเหตุขัดข้องที่โจทก์ไม่อาจ ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) ได้ การที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์โดยให้โจทก์ นำคำฟ้องไปยื่นที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) นั้นจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4810/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการกำหนดสถานที่ทำการศาล: การใช้ดุลพินิจตามมาตรา 35 ว.ส. และการจัดตั้งศาลสาขาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งกำหนดให้มีการนั่งพิจารณาณ ที่ทำการศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบกับมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาย่อมทำให้ทั้งศาลจังหวัดบุรีรัมย์กับศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง)ต่างมีอำนาจชำระคดีนี้ ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลใดศาลหนึ่งดังกล่าวได้ การที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งเรื่องกำหนดการนั่งพิจารณาคดีของศาลเพราะเห็นเป็นการจำเป็นที่จะให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและประหยัด แก่ประชาชนในพื้นที่ สำหรับคดีนี้เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้อง เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง)และไม่ปรากฏว่ามีอุปสรรคหรือเหตุขัดข้องที่โจทก์ไม่อาจ ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) ได้ การที่ ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์โดยให้โจทก์นำคำฟ้องไปยื่นที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง)นั้น จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: พิจารณาหนี้ที่มีอยู่ ณ วันมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ เป็นหนี้ลูกหนี้ (จำเลย) ในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จะขอใช้ สิทธินำเงินฝากประจำพร้อมดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) มาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ แล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้หรือไม่ จะต้อง พิจารณาว่าในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ (จำเลย) นั้น ผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้ (จำเลย) เป็นเงินต้นพร้อมทั้ง ดอกเบี้ยเพียงใดแล้วจึงนำมาหักกลบลบหนี้กับลูกหนี้ (จำเลย) ได้ ดังนั้น ผู้ร้องจึงนำดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) ที่เกิดขึ้น ภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมา หักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: พิจารณาหนี้ที่มีอยู่ ณ วันมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ปัญหาว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้(จำเลย) ในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จะขอใช้สิทธินำเงินฝากประจำพร้อมดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) มาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้แล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483ได้หรือไม่ จะต้องพิจารณาว่าในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ (จำเลย) นั้น ผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้ (จำเลย) เป็นเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยเพียงใดก่อนแล้วจึงนำมาหักกลบลบหนี้กับลูกหนี้ (จำเลย)ได้ผู้ร้องจึงนำดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมาหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ข้อจำกัดเรื่องดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นภายหลัง
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้(จำเลย)ในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จะขอใช้สิทธินำเงินฝากประจำพร้อมดอกเบี้ยของลูกหนี้(จำเลย)มาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้แล้วตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้หรือไม่ จะต้องพิจารณาว่าในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้(จำเลย)นั้น ผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้(จำเลย)เป็นเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยเพียงใดแล้วจึงนำมาหักกลบลบหนี้กับลูกหนี้(จำเลย)ได้ ดังนั้น ผู้ร้องจึงนำดอกเบี้ยของลูกหนี้(จำเลย) ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมาหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: พิจารณาหนี้คงค้าง ณ วันมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การที่ผู้ร้องจะขอใช้สิทธินำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 มาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้แล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 102 นั้น จะต้องพิจารณาว่าในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยที่ 1 ผู้ร้องเป็นหนี้จำเลยที่ 1 ตามบัญชีเงินฝากประจำคือเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยเพียงใด แล้วจึงนำมาหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1ได้ ผู้ร้องไม่อาจนำดอกเบี้ยของเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมาหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4496/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินในคดีล้มละลาย: การโอนที่ดินโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนไม่เข้าข่ายการเพิกถอน
พฤติการณ์รับฟังไม่ได้ว่า การโอนขายที่ดินพิพาทเกิดจากการสมยอมระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 1 พยานหลักฐานของผู้คัดค้านทั้งสามน่าเชื่อว่าผู้คัดค้านที่ 1รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน แม้จำเลยที่ 2 จะโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ก่อนจะถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายประมาณ 2 เดือนก็ตามผู้ร้องหาอาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2กับผู้คัดค้านที่ 1 ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114 ได้ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมมีสิทธิโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้โดยชอบ แม้การโอนจะได้กระทำขึ้นภายหลังมีการขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายผู้ร้องก็ไม่มีอำนาจเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้