พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ค่าเช่าต่ำกว่าความเป็นจริง, การพิจารณาจากลักษณะทรัพย์สิน, อุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า ค่าเช่าตึกแถวพิพาทเดือนละ400 บาท ที่จำเลยเรียกเก็บจากโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่า เป็นค่าเช่าต่ำกว่าความเป็นจริงไม่ใช่เป็นจำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจประเมินค่ารายปีได้โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สินขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนด ที่คณะเทศมนตรีของจำเลยชี้ขาดว่า ค่ารายปีของตึกแถวพิพาทจำนวน 10,800 บาท จากระยะเวลารวม 9 เดือน หรือตกเดือนละ 600 บาท ต่อห้อง เป็นคุณแก่โจทก์แล้วไม่มีเหตุจะเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงการประเมินและคำชี้ขาดที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ค่าเช่าที่จำเลยเรียกเก็บจากโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่ามิใช่ค่าเช่าที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ได้กำหนดกันไว้แน่นอนมิได้กระทำขึ้นโดยสมยอม ทรัพย์สินที่เช่าเป็นของจำเลยเองถือได้ว่าจำเลยได้ยอมรับว่าค่าเช่านั้นเป็นค่าเช่าอันสมควรที่จะให้เช่าได้ไม่มีเหตุที่จะทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะประเมินค่ารายปีเป็นอย่างอื่นได้นั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยมาดังกล่าวแล้ว เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 25
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าเช่าทรัพย์สิน: ศาลยืนตามการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อค่าเช่าต่ำกว่าราคาตลาด
ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า ค่าเช่าตึกแถวพิพาทเดือนละ 400บาท ที่จำเลยเรียกเก็บจากโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่า เป็นค่าเช่าต่ำกว่าความเป็นจริงไม่ใช่เป็นจำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจประเมินค่ารายปีได้โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สินขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนด ที่คณะเทศมนตรีของจำเลยชี้ขาดว่า ค่ารายปีของตึกแถวพิพาทจำนวน 10,800 บาท จากระยะเวลารวม 9 เดือน หรือตกเดือนละ 600 บาท ต่อห้อง เป็นคุณแก่โจทก์แล้วไม่มีเหตุจะเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงการประเมินและคำชี้ขาด ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ค่าเช่าที่จำเลยเรียกเก็บจากโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่ามิใช่ค่าเช่าที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ได้กำหนดกันไว้แน่นอนมิได้กระทำขึ้นโดยสมยอม ทรัพย์สินที่เช่าเป็นของจำเลยเองถือได้ว่าจำเลยได้ยอมรับว่าค่าเช่านั้นเป็นค่าเช่าอันสมควรที่จะให้เช่าได้ไม่มีเหตุที่จะทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะประเมินค่ารายปีเป็นอย่างอื่นได้นั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยมาดังกล่าวแล้ว เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามพระราช-บัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลมีอำนาจยกฟ้องได้หากพยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอ และอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีภาษีอากรที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้าม
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาก็ตามศาลจะพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างตามฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังไม่เพียงพอรับฟังตามที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งเป็นดุลยพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล ศาลย่อมมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรค 1 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 ตามใบขนสินค้าขาเข้าและบัญชีราคาสินค้า ปรากฏว่ามีการระบุรายการและราคาสินค้าแตกต่างกัน ซึ่งศาลก็วินิจฉัยจากพยานเอกสารดังกล่าวว่า ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะหลีกเลี่ยงภาษีโดยระบุรายการและราคาสินค้าแตกต่างกันอันเป็นดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลและเป็นการวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนนั้นเอง หาได้เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากข้อเท็จจริงในสำนวนอันจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายไม่ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ภาษีการค้าไม้พื้น: ข้อจำกัดทุนทรัพย์ & การจัดประเภทสินค้า
อุทธรณ์ของโจทก์โต้เถียงคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สินค้าไม้พื้นลิ้นรอบตัวที่มีความยาวต่ำกว่า 50 เซนติเมตรที่โจทก์ผลิตเป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์โดยการปูบนพื้นซีเมนต์ หาใช่ใช้ปู บนไม้ตงโดยตรงไม่ทั้งมีระเบียบของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้เช่นนั้น จึงเป็นสินค้าไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้ในลักษณะเป็นสิ่งปูลาดอย่างหนึ่งตามความหมายของสินค้าในบัญชีที่ 1 หมวดที่ 4(7) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 54 ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทผู้ผลิตสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก)
