พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3176/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำและขอบเขตความรับผิดของผู้รับอาวัลในตั๋วสัญญาใช้เงิน: การพิจารณาความแตกต่างของข้อตกลง
คดีเดิมโจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินในฐานะที่จำเลยที่1เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินและจำเลยที่2เป็นผู้รับอาวัลศาลพิพากษายกฟ้องเพราะคดีขาดอายุความแต่คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1รับผิดตามหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งเป็นการเรียกร้องให้รับผิดตามสัญญาอีกฉบับหนึ่งต่างหากจากตั๋วสัญญาใช้เงินจึงเป็นคนละประเด็นกับที่โจทก์และจำเลยที่1พิพาทกันในคดีเดิมฟ้องโจทก์ส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่1จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำแต่เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับความรับผิดตามสัญญาที่จำเลยที่1จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีนี้จึงต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นเสียก่อนแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี สำหรับฟ้องของโจทก์ส่วนที่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่2นั้นตามหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความระบุถึงจำเลยที่2เพียงว่าจำเลยที่2ผู้รับอาวัลได้ทราบข้อตกลงในการที่จำเลยที่1ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินมาขายให้แก่โจทก์ดังกล่าวข้างต้นแล้วทุกประการจำเลยที่2ยินยอมรับอาวัลและลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับอาวัลไม่ปรากฏว่ามีข้อความอื่นใดในลักษณะเป็นการค้ำประกันคงระบุแต่เพียงว่าเป็นผู้รับอาวัลแม้จะระบุถึงเรื่องการผ่อนเวลาไว้ก็คงเป็นการกล่าวถึงความรับผิดของจำเลยที่2ในฐานะผู้รับอาวัลซึ่งต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับบุคคลอื่นตนประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา940โดยไม่อาจอ้างเรื่องการผ่อนเวลาตามหลักค้ำประกันทั่วไปในมาตรา700ข้อต่อสู้ได้ฟ้องโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่2คดีนี้จึงเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่2ร่วมรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินอันเป็นประเด็นข้อวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีเดิมและเมื่อคดีเดิมถึงที่สุดแล้วฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่2คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนสิทธิเรียกร้องในตั๋วสัญญาใช้เงิน ความผูกพันของผู้สลักหลัง และอายุความ
จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังลอยตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง9ฉบับจำเลยจึงมีความผูกพันร่วมกับบริษัทจ.ผู้ออกตั๋วรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง9ฉบับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา919,967และ985 โจทก์แจ้งการรับโอนสิทธิเรียกร้องและทวงถามหนี้จากจำเลยเมื่อวันที่24พฤศจิกายน2530จำเลยได้รับการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องและทวงถามเมื่อวันที่26พฤศจิกายน2530กรณีเช่นนี้ถือว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยมีผลตามกฎหมายเมื่อวันที่26พฤศจิกายน2530ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ทวงถามจำเลยให้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงินเพราะก่อนหน้านั้นจำเลยยังไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดในการใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเพียงแต่ว่าโจทก์มีสิทธิจะเรียกร้องทวงถามให้ใช้เงินได้ทันทีเท่านั้นเมื่อจำเลยทราบแล้วเพิกเฉยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ต้องเริ่มนับแต่วันที่26พฤศจิกายน2530โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่23ธันวาคม2530ยังไม่เกิน1ปีนับแต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงิน เริ่มนับแต่วันทวงถามหนี้หลังการโอนสิทธิ
จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังลอยตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 9ฉบับ จำเลยจึงมีความผูกพันร่วมกับบริษัท จ. ผู้ออกตั๋วรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 9 ฉบับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 919, 967 และ 985
โจทก์แจ้งการรับโอนสิทธิเรียกร้อง และทวงถามหนี้จากจำเลยเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2530 จำเลยได้รับการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องและทวงถามเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2530 กรณีเช่นนี้ถือว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยมีผลตามกฎหมายเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2530 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ทวงถามจำเลยให้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงิน เพราะก่อนหน้านั้นจำเลยยังไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดในการใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเพียงแต่ว่าโจทก์มีสิทธิจะเรียกร้องทวงถามให้ใช้เงินได้ทันทีเท่านั้น เมื่อจำเลยทราบแล้วเพิกเฉยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัด อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ต้องเริ่มนับแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2530 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม2530 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลย คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์แจ้งการรับโอนสิทธิเรียกร้อง และทวงถามหนี้จากจำเลยเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2530 จำเลยได้รับการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องและทวงถามเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2530 กรณีเช่นนี้ถือว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยมีผลตามกฎหมายเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2530 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ทวงถามจำเลยให้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงิน เพราะก่อนหน้านั้นจำเลยยังไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดในการใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเพียงแต่ว่าโจทก์มีสิทธิจะเรียกร้องทวงถามให้ใช้เงินได้ทันทีเท่านั้น เมื่อจำเลยทราบแล้วเพิกเฉยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัด อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ต้องเริ่มนับแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2530 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม2530 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลย คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5328/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน การให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม และการวินิจฉัยนอกประเด็น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 985 วรรคแรก มิได้บัญญัติให้นำมาตรา 928 ซึ่งอยู่ในเรื่องการรับรองตั๋วแลกเงินมาใช้บังคับในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินด้วย จะนำมาตรา 928 ใช้บังคับแก่ตั๋วสัญญาใช้เงินได้เพียงกรณีเดียว คือ กรณีตามมาตรา 986 วรรคสองซึ่งบัญญัติไว้ว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็นตามมาตรา 913(4) ผู้ทรงจะต้องนำยื่นให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้เพื่อรับรองการจ่ายเงินภายในเวลาดังกำหนดไว้ในมาตรา 928 แต่เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถามตามมาตรา 913(3) ตอนต้น บทบัญญัติว่าด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินไม่มีบทบัญญัติบังคับไว้อย่างกรณีตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ภายหลังได้เห็น จึงต้องถือว่าตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถามมีความหมายและผลบังคับต่างกับตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อได้เห็นฉะนั้น โจทก์ผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 944 ประกอบด้วยมาตรา 985 วรรคแรก ที่จะต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว ดังนั้นหากคดีฟังได้ว่า โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทและจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลใช้เงินตามตั๋วแล้วจำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดใช้เงินได้ บทกฎหมายเกี่ยวกับอายุความเป็นบทตัดสิทธิของเจ้าหนี้จึงต้องแปลโดยเคร่งครัด เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001บัญญัติว่า ในคดีฟ้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาสามปีนับแต่วันตั๋วนั้น ๆ ถึงกำหนดใช้เงินเช่นนี้จะแปลว่ากำหนดสามปีต้องนับแต่วันที่ออกตั๋วนั้นไม่ได้ เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม วันที่โจทก์ทวงถาม จำเลยทั้งสองให้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินคือวันที่4 กันยายน 2528 จึงเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงินเพราะก่อนวันที่โจทก์ทวงถามจำเลยทั้งสองยังไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดในการใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท เพียงแต่ว่าโจทก์มีสิทธิจะเรียกร้องทวงถามให้ใช้เงินได้ทันทีและจำเลยทั้งสองก็มีสิทธิจะชำระเงินได้ทันทีโดยโจทก์ไม่ต้องทวงถามเท่านั้นตามหลักทั่วไปในมาตรา 203 และเมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความเป็นวันอาทิตย์ที่4 กันยายน 2531 ซึ่งเป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยตามมาตรา 161 เดิม โจทก์ฟ้องคดีในวันที่ 5 กันยายน 2531จึงยังไม่พ้นเวลาสามปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดีโดยมิได้ยกประเด็นว่าตั๋วสัญญาใช้เงินไม่มีมูลหนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ และศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัย ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อต่อสู้ การที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทไม่มีมูลหนี้จึงถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5328/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อทวงถาม: กำหนดอายุความ และประเด็นข้อต่อสู้
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 สัญญาจะใช้เงินจำนวน 8,000,000 บาท แก่โจทก์เมื่อทวงถาม จึงเห็นได้ว่าวันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทหมายถึงวันที่โจทก์ทวงถามให้ใช้เงินตามความในตอนต้นของมาตรา 913 (3) เท่านั้น ไม่มีทางที่จะแปลว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อได้เห็นแต่อย่างใด
