พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6058/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เมื่อศาลยกเลิกการประนอมหนี้ ต้องพิพากษาให้ล้มละลายตามกฎหมาย
ตามบทบัญญัติของมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มีความหมายชัดแจ้งอยู่แล้วว่า เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้แล้ว ต้องพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายสถานเดียว จะกลับไปนำมาตรา 14 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้มิได้เพราะบทบัญญัติดังกล่าวต้องใช้บังคับแก่กรณีที่ยังไม่ได้ มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6058/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการยกเลิกการประนอมหนี้: ศาลต้องพิพากษาให้ล้มละลายตามกฎหมาย
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 60มีความหมายชัดแจ้งว่า เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้แล้ว ต้องพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายสถานเดียว จะกลับไปใช้มาตรา 14 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้มิได้ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวต้องใช้บังคับแก่กรณีที่ยังไม่ได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ดังนั้นเมื่อศาลได้มีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้แล้ว ศาลจึงต้องพิพากษาให้จำเลยล้มละลายตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6031/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาต้องยื่นต่อศาลอุทธรณ์ก่อน มิอาจยื่นต่อศาลฎีกาโดยตรง
ในคดีอาญา การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายมีบทบัญญัติไว้โดยชัดเจนในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 วรรคแรก แล้วว่า ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิมาอนุโลมใช้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15หาได้ไม่ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยตรงมายังศาลฎีกาจึง เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะ นิติกรรมจำนอง เจ้าของทรัพย์สินไม่ยินยอม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา โดยจำเลยที่ 1 ยอมยกทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นของตนให้แก่โจทก์และบุตรบุญธรรม 4 คน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทซึ่งมิใช่ของตนไปจำนองให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจอันชอบด้วยกฎหมายที่จะกระทำได้ นิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงตกเป็นโมฆะเพราะจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของที่แท้จริง เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงต้องได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนจะเป็นจริงตามที่โจทก์ฟ้องหรือจำเลยทั้งสองต่อสู้และกรณีจะเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป ดังนั้น การที่โจทก์มิได้บรรยายในฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ไม่สุจริตอย่างไรในการรับจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1และการจำนองที่ดินทำให้โจทก์เสียเปรียบอย่างไร ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะนิติกรรมจำนอง: เจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงมีสิทธิเพิกถอน แม้โจทก์มิได้อ้างถึงเจตนาทุจริตของผู้รับจำนอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์และจำเลยที่ 1ได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา โดยจำเลยที่ 1ยอมยกทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นของตนให้แก่โจทก์และบุตรบุญธรรม 4 คน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทซึ่งมิใช่ของตนไปจำนองให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1ไม่มีอำนาจอันชอบด้วยกฎหมายที่จะกระทำได้ นิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงตกเป็นโมฆะ เพราะจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของที่แท้จริง เป็นเหตุให้โจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงต้องได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนจะเป็นจริงตามที่โจทก์ฟ้องหรือจำเลยทั้งสองต่อสู้และกรณีจะเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป ดังนั้นการที่โจทก์มิได้บรรยายในฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ไม่สุจริตอย่างไรในการรับจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1และการจำนองที่ดินทำให้โจทก์เสียเปรียบอย่างไร ไม่ทำให้ฟ้อง ของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่าเริ่มนับเมื่อมีโฉนด และเบี้ยปรับตามสัญญาบังคับใช้ได้
ที่ดินที่ตกลงจะซื้อขายกันเป็นที่ดินมือเปล่าตามสัญญาจะซื้อขายมีข้อตกลงว่า โจทก์จะชำระราคาค่าที่ดินส่วนที่เหลือเมื่อได้รับโฉนดแล้ว แสดงว่าคู่สัญญาจะบังคับตามสิทธิของแต่ละฝ่ายได้ต่อเมื่อมีการออกโฉนดที่ดินแล้วปรากฏว่าที่ดินพิพาทได้ออกเป็นโฉนดที่ดินเมื่อปี 2531และ 2533 อายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่ปีดังกล่าวมิใช่นับแต่วันทำสัญญาจะซื้อขาย ขณะทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินมือเปล่าเมื่อสัญญาจะซื้อขายได้ระบุที่ตั้งของที่ดิน และระบุด้วยว่าเป็นที่ดินตามหลักฐานใบนำสำรวจซึ่งได้ระบุจำนวนเนื้อที่ดิน ที่จะซื้อขายกัน โดยให้ผู้ซื้อมีสิทธิเลือกเอาที่ดินที่ใด ก็ได้ตามใบนำสำรวจและยังระบุด้วยว่าจะชำระเงินค่าที่ดิน ส่วนที่เหลือเมื่อได้รับโฉนดที่ดินแล้ว ถือว่าเป็น สัญญาจะซื้อขายที่มีสาระสำคัญครบถ้วนแล้ว จึงสมบูรณ์ ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ตามสัญญาจะซื้อขายระบุว่า ถ้าผู้จะขายผิดสัญญาไม่ไปจดทะเบียนขายตามกำหนด ผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องศาลบังคับให้เป็นไปตามสัญญา และยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อ 200,000 บาท และ 100,000 บาท ตามลำดับค่าเสียหายเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้ในสัญญา และเป็นเบี้ยปรับซึ่งผู้จะขายผู้เป็นลูกหนี้สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 ซึ่งนอกจาก จะเรียกให้โอนที่ดินเป็นการชำระหนี้แล้วผู้จะซื้อซึ่งเป็น เจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากผู้จะขาย ได้อีกด้วย มิใช่เบี้ยปรับตามมาตรา 380 ซึ่งเจ้าหนี้ มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้หรือเรียกเอาเบี้ยปรับแทน การชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5551/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักหนี้ภาษีอากรค้างชำระจากทรัพย์สินลูกหนี้ และการใช้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากรกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
หนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคล เงินเพิ่ม และเงินเพิ่มใหม่ที่ลูกหนี้ค้างชำระนั้น ต่างก็เป็นภาษีอากรค้างตามความหมายของ ป.รัษฎากร มาตรา 12 วรรคแรกและการที่เจ้าหนี้นำเงินฝากในธนาคารเจ้าหนี้อันเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ ไปหักออกจากหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็เป็นการกระทำเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 วรรคสอง นั่นเอง หาใช่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร
การชำระภาษีและเงินเพิ่มต้องมีการเฉลี่ยตามสัดส่วนของจำนวนภาษีและเงินเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.65/2539 เรื่องการชำระภาษี เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับบางส่วน ข้อ 1 (3) นั้น คำสั่งดังกล่าวมิใช่กฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป เป็นเพียงคำสั่งภายในของกรมสรรพากรเจ้าหนี้แจ้งให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมาชำระหนี้ เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากรบางส่วนมิได้ชำระให้ครบถ้วนตามแบบแจ้งการประเมินภาษีเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่อาจใช้บังคับแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ต้องดำเนินการตาม
การชำระภาษีและเงินเพิ่มต้องมีการเฉลี่ยตามสัดส่วนของจำนวนภาษีและเงินเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.65/2539 เรื่องการชำระภาษี เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับบางส่วน ข้อ 1 (3) นั้น คำสั่งดังกล่าวมิใช่กฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป เป็นเพียงคำสั่งภายในของกรมสรรพากรเจ้าหนี้แจ้งให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมาชำระหนี้ เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากรบางส่วนมิได้ชำระให้ครบถ้วนตามแบบแจ้งการประเมินภาษีเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่อาจใช้บังคับแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ต้องดำเนินการตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5551/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ภาษีอากรค้างในคดีล้มละลาย การนำทรัพย์สินลูกหนี้มาชำระหนี้ภาษีและเงินเพิ่ม
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ทวิ วรรคแรก กำหนดให้ถือว่า เงินเพิ่มตามมาตรา 27 เป็นเงินภาษี และมาตรา 12 วรรคแรก กำหนดว่าภาษีอากรซึ่งต้องเสียหรือนำส่ง เมื่อถึงกำหนด ชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียหรือนำส่งให้ถือเป็นภาษีอากรค้าง ดังนั้น การที่ลูกหนี้ค้างชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำ ปี 2528 รวมทั้งเงินเพิ่ม เนื่องจากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตาม กำหนดและเงินเพิ่มใหม่ จึงถือเป็นหนี้ภาษีอากรค้างตาม ความหมายของมาตรา 12 วรรคแรกทั้งสิ้น การที่เจ้าหนี้ นำเงินฝากในธนาคารอันเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ไปหักออกจาก หนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นการกระทำเพื่อให้เจ้าหนี้ ได้รับชำระภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 วรรคสอง นั่นเอง หาใช่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใดไม่ แม้เจ้าหนี้จะอ้างคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.65/2539 เรื่อง การชำระภาษี เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับบางส่วน ข้อ 1(3) ที่ระบุว่า การชำระภาษีและเงินเพิ่มต้องมี การเฉลี่ยตามสัดส่วนของจำนวนภาษีและเงินเพิ่มนั้น ก็เป็น เพียงคำสั่งภายในของกรมสรรพากรเจ้าหนี้ที่แจ้งให้ เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในกรณีผู้มี หน้าที่เสียภาษีมาชำระหนี้ เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับ ตามประมวลรัษฎากรบางส่วนมิได้ชำระให้ครบถ้วนตามแบบแจ้ง การประเมินภาษีเท่านั้น มิใช่กฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคล ทั่วไป ดังนั้น จึงไม่อาจใช้บังคับแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ต้องดำเนินตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5540/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับความถูกต้องของเอกสารมอบอำนาจและการรับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์มี จ. ผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความยืนยันว่า โจทก์โดยศ. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจ โดยทนายโจทก์ได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาลประกอบการถามพยานโจทก์ตัวผู้รับมอบอำนาจ และขอส่งสำเนาแทนต้นฉบับ จำเลยก็มิได้คัดค้านว่าสำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับดังกล่าวมีข้อความไม่ตรงกันกับต้นฉบับถือว่าจำเลยยอมรับความถูกต้องของเอกสารนี้แล้ว ศาลย่อมรับฟังประกอบถ้อยคำของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5540/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ: การรับฟังพยานหลักฐานและการยอมรับความถูกต้องของเอกสาร
โจทก์มี จ. ผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความยืนยันว่าโจทก์โดย ศ.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจ โดยทนายโจทก์ได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาล ประกอบการถามพยานโจทก์ตัวผู้รับมอบอำนาจ และขอส่งสำเนาแทนต้นฉบับ จำเลยก็มิได้คัดค้านว่าสำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับดังกล่าว มีข้อความไม่ตรงกันกับต้นฉบับถือว่าจำเลยยอมรับความถูกต้อง ของเอกสารนี้แล้ว ศาลย่อมรับฟังประกอบถ้อยคำของโจทก์ได้