คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 192 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้องในคดีอาญา: การริบของกลาง
ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามกฎหมายและสั่งริบเมทแอมเฟตามีนที่เหลือจากการตรวจพิสูจน์ กับโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง ของกลาง และบวกโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาของศาลชั้นต้นเข้ากับโทษจำเลยที่ 1 ด้วยเท่านั้น โดยไม่ได้มีคำขอให้ริบเงินจำนวน 82,500 บาท ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบของกลางโดยไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่าให้ริบของกลางอะไรบ้าง จึงย่อมหมายถึงเฉพาะของกลางที่โจทก์กล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง การที่ศาลอุทธรณ์เข้าใจว่าศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบเงินจำนวน 82,500 บาท ด้วยจึงได้หยิบยกปัญหาว่าเงินของกลางจำนวน 82,500 บาท มิได้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ซึ่งได้ใช้เฉพาะความผิดในคดีนี้ขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้เป็นว่าไม่ริบเงินจำนวน 82,500 บาท โดยให้คืนเจ้าของ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 292 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อจากคดีก่อนหน้า: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการนับโทษตามหมายเลขคดีที่จำเลยรับว่าเป็นบุคคลเดียวกัน ไม่เกินคำขอ แม้ พ.ศ. ในคำฟ้องจะคลาดเคลื่อน
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 307/2546 ของศาลชั้นต้น ขอให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยในคดีดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นนับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 307/2547 คดีหมายเลขแดงที่ 261/2547 ของศาลชั้นต้นโดยจำเลยรับว่า เป็นบุคคลเดียวกับจำเลยที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อและคดีที่ศาลชั้นต้นให้นับโทษต่อมีชื่อตรงกับจำเลย ฐานความผิดก็ตรงกับคดีนี้ เมื่อคดีนี้เป็นหมายเลขดำที่ 309/2547 หมายเลขแดงที่ 262/2547 ของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาต่อจากคดีที่ขอให้นับโทษต่อ ศาลชั้นต้นจึงนับโทษต่อตามหมายเลขคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ตรงตามความจริงที่จำเลยเป็นบุคคลเดียวกับคดีที่ขอให้นับโทษต่อได้ ส่วนการที่โจทก์ระบุ พ.ศ. ของคดีหมายเลขดำไม่ตรงกับชื่อของจำเลยเป็นแต่รายละเอียด คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้นับโทษต่อจึงไม่เกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาต้องเป็นไปตามฟ้อง หากมีข้อเท็จจริงนอกฟ้อง ศาลไม่อาจลงโทษจำเลยได้
เมื่อพิจารณาคำฟ้องของโจทก์เฉพาะส่วนที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในข้อหาความผิดฐานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแล้ว ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องในข้อหานี้แต่เพียงว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่และละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์กับพวกไม่ได้ร่วมกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกง แต่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กลับร่วมกันรับคำร้องทุกข์กล่าวโทษและดำเนินคดีแก่โจทก์กับพวกเป็นเหตุให้โจทก์กับพวกถูกควบคุมตัวเป็นผู้ต้องหา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง สิทธิ เสรีภาพของโจทก์กับพวกเท่านั้น โจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องเลยว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยการบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวระหว่างสอบสวนของโจทก์กับพวกแต่อย่างใด ดังนั้น แม้จะได้ความตามทางพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 มีพฤติการณ์ในทางบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวระหว่างสอบสวนของโจทก์กับพวกก็ตาม ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความดังกล่าวนั้นได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง กรณีจึงมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 4 ไม่ควรต้องรับโทษและศาลต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 มาด้วยนั้น จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12582/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้บัตรเครดิตปลอม ฉ้อโกง และการริบของกลาง ศาลฎีกาแก้ไขโทษและข้อกำหนดการริบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยปลอมบัตรเครดิตวีซ่าและนำบัตรเครดิตที่ปลอมนั้นไปใช้หลอกลวงร้านค้า ห. ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าเป็นผู้มีชื่อถือบัตรเครดิตดังกล่าว และได้ไปซึ่งกระเป๋าของกลาง 2 ใบ โดยมิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่และมิได้ขอให้ศาลสั่งริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวมาในฟ้อง ศาลย่อมริบไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ส่วนกระเป๋าของกลาง เจ้าของไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดจึงริบไม่ได้เช่นกันตาม ป.อ. มาตรา 33 วรรคท้าย
