คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศิริชัย สวัสดิ์มงคล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาซ้ำ เมื่อศาลชั้นต้นและอุทธรณ์เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตแล้ว แม้จะอ้างเหตุยากจนกว่าเดิม
เดิมจำเลยได้เคยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์แล้วครั้งหนึ่งศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง และศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด คดีจึงฟังได้เป็นข้อยุติว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ครั้งใหม่ โดยอ้างเหตุว่ายากจนลงกว่าเดิมแม้จะฟังได้ตามข้ออ้างของจำเลย ศาลก็ไม่อาจอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาซ้ำ เมื่อศาลเคยมีคำสั่งแล้วว่าไม่มีเหตุอันสมควร
จำเลยเคยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์มาแล้วครั้งหนึ่ง ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด คดีจึงฟังได้เป็นยุติว่าคดีจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ครั้งใหม่โดยอ้างเหตุว่ายากจนลงกว่าเดิม แม้จะฟังได้ตามข้ออ้างของจำเลย ศาลก็ไม่อาจอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษเจ้าพนักงานกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การมีเมทแอมเฟตามีนครอบครองเพื่อจำหน่าย ไม่เข้าข่ายโทษสามเท่า
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ. 2457 ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 10
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้บัญญัติว่า"กรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้หรือข้าราชการหรือพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐผู้ใด ผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษอันเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น" ดังนั้น การกระทำความผิดที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออก หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเท่านั้น แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายทั้งการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็มิได้อยู่ในความหมายของคำว่า จำหน่าย ตามมาตรา 4 แต่อย่างใด แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจระวางโทษเป็นสามเท่าตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215และมาตรา 225
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษในสถานเบานั้น เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงเป็นเจ้าพนักงานซึ่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น และเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนถึง 2,340 เม็ดโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดจึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษสำหรับเจ้าพนักงานกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การมีครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 100
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองตามพ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามพ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10
ตามพ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้บัญญัติว่า " กรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.นี้หรือข้าราชการหรือพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐผู้ใด ผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษอันเป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.นี้หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น " ดังนั้น การกระทำความผิดที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออก หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเท่านั้น แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายทั้งการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็มิได้อยู่ในความหมายของคำว่า จำหน่าย ตามมาตรา 4 แต่อย่างใด แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจระวางโทษเป็นสามเท่าตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้ ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 215 และมาตรา 225
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษในสถานเบานั้น เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน จึงเป็นเจ้าพนักงานซึ่งพ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น และเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนถึง 2,340 เม็ด โทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดจึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการเช่าซื้อ และการรับฟังสัญญาเช่าซื้อแม้ไม่มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์
ฟ้องของโจทก์ที่เรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการนำรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไปออกให้ผู้อื่นเช่าและค่าขาดราคาของรถยนต์ที่เช่าซื้อที่ยังขาดไปจากราคาตามสัญญาเช่าซื้อนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติในเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
แม้สัญญาเช่าซื้อจะมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนทุกดวงตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ก็ตาม แต่ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1มิได้ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองให้การยอมรับว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวกับโจทก์จริง กรณีจึงไม่ต้องอาศัยสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน ก็สามารถรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3713/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทุนการศึกษา: การยุติการศึกษาจากคำสั่งสถาบัน ไม่ถือเป็นผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญาการรับทุนเพื่อศึกษาในประเทศกับโจทก์ โดยข้อความในสัญญาดังกล่าวจะถือว่าจำเลยผิดสัญญาต่อเมื่อจำเลยเป็นผู้ยุติหรือเลิกการศึกษาเสียเองแต่กรณีตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเป็นผู้ออกคำสั่งให้จำเลยพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาตามระเบียบของสถาบัน การยุติหรือเลิกการศึกษาไม่ได้เกิดจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงไม่ผิดสัญญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3682/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างสัญญาประกันภัยเนื่องจากผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อมูลเจ็บป่วยก่อนทำสัญญา
