พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2801-2802/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานผลิตและมีวัตถุออกฤทธิ์, ครอบครองอาวุธปืนผิดกฎหมาย, และการลงโทษหลายกรรม
จำเลยทั้งสองเป็นนายจ้างลูกจ้างกัน จำเลยที่ 1 ผสมเมทแอมเฟตามีน โดยจำเลยที่ 2 ช่วยส่งถังน้ำและหยิบของในถุงส่งให้ ประกอบกับเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนของกลางที่ยึดได้มีทั้งที่ผลิตสำเร็จอัดเป็นเม็ดแล้วยังเป็นผลึกและยังเป็นของเหลวอยู่ฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนของกลาง
เมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองมีจำนวนมาก ซึ่งได้มาจากการผลิตด้วยเครื่องจักรทันสมัย และมีที่เป็นเม็ดแล้ว และที่เป็นผลึกและน้ำยาตกผลึกเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยกำลังผสมเป็นของเหลวอีกประกอบกับจำเลยมีซองพลาสติกกับถุงพลาสติกในขนาดต่าง ๆ ที่จำเลยมีไว้สำหรับบรรจุเมทแอมเฟตามีนออกขาย จึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนของกลางไว้เพื่อขาย
ลูกระเบิดซ้อมขว้างของกลางอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ แม้ไม่มีอานุภาพทำลายล้าง ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินก็เป็นเครื่องกระสุนปืนตามความหมายของพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 4(2)
ความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกับความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มีวัตถุแห่งการกระทำความผิดแตกต่างกัน กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้คนละฉบับ การมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,72 วรรคสอง ส่วนการมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองเป็นความผิดตามมาตรา 55,78 วรรคหนึ่ง ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่า มีความประสงค์จะแยกความผิดสองฐานนี้ออกจากกัน และการกระทำความผิดสองฐานดังกล่าวแยกออกได้จากการกระทำความผิดฐานผลิตกับมีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย แม้จำเลยจะมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกัน และพร้อมกับที่จำเลยผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนกับอีเฟดรีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย ก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนที่จำเลยผลิตเป็นจำนวนเดียวกับเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย การกระทำของจำเลยส่วนนี้เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขายบางส่วนมิใช่เมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนที่จำเลยผลิต และลงโทษจำเลยฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขายเป็นอีกกระทงหนึ่ง จึงเป็นการพิพากษาที่มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
เมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองมีจำนวนมาก ซึ่งได้มาจากการผลิตด้วยเครื่องจักรทันสมัย และมีที่เป็นเม็ดแล้ว และที่เป็นผลึกและน้ำยาตกผลึกเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยกำลังผสมเป็นของเหลวอีกประกอบกับจำเลยมีซองพลาสติกกับถุงพลาสติกในขนาดต่าง ๆ ที่จำเลยมีไว้สำหรับบรรจุเมทแอมเฟตามีนออกขาย จึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนของกลางไว้เพื่อขาย
ลูกระเบิดซ้อมขว้างของกลางอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ แม้ไม่มีอานุภาพทำลายล้าง ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินก็เป็นเครื่องกระสุนปืนตามความหมายของพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 4(2)
ความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกับความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มีวัตถุแห่งการกระทำความผิดแตกต่างกัน กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้คนละฉบับ การมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,72 วรรคสอง ส่วนการมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองเป็นความผิดตามมาตรา 55,78 วรรคหนึ่ง ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่า มีความประสงค์จะแยกความผิดสองฐานนี้ออกจากกัน และการกระทำความผิดสองฐานดังกล่าวแยกออกได้จากการกระทำความผิดฐานผลิตกับมีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย แม้จำเลยจะมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกัน และพร้อมกับที่จำเลยผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนกับอีเฟดรีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย ก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนที่จำเลยผลิตเป็นจำนวนเดียวกับเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย การกระทำของจำเลยส่วนนี้เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขายบางส่วนมิใช่เมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนที่จำเลยผลิต และลงโทษจำเลยฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขายเป็นอีกกระทงหนึ่ง จึงเป็นการพิพากษาที่มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามนำรถยนต์ออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านศุลกากร การพิพากษาโทษฐานความผิด