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถามมีความหมายและผลบังคับต่างกับตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อได้เห็น ฉะนั้นตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งระบุให้ใช้เงินเมื่อทวงถามจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 944 ประกอบด้วยมาตรา 985 วรรคแรก ที่จะต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถามวันที่โจทก์ทวงถามคือวันที่ 4 กันยายน 2528 จึงเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงิน เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความเป็นวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2531 ซึ่งเป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 161 (เดิม) โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 5 กันยายน2531 จึงยังไม่พ้นเวลาสามปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม มาตรา 1001
จำเลยฎีกาว่าตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทไม่มีมูลหนี้ แต่จำเลยทั้งสองให้การโดยมิได้ยกประเด็นข้อนี้เป็นข้อต่อสู้ ศาลชั้นต้นจึงไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัย ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อต่อสู้ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถามมีความหมายและผลบังคับต่างกับตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อได้เห็น ฉะนั้นตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งระบุให้ใช้เงินเมื่อทวงถามจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 944 ประกอบด้วยมาตรา 985 วรรคแรก ที่จะต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถามวันที่โจทก์ทวงถามคือวันที่ 4 กันยายน 2528 จึงเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงิน เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความเป็นวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2531 ซึ่งเป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 161 (เดิม) โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 5 กันยายน2531 จึงยังไม่พ้นเวลาสามปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม มาตรา 1001
จำเลยฎีกาว่าตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทไม่มีมูลหนี้ แต่จำเลยทั้งสองให้การโดยมิได้ยกประเด็นข้อนี้เป็นข้อต่อสู้ ศาลชั้นต้นจึงไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัย ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อต่อสู้ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5328/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อทวงถาม: กำหนดอายุความเริ่มนับจากวันที่ทวงถาม ไม่ใช่จากวันที่ออกตั๋ว
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 สัญญาจะใช้เงินจำนวน 8,000,000 บาท แก่โจทก์เมื่อทวงถาม จึงเห็นได้ว่าวันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทหมายถึงวันที่โจทก์ทวงถามให้ใช้เงินตามความในตอนต้นของมาตรา 913(3) เท่านั้น ไม่มีทางที่จะแปลว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อได้เห็นแต่อย่างใด ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถามมีความหมายและผลบังคับต่างกับตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อได้เห็น ฉะนั้นตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งระบุให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 944 ประกอบด้วยมาตรา 985 วรรคแรก ที่จะต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถามวันที่โจทก์ทวงถามคือวันที่ 4 กันยายน 2528 จึงเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงิน เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความเป็นวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2531 ซึ่งเป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 161(เดิม) โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 5 กันยายน 2531 จึงยังไม่พ้นเวลาสามปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม มาตรา 1001 จำเลยฎีกาว่าตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทไม่มีมูลหนี้ แต่จำเลยทั้งสองให้การโดยมิได้ยกประเด็นข้อนี้เป็นข้อต่อสู้ ศาลชั้นต้นจึงไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัย ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อต่อสู้ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน กรณีไม่ได้เป็นผู้ค้ำประกัน
ตามหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ปรากฏความข้อใดเลยว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาขายลดแล้ว จำเลยที่ 2จะยอมใช้เงินแก่โจทก์ หรือแม้แต่คำว่า "ค้ำประกัน" ก็ไม่ปรากฏฐานะของจำเลยที่ 2 คงระบุเพียงว่าเป็นผู้รับอาวัลเท่านั้น แม้จะระบุถึงเรื่องการผ่อนเวลาไว้ก็คงเป็นการกล่าวถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2ในฐานะผู้รับอาวัลซึ่งต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 โดยไม่อาจอ้างเรื่องการผ่อนเวลาตามหลักค้ำประกันทั่วไปใน มาตรา 700ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้อยู่แล้ว ดังนี้ เมื่อเป็นกรณีที่มีข้อสงสัยจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินต่อโจทก์นอกเหนือไปจากการเป็นผู้รับอาวัลจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน อันจะทำให้คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิมหากแต่เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้รับอาวัลเท่านั้นซึ่งมีอายุความ 3 ปี นับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินตาม มาตรา 1001 ประกอบมาตรา 940 แม้ปรากฏว่าหลังจากที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินแล้วจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วจะผ่อนชำระเงินให้โจทก์ไปบางส่วน เป็นเหตุให้อายุความในส่วนของจำเลยที่ 1 สะดุดหยุดลงก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลได้ร่วมกระทำกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงเป็นเรื่องแต่เฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น อายุความในส่วนของจำเลยที่ 2จึงไม่สะดุดหยุดลงด้วยตามมาตรา 295 ประกอบมาตรา 967,985
