พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11488/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้อุปกรณ์ไม่มีหนี้ประธาน สัญญาจำนองเป็นโมฆะ ผู้จำนองไม่ต้องรับผิด
หนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ที่มีขึ้นเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ประธานคือ หนี้เงินที่จำเลยกู้ยืมไปจากโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ กรณีจึงไม่มีหนี้ประธาน โจทก์จึงไม่อาจฟ้องให้จำเลยในฐานะผู้จำนองรับผิดตามสัญญาจำนอง ซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ได้ คดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า จำเลยมอบอำนาจให้ จ. ไปจดทะเบียนจำนองหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11367/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะไม่ครบถ้วนในการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค การวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาคหรือศาลฎีกา ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสามคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ เมื่อคดีนี้มีผู้พิพากษาลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 เพียงสองคน จึงไม่ครบองค์คณะ ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10327/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในฐานะกรรมการสถานบริการที่ปล่อยปละละเลยการนำอาวุธปืนเข้าสถานบริการ แม้ไม่ได้อ้างมาตรา 28/4 ในฟ้อง
จำเลยในฐานะผู้แทนและกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ม. ซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการชื่อ ซ. เพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ทางการค้า ยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้มีการนำอาวุธปืนเข้าไปในสถานบริการในระหว่างเวลาที่เปิดทำการ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำเลยจึงเป็นบุคคลที่กฎหมายระบุไว้ให้ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดเช่นเดียวกับนิติบุคคลซึ่งได้กระทำความผิด แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างมาตรา 28/4 ในคำขอท้ายฟ้อง แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ไม่เป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องอันต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9805/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระชากทรัพย์ทำให้ล้ม: ไม่ถือเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายโดยเล็งเห็นผล
การกระทำโดยเล็งเห็นผลนั้นหมายความว่า ผลนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอนเท่าที่บุคคลในภาวะเช่นนั้นจะเล็งเห็นได้ มิใช่เพียงเล็งเห็นว่าผลนั้นอาจเกิดขึ้นได้ ได้ความว่าจำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์โดยมีจำเลยที่ 1 นั่งซ้อนท้าย ขณะที่รถจักรยานยนต์ของจำเลยทั้งสองประกบรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 กระชากกระเป๋าสะพายของผู้เสียหายที่แขวนอยู่ที่กระจกรถจักรยานยนต์อย่างแรง ทำให้รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายล้มลงและผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยทั้งสองไม่อาจเล็งเห็นผลได้แน่นอนว่าการกระชากกระเป๋าสะพายของจำเลยที่ 1 จะทำให้รถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายขับล้มลงเพราะรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายอาจจะล้มหรือไม่ล้มก็ได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นเพียงวิธีการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปเท่านั้น แม้รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายจะล้มลงเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายอันเป็นผลมาจากแรงกระชากกระเป๋าสะพายของจำเลยที่ 1 ก็หาใช่จำเลยทั้งสองกระทำโดยมีเจตนาเล็งเห็นผลอันถือเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายตามความหมายของกฎหมายแต่ประการใดไม่ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์ตามฟ้อง คงมีความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9127/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาจากการเบิกความเท็จ ขึ้นอยู่กับการได้รับความเสียหายโดยตรงจากกรรมสิทธิ์ที่ถูกกระทบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเบิกความเท็จและแสดงพยานหลักฐานเท็จในคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยกับพวก เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีก่อนโดยโจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกในฐานะผู้รับมอบอำนาจจาก ช. ให้ดำเนินคดีแทน และคำฟ้องคดีนี้มิได้กล่าวว่าโจทก์มีส่วนได้เสียหรือมีสิทธิในบ้านพิพาทอย่างไร