โจทก์กรอกคำตอบในใบคำขอเอาประกันชีวิตโจทก์ ว่าไม่เคยเป็นหรือทราบว่าเป็นหรือเคยได้รับคำแนะนำหรือการรักษาโรคมะเร็งเนื้องอกตุ่มเนื้อหรืออวัยวะใด ๆ ที่งอกหรือโตขึ้นผิดปกติ ไม่เคยมีอาการผิดปกติที่เต้านมมาก่อน แต่ปรากฏว่า โจทก์เคยเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการปวดบริเวณเต้านม ซึ่งแพทย์ตรวจพบว่ามีก้อนเนื้อที่เต้านมด้านซ้ายเมื่อโจทก์ทราบแล้ว แต่โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบซึ่งหากจำเลยทราบอาจเรียกเบี้ยประกันให้สูงขึ้นหรือไม่รับประกันชีวิต การกระทำของโจทก์มีผลให้สัญญาประกันชีวิตและสัญญาพิเศษเพิ่มเติมตกเป็นโมฆียะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคหนึ่ง
จำเลยได้ทราบถึงข้อเท็จจริงที่โจทก์ปกปิดไว้อันเป็นมูลที่จำเลยจะบอกล้างโมฆียะกรรมได้อย่างเร็วที่สุดเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2538 เมื่อโจทก์เรียกค่ารักษาพยาบาลจากจำเลย จำเลยปฏิเสธไม่จ่ายเงินให้เพราะโจทก์ปิดบังการป่วยเป็นโรคของโจทก์ก่อนที่จะทำสัญญาประกันภัย ต่อมาวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2538 โจทก์ทำบันทึกต่อนายทะเบียนกรมการประกันภัย ระบุว่าโจทก์ไปยื่นเรื่องเบิกค่ารักษาพยาบาลเป็นค่ารักษาการผ่าตัดแต่จำเลยปฏิเสธการจ่าย ต่อจากนั้นจำเลยมีหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมลงวันที่ 17กุมภาพันธ์ 2538 ไปยังจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดหนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคสอง สัญญาประกันชีวิตในส่วนสัญญาเพิ่มเติมพิเศษซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประกันชีวิต ในส่วนการรักษาก้อนเนื้อที่เต้านมข้างซ้ายระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3677/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรื่องละเมิดไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิมเรื่องผิดสัญญา แม้มีการโอนสิทธิและหน้าที่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกค้าของบริษัท ง. ได้ทำสัญญาวงเงินสินเชื่อและสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินกับบริษัทดังกล่าวโดยจำนองที่ดินเป็นประกัน ต่อมาจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระดอกเบี้ยและต้นเงินแก่บริษัท ง. เมื่อโจทก์รับโอนสินทรัพย์และหนี้สินมาจากบริษัท ง. จึงฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ทั้งหมด จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม จำเลยไม่ได้เป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ฟ้อง โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนอง และฟ้องแย้งว่า บริษัท ง. ใช้วิธีฉ้อฉลนำหุ้นของจำเลยประมาณ 3,000,000 หุ้น มูลค่ากว่า 100,000,000 บาท ซึ่งจำเลยจำนำไว้เป็นประกันหนี้ไปขายโดยวิธีการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นเงินประมาณ 60,000,000 บาท ดังนี้ ฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าบริษัท ง. ฉ้อฉลขายหุ้นจำเลยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการละเมิดต่อจำเลย ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิมที่โจทก์อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้โจทก์จะรับโอนสิทธิและหน้าที่มาจากบริษัท ง. แต่ฟ้องแย้งของจำเลยก็ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่จะรวมพิจารณาพิพากษาไปในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3677/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรื่องฉ้อฉลขายหุ้นไม่เกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ศาลไม่รับรวมพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกค้าของบริษัท ร. จำเลยได้ทำสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินกับบริษัทดังกล่าว โดยจำนองที่ดินเป็นประกัน จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยและต้นเงิน โจทก์ได้รับโอนสินทรัพย์และหนี้สินมาจากบริษัท ร. มาฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้สินทั้งหมด จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า บริษัท ร. ใช้วิธีฉ้อฉลนำหุ้นของจำเลยประมาณสามล้านหุ้น มูลค่ากว่าหนึ่งร้อยล้านบาท ซึ่งจำนำเป็นประกันหนี้ไปขายโดยวิธีการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นเงินประมาณหกสิบล้านบาท แต่จำเลยขอเรียกค่าเสียหายเพียงสองล้านบาท จึงขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเป็นเงินสองล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยและให้ไถ่ถอนที่ดินจำนองคืนจำเลยด้วย ฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าบริษัท ร. ฉ้อฉลขายหุ้นจำเลยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการละเมิดต่อจำเลยซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิมที่โจทก์อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ฟ้องแย้งจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่จะรวมพิจารณาพิพากษาไปในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การพ้นกำหนด ไม่กระทบความสมบูรณ์สัญญาเช่าซื้อ และไม่เป็นประเด็นความสงบเรียบร้อย
โจทก์จะเป็นเจ้าของรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อในขณะทำสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงมิได้กระทบถึงความสมบูรณ์ของสัญญาเช่าซื้อ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่จจำเลยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 จึงเป็นการไม่ชอบ
of 27