จำเลยที่ 1 ได้นำรถยนต์ที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนจากจังหวัดศรีสะเกษไปยังอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และจำเลยที่ 2 ได้ติดต่อพวกของจำเลยที่ 2 เพื่อให้นำรถยนต์คันดังกล่าวไปขายที่ประเทศกัมพูชา แต่ยังนำรถยนต์ออกไปไม่ได้จึงนำไปจอดไว้ที่ตลาดอรัญประเทศเพื่อจะนำรถยนต์คันดังกล่าวไปขาย แต่ยังขายไม่ได้ จึงนำรถยนต์ไปคืนยังจุดเกิดเหตุ ดังนี้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนานำรถยนต์คันดังกล่าว ซึ่งเป็นของที่ไม่ต้องเสียอากรขาออก ออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านศุลกากรให้ถูกต้อง การกระทำของจำเลยที่ 1 เลยขั้นตระเตรียมการแล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอดเพราะขายไม่ได้ จึงเป็นความผิดฐานพยายามนำรถยนต์ออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านศุลกากรให้ถูกต้องอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 80
โจทก์มิได้ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดโดยเกี่ยวข้องด้วยประการใด ๆ ในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร หรือในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงบทกฎหมายและข้อจำกัดใด ๆ อันเกี่ยวแก่การนำของเข้า ส่งของออก ขนของขึ้น เก็บของในคลังสินค้า และการส่งมอบของโดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น ซึ่งความผิดฐานนี้ไม่ว่าจะเป็นพยายามกระทำความผิดหรือกระทำความผิดสำเร็จก็ตาม กฎหมายกำหนดโทษไว้เท่ากัน ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 83 จึงไม่ถูกต้อง นอกจากนี้คำขอท้ายฟ้องระบุให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ป.อ. มาตรา 80 คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์มิได้ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดโดยเกี่ยวข้องด้วยประการใด ๆ ในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร หรือในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงบทกฎหมายและข้อจำกัดใด ๆ อันเกี่ยวแก่การนำของเข้า ส่งของออก ขนของขึ้น เก็บของในคลังสินค้า และการส่งมอบของโดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น ซึ่งความผิดฐานนี้ไม่ว่าจะเป็นพยายามกระทำความผิดหรือกระทำความผิดสำเร็จก็ตาม กฎหมายกำหนดโทษไว้เท่ากัน ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 83 จึงไม่ถูกต้อง นอกจากนี้คำขอท้ายฟ้องระบุให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ป.อ. มาตรา 80 คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลแก้โทษฐานทำร้ายร่างกาย ไม่ใช่ฆ่า
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดสองกรรมต่างกันคือฐานทำร้ายร่างกายผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายกระทงหนึ่งและฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนาอีกกระทงหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์นำเอาการตายของผู้ตายซึ่งโจทก์บรรยายฟ้อง ว่าเป็นผลอันเกิดจากการกระทำความผิดกระทงหลัง ซึ่งศาลชั้นต้น ยกฟ้องและยุติไปแล้วมารับฟังว่าเป็นผลอันเกิดจากการกระทำ ของจำเลยกับพวกในความผิดกระทงแรก และพิพากษาลงโทษ จำเลยฐานร่วมกันทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 เป็นการพิพากษาในข้อที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องสำหรับความผิด กระทงแรก ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจ ยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยกับพวกได้รุมทำร้ายร่างกายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ เกิดอันตรายแก่กายอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ตามฟ้องกระทงแรก แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องใน ความผิดกระทงแรกว่าจำเลย แต่ผู้เดียวทำร้ายร่างกายผู้ตาย และ ตามทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยร่วมกับพวกทำร้ายร่างกายผู้ตายด้วยเป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียด ทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ และ แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288,289 โดยมิได้ขอให้ลงโทษตามมาตรา 295 มาด้วย ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 295 ได้เพราะถือได้ว่า เป็นความผิดที่รวมอยู่ในบทมาตราที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสามและวรรคท้าย
