พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1977/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าและต่อเติมอาคาร: สิทธิหลังหมดสัญญา
การที่จำเลยออกเงินตกแต่งทำหินขัดพื้นชั้นที่หนึ่งและชั้นที่สอง ทำผนังกั้นห้องต่อเติมทำห้องน้ำชั้นที่สองและต่อเติมพื้นที่ชั้นที่สามครึ่ง เป็นการกระทำเพื่อความสวยงามและเพื่อความสะดวกสบายในการใช้สอยทรัพย์สินที่เช่านั้นหามีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิยิ่งไปกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่ เมื่อสัญญาเช่า ครบกำหนดแล้วและโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยเช่าต่อ จำเลยก็ไม่มีสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1977/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกแต่งต่อเติมอาคารเช่าไม่ถือเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษทำให้มีสิทธิเช่าต่อได้
การที่จำเลยออกเงินตกแต่งทำหินขัดพื้นชั้นหนึ่งและ ชั้นที่สองทำผนังกั้นห้อง ต่อเติมทำห้องน้ำชั้นที่สองและต่อเติมพื้นที่ชั้นที่สามครึ่ง เป็นการกระทำเพื่อความสวยงามและเพื่อความสะดวกสบายในการใช้สอยทรัพย์สินที่จำเลยเช่าจากโจทก์เท่านั้น หามีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิยิ่งไปกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่ เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้วและโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยเช่าต่อ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องไล่เบี้ยประกันภัย: การแยกแยะระหว่างการฟ้องบุคคลภายนอกกับบริษัทประกันภัยด้วยกัน
เมื่อโจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า โจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นตามกฎหมายให้แก่ผู้บาดเจ็บหรือผู้เอาประกันภัยไปแล้วโจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้จำกัดเฉพาะการฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ดังนี้จึงชอบที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะหยิบยกบทบัญญัติในเรื่องอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 ขึ้นวินิจฉัยได้
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 31มีความหมายว่า ถ้าบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอก เจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ภายในกำหนดอายุความ 1 ปีนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย แต่อายุความ 1 ปี ดังกล่าวมิได้หมายความรวมถึงการฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายด้วย เมื่อจำเลยเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายมิใช่เป็นบุคคลภายนอกผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในเหตุที่รถชนกันแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 31 วรรคสอง ดังกล่าวมาใช้บังคับ หากแต่เป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัยฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้รับประกันภัยด้วยกันต้องใช้อายุความ 2 ปี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 31มีความหมายว่า ถ้าบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอก เจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ภายในกำหนดอายุความ 1 ปีนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย แต่อายุความ 1 ปี ดังกล่าวมิได้หมายความรวมถึงการฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายด้วย เมื่อจำเลยเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายมิใช่เป็นบุคคลภายนอกผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในเหตุที่รถชนกันแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 31 วรรคสอง ดังกล่าวมาใช้บังคับ หากแต่เป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัยฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้รับประกันภัยด้วยกันต้องใช้อายุความ 2 ปี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องไล่เบี้ยประกันภัย: ความแตกต่างระหว่างบุคคลภายนอกผู้ก่อเหตุกับบริษัทประกันภัยคู่กรณี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อโจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นตามกฎหมายให้แก่ผู้บาดเจ็บหรือผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้จำกัดเฉพาะ การฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เท่านั้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535มาตรา 31 มีความหมายว่า ถ้าบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอก เจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัยซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย แต่อายุความ 1 ปี ดังกล่าวมิได้หมายรวมถึงการฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่ บริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นบริษัทผู้รับประกันภัย รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย มิใช่เป็นบุคคลภายนอก ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในเหตุที่รถชนกันแล้ว กรณีจึง ไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 31 วรรคสอง ดังกล่าว มาใช้บังคับ หากแต่เป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัยฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้รับประกันภัยด้วยกัน ต้องใช้ อายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 882 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากประกันภัย: ประกันภัยกับประกันภัย vs. ประกันภัยกับบุคคลภายนอก
โจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า เมื่อโจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นตามกฎหมายให้แก่ผู้บาดเจ็บหรือผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้จำกัดเฉพาะการฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535เท่านั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงหยิบยกบทบัญญัติในเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 882 ขึ้นวินิจฉัยได้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535มาตรา 31 ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ มีความหมายว่าถ้าบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกเจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัยซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย แต่อายุความ 1 ปี ดังกล่าวมิได้ หมายความรวมถึง การฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อ ให้เกิดความเสียหายด้วย เมื่อจำเลยเป็นบริษัทผู้รับประกันภัย รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย มิใช่เป็นบุคคลภายนอก ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในเหตุที่รถชนกันแล้ว กรณีจึง ไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 31 วรรคสอง ดังกล่าวมาใช้บังคับ หากแต่เป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัย ฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้รับประกันภัยด้วยกัน ต้องใช้อายุความ 2 ปี ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องไล่เบี้ยประกันภัย: ความแตกต่างระหว่างบุคคลภายนอกผู้ก่อเหตุ กับผู้รับประกันภัยด้วยกัน
เมื่อโจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า โจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นตามกฎหมายให้แก่ผู้บาดเจ็บ หรือผู้เอาประกันภัยไปแล้วโจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้จำกัดเฉพาะการฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ดังนี้ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะหยิบยกบทบัญญัติในเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 ขึ้นวินิจฉัยได้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535มาตรา 31 มีความหมายว่า ถ้าบริษัทผู้รับประกันภัย ได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอก เจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัย ซึ่งเป็น ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ภายในกำหนดอายุความ 1 ปีนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยแต่อายุความ 1 ปี ดังกล่าวมิได้หมายความรวมถึงการฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายด้วยเมื่อจำเลยเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายมิใช่เป็นบุคคลภายนอกผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในเหตุที่ รถชนกันแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 31 วรรคสอง ดังกล่าวมาใช้บังคับ หากแต่เป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัย ฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้รับประกันภัยด้วยกัน ต้องใช้อายุความ 2 ปี ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิของบุคคลภายนอกและขอบเขตอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
หนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ขอให้ผู้ร้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 สืบเนื่องมาจากการสอบสวนของผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และทราบมาว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้ทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 4 แปลง ให้แก่ อ. ต่อมา อ.กับบุคคลอื่นได้รวมโฉนดที่ดินทั้ง 4 แปลง เข้าด้วยกันเป็นโฉนดเดียว แล้วแบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงหรือหลายโฉนดโอนขายให้ผู้ร้อง 8 แปลง การโอนที่ดินระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับ อ.และระหว่างอ.กับผู้ร้องเป็นการโอนภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดการที่ผู้คัดค้านมีความเห็นว่าการที่ลูกหนี้ที่ 1 โอนที่ดินให้แก่ อ.และที่ อ.โอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายล้มละลายนั้น แต่การกระทำดังกล่าวที่เกี่ยวกับผู้ร้องต้องถือว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอก และสิทธิของบุคคลภายนอกหากจะได้รับผลกระทบถึง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินคดีขอให้เพิกถอนต่อไป แต่หนังสือของผู้คัดค้านที่มีไปถึงผู้ร้องแจ้งหรือเตือนให้ผู้ร้องรับรู้ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวทั้ง 8 แปลง ไม่ชอบเท่านั้น แม้จะมีถ้อยคำขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ภายใน 30 วัน ไว้ด้วยก็ตาม แต่เมื่อผลถึงที่สุดแล้วหากผู้ร้องไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ก็หามีอำนาจที่จะถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นเด็ดขาดไม่ เพราะไม่ถือว่าการที่จะต้องโอนที่ดินดังกล่าวคืนเป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีมาก่อนการขอให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับความเสียหายตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ดังนี้ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิของบุคคลภายนอกและขอบเขตอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
หนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ขอให้ ผู้ร้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 สืบเนื่องมาจากการสอบสวนของผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์และทราบมาว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้ทำนิติกรรม โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 4 แปลง ให้แก่ อ.ต่อมาอ. กับบุคคลอื่นได้รวมโฉนดที่ดินทั้ง 4 แปลง เข้าด้วยกัน เป็นโฉนดเดียว แล้วแบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงหรือหลายโฉนด โอนขายให้ผู้ร้อง 8 แปลง การโอนที่ดินระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับ อ.และระหว่างอ. กับผู้ร้องเป็นการโอนภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดการที่ผู้คัดค้านมีความเห็นว่าการที่ลูกหนี้ที่ 1 โอนที่ดิน ให้แก่ อ. และที่ อ. โอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้อง เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายล้มละลายนั้น แต่การกระทำดังกล่าวที่เกี่ยวกับผู้ร้องต้องถือว่าผู้ร้อง เป็นบุคคลภายนอก และสิทธิของบุคคลภายนอกหากจะได้รับ ผลกระทบถึง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินคดี ขอให้เพิกถอนต่อไป แต่หนังสือของผู้คัดค้านที่มีไปถึงผู้ร้อง แจ้งหรือเตือนให้ผู้ร้องรับรู้ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินดังกล่าวทั้ง 8 แปลง ไม่ชอบเท่านั้น แม้จะมีถ้อยคำ ขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ภายใน 30 วัน ไว้ด้วยก็ตาม แต่เมื่อผลถึงที่สุดแล้ว หากผู้ร้องไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ของลูกหนี้ก็หามีอำนาจที่จะถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สิน ของลูกหนี้เป็นเด็ดขาดไม่ เพราะไม่ถือว่าการที่จะต้อง โอนที่ดินดังกล่าวคืนเป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีมาก่อนการขอให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้อง จึงยังไม่ได้รับความเสียหายตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ดังนี้ ผู้ร้องจะยื่นคำร้อง ขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1594/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องร้องเมื่อยังไม่เกิดความเสียหายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งให้ระงับในการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะนำพื้นที่จอดรถในชั้นที่ 1 ซึ่งผู้ร้องเช่าจากลูกหนี้มีกำหนด 20 ปี ไปให้ผู้อื่นเช่า และหากมีการทำสัญญาเช่าไปแล้ว ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่า แต่ตามคำร้องของผู้ร้องปรากฏเพียงว่า ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการนำพื้นที่ลานจอดรถชั้นที่ 1 ของอาคารซึ่งเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ออกให้บุคคลภายนอกเช่าเพื่อหาผลประโยชน์เข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น แต่ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้ดำเนินการอย่างใดตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ และยังไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องแต่ประการใด ดังนี้ เมื่อผู้ร้องยังไม่ได้รับความเสียหาย ผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลเพิกถอนการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามคำร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1594/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีมติให้เช่าทรัพย์สิน - ความเสียหายต้องเกิดขึ้นจริง
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 บัญญัติให้สิทธิบุคคลผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำ หรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจยื่นคำขอ โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งยืนตามกลับหรือ แก้ไขหรือสั่งประการใดตามที่ศาลเห็นสมควรได้ แต่ตามคำร้องของผู้ร้องปรากฏเพียงว่า ที่ประชุมเจ้าหนี้ทั้งสองครั้ง มีมติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการนำพื้นที่ลานจอดรถ ชั้นที่ 1 ของอาคารซึ่งเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ออกให้บุคคลภายนอก เช่าเพื่อหาผลประโยชน์เข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้ดำเนินการอย่างใดตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้และยังไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้ร้องแต่ประการใด ดังนั้น ผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับความเสียหาย ผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลเพิกถอนการกระทำของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม มาตรา 146 ได้