คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศิริชัย สวัสดิ์มงคล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4868/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาฎีกาต้องดำเนินการก่อนครบกำหนด หากเลยกำหนดแล้วถือเป็นสิทธิขาด
คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 และคดีต้องห้าม มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หากจำเลยประสงค์จะใช้สิทธิฎีกาตามเงื่อนไข ในมาตรา 221 จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการใช้สิทธิ ดังกล่าวให้ถูกต้องภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังแต่ปรากฎว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2541 ซึ่งล่วงเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาของจำเลยแล้ว ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นอ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยย่อมทราบ วันครบกำหนดหนึ่งเดือนที่ต้องยื่นฎีกาหรือหากมีพฤติการณ์พิเศษ ที่จำเลยจะต้องขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไป จำเลย ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเสียก่อน ครบกำหนดดังกล่าวได้แต่จำเลยหาได้ปฏิบัติเสีย ให้ถูกต้องไม่ ทั้งการรอฟังคำสั่งของศาลฎีกาว่า จะสั่งรับหรือไม่รับฎีกาของจำเลยก็มิใช่เป็นเหตุสุดวิสัย คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลยจึงไม่ต้อง ด้วยบทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายเวลายื่นฎีกาจึงไม่ชอบจำเลยไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ปัญหานี้แม้จะไม่มี คู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4747/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายยาเสพติด: ครอบครองสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัม ถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสองที่บัญญัติว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่าผลิต นำเข้าส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น เป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายโดยเด็ดขาด โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายเฮโรอีนอย่างใดบ้างเมื่อจำเลยรับว่ามีเฮโรอีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 65.9 กรัม ไว้ในครอบครอง จึงต้องถือว่าและฟังได้ว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะค้นพบเฮโรอีนของกลางได้ที่ใดและจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายเฮโรอีนด้วยหรือไม่ ไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะจำเลยไม่อาจนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4747/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายยาเสพติด: ครอบครองสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัม ถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสองที่บัญญัติว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่าผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น เป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายโดยเด็ดขาด โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายเฮโรอีนอย่างใดบ้าง เมื่อจำเลยรับว่ามีเฮโรอีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 65.9 กรัมไว้ในครอบครอง จึงต้องถือว่าและฟังได้ว่าจำเลยมีไว้ ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่า เจ้าพนักงานตำรวจจะค้นพบเฮโรอีนของกลางได้ที่ใดและจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายเฮโรอีนด้วยหรือไม่ ไม่ใช่ข้อสำคัญเพราะจำเลยไม่อาจนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค้างชำระในคดีล้มละลาย และอายุความฟ้องร้องตั๋วสัญญาใช้เงิน
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยไว้ชั่วคราวในคดีล้มละลายเรื่องหนึ่งไว้แล้ว แต่หลังจากนั้นเจ้าหนี้ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายนี้อีกและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยไว้เด็ดขาดในคดีนี้ เมื่อวันที่ 29ธันวาคม 2536 เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ขอรับชำระหนี้ได้จนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2536 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยไว้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 100
เจ้าหนี้ได้ฟ้องจำเลยและผู้ค้ำประกันให้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 27 ฉบับ ต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2531 เมื่อนับถึงวันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงินยังไม่พ้น 3 ปี ถือว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยภายในอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1001 แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยชั่วคราว แต่ต่อมาศาลชั้นต้นก็ได้พิพากษาให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 27 ฉบับจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยหนี้และการฟ้องคดีภายในอายุความในคดีล้มละลาย: การพิจารณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และระยะเวลาฟ้อง
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยไว้ชั่วคราวในคดีล้มละลายเรื่องหนึ่งไว้แล้ว แต่หลังจากนั้นเจ้าหนี้ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายนี้อีกและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยไว้เด็ดขาดในคดีนี้เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2536 เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ขอรับชำระหนี้ได้จนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2536อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย ไว้เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100 เจ้าหนี้ได้ฟ้องจำเลยและผู้ค้ำประกันให้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 27 ฉบับ ต่อศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2531 เมื่อนับถึงวันที่ตั๋วสัญญา ใช้เงินแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงินยังไม่พ้น 3 ปี ถือว่าโจทก์ ได้ฟ้องจำเลยภายในอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดี เฉพาะจำเลยชั่วคราว แต่ต่อมาศาลชั้นต้นก็ได้พิพากษา ให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว แก่เจ้าหนี้ หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 27 ฉบับ จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4633/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้และผู้ค้ำประกันในคดีล้มละลาย: การยื่นคำขอรับชำระหนี้และการหมดสิทธิเรียกร้อง
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ ซึ่งรวมทั้งลูกหนี้ร่วมหรือผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าเอากับลูกหนี้ ต่างต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในเวลากำหนดและกฎเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 และมาตรา 101 แต่สิทธิที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้หรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ก็ต้องทำการตรวจคำขอรับชำระหนี้เสียก่อนตามมาตรา 105