จำเลยกับพวกได้รุมทำร้ายร่างกายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ เกิดอันตรายแก่กายอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ตามฟ้องกระทงแรก แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องใน ความผิดกระทงแรกว่าจำเลย แต่ผู้เดียวทำร้ายร่างกายผู้ตาย และ ตามทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยร่วมกับพวกทำร้ายร่างกายผู้ตายด้วยเป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียด ทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ และ แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288,289 โดยมิได้ขอให้ลงโทษตามมาตรา 295 มาด้วย ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 295 ได้เพราะถือได้ว่า เป็นความผิดที่รวมอยู่ในบทมาตราที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสามและวรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาต้องชัดเจนในองค์ประกอบความผิด การพิพากษาเกินฟ้องเป็นเหตุให้ต้องยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 1 วรรคสอง เพียงว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวน 540 เม็ด น้ำหนัก 45.679 กรัม ซึ่งคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 5.643 กรัม อันเป็นจำนวนเกินปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดไว้ในครอบครองของจำเลยโดยไม่ได้ใบอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องไว้ในครอบครองเพื่อขาย อันเป็นการขายเมทแอมเฟตามีนตามความหมายของพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 4 ซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่งโจทก์บรรยายฟ้องต่อมาในข้อ 2 ว่าเจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขายตามฟ้องข้อ 1 เป็นของกลางเป็นเพียงขยายความเมทแอมเฟตามีนที่ถูกยึดเป็นของกลางเท่านั้น ไม่ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย และแม้จะอ้างบทมาตราเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวมาในฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ศาลฎีกายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายจึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯมาตรา 116 ได้ แต่การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเป็นความผิดจึงให้ริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32
ศาลฎีกายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายจึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯมาตรา 116 ได้ แต่การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเป็นความผิดจึงให้ริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางคดีคุ้มครองผู้บริโภคและเทปฯ พิจารณาจากความผิดตามกฎหมายและเหตุผลการริบ
ของกลางอันได้แก่วีดีโอเทปที่ไม่มีฉลาก จำนวน 323 ม้วน และเทปเพลงที่ไม่มีฉลากจำนวน 629 ม้วน ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น ล้วนแต่เป็นจำพวกที่ไม่มีฉลาก อันต้องด้วยความผิดตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งในขณะเดียวกัน เฉพาะวีดีโอเทปที่ไม่มีฉลากนั้นยังเป็นทรัพย์สินที่มิได้ มีการแสดงตรา หมายเลขรหัส อันต้องด้วยความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 อีกด้วย ฉะนั้น การที่โจทก์ขอให้สั่งริบของกลางทั้งสองจำพวกที่ไม่มีฉลาก โดยมิได้ขอให้สั่งริบวีดีโอเทปที่มิได้แสดงตรา หมายเลขรหัสด้วย ย่อมแสดงว่าโจทก์มีเจตนาขอให้สั่งริบของกลาง ในส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เท่านั้น คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2539 จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ฉบับเดิมมาใช้บังคับ ซึ่งมิได้บัญญัติเกี่ยวกับ การริบของกลางไว้ กรณีจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ดังที่โจทก์ขอมา แต่โดยที่ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 58 (พ.ศ. 2536) ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2536 กำหนดให้ของกลางทั้งสองจำพวก เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ประกอบกับบทกำหนดโทษตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 บัญญัติ ให้ลงโทษผู้ขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลาก ย่อมแสดง ให้เห็นว่า กรณีจะเกิดเป็นความผิดตามมาตรา 52 ได้นั้น ก็เพราะเหตุที่สินค้าที่ควบคุมฉลากนั้นไม่มีฉลากนั่นเอง หาใช่เกิดจากตัวสินค้าโดยตรงไม่ ดังนั้น ของกลางทั้งสองจำพวก จึงมิใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการ กระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) ส่วน ที่ โจทก์ ฎีกา ขอ ให้ ริบ ของ กลาง โดย อ้าง ว่า วีดีโอเทป ของกลาง มิได้ มี การ แสดง เจตนา หมาย เลข รหัส จึง เป็น ทรัพย์ ที่ มี ไว้ เป็น ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 นั้น เป็น กรณี ที่ โจทก์ ขอให้ ริบ ของกลาง อัน เนื่อง มา จาก ความผิด ตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือคำขอท้ายฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522มาตรา 52 วรรคหนึ่ง ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นวางโทษปรับจำเลยก่อนที่จะลดโทษ โดยให้ ปรับจำเลยฐานนำออกขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขาย ซึ่งเทปเพลง และวีดีโอเทปที่ไม่ปิดฉลากเป็นเงินสองหมื่นบาทนั้น เป็นเรื่องข้อผิดพลาดในการพิมพ์หรือเขียน ทั้งนี้เพราะ เมื่อศาลชั้นต้นรวมค่าปรับทุกกระทงความผิดแล้วเป็นจำนวนเงิน ทั้งสิ้น 801,000 บาท ย่อมแสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้น วางโทษปรับถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ อ้างว่าศาลชั้นต้น รวมโทษปรับผิดและรวมโทษปรับใหม่ เพิ่มขึ้นอีก 10,000 บาท นั้นจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควร แก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางวีดีโอ/เทปที่ไม่มีฉลาก: พิจารณาความผิด พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค และการขอริบตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทป
ของกลางอันได้แก่วีดีโอเทปที่ไม่มีฉลาก จำนวน 323 ม้วน และเทปเพลงที่ไม่มีฉลากจำนวน 629 ม้วน ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น ล้วนแต่เป็นจำพวกที่ไม่มีฉลาก อันต้องด้วยความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ซึ่งในขณะเดียวกันเฉพาะวีดีโอเทปที่ไม่มีฉลากนั้นยังเป็นทรัพย์สินที่มิได้มีการแสดงตรา หมายเลขรหัส อันต้องด้วยความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530อีกด้วย ฉะนั้น การที่โจทก์ขอให้สั่งริบของกลางทั้งสองจำพวกที่ไม่มีฉลาก โดยมิได้ขอให้สั่งริบวีดีโอเทปที่มิได้แสดงตรา หมายเลขรหัสด้วย ย่อมแสดงว่าโจทก์มีเจตนาขอให้สั่งริบของกลางในส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522เท่านั้น คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2539 จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ฉบับเดิมมาใช้บังคับ ซึ่งมิได้บัญญัติเกี่ยวกับการริบของกลางไว้ กรณีจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.อ.มาตรา 33 ดังที่โจทก์ขอมา แต่โดยที่ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 58 (พ.ศ.2536) ลงวันที่ 14พฤษภาคม 2536 กำหนดให้ของกลางทั้งสองจำพวกเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ประกอบกับบทกำหนดโทษตามมาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 บัญญัติให้ลงโทษผู้ขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลาก ย่อมแสดงให้เห็นว่า กรณีจะเกิดเป็นความผิดตามมาตรา 52 ได้นั้น ก็เพราะเหตุที่สินค้าที่ควบคุมฉลากนั้นไม่มีฉลากนั่นเอง หาใช่เกิดจากตัวสินค้าโดยตรงไม่ ดังนั้น ของกลางทั้งสองจำพวกจึงมิใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 33 (1)
ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้ริบของกลางโดยอ้างว่าวีดีโอเทปของกลางมิได้มีการแสดงตรา หมายเลขรหัส จึงเป็นทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา32 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ริบของกลางอันเนื่องมาจากความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือคำขอท้ายฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โดยที่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 52วรรคหนึ่ง ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นวางโทษปรับจำเลยก่อนที่จะลดโทษ โดยให้ปรับจำเลยฐานนำออกขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขายซึ่งเทปเพลงและวีดีโอเทปที่ไม่ปิดฉลากเป็นเงินสองหมื่นบาทนั้น เป็นเรื่องข้อผิดพลาดในการพิมพ์หรือเขียน ทั้งนี้เพราะเมื่อศาลชั้นต้นรวมค่าปรับทุกกระทงความผิดแล้วเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 801,000 บาท