คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศิริชัย สวัสดิ์มงคล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5941/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีจำนองเหนือสินสมรส: ผลของคำพิพากษาถึงที่สุดและสิทธิเจ้าหนี้จำนอง
โจทก์และจำเลยถูกผู้ร้องฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมจำนองทรัพย์สินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลย คดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วรรคสอง และข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับจำนองทรัพย์พิพาทไว้โดยไม่สุจริต ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนนิติกรรมจำนองจึงพิพากษายกฟ้อง ผลของคดีดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อผู้ร้องไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมจำนองทรัพย์พิพาทได้ นิติกรรมจำนองทรัพย์พิพาทจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองย่อมมีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์พิพาทได้ทั้งหมดเพราะสิทธิจำนองครอบไปถึงบรรดาทรัพย์สินซึ่งจำนองหมดทุกสิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 716 และเป็นทรัพยสิทธิใช้ยันแก่บุคคลทั่วไปได้ ส่วนคดีที่ผู้ร้องฟ้องหย่าจำเลยและขอแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาแม้ศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยแบ่งทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่ผู้ร้องก็มีผลผูกพันเฉพาะผู้ร้องกับจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว หามีผลต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันเงินสินสมรสส่วนของตนจากการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5688/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าซื้อทรัพย์สินที่ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ และการรับฟังพยานหลักฐานสัญญาเช่าซื้อที่มีการปิดอากรแสตมป์
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ประสงค์จะซื้อเครื่องจักรพิพาทโดยให้โจทก์ออกเงินลงทุนให้เพื่อชำระให้แก่เจ้าของทรัพย์ แล้วจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อเครื่องจักรดังกล่าวกับโจทก์ในวันเดียวกับที่จำเลยที่ 1 รับเงินลงทุนไปจากโจทก์ หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 จึงได้ชำระเงินค่าเครื่องจักรให้แก่ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ อันเป็นผลให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรที่ให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อไปก่อนหน้านั้นแล้ว สัญญาเช่าซื้อจึงมีผลใช้บังคับได้ หาได้ตกเป็นโมฆะไม่
ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118 บัญญัติเพียงว่าตราสารใดที่ไม่ปิดแสตมป์ครบจำนวนและได้ขีดฆ่าแล้ว จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้เท่านั้นไม่ได้บังคับถึงเวลาที่ปิดและขีดฆ่า เมื่อต้นฉบับสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ปิดอากรแสตมป์ครบจำนวนและขีดฆ่าแล้ว และทั้งเมื่อโจทก์อ้างส่งต้นฉบับสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวต่อศาลก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งถึงความถูกต้องของต้นฉบับสัญญาเช่าซื้อนั้น จึงรับฟังต้นฉบับสัญญาเช่าซื้อเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญา, การหักชำระหนี้, ค่าขึ้นศาล: ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้หักเงินชำระหนี้และคืนค่าขึ้นศาลส่วนเกิน
แม้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจและมีผลใช้บังคับได้เท่าที่อยู่ในขอบเขตอำนาจที่ พระราชบัญญัติให้อำนาจไว้ก็ตามแต่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวไม่ได้ออกโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติจึงไม่เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามความหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 การที่ผู้ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว ซึ่งศาลยุติธรรมจะนำมาใช้บังคับแก่คดีเป็นประกาศที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 6หรือไม่ จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญต่ออัตราดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้ และการหักล้างหนี้จากเงินชำระ
แม้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจและมีผลใช้บังคับได้เท่าที่อยู่ในขอบเขตอำนาจที่ พระราชบัญญัติให้อำนาจไว้ก็ตามแต่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวไม่ได้ออกโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติจึงไม่เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามความหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 การที่ผู้ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว ซึ่งศาลยุติธรรมจะนำมาใช้บังคับแก่คดีเป็นประกาศที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 6หรือไม่ จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5363/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัด ยึดทรัพย์ได้ก่อนบอกเลิกสัญญา ค่าเสียหายคิดจากราคาตลาด