แม้พนักงานอัยการโจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยคืนเงินแก่ธนาคาร ท. ผู้จ่ายเงินตามใบบันทึกรายการขายที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตปลอมของจำเลยก็ตาม แต่เมื่อความเสียหายที่ธนาคาร ท. ได้รับนั้น เป็นเพียงความเสียหายทางแพ่ง ไม่ใช่ถูกจำเลยกระทำทางอาญาจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) พนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจขอให้ศาลสั่งจำเลยคืนเงินที่ธนาคาร ท. จ่ายให้ร้าน ห. ให้แก่ธนาคาร ท. ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจะไม่มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญากำหนดให้การกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269/4 วรรคแรก ประกอบมาตรา 269/7 แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คือมาตรา 265 และ 268 มาบังคับแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4873/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษจำเลยในคดีอาญาจากเหตุบรรเทาโทษและแก้ไขคำพิพากษาเกี่ยวกับความผิดฐานมีอาวุธปืน
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนพกออโตเมติก ขนาด 9 มม. เครื่องหมายทะเบียน นว 7/7717 พร้อมซองกระสุนปืนจำนวน 1 กระบอก และกระสุนปืนขนาด .380 จำนวน 10 นัด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ คดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องว่า อาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นจำเลยมีความผิดฐานนี้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสาม แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง อันเป็นการลงโทษสำหรับกรณีที่อาวุธปืนซึ่งมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียน จึงเป็นคำพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองโดยปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4042/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ข้อเท็จจริงจากรายงานสืบเสาะพินิจประกอบการพิจารณาโทษ ไม่ถือเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ได้หยิบยกเอาข้อเท็จจริงที่ได้มาจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติซึ่งจำเลยทราบแล้วไม่ได้โต้เถียงหรือคัดค้านมากล่าวในคำพิพากษาประกอบการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการร้ายแรงหรือไม่เพียงใดเพื่อที่จะได้ใช้ดุลพินิจพิจารณาว่าสมควรจะลงโทษหรือรอการลงโทษให้แก่จำเลย มิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้องแต่อย่างใด
จำเลยปลอมแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์ ซึ่งเป็นเอกสารราชการ และใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดดังกล่าว ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประโยชน์ของทางราชการ อันเป็นความเสียหายโดยตรงในทางสาธารณะ ทั้งเป็นการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีรถยนต์ให้แก่รัฐตามกฎหมายอีกด้วย พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องที่ร้ายแรง ลำพังแต่จำเลยมีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว ซึ่งเป็นเหตุผลและความจำเป็นส่วนตัว ไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษให้แก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดขอบเขตการพิจารณาคดีอาญาตามฟ้อง และการเล็งเห็นผลการกระทำที่เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
โจทก์บรรยายฟ้องระบุการกระทำของจำเลยว่าจำเลยขับรถบรรทุกสิบล้อพร้อมรถพ่วงด้วยความเร็วสูงพุ่งเข้าชนผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่า เหตุเกิดที่แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร แต่โจทก์นำสืบถึงการกระทำของจำเลยเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 คือ จำเลยขับรถบรรทุกสิบล้อพร้อมรถพ่วงพุ่งเข้าชนผู้เสียหาย เหตุเกิดที่เชิงสะพานพระราม 7 ถนนวงศ์สว่าง ตอนที่ 2 คือ จำเลยขับรถคันดังกล่าวแล่นไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ขณะที่ผู้เสียหายยืนเกาะอยู่ที่ประตูรถในลักษณะที่อาจทำให้ผู้เสียหายตกจากรถได้ และตอนที่ 3 คือ จำเลยขับรถคันดังกล่าวพุ่งเข้าชนผู้เสียหายที่ถนนจรัญสนิทวงศ์หน้าร้าน ฮ. เฟอร์นิเจอร์ ดังนี้ การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์นำสืบในตอนที่ 2 และตอนที่ 3 ย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องและไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่