สินค้าไม้พื้นลิ้นรอบตัวที่มีความยาวต่ำกว่า 50 เซนติเมตรที่โจทก์ผลิตเป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์โดยการปูบนพื้นซีเมนต์ หาใช่ใช้ปู บนไม้ตงโดยตรงไม่ทั้งมีระเบียบของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้เช่นนั้น จึงเป็นสินค้าไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้ในลักษณะเป็นสิ่งปูลาดอย่างหนึ่งตามความหมายของสินค้าในบัญชีที่ 1 หมวดที่ 4(7) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 54 ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทผู้ผลิตสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าไม้พื้น: ข้อพิพาทเรื่องประเภทสินค้าและการใช้ประโยชน์ตามกฎหมายภาษีอากร
อุทธรณ์ของโจทก์โต้เถียงคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สินค้าไม้พื้นลิ้นรอบตัวที่มีความยาวต่ำกว่า 50 เซนติเมตรที่โจทก์ผลิตเป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์โดยการปูบนพื้นซีเมนต์หาใช่ใช้ปู บนไม้ตงโดยตรงไม่ทั้งมีระเบียบของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้เช่นนั้น จึงเป็นสินค้าไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้ในลักษณะเป็นสิ่งปูลาดอย่างหนึ่งตามความหมายของสินค้าในบัญชีที่ 1 หมวดที่ 4(7) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 54 ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทผู้ผลิตสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก)
สินค้าไม้พื้นลิ้นรอบตัวที่มีความยาวต่ำกว่า 50 เซนติเมตรที่โจทก์ผลิตเป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์โดยการปูบนพื้นซีเมนต์หาใช่ใช้ปู บนไม้ตงโดยตรงไม่ทั้งมีระเบียบของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้เช่นนั้น จึงเป็นสินค้าไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้ในลักษณะเป็นสิ่งปูลาดอย่างหนึ่งตามความหมายของสินค้าในบัญชีที่ 1 หมวดที่ 4(7) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 54 ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทผู้ผลิตสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1296/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีภาษีอากรเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและอายุความ รวมถึงการคิดดอกเบี้ยเงินเพิ่ม
ประมวลรัษฎากรได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่า เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระค่าภาษี จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ยจากค่าภาษีที่ค้างชำระอีก
จำเลยอ้างว่ามิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ แม้จะใช้แบบพิมพ์คำร้องมิได้ใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับมาโดยมิได้สั่งให้ทำใหม่ ก็พออนุโลมว่าเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 25 ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ปัญหาว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ สินค้าที่นำเข้ามีราคาที่แท้จริงเป็นจำนวนเท่าใด เป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีอากรพร้อมด้วยเงินเพิ่มจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นแห่งคดีที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดมีเพียงว่าข้ออ้างของโจทก์ตามที่กล่าวในฟ้องนั้นมีมูลที่จำเลยจะต้องรับผิดหรือไม่คดีไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เพราะจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้แม้ศาลภาษีอากรกลางจะวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้มาก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
จำเลยอ้างว่ามิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ แม้จะใช้แบบพิมพ์คำร้องมิได้ใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับมาโดยมิได้สั่งให้ทำใหม่ ก็พออนุโลมว่าเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 25 ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ปัญหาว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ สินค้าที่นำเข้ามีราคาที่แท้จริงเป็นจำนวนเท่าใด เป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีอากรพร้อมด้วยเงินเพิ่มจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นแห่งคดีที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดมีเพียงว่าข้ออ้างของโจทก์ตามที่กล่าวในฟ้องนั้นมีมูลที่จำเลยจะต้องรับผิดหรือไม่คดีไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เพราะจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้แม้ศาลภาษีอากรกลางจะวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้มาก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.