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันตามสัญญาเช่าซื้อว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระเงินใด ๆ จำเลยที่ 1 ยอมให้ผู้แทนหรือลูกจ้างของโจทก์เข้าไปยังสถานที่ของจำเลยที่ 1เพื่อยึดรถยนต์ได้ไม่ว่าโจทก์จะได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 แล้วหรือไม่ก็ตาม การที่โจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรณีที่โจทก์สามารถกระทำได้โดยที่ยังมิได้มีการบอกเลิกสัญญากันและต่อมาภายหลังโจทก์จึงได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 โดยที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดราคารถยนต์แก่โจทก์
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคแรก โจทก์จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าขาดราคารถยนต์เท่ากับค่าเช่าซื้อที่ยังขาดได้ เพราะจะมีผลเท่ากับบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อที่เลิกกันไปแล้ว หากโจทก์ยังได้รับความเสียหายในส่วนราคารถยนต์ที่ขาด โจทก์สามารถเรียกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคท้าย แต่ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกได้นี้คือค่าขาดราคาไปจากราคารถยนต์ที่แท้จริง ไม่ใช่ค่าขาดราคาไปจากราคาตามสัญญาเช่าซื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5363/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัด ยึดรถได้ก่อนบอกเลิกสัญญา ค่าเสียหายคิดจากราคาจริงรถยนต์
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันตามสัญญาเช่าซื้อว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระเงินใด ๆ จำเลยที่ 1 ยอมให้ผู้แทนหรือลูกจ้างของโจทก์เข้าไปยังสถานที่ของจำเลยที่ 1เพื่อยึดรถยนต์ได้ไม่ว่าโจทก์จะได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 แล้วหรือไม่ก็ตาม การที่โจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรณีที่โจทก์สามารถกระทำได้โดยที่ยังมิได้มีการบอกเลิกสัญญากันและต่อมาภายหลังโจทก์จึงได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 โดยที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดราคารถยนต์แก่โจทก์
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคแรก โจทก์จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าขาดราคารถยนต์เท่ากับค่าเช่าซื้อที่ยังขาดได้ เพราะจะมีผลเท่ากับบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อที่เลิกกันไปแล้ว หากโจทก์ยังได้รับความเสียหายในส่วนราคารถยนต์ที่ขาด โจทก์สามารถเรียกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคท้าย แต่ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกได้นี้คือค่าขาดราคาไปจากราคารถยนต์ที่แท้จริง ไม่ใช่ค่าขาดราคาไปจากราคาตามสัญญาเช่าซื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัย: การรับประกันภัยไม่ใช่การค้ำจุน ทำให้ไม่ต้องรับผิดต่อผู้รับประกันภัยอื่น
คำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างหรือแสดงว่า จำเลยที่ 3 รับประกันภัยจากจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยในลักษณะประกันภัยค้ำจุน ซึ่งจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่งคือบริษัท อ. และซึ่งจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นมูลที่จะให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิด
บริษัท อ. และจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันเอาประกันภัยกับจำเลยที่ 3 ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ต่อบริษัท อ. ตามกรมธรรม์ประกันภัยจึงหาใช่ความรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนไม่ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ต้องสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5208/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คนอนาถาต้องมีเหตุผลสมควร แม้ยากจนก็ไม่อุทธรณ์ได้หากคดีไม่มีเหตุผล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยโดยวินิจฉัยว่าคดีไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์และจำเลยมิใช่คนยากจน การที่จำเลยใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน เห็นได้ว่าแม้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและฟังว่าจำเลยเป็นคนยากจน ก็หาเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ไม่ เพราะข้อเท็จจริงยังปรากฏว่าคดีไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5208/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คนอนาถา: คดีต้องมีเหตุผลสมควร & ผู้ขอต้องยากจนจริง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย โดยวินิจฉัยว่าคดีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์และจำเลยมิใช่คนยากจน การที่จำเลยใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน ซึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวนและฟังว่าจำเลยเป็นคนยากจน ก็หาเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ไม่ เพราะข้อเท็จจริงยังปรากฏว่าคดีไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5208/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์อย่างคนอนาถาต้องมีเหตุผลอันสมควร และพิสูจน์ฐานะยากจนควบคู่กัน ศาลไม่อนุญาตหากขาดเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยโดยวินิจฉัยว่าคดีไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์และจำเลยมิใช่คนยากจน การที่จำเลยใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน แม้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและฟังว่าจำเลยเป็นคนยากจน ก็หาเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ไม่เพราะข้อเท็จจริงยังปรากฏว่าคดีไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์
of 27