ย่อมแสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้นวางโทษปรับถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว การที่ศาลอุทธรณ์อ้างว่าศาลชั้นต้นรวมโทษปรับผิดและรวมโทษปรับใหม่เพิ่มขึ้นอีก 10,000 บาท นั้น จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้ริบของกลางโดยอ้างว่าวีดีโอเทปของกลางมิได้มีการแสดงตรา หมายเลขรหัส จึงเป็นทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา32 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ริบของกลางอันเนื่องมาจากความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือคำขอท้ายฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โดยที่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 52วรรคหนึ่ง ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นวางโทษปรับจำเลยก่อนที่จะลดโทษ โดยให้ปรับจำเลยฐานนำออกขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขายซึ่งเทปเพลงและวีดีโอเทปที่ไม่ปิดฉลากเป็นเงินสองหมื่นบาทนั้น เป็นเรื่องข้อผิดพลาดในการพิมพ์หรือเขียน ทั้งนี้เพราะเมื่อศาลชั้นต้นรวมค่าปรับทุกกระทงความผิดแล้วเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 801,000 บาท ย่อมแสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้นวางโทษปรับถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว การที่ศาลอุทธรณ์อ้างว่าศาลชั้นต้นรวมโทษปรับผิดและรวมโทษปรับใหม่เพิ่มขึ้นอีก 10,000 บาท นั้น จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5957/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน การบรรยายฟ้องและขอบเขตการลงโทษในคดีทำร้ายร่างกาย
จำเลยที่ 2 แทงผู้เสียหายที่ 2 แล้วต่อมาผู้เสียหายที่ 1 เข้าไปประคองผู้เสียหายที่ 2 จำเลย ที่ 2 ได้แทงผู้เสียหายที่ 1 ย่อมเป็นการกระทำที่ต่างกรรมกันอันเป็นความผิดหลายกระทง แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำความผิดหลายกรรมและไม่ได้ขอให้ศาลลงโทษจำเลยที่ 2ทุกกรรม เป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91แม้จะได้ความดังกล่าวก็ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษ ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ทุกกรรม คงลงโทษจำเลยที่ 2 แต่เพียงกระทงเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมาทในการขับรถ: การนำสืบต้องเป็นไปตามฟ้อง หากไม่ปรากฎการประมาทของจำเลย ศาลต้องยกฟ้อง
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำโดยประมาทขับรถล้ำเส้นแบ่งกลางถนนเข้าไปชนรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับในช่องเดินรถของผู้ตายแต่อย่างใดการที่โจทก์ร่วมนำสืบไปในทำนองเช่นนั้นจึงเป็นการนำสืบนอกคำฟ้องไม่อาจรับฟังได้ ผู้ตายเป็นฝ่ายขับรถจักรยานยนต์ล้ำเส้นแบ่งกลางถนนเข้ามาชนกับรถยนต์กระบะที่จำเลยขับในช่องเดินรถของจำเลยเมื่อไม่ปรากฎจากการนำสืบของโจทก์ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องย่อมไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบต้องอยู่ภายใต้กรอบคำฟ้อง หากโจทก์มิได้บรรยายถึงการประมาทของจำเลย การนำสืบในส่วนดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำโดยประมาทขับรถล้ำเส้นแบ่งกลางถนนเข้าไปชนรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับในช่องเดินรถของผู้ตายแต่อย่างใด การที่โจทก์ร่วมนำสืบไปในทำนองเช่นนั้นจึงเป็นการนำสืบนอกคำฟ้องไม่อาจรับฟังได้
ผู้ตายเป็นฝ่ายขับรถจักรยานยนต์ล้ำเส้นแบ่งกลางถนนเข้ามาชนกับรถยนต์กระบะที่จำเลยขับในช่องเดินรถของจำเลย เมื่อไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง ย่อมไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย
ผู้ตายเป็นฝ่ายขับรถจักรยานยนต์ล้ำเส้นแบ่งกลางถนนเข้ามาชนกับรถยนต์กระบะที่จำเลยขับในช่องเดินรถของจำเลย เมื่อไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง ย่อมไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีขับรถประมาทต้องอาศัยการพิสูจน์ความประมาทตามฟ้อง การนำสืบเกินคำฟ้องไม่อาจรับฟังได้
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำโดยประมาทขับรถล้ำเส้นแบ่งกลางถนนเข้าไปชนรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับในช่องเดินรถของผู้ตายแต่อย่างใด การที่โจทก์ร่วมนำสืบไปในทำนองเช่นนั้นจึงเป็นการนำสืบนอกคำฟ้องไม่อาจรับฟังได้ ผู้ตายเป็นฝ่ายขับรถจักรยานยนต์ล้ำเส้นแบ่งกลางถนนเข้ามาชนกับรถยนต์กระบะที่จำเลยขับในช่องเดินรถของจำเลยเมื่อไม่ปรากฎจากการนำสืบของโจทก์ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง ย่อมไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย