พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่าย - สันนิษฐานความรับผิด - จำเลยต้องพิสูจน์การสูญหาย - ไม่ฟังเหตุผล
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คพิพาททั้งสามฉบับ ย่อมเข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมายที่ระบุให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปฏิเสธความรับผิด ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชั้นพิจารณาจำเลยที่ 2 เบิกความในฐานะพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพียงว่าเช็คพิพาทหาย และไปแจ้งความลงบันทึกในรายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารหายต่อเจ้าพนักงานตำรวจไว้เท่านั้น ไม่ได้ดำเนินการใดต่อไปหรือแม้กระทั่งการเรียกคืนเช็คจากโจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์พึงกระทำเลย และในรายละเอียดของรายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารหายก็ไม่ได้กล่าวว่าเช็คพิพาทสูญหายไปอย่างไร แค่กล่าวอ้างอย่างลอย ๆ ว่าไม่แน่ใจว่าเช็คหล่นหายหรือถูกขโมย ย่อมยากที่จะรับฟังเป็นจริงตามภาระการพิสูจน์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17869/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติผิดสัญญาใช้ลิขสิทธิ์หลังบอกเลิกสัญญา ศาลลดค่าเสียหายเบี้ยปรับที่ไม่สมเหตุสมผล
สัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสิบ ข้อ 3.4 เกี่ยวกับการห้ามใช้และถ่ายทอดเนื้อหา หลักสูตร เทคนิค และวิธีการสอนของโจทก์ทันทีที่หมดสัญญาหรือได้รับแจ้งจากโจทก์ให้หยุดใช้นั้น เมื่อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเกี่ยวกับการใช้งานวรรณกรรมแบบเรียนอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับความคุ้มครองตามสัญญาข้อนี้จึงจำกัดเฉพาะงานที่โจทก์มีลิขสิทธิ์เท่านั้น ดังนั้น กรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสิบกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมและปฏิบัติผิดสัญญาข้อ 3.4 โจทก์จึงต้องนำสืบข้อเท็จจริงว่างานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ชิ้นใดของโจทก์ที่ถูกละเมิดและจำเลยทั้งสิบกระทำการใดที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความแน่ชัดว่างานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ชิ้นใดที่ถูกละเมิดและจำเลยทั้งสิบใช้หรือถ่ายทอดงานอันมีลิขสิทธิ์ชิ้นนั้นอย่างไร พยานหลักฐานของโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสิบกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์และปฏิบัติผิดสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ดังกล่าว
สัญญาการใช้ลิขสิทธิ์ข้อ 8.1 ระบุว่า "เกิดกรณีที่ผู้อนุญาต (โจทก์) ยกเลิกสัญญา กับสาขาที่ผู้รับอนุญาต (จำเลยทั้งสิบ) ทำการสอนอยู่ ผู้รับอนุญาต (จำเลยทั้งสิบ) สัญญาว่าจะไม่ไปรับจ้างหรือทำงานกับสถาบันที่มีลักษณะเดียวกันกับผู้อนุญาต (โจทก์) เป็นระยะเวลา 6 เดือน และจะไม่ประกอบกิจการใดที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันกับผู้อนุญาต (โจทก์) เป็นระยะเวลา 1 ปี หากผิดสัญญา ผู้รับอนุญาต (จำเลยทั้งสิบ) ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้อนุญาต (โจทก์) เป็นเงินจำนวน 200,000 บาท" ข้อสัญญาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองโจทก์ซึ่งเป็นผู้อนุญาตให้ ล. และ ด. ใช้ประโยชน์จากงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ดังกล่าวแล้ว ล. และ ด. จึงไม่มีสิทธิแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์อีกและเป็นมาตรการที่จะป้องกันไม่ให้ ล. และ ด. ใช้ประโยชน์จากจำเลยทั้งสิบซึ่งโจทก์อบรมให้ ข้อสัญญาการใช้ลิขสิทธิ์ข้อ 8.1 ดังกล่าว มิได้ห้ามจำเลยทั้งสิบประกอบอาชีพครูโดยเด็ดขาดไม่ทำให้จำเลยทั้งสิบต้องรับภาระเกินสมควร ข้อสัญญาดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยทั้งสิบ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 10 ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่า ปัจจุบันจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 10 มิได้เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนกวดวิชาของ ล. และ ด. ซึ่งได้ทำสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมแบบเรียนของโจทก์แล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ เมื่อจำเลยทั้งสิบยังคงเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนกวดวิชาของ ล. และ ด. ภายหลังที่โจทก์บอกเลิกสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์แก่ ล. และ ด. ดังกล่าวแล้ว ย่อมถือว่าจำเลยทั้งสิบปฏิบัติผิดสัญญาการใช้ลิขสิทธิ์ ข้อ 8.1 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่ที่สัญญาการใช้ลิขสิทธิ์ ข้อ 8.1 กำหนดว่า "หากผิดสัญญา ผู้รับอนุญาต (จำเลยทั้งสิบ) ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้อนุญาต (โจทก์) เป็นเงินจำนวน 200,000 บาท" เป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าฐานที่จำเลยทั้งสิบปฏิบัติผิดสัญญาอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์กำหนดค่าเสียหายในสัญญาการใช้ลิขสิทธิ์เป็นจำนวน 200,000 บาท เท่ากันทุกฉบับโดยไม่ได้พิจารณาลักษณะการกระทำและความเสียหายที่แท้จริงที่เกิดจากการปฏิบัติผิดสัญญาการใช้ลิขสิทธิ์ของจำเลยแต่ละคน อีกทั้งจำเลยทั้งสิบประกอบวิชาชีพเป็นครูโดยทำงานอยู่กับ ล. และ ด. ตั้งแต่ก่อนที่โจทก์บอกเลิกสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์แก่ ล. และ ด. การห้ามจำเลยทั้งสิบไม่ให้รับจ้างหรือทำงานกับ ล. และ ด. ต่อไปย่อมทำให้เกิดความยากลำบากแก่จำเลยทั้งสิบในการหางานด้วย มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสิบจงใจปฏิบัติฝ่าฝืนสัญญาที่ทำกับโจทก์ การกำหนดให้จำเลยทั้งสิบต้องชำระเงินแก่โจทก์คนละ 200,000 บาท จึงสูงเกินส่วน เมื่อโจทก์มิได้แสดงพยานหลักฐานพิสูจน์ให้เห็นว่า โจทก์ได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยแต่ละคนเป็นเงินคนละ 200,000 บาท และเมื่อพิเคราะห์ทางได้เสียของโจทก์ทุกทางประกอบกับโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่ ล. และ ด. ก่อนฟ้องคดีนี้เป็นเวลาประมาณ 5 เดือน แล้ว เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยทั้งสิบชำระเงินแก่โจทก์ในอัตราคนละ 50,000 บาท ส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสิบชดใช้ค่าสูญเสียประโยชน์คนละ 50,000 บาท และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการบังคับตามสิทธิจำนวน 50,000 บาท นั้น เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่า จำเลยทั้งสิบกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ตามฟ้อง โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายที่เป็นค่าสูญเสียประโยชน์และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการบังคับตามสิทธิของโจทก์จากจำเลยทั้งสิบได้เพราะค่าเสียหายดังกล่าว พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 64 ให้โจทก์เรียกร้องได้เฉพาะกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์เท่านั้น
สัญญาการใช้ลิขสิทธิ์ข้อ 8.1 ระบุว่า "เกิดกรณีที่ผู้อนุญาต (โจทก์) ยกเลิกสัญญา กับสาขาที่ผู้รับอนุญาต (จำเลยทั้งสิบ) ทำการสอนอยู่ ผู้รับอนุญาต (จำเลยทั้งสิบ) สัญญาว่าจะไม่ไปรับจ้างหรือทำงานกับสถาบันที่มีลักษณะเดียวกันกับผู้อนุญาต (โจทก์) เป็นระยะเวลา 6 เดือน และจะไม่ประกอบกิจการใดที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันกับผู้อนุญาต (โจทก์) เป็นระยะเวลา 1 ปี หากผิดสัญญา ผู้รับอนุญาต (จำเลยทั้งสิบ) ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้อนุญาต (โจทก์) เป็นเงินจำนวน 200,000 บาท" ข้อสัญญาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองโจทก์ซึ่งเป็นผู้อนุญาตให้ ล. และ ด. ใช้ประโยชน์จากงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ดังกล่าวแล้ว ล. และ ด. จึงไม่มีสิทธิแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์อีกและเป็นมาตรการที่จะป้องกันไม่ให้ ล. และ ด. ใช้ประโยชน์จากจำเลยทั้งสิบซึ่งโจทก์อบรมให้ ข้อสัญญาการใช้ลิขสิทธิ์ข้อ 8.1 ดังกล่าว มิได้ห้ามจำเลยทั้งสิบประกอบอาชีพครูโดยเด็ดขาดไม่ทำให้จำเลยทั้งสิบต้องรับภาระเกินสมควร ข้อสัญญาดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยทั้งสิบ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 10 ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่า ปัจจุบันจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 10 มิได้เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนกวดวิชาของ ล. และ ด. ซึ่งได้ทำสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมแบบเรียนของโจทก์แล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ เมื่อจำเลยทั้งสิบยังคงเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนกวดวิชาของ ล. และ ด. ภายหลังที่โจทก์บอกเลิกสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์แก่ ล. และ ด. ดังกล่าวแล้ว ย่อมถือว่าจำเลยทั้งสิบปฏิบัติผิดสัญญาการใช้ลิขสิทธิ์ ข้อ 8.1 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่ที่สัญญาการใช้ลิขสิทธิ์ ข้อ 8.1 กำหนดว่า "หากผิดสัญญา ผู้รับอนุญาต (จำเลยทั้งสิบ) ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้อนุญาต (โจทก์) เป็นเงินจำนวน 200,000 บาท" เป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าฐานที่จำเลยทั้งสิบปฏิบัติผิดสัญญาอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์กำหนดค่าเสียหายในสัญญาการใช้ลิขสิทธิ์เป็นจำนวน 200,000 บาท เท่ากันทุกฉบับโดยไม่ได้พิจารณาลักษณะการกระทำและความเสียหายที่แท้จริงที่เกิดจากการปฏิบัติผิดสัญญาการใช้ลิขสิทธิ์ของจำเลยแต่ละคน อีกทั้งจำเลยทั้งสิบประกอบวิชาชีพเป็นครูโดยทำงานอยู่กับ ล. และ ด. ตั้งแต่ก่อนที่โจทก์บอกเลิกสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์แก่ ล. และ ด. การห้ามจำเลยทั้งสิบไม่ให้รับจ้างหรือทำงานกับ ล. และ ด. ต่อไปย่อมทำให้เกิดความยากลำบากแก่จำเลยทั้งสิบในการหางานด้วย มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสิบจงใจปฏิบัติฝ่าฝืนสัญญาที่ทำกับโจทก์ การกำหนดให้จำเลยทั้งสิบต้องชำระเงินแก่โจทก์คนละ 200,000 บาท จึงสูงเกินส่วน เมื่อโจทก์มิได้แสดงพยานหลักฐานพิสูจน์ให้เห็นว่า โจทก์ได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยแต่ละคนเป็นเงินคนละ 200,000 บาท และเมื่อพิเคราะห์ทางได้เสียของโจทก์ทุกทางประกอบกับโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่ ล. และ ด. ก่อนฟ้องคดีนี้เป็นเวลาประมาณ 5 เดือน แล้ว เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยทั้งสิบชำระเงินแก่โจทก์ในอัตราคนละ 50,000 บาท ส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสิบชดใช้ค่าสูญเสียประโยชน์คนละ 50,000 บาท และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการบังคับตามสิทธิจำนวน 50,000 บาท นั้น เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่า จำเลยทั้งสิบกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ตามฟ้อง โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายที่เป็นค่าสูญเสียประโยชน์และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการบังคับตามสิทธิของโจทก์จากจำเลยทั้งสิบได้เพราะค่าเสียหายดังกล่าว พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 64 ให้โจทก์เรียกร้องได้เฉพาะกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14919/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งในคดีอาญา: จำเป็นต้องให้ผู้เสียหายสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความเสียหาย
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพ และค่าขาดไร้อุปการะ โจทก์ร่วมจึงมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 แต่ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาว่าศาลชั้นต้นไม่ได้ให้โจทก์ร่วมนำพยานเข้าสืบในคดีส่วนแพ่งและโจทก์ร่วมก็ไม่ได้แถลงว่าไม่ติดใจสืบพยานในคดีส่วนแพ่ง แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 44/2 บัญญัติว่า "...และเมื่อพนักงานอัยการสืบพยานเสร็จ ศาลจะอนุญาตให้ผู้เสียหายนำพยานเข้าสืบถึงค่าสินไหมทดแทนได้เท่าที่จำเป็น..." ซึ่งกำหนดให้เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะอนุญาตให้โจทก์ร่วมนำพยานเข้าสืบถึงค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมได้เท่าที่จำเป็นก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่พนักงานอัยการโจทก์นำสืบเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยและความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์แล้ว เมื่อคดีนี้พนักงานอัยการโจทก์ไม่ได้นำพยานเข้าสืบเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลย เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพและไม่ใช่คดีที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เช่นนี้ ศาลชั้นต้นต้องให้โจทก์ร่วมนำพยานเข้าสืบถึงค่าสินไหมทดแทนตามคำร้องของโจทก์ร่วม เมื่อศาลชั้นต้นไม่ดำเนินการดังกล่าวแล้วกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ร่วมโดยวินิจฉัยตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยไม่ชอบ จึงต้องยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ในคดีส่วนแพ่ง แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ร่วมและจำเลยแล้วพิพากษาในคดีส่วนแพ่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22631/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการชำระหนี้เงินกู้รายวัน: สมุดบันทึกการเก็บเงินที่มีลายมือชื่อเจ้าหนี้เพียงพอต่อการรับฟังได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามสัญญากู้ยืม จำเลยทั้งสองยอมรับว่าทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ตามฟ้อง แต่ชำระหนี้เป็นรายวันครบถ้วนแล้ว หน้าที่นำสืบจึงตกแก่จำเลยทั้งสอง
การนำสืบถึงการชำระหนี้กู้ยืมด้วยเงินนั้น ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง กำหนดให้ผู้นำสืบต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองนำสืบโดยมีสมุดบันทึกการเก็บเงินเป็นรายวัน ซึ่งมีลายมือชื่อโจทก์มาแสดง แม้สมุดบันทึกดังกล่าวที่ลงลายมือชื่อโจทก์ไม่ได้ระบุว่ารับเงินค่าอะไร แต่ก็มีข้อความระบุจำนวนดอกเบี้ยที่ค้าง ซึ่งบ่งชี้ว่าในเดือนนั้นจำเลยทั้งสองชำระในส่วนที่เป็นต้นเงิน โดยยังค้างดอกเบี้ยไว้ ดังนี้ หลักฐานเป็นหนังสือตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง มิได้เคร่งครัดถึงกับว่าจะต้องมีถ้อยคำว่าใช้หนี้กู้ยืมเงิน เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า เจ้าหนี้มาเก็บเงินเป็นรายวัน มีจำนวนเงินที่เรียกเก็บ และเมื่อลูกหนี้ค้างชำระในส่วนดอกเบี้ย ก็มีรายละเอียดว่าค้างดอกเบี้ยเดือนใดบ้าง โดยมีลายมือชื่อเจ้าหนี้ลงในช่องทุกวัน ที่มาเรียกเก็บเงิน ถือว่าสมุดบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการชำระหนี้เงินกู้ตามมาตรา 653 วรรคสอง จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบการใช้เงินได้
การนำสืบถึงการชำระหนี้กู้ยืมด้วยเงินนั้น ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง กำหนดให้ผู้นำสืบต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองนำสืบโดยมีสมุดบันทึกการเก็บเงินเป็นรายวัน ซึ่งมีลายมือชื่อโจทก์มาแสดง แม้สมุดบันทึกดังกล่าวที่ลงลายมือชื่อโจทก์ไม่ได้ระบุว่ารับเงินค่าอะไร แต่ก็มีข้อความระบุจำนวนดอกเบี้ยที่ค้าง ซึ่งบ่งชี้ว่าในเดือนนั้นจำเลยทั้งสองชำระในส่วนที่เป็นต้นเงิน โดยยังค้างดอกเบี้ยไว้ ดังนี้ หลักฐานเป็นหนังสือตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง มิได้เคร่งครัดถึงกับว่าจะต้องมีถ้อยคำว่าใช้หนี้กู้ยืมเงิน เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า เจ้าหนี้มาเก็บเงินเป็นรายวัน มีจำนวนเงินที่เรียกเก็บ และเมื่อลูกหนี้ค้างชำระในส่วนดอกเบี้ย ก็มีรายละเอียดว่าค้างดอกเบี้ยเดือนใดบ้าง โดยมีลายมือชื่อเจ้าหนี้ลงในช่องทุกวัน ที่มาเรียกเก็บเงิน ถือว่าสมุดบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการชำระหนี้เงินกู้ตามมาตรา 653 วรรคสอง จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบการใช้เงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8718/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาลตามกฎกระทรวง แม้ไม่มีการใช้น้ำจริง โจทก์ไม่ต้องพิสูจน์การใช้งาน
พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 เป็นกฎหมายพิเศษที่มีเจตนารมณ์ที่จะควบคุมดูแลการขุดเจาะน้ำบาดาลและการระบายน้ำลงบ่อบาดาล ทั้งนี้ เพื่อป้องกันรักษาแหล่งน้ำบาดาลซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติไม่ให้ขาดแคลนหรือเสียหาย อีกทั้งป้องกันการทรุดตัวของแผ่นดินและการก่อให้เกิดมลพิษแก่น้ำบาดาลอันเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพย์สินหรือสุขภาพของประชาชน อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการดูแลจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แม้ขณะที่จำเลยขุดเจาะน้ำบาดาลในที่ดินของจำเลย บริเวณพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรียังไม่ได้ถูกประกาศให้เป็นเขตน้ำบาดาล แต่เมื่อต่อมากระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2537) กำหนดเขตน้ำบาดาลเพิ่มเติมโดยให้ท้องที่จังหวัดกาญจนบุรีเป็นเขตน้ำบาดาล และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2538 ดังนั้น นับตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2538 เป็นต้นไป การประกอบกิจการน้ำบาดาลโดยการขุดเจาะน้ำบาดาลหรือใช้น้ำบาดาลจากบ่อน้ำบาดาลทั้งสิบสองบ่อในที่ดินจำเลยที่อยู่ในเขตน้ำบาดาลตามฟ้องจะต้องอยู่ภายใต้ความควบคุมของโจทก์ และจำเลยจะต้องขอรับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ตามมาตรา 17 และมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 และจำเลยจะต้องชำระค่าใช้น้ำบาดาลตามที่ระบุไว้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 จึงไม่ได้มีผลย้อนหลังบังคับแก่การขุดเจาะน้ำบาดาลและการใช้น้ำบาดาลของจำเลยก่อนวันที่ 18 มกราคม 2538
ในการเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาลจากบ่อน้ำบาดาลที่ได้รับอนุญาตนั้นโจทก์เรียกเก็บตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2540) โดยหากผู้รับใบอนุญาตไม่ได้ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำบาดาลก็เป็นกรณีที่เข้าเงื่อนไขตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) ข้อ 2 (2) และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2540) ข้อ 3 (2) ที่ไม่อาจคำนวณปริมาณน้ำบาดาลที่ผู้ได้รับใบอนุญาตใช้ได้ ซึ่งตามกฎกระทรวงทั้งสองฉบับกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตชำระค่าใช้น้ำบาดาลตามปริมาณน้ำบาดาลสูงสุดที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตโดยไม่คำนึงว่าจะมีการใช้น้ำบาดาลจริงหรือไม่ เพียงใด เพราะเป็นกรณีที่ไม่สามารถคำนวณการใช้น้ำบาดาลได้ เนื่องจากผู้รับใบอนุญาตให้ใช้น้ำบาดาลไม่ได้ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำ ซึ่งข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการใช้น้ำบาดาลจากบ่อของผู้ได้รับใบอนุญาตในที่ดินของผู้รับใบอนุญาตนั้นอยู่ในความรู้เห็นของผู้ได้รับใบอนุญาตเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นการยากที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะสามารถตรวจสอบปริมาณน้ำที่ผู้ได้รับใบอนุญาตใช้จริง กฎกระทรวงจึงกำหนดเป็นภาระของผู้ได้รับใบอนุญาตที่จะต้องชำระค่าน้ำบาดาลในปริมาณสูงสุดตามใบอนุญาต โจทก์ไม่มีหน้าที่ภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยได้ใช้น้ำบาดาลจริงหรือไม่
แม้ขณะที่จำเลยขุดเจาะน้ำบาดาลในที่ดินของจำเลย บริเวณพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรียังไม่ได้ถูกประกาศให้เป็นเขตน้ำบาดาล แต่เมื่อต่อมากระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2537) กำหนดเขตน้ำบาดาลเพิ่มเติมโดยให้ท้องที่จังหวัดกาญจนบุรีเป็นเขตน้ำบาดาล และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2538 ดังนั้น นับตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2538 เป็นต้นไป การประกอบกิจการน้ำบาดาลโดยการขุดเจาะน้ำบาดาลหรือใช้น้ำบาดาลจากบ่อน้ำบาดาลทั้งสิบสองบ่อในที่ดินจำเลยที่อยู่ในเขตน้ำบาดาลตามฟ้องจะต้องอยู่ภายใต้ความควบคุมของโจทก์ และจำเลยจะต้องขอรับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ตามมาตรา 17 และมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 และจำเลยจะต้องชำระค่าใช้น้ำบาดาลตามที่ระบุไว้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 จึงไม่ได้มีผลย้อนหลังบังคับแก่การขุดเจาะน้ำบาดาลและการใช้น้ำบาดาลของจำเลยก่อนวันที่ 18 มกราคม 2538
ในการเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาลจากบ่อน้ำบาดาลที่ได้รับอนุญาตนั้นโจทก์เรียกเก็บตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2540) โดยหากผู้รับใบอนุญาตไม่ได้ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำบาดาลก็เป็นกรณีที่เข้าเงื่อนไขตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) ข้อ 2 (2) และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2540) ข้อ 3 (2) ที่ไม่อาจคำนวณปริมาณน้ำบาดาลที่ผู้ได้รับใบอนุญาตใช้ได้ ซึ่งตามกฎกระทรวงทั้งสองฉบับกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตชำระค่าใช้น้ำบาดาลตามปริมาณน้ำบาดาลสูงสุดที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตโดยไม่คำนึงว่าจะมีการใช้น้ำบาดาลจริงหรือไม่ เพียงใด เพราะเป็นกรณีที่ไม่สามารถคำนวณการใช้น้ำบาดาลได้ เนื่องจากผู้รับใบอนุญาตให้ใช้น้ำบาดาลไม่ได้ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำ ซึ่งข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการใช้น้ำบาดาลจากบ่อของผู้ได้รับใบอนุญาตในที่ดินของผู้รับใบอนุญาตนั้นอยู่ในความรู้เห็นของผู้ได้รับใบอนุญาตเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นการยากที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะสามารถตรวจสอบปริมาณน้ำที่ผู้ได้รับใบอนุญาตใช้จริง กฎกระทรวงจึงกำหนดเป็นภาระของผู้ได้รับใบอนุญาตที่จะต้องชำระค่าน้ำบาดาลในปริมาณสูงสุดตามใบอนุญาต โจทก์ไม่มีหน้าที่ภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยได้ใช้น้ำบาดาลจริงหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6034/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์องค์ประกอบสินค้าในสัญญาซื้อขาย ผู้ผลิตต้องพิสูจน์ตามที่ระบุ หากพิสูจน์ไม่ได้ ถือผิดสัญญา
โจทก์เป็นผู้ผลิตและระบุองค์ประกอบรวมทั้งแสดงข้อบ่งใช้ไว้ในฉลากย่อมต้องมีภาระที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่ายาฆ่าเชื้ออัล-ไบโอไซด์ 25 มีส่วนประกอบตามที่ระบุไว้จริง ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยมีภาระการพิสูจน์จึงไม่ถูกต้อง และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขและวินิจฉัยไปตามภาระการพิสูจน์ที่ถูกต้องได้
เมื่อโจทก์มีภาระการพิสูจน์ แต่ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า ย่าฆ่าเชื้ออัล-ไบโอไซด์ 25 มีสารกลูตารัลดีไฮด์เป็นองค์ประกอบอยู่ 12.5 เปอร์เซนต์ ตามที่ระบุไว้ในฉลากจึงต้องถือว่าโจทก์ส่งมอบสินค้าที่ซื้อไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของสัญญา โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และเมื่อสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะไม่ชำระราคาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369
เมื่อโจทก์มีภาระการพิสูจน์ แต่ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า ย่าฆ่าเชื้ออัล-ไบโอไซด์ 25 มีสารกลูตารัลดีไฮด์เป็นองค์ประกอบอยู่ 12.5 เปอร์เซนต์ ตามที่ระบุไว้ในฉลากจึงต้องถือว่าโจทก์ส่งมอบสินค้าที่ซื้อไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของสัญญา โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และเมื่อสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะไม่ชำระราคาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4464/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจไม่ตรงกับลายมือชื่อจริง สัญญาจำนองไม่ผูกพันจำเลย
จำเลยให้การปฏิเสธว่า ไม่เคยกู้และรับเงินจากโจทก์ จำเลยไม่เคยมอบอำนาจให้ ว. ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินตามฟ้องไว้แก่โจทก์ ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย แต่เป็นลายมือชื่อปลอม ภาระการพิสูจน์ในปัญหานี้จึงตกแก่โจทก์ แต่คำเบิกความของพยานโจทก์มีพิรุธหลายประการ เพราะโจทก์ไม่มีสัญญากู้หรือหลักฐานการรับเงินของจำเลยมาแสดงต่อศาล นอกจากนี้โจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานอ้าง ว. หรือผู้ลงชื่อเป็นพยาน 2 คน ในหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นพยานรู้เห็นโดยตรงเป็นพยานสนับสนุนให้ได้ความตามข้ออ้างของตน ทั้งเมื่อศาลตรวจดูลายมือชื่อในช่องผู้มอบอำนาจเปรียบเทียบกับลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลยที่ลงไว้ในสารบบที่ดิน เห็นว่า ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลย แต่เป็นลายมือชื่อปลอม เพราะคุณสมบัติของการเขียนรูปลักษณะของตัวอักษรแตกต่างกับลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลย พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมอบอำนาจให้ ว. นำที่ดินตามฟ้องไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันไว้แก่โจทก์ หนังสือสัญญาจำนองจึงไม่ผูกพันจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยคอนโดมิเนียม, การสลักหลังเช็ค, และภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ป.พ.พ. มาตรา 326 มีความหมายแต่เพียงว่า บุคคลผู้ชำระหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จให้แก่ตนเป็นสำคัญ เพื่อเป็นพยานหลักฐานใช้ยันต่อเจ้าหนี้ว่าตนได้ชำระหนี้แล้ว หากเป็นการชำระหนี้โดยสิ้นเชิงผู้ชำระหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกให้เวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ หรือให้ขีดฆ่าเอกสารนั้นได้ด้วย แต่ไม่ได้หมายความถึงว่าหากไม่มีใบเสร็จเป็นสำคัญ หรือไม่มีการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ หรือไม่มีการขีดฆ่าเอกสารนั้นแล้ว ลูกหนี้จะไม่อาจนำสืบด้วยพยานหลักฐานอย่างอื่นว่ามีการชำระหนี้แล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 4 ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คที่ ม. นำมาขายลดไว้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 4 ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คฉบับดังกล่าว ลายมือชื่อที่ปรากฏในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอม โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าลายมือชื่อที่สลักหลังเช็คเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 4 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 หาใช่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 4 ที่ต้องนำสืบว่าลายมือชื่อที่สลักหลังเช็คเป็นลายมือชื่อปลอมไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้รับผิดในฐานะทายาทโดยธรรมของ ม. ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ โดยไม่ได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ต้องรับผิดไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601 จึงไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 4 ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คที่ ม. นำมาขายลดไว้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 4 ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คฉบับดังกล่าว ลายมือชื่อที่ปรากฏในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอม โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าลายมือชื่อที่สลักหลังเช็คเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 4 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 หาใช่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 4 ที่ต้องนำสืบว่าลายมือชื่อที่สลักหลังเช็คเป็นลายมือชื่อปลอมไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้รับผิดในฐานะทายาทโดยธรรมของ ม. ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ โดยไม่ได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ต้องรับผิดไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601 จึงไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12476/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: ข้อสันนิษฐานกรรมสิทธิ์ตามทะเบียนที่ดิน vs. การครอบครองปรปักษ์ จำเลยต้องพิสูจน์การครอบครอง
ป.พ.พ. มาตรา 1373 บัญญัติไว้ว่า "ถ้าทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง" โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาททั้งสองแปลง จากข้อสันนิษฐานเบื้องต้นจึงต้องฟังว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แม้จำเลยที่ 1 จะมีคำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่า จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่ภาระการพิสูจน์ก็ตกแก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ต้องพิสูจน์ว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี เมื่อจำเลยที่ 1 มีภาระการพิสูจน์ แต่พยานหลักฐานที่นำมาสืบยังไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดีกว่าจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5397/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศ: การพิสูจน์ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่า จำเลยทั้งสองกระทำการโดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุให้สินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้สูญหายไปบางส่วนระหว่างการขนส่งสินค้า จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตน ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังไม่ได้ว่าสินค้าพิพาทสูญหายจากการกระทำโดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองสามารถยกข้อตกลงจำกัดความรับผิดด้านหลังใบรับขนของทางอากาศขึ้นอ้างเป็นประโยชน์แก่ตนได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าข้อตกลงดังกล่าวตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 373 นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