เจ้าหนี้รายที่ 2 ยังไม่เคยชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้รายที่ 5เจ้าหนี้รายที่ 2 จะใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะเจ้าหนี้ของลูกหนี้โดยตรงจึงไม่อาจกระทำได้ กรณีของเจ้าหนี้รายที่ 2 นี้ จึงเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ขอใช้สิทธิที่ตนจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ต่อเจ้าหนี้รายที่ 5 ที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ ตามมาตรา 101 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แม้ว่าเจ้าหนี้รายที่ 5 ได้ฟ้องเจ้าหนี้รายที่ 2 กับพวกให้ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองเป็นประกันต่อศาลแล้วก็ตาม ผลของคดีแพ่งก็จะไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของบรรดาเจ้าหนี้ในการยื่นคำขอรับชำระหนี้แต่ประการใด ในเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เพราะในที่สุดกฎหมายบังคับให้เจ้าหนี้รายใดของลูกหนี้ที่ไม่มีกฎหมายยกเว้นไว้ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 5 ได้ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามจำนวนเต็มที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันลูกหนี้ย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ต่อไป ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 101 ตอนท้ายของวรรรคหนึ่ง และวรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4633/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของผู้ค้ำประกันเมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ซึ่งรวมทั้งลูกหนี้ร่วมหรือผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าเอากับลูกหนี้ ต่างต้องยื่นคำขอ รับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในเวลากำหนดและกฎเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 และมาตรา 101 แต่สิทธิที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ หรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ก็ต้อง ทำการตรวจคำขอรับชำระหนี้เสียก่อนตามมาตรา 105 เจ้าหนี้รายที่ 2 ยังไม่เคยชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้รายที่ 5เจ้าหนี้รายที่ 2 จะใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะเจ้าหนี้ของลูกหนี้โดยตรงจึงไม่อาจกระทำได้ กรณีของเจ้าหนี้รายที่ 2 นี้ จึงเป็นกรณี ที่เจ้าหนี้ขอใช้สิทธิที่ตนจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ต่อเจ้าหนี้ รายที่ 5 ที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ตามมาตรา 101 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แม้ว่าเจ้าหนี้รายที่ 5ได้ฟ้องเจ้าหนี้รายที่ 2 กับพวกให้ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองเป็นประกันต่อศาลแล้วก็ตาม ผลของคดีแพ่งก็จะไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของบรรดาเจ้าหนี้ในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ แต่ประการใด ในเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เพราะในที่สุดกฎหมายบังคับ ให้เจ้าหนี้รายใดของลูกหนี้ที่ไม่มีกฎหมายยกเว้นไว้ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 5 ได้ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามจำนวนเต็มที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันลูกหนี้ย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ต่อไป ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 101 ตอนท้ายของวรรคหนึ่ง และวรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาบุคคลล้มละลาย พิจารณาจากทรัพย์สินและรายได้ แม้ได้มาหลังฟ้อง
จำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดและเป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดซึ่งมีราคาประเมินที่ทางราชการรับรองมีมูลค่ารวมกันแล้วเกินกว่าหนึ่งล้านบาททั้งจำเลยยังประกอบอาชีพเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทเอกชน มีรายได้เดือนละ70,000 บาท เชื่อได้ว่าจำเลยมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินที่มีต่อโจทก์จำนวน729,345 บาท และจำเลยยังประกอบอาชีพที่มีรายได้สูงพอที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ได้และแม้ว่าที่ดินและห้องชุดดังกล่าวจำเลยจะได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาภายหลังจากที่โจทก์ได้ฟ้องคดีล้มละลายแล้วก็ตาม แต่ทรัพย์สินของจำเลยที่โจทก์อาจบังคับชำระหนี้ได้นั้นไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินที่จำเลยมีอยู่ก่อนหรือได้มาภายหลังจากที่จำเลยถูกโจทก์ฟ้องคดีล้มละลายแล้ว ย่อมเป็นทรัพย์สินที่โจทก์สามารถบังคับชำระหนี้ได้ หามีกฎหมายกำหนดว่าต้องเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนฟ้องคดีล้มละลายไม่ จำเลยจึงมิใช่บุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวที่ควรพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลล้มละลาย: ทรัพย์สินหลังฟ้องคดีก็ใช้ชำระหนี้ได้ ไม่เข้าข่ายหนี้สินล้นพ้นตัว
จำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดและเป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดซึ่งมีราคาประเมินที่ทางราชการรับรองมีมูลค่ารวมกันแล้วเกินกว่าหนึ่งล้านบาททั้งจำเลยยังประกอบอาชีพเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทเอกชน มีรายได้เดือนละ70,000 บาท เชื่อได้ว่าจำเลยมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินที่มีต่อโจทก์จำนวน 729,345 บาท และจำเลยยังประกอบอาชีพที่มีรายได้สูงพอที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ได้และแม้ว่าที่ดินและห้องชุดดังกล่าวจำเลยจะได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาภายหลังจากที่โจทก์ได้ฟ้องคดีล้มละลายแล้วก็ตามแต่ทรัพย์สินของจำเลยที่โจทก์อาจบังคับชำระหนี้ได้นั้นไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินที่จำเลยมีอยู่ก่อนหรือได้มาภายหลังจากที่จำเลยถูกโจทก์ฟ้องคดีล้มละลายแล้ว ย่อมเป็นทรัพย์สินที่โจทก์สามารถบังคับชำระหนี้ได้ หามีกฎหมายกำหนดว่าต้องเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนฟ้องคดีล้มละลายไม่ จำเลยจึงมิใช่บุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวที่ควรพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละที่ดินเป็นสาธารณสมบัติ: กรรมสิทธิ์เดิมสิ้นสุด แต่มีข้อจำกัดการใช้ประโยชน์
การสละที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ว่าจะเป็นการแสดงเจตนายกให้ด้วยวาจา ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ย่อมไม่สามารถโอนให้แก่กันได้โดยทางนิติกรรม
ช.เจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นที่ดินสาธารณ-ประโยชน์ที่ประชาชนสามารถใช้ร่วมกันไปแล้ว แม้จำเลยจะได้รับโอนที่ดินพิพาทจาก ช.เจ้าของเดิม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และไม่มีสิทธิขัดขวางมิให้โจทก์และราษฎรคนอื่นเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304 (2)ศาลจึงไม่อาจห้ามจำเลยมิให้เข้าไปเกี่ยวข้องเสียทั้งหมดได้ เพราะเป็นการขัดวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้ ศาลจึงห้ามได้เฉพาะกรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่มิใช่เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น
of 27