พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายสตรีมีครรภ์จนคลอดก่อนกำหนดและการพิจารณาความผิดฐานทำให้แท้งลูก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำร้ายร่างกายเขาได้รับอันตรายสาหัสถึงแท้งลูกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297(5) โจทก์จะยกเหตุอันตรายสาหัสเพราะป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วันตามมาตรา297(8)มาอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้ เพราะไม่ได้กล่าวไว้ในฟ้อง
การกระทำอันจะเป็นผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายได้รับอันตรายถึงสาหัสถึงแท้งลูกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(5) นั้น จะต้องเป็นกรณีที่กระทำให้ลูกในครรภ์ของผู้ถูกทำร้ายคลอดออกมาในลักษณะที่ลูกนั้นไม่มีชีวิต ส่วนการคลอดก่อนกำหนดเวลาในลักษณะที่เด็กยังมีชีวิตอยู่ต่อมาอีก 8 วันแล้วจึงตาย ดังนี้ ไม่เป็นการทำให้ได้รับอันตรายสาหัสถึงแท้งลูกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(5)
คดีที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเบาไป และโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษตามมาตรา 297 ถือได้ว่าโจทก์ฎีกาในทำนองที่ขอลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น ดังนี้ ศาลฎีกามีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยให้หนักกว่าที่ศาลอุทธรณ์กำหนดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
(ตัดสินโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2510)
การกระทำอันจะเป็นผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายได้รับอันตรายถึงสาหัสถึงแท้งลูกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(5) นั้น จะต้องเป็นกรณีที่กระทำให้ลูกในครรภ์ของผู้ถูกทำร้ายคลอดออกมาในลักษณะที่ลูกนั้นไม่มีชีวิต ส่วนการคลอดก่อนกำหนดเวลาในลักษณะที่เด็กยังมีชีวิตอยู่ต่อมาอีก 8 วันแล้วจึงตาย ดังนี้ ไม่เป็นการทำให้ได้รับอันตรายสาหัสถึงแท้งลูกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(5)
คดีที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเบาไป และโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษตามมาตรา 297 ถือได้ว่าโจทก์ฎีกาในทำนองที่ขอลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น ดังนี้ ศาลฎีกามีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยให้หนักกว่าที่ศาลอุทธรณ์กำหนดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
(ตัดสินโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างบทกฎหมายผิดทั้งฉบับขัดต่อหลักประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 และการตีความข้อยกเว้น
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "พนักงาน"ไว้ให้หมายถึง บุคคลต่างๆตามที่ระบุไว้ ทั้งนี้นอกจากผู้เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย และพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 18 บัญญัติให้พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา ฉะนั้น จึงนำพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาใช้บังคับลงโทษจำเลยซึ่งเป็นพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้ ไม่ใช่เป็นเพียงอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา192 วรรคสี่ แต่เป็นการอ้างกฎหมายผิดทั้งฉบับ จึงลงโทษจำเลยไม่ได้ตามมาตรา 192 วรรคต้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้ ไม่ใช่เป็นเพียงอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา192 วรรคสี่ แต่เป็นการอ้างกฎหมายผิดทั้งฉบับ จึงลงโทษจำเลยไม่ได้ตามมาตรา 192 วรรคต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189-190/2489
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการลงโทษจำเลยในความผิดอาญา: ตัวการ vs สมรู้ร่วมคิด
พฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นตัวการปล้นทรัพย์
โจทก์ฟ้องบรรยายการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานสมรู้ในการปล้น และอ้างบทขอให้ลงโทษฐานสมรู้ ทางพิจารณาสมฟ้องแม้จะได้ความต่อไปว่าจำเลยเป็นตัวการปล้นทรัพย์ด้วยก็ลงโทษฐานเป็นตัวการปล้นทรัพย์ไม่ได้ เพราะเกินคำขอ แต่ลงโทษฐานสมรู้ได้
โจทก์ฟ้องบรรยายการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานสมรู้ในการปล้น และอ้างบทขอให้ลงโทษฐานสมรู้ ทางพิจารณาสมฟ้องแม้จะได้ความต่อไปว่าจำเลยเป็นตัวการปล้นทรัพย์ด้วยก็ลงโทษฐานเป็นตัวการปล้นทรัพย์ไม่ได้ เพราะเกินคำขอ แต่ลงโทษฐานสมรู้ได้