พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินที่ไม่ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เป็นที่พอใจว่าต้นฉบับเอกสารสัญญากู้ยืมเงินได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ศาลจึงรับฟังคู่ฉบับเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้และเมื่อโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 653 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารสัญญากู้ยืมเงินไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ทำให้ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เป็นที่พอใจว่าต้นฉบับเอกสารสัญญากู้ยืมเงินได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ศาลจึงรับฟังคู่ฉบับเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ และเมื่อโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 653 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137-1138/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงิน หลักฐานการกู้ยืม เอกสารที่ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ และการฟ้องร้องเรียกหนี้
โจทก์ฟ้องว่าบิดาจำเลยกู้เงินโจทก์ไปตามฟ้องจำเลยให้การต่อสู้คดีว่าบิดาจำเลยไม่ได้กู้เงินไปจากโจทก์ดังนี้ข้อความที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าบิดาจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปตามฟ้องหรือไม่ย่อมมีความหมายรวมไปถึงว่าบิดาจำเลยได้รับเงินแล้วหรือไม่ไม่จำต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าบิดาจำเลยได้กู้เงินโจทก์และรับเงินกู้ไปแล้วหรือไม่ บิดาจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปตามเอกสารหมายจ.2และจ.6โดยเอกสารหมายจ.2ทำขึ้นในวันที่3กรกฎาคม2535มีข้อความว่า"ฯลฯข้อ1ฯลฯ1.1ผู้กู้ได้กู้ยืมเงินมาเมื่อวันที่22กุมภาพันธ์2533จำนวนเงิน2,025,000บาท(สองล้านสองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)1.2ผู้กู้ได้กู้ยืมเงินมาเมื่อวันที่13มิถุนายน2533จำนวนเงิน590,000บาทฯลฯรวมเป็นเงินฯลฯ10,900,000บาท(สิบล้านเก้าแสนบาทถ้วน)ฯลฯข้อ3ผู้ให้กู้และผู้กู้ตกลงกันว่าเงินจำนวนกู้ทั้งหมดตามสัญญากู้นี้ผู้กู้จะชำระคืนให้เมื่อขายที่ที่สามเหลี่ยมทองคำฯลฯได้เสร็จเรียบร้อยแล้วฯลฯ"การที่โจทก์และบิดาจำเลยได้ทำสัญญากู้เงินกันก่อนหน้าที่โจทก์และบิดาจำเลยจะได้ทำเอกสารหมายจ.2ซึ่งตามข้อความในเอกสารหมายจ.2ก็ปรากฏชัดว่าบิดาจำเลยได้รับเงินไปก่อนแล้วทั้งเอกสารหมายจ.6ก็มีลักษณะอย่างเดียวกันเอกสารหมายจ.2และจ.6จึงเป็นเพียงหลักบานในการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อบิดาจำเลยผู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653วรรคหนึ่งไม่ใช่สัญญากู้ยืมเงินแม้ไม่ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ หนี้ตามเอกสารหมายจ.2จำเลยให้การต่อสู้ว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไม่เคยทวงถามจำเลยให้ชำระหนี้เลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าหนี้ตามเอกสารหมายจ.2ยังไม่ถึงกำหนดเพราะจำเลยยังไม่ได้ขายที่ดินฎีกาของจำเลยที่ว่าหนี้ตามเอกสารหมายจ.2ยังไม่ถึงกำหนดจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ หนี้ตามเอกสารหมายจ.6ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้โจทก์จะบอกกล่าวเพื่อให้เวลาแก่จำเลยหรือไม่ก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา203โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้แม้ไม่ได้บอกกล่าวจำเลยให้ชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6315/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ต้องทำเป็นหนังสือ การนำสืบพยานบุคคลขัดต่อมาตรา 94(ข) ว.พ.พ.
สัญญากู้และสัญญาจำนองประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งและมาตรา 714 บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อโจทก์มีสัญญากู้และสัญญาจำนองมาแสดง จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อตกลงเพิ่มเติมไปกว่าข้อความที่มีอยู่ในสัญญาทั้งสองนั้นอยู่อีก จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ปัญหาข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) นี้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบด้วยมาตรา 246 และ มาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6315/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองและกู้ต้องทำเป็นหนังสือ การนำสืบพยานบุคคลขัดกับข้อตกลงในสัญญา
สัญญากู้และสัญญาจำนอง ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่งและมาตรา 714 บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อโจทก์มีสัญญากู้และสัญญาจำนองมาแสดง จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อตกลงเพิ่มเติมไปกว่าข้อความที่มีอยู่ในสัญญาทั้งสองนั้นอยู่อีก จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความแพ่ง มาตรา 94 (ข)
ปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) นี้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขี้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา246 และมาตรา 247
ปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) นี้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขี้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3722/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คชำระหนี้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ: ไม่เข้าความผิด พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงิน100,000บาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์โดยจำเลยได้บันทึกด้วยว่าได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่จำเลยได้กู้ยืมจากโจทก์โดยทำบันทึกดังกล่าวภายหลังที่ออกเช็คชำระหนี้แก่โจทก์แล้วแม้กระทำในวันเดียวกันก็ตามดังนี้แม้จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จริงแต่หนี้นั้นไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมายจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3003/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานประจำวันคดีอาญาเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินได้ หากมีข้อความรับสภาพหนี้และลงลายมือชื่อ
รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่เปรียบเทียบปรับจำเลยในข้อหาทำร้ายโจทก์ซึ่งมีข้อความว่าจำเลยได้ขอยืมเงินของโจทก์และสัญญาจะชดใช้เงินคืนทั้งได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วยถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินซึ่งใช้ฟ้องร้องคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารหลักฐานการยืมเงินต้องมีลายมือชื่อผู้ยืมจึงใช้บังคับคดีได้
เอกสารที่จำเลยเขียนมีข้อความว่า "วันที่ 11 กันยายน 2528วัฒนา สุขสำราญ ได้ยืมเงินพี่ดาหกหมื่นบาทถ้วน" ถือไม่ได้ว่าชื่อจำเลยที่เขียนไว้เป็นการลงลายมือชื่อ เมื่อเอกสารไม่มีลายมือชื่อของจำเลยลงไว้ในฐานะเป็นผู้ยืมจึงไม่เป็นหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมที่จะใช้ฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ตามความมุ่งหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมไม่จำเป็นต้องระบุคำว่า 'กู้ยืม' หรือรายละเอียดครบถ้วน สามารถรวบรวมจากเอกสารหลายฉบับได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้บังคับว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือต้องมีข้อความว่า ใครเป็นผู้ให้กู้ ใครเป็นผู้กู้ กู้ยืมกันเมื่อไรกำหนดชำระเงินกันอย่างไร อีกทั้งหาได้มีความหมายเคร่งครัดว่าต้องมีถ้อยคำว่า กู้ยืม เป็นหลักฐานในเอกสารนั้นไม่ และข้อความที่จะรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้นั้นไม่จำต้องมีบรรจุอยู่ในเอกสารฉบับเดียวกัน อาจรวบรวมจากเอกสารหลายฉบับที่เกี่ยวโยงเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารรับเงินไม่ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม หากเนื้อหาไม่ชัดเจนถึงการก่อหนี้
เอกสารท้ายฟ้องฉบับแรกมีข้อความว่า "โปรดมอบเงินจำนวน15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาท) ให้กับนาย นเรศแซ่ทวยผู้ถือบัตรนี้มาด้วยครับ" และอีกฉบับหนึ่งมีข้อความว่า "ได้รับเงินจากพี่ เล็ก 15,000 บาท" ดังนี้ ข้อความในเอกสารทั้งสองฉบับไม่อาจแปลได้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์ จึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653วรรคหนึ่ง.