แม้สำเนาคำฟ้องคดีก่อนระบุว่าโจทก์ทำสัญญาซื้อบ้านพิพาทจาก ช. แต่ก็ปรากฏตามคำฟ้องดังกล่าวว่า โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนตามกฎหมาย ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าขณะฟ้องคดีนี้โจทก์ได้จดทะเบียนการซื้อขายบ้านพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว และโจทก์ยังเบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยถามค้านว่า บ้านพิพาทยังคงเป็นของ ช. จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงไม่ได้รับผลกระทบกระเทือนเสื่อมเสียกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท จึงมิใช่ผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) อันจะมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8700/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยจากการไม่ได้รับแจ้งคำสั่งศาล
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งแรกวันที่ 24 มีนาคม 2552 โดยผ่านทัณฑสถานหญิงกลาง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2552 โดยไม่ได้มีคำสั่งให้แจ้งคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ทราบ ต่อมาผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาล มีหนังสือลงวันที่ 8 เมษายน 2552 ถึงผู้อำนวยการสำนักทัณฑสถานหญิงกลาง ให้แจ้งคำสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ทราบ แต่ข้อเท็จจริงในสำนวนไม่ปรากฏว่ามีหนังสือของผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงกลางแจ้งให้ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลทราบว่าได้แจ้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 2 ทราบตั้งแต่เมื่อใด เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 2 ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ดังที่จำเลยที่ 2 ฎีกา ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ได้ กรณีดังกล่าวถือว่ามีเหตุสุดวิสัยที่จำเลยที่ 2 จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8698/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาเป็นสิทธิเฉพาะตัว การขยายระยะเวลาของโจทก์มิผูกพันโจทก์ร่วม เหตุผลความบกพร่องของทนายไม่เป็นเหตุสุดวิสัย
สิทธิในการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เพื่อใช้สิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 นั้น เป็นสิทธิเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละคน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฎีกาจึงเป็นเรื่องเฉพาะของตัวโจทก์เท่านั้น ไม่มีผลถึงโจทก์ร่วมแต่อย่างใด
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาอ้างว่า คดีมีเอกสารมากมายและมีความซับซ้อน ทนายความโจทก์ร่วมต้องใช้ระยะเวลาเพื่อรวบรวมถ้อยคำสำนวนและพยานเอกสารต่าง ๆ จากโจทก์ร่วม และติดต่อพนักงานอัยการเพื่อรวบรวมถ้อยคำสำนวนให้ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ร่วม ถือเป็นความบกพร่องของทนายโจทก์ร่วมที่ไม่รวบรวมเอกสารเพื่อทำฎีกายื่นต่อศาลแต่เนิ่น ๆ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จะอนุญาตให้โจทก์ร่วมขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาอ้างว่า คดีมีเอกสารมากมายและมีความซับซ้อน ทนายความโจทก์ร่วมต้องใช้ระยะเวลาเพื่อรวบรวมถ้อยคำสำนวนและพยานเอกสารต่าง ๆ จากโจทก์ร่วม และติดต่อพนักงานอัยการเพื่อรวบรวมถ้อยคำสำนวนให้ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ร่วม ถือเป็นความบกพร่องของทนายโจทก์ร่วมที่ไม่รวบรวมเอกสารเพื่อทำฎีกายื่นต่อศาลแต่เนิ่น ๆ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จะอนุญาตให้โจทก์ร่วมขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8529/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จำเลยต้องให้การต่อสู้คดีแพ่งชัดเจน หากมิได้ยกข้ออ้างในชั้นต้น ห้ามอุทธรณ์ฎีกา
โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกเนื่องจากจำเลยรับเงินค่าที่ดินส่วนเกินที่โจทก์ขายที่ดินไว้ในครอบครองแล้วเบียดบังไปเป็นของตนโดยทุจริต สิทธิเรียกร้องทางแพ่งจึงต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญา จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีอาญา โจทก์ย่อมนำคดีส่วนแพ่งมาฟ้องรวมกับคดีอาญาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะพิจารณายกฟ้องในคดีส่วนอาญา ก็ไม่ทำให้ฟ้องในส่วนแพ่งที่สมบูรณ์แล้วเสียไป
การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งให้รับประทับฟ้อง ย่อมแสดงให้เห็นว่าเป็นการสั่งให้รับฟ้องคดีส่วนอาญาและคดีส่วนแพ่งด้วย หากจำเลยจะต่อสู้คดีส่วนแพ่ง จำเลยจะต้องให้การต่อสู้ตามที่ ป.วิ.พ. ได้บัญญัติไว้พร้อมกับคำให้การต่อสู้คดีส่วนอาญาด้วยกัน โดยคำให้การคดีส่วนแพ่งนั้นจำเลยจะต้องให้การโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การของจำเลยให้การต่อสู้คำฟ้องโจทก์ในคดีส่วนอาญาและคดีส่วนแพ่งรวมกันมาว่า จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสิ้นเท่านั้น คำให้การส่วนแพ่งจึงเป็นเพียงการปฏิเสธลอย ๆ หาได้โต้แย้งข้อเท็จจริงฟ้องของโจทก์ในคดีส่วนแพ่งซึ่งจำเลยจะต้องให้การมาโดยแจ้งชัดด้วยว่า คดีในส่วนแพ่งเป็นฟ้องซ้อนและฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น เพราะเหตุใด เป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ จำเลยเพิ่งยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าคดีในส่วนแพ่งเป็นฟ้องซ้อนและฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นหรือไม่ ถือว่าเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ และถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งให้รับประทับฟ้อง ย่อมแสดงให้เห็นว่าเป็นการสั่งให้รับฟ้องคดีส่วนอาญาและคดีส่วนแพ่งด้วย หากจำเลยจะต่อสู้คดีส่วนแพ่ง จำเลยจะต้องให้การต่อสู้ตามที่ ป.วิ.พ. ได้บัญญัติไว้พร้อมกับคำให้การต่อสู้คดีส่วนอาญาด้วยกัน โดยคำให้การคดีส่วนแพ่งนั้นจำเลยจะต้องให้การโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การของจำเลยให้การต่อสู้คำฟ้องโจทก์ในคดีส่วนอาญาและคดีส่วนแพ่งรวมกันมาว่า จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสิ้นเท่านั้น คำให้การส่วนแพ่งจึงเป็นเพียงการปฏิเสธลอย ๆ หาได้โต้แย้งข้อเท็จจริงฟ้องของโจทก์ในคดีส่วนแพ่งซึ่งจำเลยจะต้องให้การมาโดยแจ้งชัดด้วยว่า คดีในส่วนแพ่งเป็นฟ้องซ้อนและฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น เพราะเหตุใด เป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ จำเลยเพิ่งยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าคดีในส่วนแพ่งเป็นฟ้องซ้อนและฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นหรือไม่ ถือว่าเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ และถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8131/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้งกันเอง การยกประเด็นใหม่ในชั้นอุทธรณ์และฎีกา เป็นการไม่ชอบตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ข้อต่อสู้ในคำให้การ จำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างซึ่งปฏิบัติหน้าที่ไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงรับเงินจากจำเลยที่ 2 เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 แล้ว มูลคดีนี้จึงเป็นอันระงับ เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับหรือปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์จริงหรือไม่ เพราะหากจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 ก็ไม่จำต้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ หากโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 2 จริง ก็เท่ากับจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 และกระทำละเมิดในทางการที่จ้างดังฟ้อง จึงเป็นคำให้การที่ไม่อาจให้รวมกันมาได้เพราะขัดแย้งกันเอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทกับจำเลยที่ 2 แล้วหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาททั้งสองดังกล่าวจึงไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7296/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความที่ไม่สมบูรณ์และผลกระทบต่อการดำเนินคดีอาญา: เงื่อนไขการไม่ประจาน vs. การสละสิทธิ
รายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าฝ่ายโจทก์ร่วมตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยตลอดไป แต่กลับมีเงื่อนไขที่จำเลยจะต้องปฏิบัติต่อโจทก์ร่วม โดยจำเลยจะต้องไม่นำเรื่องส่วนตัวของโจทก์ร่วมไปประจานต่อสาธารณะอีกต่อไป แสดงว่าโจทก์ร่วมจะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยก็ต่อเมื่อจำเลยไม่นำเรื่องส่วนตัวของโจทก์ร่วมไปพูดให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหาย เมื่อจำเลยได้ประกาศต่อที่ประชุมใหญ่บริเวณหมู่บ้านว่า โจทก์ร่วมไปขโมยปลา และประกาศเสียงตามสายในหมู่บ้านให้ชาวบ้านนำไข่เน่าไปปาหน้าบ้านโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมจึงไปร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย ย่อมเห็นได้ชัดว่า ถ้าจำเลยนำเรื่องส่วนตัวของโจทก์ร่วมไปประจานต่อสาธารณะ โจทก์ร่วมยังคงติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงไว้กับโจทก์ร่วม กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) โดยยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5 อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) โดยยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5 อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225