พยานโจทก์ไม่สมเหตุผลไม่น่าเชื่อว่าจำเลยขับรถบรรทุกสิบล้อในลักษณะที่จะพุ่งเข้าชนผู้เสียหาย อย่างไรก็ตามการที่จำเลยขับรถบรรทุกสิบล้อตรงไปในขณะที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานยืนโบกมืออยู่บนถนนเพื่อเรียกให้จำเลยจอดรถนั้น จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่ารถอาจเฉี่ยวชนผู้เสียให้ได้รับอันตรายแก่กายได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ความผิดฐานนี้รวมอยู่ในความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ จึงลงโทษจำเลยฐานพยายามทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษคดีอาญาเดิมเข้ากับคดีใหม่ แม้โจทก์มิได้ขอ ศาลชอบที่บวกได้หากปรากฏตามรายงานการสืบเสาะและจำเลยรับ
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งตามรายงานการสืบเสาะและพินิจ และจำเลยที่ 1 และที่ 2 แถลงรับตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องโทษตามคดีอาญาดังกล่าวอีกคนละ 2 คดี ของศาลชั้นต้นจริง โดยใหรอการลงโทษไว้และภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้ในคดีก่อน จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้มากระทำความผิดคดีนี้ เช่นนี้แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษคดีนี้ แต่เป็นกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองจากรายงานการสืบเสาะและพินิจ ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น ศาลจึงต้องนำโทษจำคุกที่รอไว้ในคดีก่อนเรื่องนั้นของศาลชั้นต้นมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคหนึ่ง และไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่อุทธรณ์รายงานสืบเสาะและพิจารณาในชั้นฎีกาได้ ศาลฎีกามีอำนาจบวกโทษคดีที่รอการลงโทษตามกฎหมาย
ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นแจ้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติให้จำเลยทราบ จำเลยไม่คัดค้านและลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา จำเลยจะมาโต้แย้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติในชั้นฎีกาไม่ได้ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติระบุว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาของศาลจังหวัดนครนายกให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และในคดีของศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุก 1 เดือน และปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และในระหว่างที่ยังไม่ครบกำหนด 2 ปี ตามที่รอการลงโทษไว้ในคดีทั้งสองสำนวน จำเลยกระทำความผิดเป็นคดีนี้อีก แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีทั้งสองสำนวนก่อนเข้ากับโทษคดีนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีทั้งสองสำนวนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก กรณีนี้มิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะกฎฆมายบังคับให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังด้วย และมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ทั้งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานผิดกฎหมายและการพิสูจน์ความเกี่ยวข้องของจำเลย ศาลฎีกายกฟ้องเนื่องจากไม่มีหลักฐานการกระทำร่วม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30,82,91 ตรี ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯมาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 ยกฟ้องข้อหาอื่น จำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องทั้งหมด โดยโจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี จึงถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและความผิดดังกล่าวมีองค์ประกอบแตกต่างกับความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30,82 ไม่เกี่ยวข้องกัน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี มิได้เป็นส่วนหนึ่งของความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30,82 อันจะทำให้ศาลลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหก ทั้งกรณีไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องเกี่ยวกับฐานความผิดซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรีได้ เป็นการเกินคำขอไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 ดังนั้น เมื่อระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้เสียหายทั้งสองได้ขอถอนคำร้องทุกข์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ก็ไม่จำต้องสั่งอีก
of 19