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงิน การคิดดอกเบี้ยเริ่มต้นจากวันที่ลงในตั๋วเมื่อจำเลยผิดนัดชำระ
โจทก์ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจเงินทุน ในระหว่างที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ18.5 ต่อปี ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยออกให้แก่โจทก์สองฉบับมีข้อกำหนดให้คิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ18 และ 18.5 ต่อปีตามลำดับ และมิได้ระบุไว้ว่าให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันใด จึงต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับดังกล่าวนับแต่วันที่ลงในตั๋วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 911,968,695เมื่อได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวและครบกำหนดใช้เงินจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ผู้ทรงจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจากต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อไปจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงิน, ดอกเบี้ยผิดนัดชำระ, การคิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ระบุในตั๋ว
โจทก์ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจเงินทุน ในระหว่างที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 18.5 ต่อปี ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยออกให้แก่โจทก์สองฉบับมีข้อกำหนดให้คิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 18 และ 18.5 ต่อปีตามลำดับ และมิได้ระบุไว้ว่าให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันใด จึงต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับดังกล่าวนับแต่วันที่ลงในตั๋ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 911, 968, 985 เมื่อได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวและครบกำหนดใช้เงินจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัด โจทก์ผู้ทรงจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจากต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ-พาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้และดอกเบี้ยในตั๋วสัญญาใช้เงิน การคิดดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน
เมื่อสัญญาระบุลำดับการชำระหนี้ไว้โดยชัดแจ้งว่า ต้องชำระเงินต้นก่อน เมื่อชำระเงินต้นครบถ้วนแล้วจึงจะชำระดอกเบี้ย ดังนั้นเงินที่ชำระหนี้จึงต้องนำไปหักจากต้นเงินตามที่ได้ตกลงกันไว้ จะนำไปหักจากดอกเบี้ยที่ค้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่ได้ระบุลำดับการชำระหนี้กันไว้
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตกลงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี เป็นการตกลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและ-พาณิชย์ มาตรา 911, 968 (1) ประกอบด้วยมาตรา 985 ซึ่งกฎหมายไม่ได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน การที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้ดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็เป็นผลประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ยินยอมเพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้กู้อันเป็นที่มาแห่งมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน หาใช่เป็นการกู้ยืมเงินและเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งมีรายการใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนพร้อมดอกเบี้ยจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ในฐานะสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงินในระหว่างอัตราร้อยละ 18.5 ถึง 19.5 ต่อปี ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ดังนั้นที่มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี จึงเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้จนกว่าจะชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้น
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตกลงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี เป็นการตกลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและ-พาณิชย์ มาตรา 911, 968 (1) ประกอบด้วยมาตรา 985 ซึ่งกฎหมายไม่ได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน การที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้ดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็เป็นผลประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ยินยอมเพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้กู้อันเป็นที่มาแห่งมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน หาใช่เป็นการกู้ยืมเงินและเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งมีรายการใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนพร้อมดอกเบี้ยจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ในฐานะสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงินในระหว่างอัตราร้อยละ 18.5 ถึง 19.5 ต่อปี ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ดังนั้นที่มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี จึงเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้จนกว่าจะชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้น