พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1027/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: การซ้ำซ้อนของสิทธิเมื่อมีการชำระหนี้บางส่วนและการไถ่ถอนจำนอง
ลูกหนี้นำที่ดินจำนวน 6 แปลงมาจดทะเบียนจำนองไว้แก่ เจ้าหนี้เป็นประกันต่อมาเจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงทำ สัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยลูกหนี้นำที่ดิน 5 แปลงไปขายให้แก่ผู้อื่นเพื่อนำเงินที่ขายได้มาชำระแก่เจ้าหนี้ตาม ข้อตกลงและมีการไถ่ถอนจำนองไปแล้ว เจ้าหนี้จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ มีประกันในที่ดิน 5 แปลงอีกต่อไป คงมีเพียงที่ดิน 1 แปลง ที่ยังมิได้มีการไถ่ถอนจำนอง เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมูลหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งลูกหนี้มีอยู่ต่อ เจ้าหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันโดยมีที่ดินที่ยังมิได้มีการไถ่ถอนจำนอง เป็นหลักประกันเต็มจำนวนหลักทรัพย์ ส่วนการที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอ รับชำระหนี้คดีนี้ก็เนื่องจากศาลได้เพิกถอนการชำระหนี้ที่ลูกหนี้ ได้ผ่อนชำระให้เจ้าหนี้ภายใน 3 เดือน ก่อนขอให้ล้มละลาย และภายหลังนั้นตามมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ซึ่งเป็นการผ่อนชำระหนี้ที่มีมูลหนี้ตามคำพิพากษาตาม สัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่เป็นการชำระหนี้เพื่อไถ่ถอน จำนองที่ดินแปลงที่เหลืออีก 1 แปลง ดังที่เจ้าหนี้อ้าง และสิทธิ ของเจ้าหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันยังคงมีอยู่โดยบริบูรณ์ตามคำสั่ง ศาลในคำขอรับชำระหนี้รายที่ 4 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันในสำนวน คำขอรับชำระหนี้คดีนี้อันเป็นการซ้ำซ้อนกับสิทธิของเจ้าหนี้ ในคำขอรับชำระหนี้รายที่ 4 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดคดีแล้ว โต้แย้งขัดรัฐธรรมนูญไม่ได้ ศาลไม่ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540มาตรา 264 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่ศาลเห็นเอง หรือในกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญ ก็ต่อเมื่อศาลดังกล่าวจะใช้บทกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนั้น และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ดังนั้น หากคดีดังกล่าวได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว ศาลหรือบุคคลใดจะกล่าวอ้างว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและจะส่งเรื่องหรือขอให้ศาลนั้นส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหาได้ไม่ ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาได้ใช้เป็นหลักในการสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 26,27,28 และ 272 หรือไม่นั้นศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์ และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งคำร้อง ของ ศาลฎีกาดังกล่าวให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ข้อหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540มาตรา 26,27,28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีที่โจทก์ร้องขอจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดคดีแล้ว โต้แย้งกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญไม่ได้ ศาลไม่ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา264 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่ศาลเห็นเอง หรือในกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญ ก็ต่อเมื่อศาลดังกล่าวจะใช้บทกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนั้น และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ดังนั้น หากคดีดังกล่าวได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว ศาลหรือบุคคลใดจะกล่าวอ้างว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและจะส่งเรื่องหรือขอให้ศาลนั้นส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหาได้ไม่
ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาได้ใช้เป็นหลักในการสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 หรือไม่นั้น ศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์ และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาดังกล่าวให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีที่โจทก์ร้องขอจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก
ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาได้ใช้เป็นหลักในการสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 หรือไม่นั้น ศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์ และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาดังกล่าวให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีที่โจทก์ร้องขอจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดคดีแล้ว ไม่อาจอ้างขัดรัฐธรรมนูญได้ ศาลฎีกาไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540มาตรา 264 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติให้ศาลส่งความเห็น ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่ศาลเห็นเอง หรือในกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ต้องด้วยมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญฯ ก็ต่อเมื่อศาลดังกล่าว จะใช้บทกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนั้นและยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่ เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ดังนั้น หากคดีดังกล่าวได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว ศาลหรือบุคคลใดจะกล่าวอ้างว่ากฎหมายขัดหรือ แย้งต่อรัฐธรรมนูญและจะส่งเรื่องหรือขอให้ศาลนั้นส่งเรื่อง ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหาได้ไม่ เมื่อคดีนี้ ศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกา ของโจทก์และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งนั้นให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุด ไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฯ ได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฯ โจทก์ชอบที่จะ โต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว การที่โจทก์ฎีกาโต้แย้งว่า มาตรา 264 แห่งรัฐธรรมนูญฯควรใช้บังคับกับกฎหมายสารบัญญัติซึ่งเป็นแก่น แท้ของคดีที่ฟ้อง ส่วนกฎหมายวิธีสบัญญัติเป็นคำสั่งเรื่องวิธีพิจารณาและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันทำให้กฎหมายสารบัญญัติที่พิพาทกันต้องยุติลงโดยไม่ชอบ เพราะคดีไม่ได้ขึ้นไปสู่ศาลฎีกา และการไม่ชอบเช่นนี้มีรัฐธรรมนูญฯมาตรา 26,27,28 รองรับให้คำสั่งที่ทำให้คดีต้องยุติโดยไม่ชอบนั้นดำเนินต่อไปได้โดยต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้วินิจฉัยนั้น ถือเป็นเพียงความเห็นของโจทก์ ถ้อยคำในรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 264 หาได้มีความหมายดังที่ โจทก์ฎีกาไม่ประกอบกับขณะคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ไม่ขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 26,27,28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีล้มละลาย: จำเลยยังประกอบกิจการอยู่ และมีทรัพย์สิน/สิทธิเรียกร้องอื่น จึงไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
ขณะโจทก์ฟ้องคดี จำเลยยังประกอบกิจการอยู่ไม่ได้ ปิดกิจการแต่อย่างใด กรณียังไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 8(4) ข จำเลยยังนำสืบว่า นอกจากโจทก์แล้วจำเลยยังเป็นหนี้บริษัท ธ ประมาณ 8,000,000 บาทแต่จำเลยก็ยังมีสิทธิเรียกร้องหนี้สินจากลูกหนี้ของจำเลยโดยจำเลยได้ฟ้องกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการให้ชำระค่าก่อสร้างอาคารโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เป็นเงินประมาณ 61,000,000 บาท ซึ่งหากจำเลยชนะคดีและ ได้รับชำระหนี้แม้เพียงบางส่วน จำเลยก็สามารถจะชำระหนี้ให้โจทก์และเจ้าหนี้รายอื่นได้ทั้งหมด ข้อเท็จจริงจึง ฟังได้ไม่แน่ชัดว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ฐานะลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวในคดีล้มละลาย ต้องมีหลักฐานแสดงทรัพย์สินทั่วประเทศ ไม่ใช่แค่ในเขตศาล
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(5)เป็นเพียงข้อสันนิษฐานถึงพฤติการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือเป็น เพียงเหตุหนึ่งที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของโจทก์นั้น ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงด้วยว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพียงใด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 14 โดยคำนึงถึงเหตุอื่นประกอบที่พอแสดงให้เห็นว่าจำเลย ตกอยู่ในภาวะดังกล่าวจริง เดิมศาลจังหวัดนนทบุรีพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้จำนวน 170,784 บาทแก่โจทก์คดีถึงที่สุด แต่โจทก์ไม่สามารถสืบหาทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำยึดมาชำระหนี้ได้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) ซึ่งโจทก์นำสืบให้เห็นแต่เพียงว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินในเขตจังหวัดนนทบุรีและไม่เคยชำระหนี้ให้โจทก์ แต่หานำสืบให้เห็นด้วยว่าในเขตจังหวัดนครสวรรค์จำเลยก็ไม่มีทรัพย์สินเช่นเดียวกัน อีกทั้งเหตุที่โจทก์อ้างเป็นเหตุฟ้องจำเลยให้ล้มละลายนี้สืบเนื่องจากกล่าวอ้างว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้โดยโจทก์ไม่มีหลักฐานอื่น สนับสนุนหรือนำมาประกอบให้เพียงพอที่จะแสดงหรือพิสูจน์ ให้เห็นได้เป็นข้อสำคัญว่า จำเลยไม่มีความสามารถชำระหนี้ หรือเป็นบุคคลตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยยังเป็นลูกหนี้บุคคลอื่น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627-645/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าซื้อเมื่อลูกหนี้ล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโอนกรรมสิทธิ์หากผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน
เมื่อผู้ร้องได้ชำระค่าเช่าซื้อที่ดินให้แก่ลูกหนี้ครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว ลูกหนี้ย่อมไม่มีสิทธิใดที่จะได้รับจากผู้ร้องอีก ลูกหนี้คงมีแต่เพียงหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อคือการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ผู้ร้องต่อไป ผู้ร้องจึงเป็นฝ่ายมีสิทธิอันจะพึงได้รับตามสัญญาเช่าซื้อ หาใช่เป็นสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมาไม่ กรณี ดังกล่าวจึงไม่อยู่ในวิสัยที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะมาพิจารณาว่า สิทธิตามสัญญาที่ผู้ร้องจะพึงได้รับไปนี้ มีภาระเกินควรกว่าประโยชน์อันจะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122 หรือไม่
เมื่อครบกำหนดชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย ผู้ร้องที่ 68 ได้ติดต่อกับลูกหนี้เพื่อให้โอนกรรมสิทธิ์และรับเงินงวดสุดท้ายแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่ชำระเงินเองและไม่สามารถดำเนินการโอนที่ดินตามสัญญาให้แก่ผู้ร้องที่ 68 ได้ เนื่องจากลูกหนี้ได้นำที่ดินที่ให้เช่าซื้อไปจำนองไว้แก่ธนาคารและบุคคลอื่นแล้ว ดังนั้น ย่อมถือได้ว่าลูกหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ต่อผู้ร้องที่ 68 แม้ต่อมาลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและผู้คัดค้านเข้ามาจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมายแล้ว แต่ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ซึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะอ้างอำนาจตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 122 เพื่อไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อต่อผู้ร้องซึ่งถือไม่ได้ว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา ย่อมเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น เมื่อผู้ร้องประสงค์จะขอรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าซื้อและชำระราคาส่วนที่เหลือให้แก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านชอบที่จะต้องโอนที่ดินตามสัญญาให้ผู้ร้องและรับชำระราคาส่วนที่เหลือจากผู้ร้อง
เมื่อครบกำหนดชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย ผู้ร้องที่ 68 ได้ติดต่อกับลูกหนี้เพื่อให้โอนกรรมสิทธิ์และรับเงินงวดสุดท้ายแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่ชำระเงินเองและไม่สามารถดำเนินการโอนที่ดินตามสัญญาให้แก่ผู้ร้องที่ 68 ได้ เนื่องจากลูกหนี้ได้นำที่ดินที่ให้เช่าซื้อไปจำนองไว้แก่ธนาคารและบุคคลอื่นแล้ว ดังนั้น ย่อมถือได้ว่าลูกหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ต่อผู้ร้องที่ 68 แม้ต่อมาลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและผู้คัดค้านเข้ามาจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมายแล้ว แต่ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ซึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะอ้างอำนาจตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 122 เพื่อไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อต่อผู้ร้องซึ่งถือไม่ได้ว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา ย่อมเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น เมื่อผู้ร้องประสงค์จะขอรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าซื้อและชำระราคาส่วนที่เหลือให้แก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านชอบที่จะต้องโอนที่ดินตามสัญญาให้ผู้ร้องและรับชำระราคาส่วนที่เหลือจากผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนรถจักรยานยนต์ของผู้ให้เช่าซื้อเมื่อผู้เช่าซื้อนำไปใช้กระทำผิด โดยผู้ให้เช่าซื้อมิได้รู้เห็นเป็นใจ
การที่มีบุคคลเอารถจักรยานยนต์ของผู้ร้องไปกระทำผิดผู้ร้องย่อมไม่อาจทราบได้ทั้งโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดอย่างใด นอกจากนี้ผู้ร้องยังได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไปยัง บ. ผู้เช่าซื้อหลังจากที่จำเลยที่ 2 ได้นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำผิด จึงน่าเชื่อว่าผู้ร้องไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดและใช้สิทธิขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอ รถจักรยานยนต์ของกลางคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การพิสูจน์ความสามารถในการชำระหนี้ต้องทำในชั้นศาลต้น ไม่ใช่ชั้นฎีกา
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้ดังที่ บรรยายมาในฎีกาเพื่อแสดงว่าจำเลยสามารถชำระหนี้ทั้งหมดของโจทก์ได้นั้น เป็นการล่วงพ้นเวลาที่จำเลยจะพิสูจน์ว่าสามารถชำระหนี้ได้ เพราะจำเลยมิได้นำสืบไว้ให้ปรากฏ ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งเมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ ตามคำพิพากษาและศาลได้หมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี บังคับเอาชำระหนี้ของจำเลยแล้ว จำเลยก็มิได้ขวนขวายหาเงิน มาชำระหนี้หรือเอาทรัพย์สินมาตีใช้หนี้โจทก์ การที่จำเลยอ้าง ขึ้นมาในชั้นฎีกาว่า มีทรัพย์สินพอชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดนั้น จำเลยควรแถลงข้อความจริงและส่งมอบทรัพย์สินต่าง ๆเหล่านั้นให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพราะทรัพย์สินต่าง ๆของจำเลยเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ต้องแสดงเจตนาประวิงหนี้หรือหลีกเลี่ยงการชำระหนี้
ข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 8(4) ข้อ ข. บัญญัติเพื่อให้คาดคะเนไว้ก่อนว่าหากจำเลยมีพฤติการณ์ต่าง ๆ ดังที่บัญญัติไว้แสดงว่าจำเลยน่าจะไม่สามารถจะชำระหนี้ของตนได้ และตกเป็น ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งโจทก์จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้เข้ากับข้อสันนิษฐานดังกล่าวว่าจำเลยกระทำการโดยเจตนาที่จะประวิงการชำระหนี้หรือไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้ การที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่าไปรษณีย์ตอบรับแจ้งว่าย้ายไม่ทราบที่อยู่ใหม่ และทราบความ จากน้องชายจำเลยว่า จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีกหลายราย ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ยังไม่พอฟังตามข้อสันนิษฐาน ดังกล่าวข้างต้นว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว