คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 985

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้ & อัตราดอกเบี้ย: ตั๋วสัญญาใช้เงิน, การนำเงินชำระหนี้ไปหักต้นเงิน/ดอกเบี้ย, สิทธิคิดดอกเบี้ย
เมื่อสัญญาระบุลำดับการชำระหนี้ไว้โดยชัดแจ้งว่าต้องชำระเงินต้นก่อน เมื่อชำระเงินต้นครบถ้วนแล้วจึงจะชำระดอกเบี้ย ดังนั้นเงินที่ชำระหนี้จึงต้องนำไปหักจากต้นเงินตามที่ได้ตกลงกันไว้ จะนำไปหักจากดอกเบี้ยที่ค้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่ได้ระบุลำดับการชำระหนี้กันไว้ ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตกลงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี เป็นการตกลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 911,968(1)ประกอบด้วยมาตรา 985 ซึ่งกฎหมายไม่ได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน การที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้ดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็เป็นผลประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ยินยอมเพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้กู้อันเป็นที่มาแห่งมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน หาใช่เป็นการกู้ยืมเงินและเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งมีรายการใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนพร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ในฐานะสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืม เงินในระหว่างอัตราร้อยละ 18.5 ถึง 19.5 ต่อปีตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ดังนั้นที่มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี จึงเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้จนกว่าจะชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน เริ่มนับจากวันถึงกำหนดใช้เงินตามหลักเกณฑ์ตั๋วชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น
ผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินมีความผูกพันเป็นอย่างเดียวกับผู้ออกตั๋ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคหนึ่งการฟ้องให้ผู้ออกตั๋วรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินต้องฟ้องภายใน 3 ปีนับแต่วันตั๋วถึงกำหนดใช้เงิน ตามมาตรา 1001 ดังนั้นการฟ้องผู้รับอาวัลจึงต้องฟ้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วย ตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ได้ระบุเวลาใช้เงิน ถือว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดพึงใช้เงินเมื่อเห็นตามมาตรา 984 วรรคสองซึ่งตั๋วประเภทนี้จะพึงใช้เงินในวันยื่นตั๋ว แต่ผู้ทรงต้องยื่นให้ใช้เงินภายในกำหนดเวลาซึ่งบังคับไว้เพื่อการยื่นให้รับรองตั๋วเงินชนิดให้ใช้เงินในเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็น ตามมาตรา 944 ประกอบมาตรา 985 สำหรับกำหนดเวลายื่นให้รับรองตั๋วเงินนั้น มาตรา 928บัญญัติให้ผู้ทรงต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้รับรองภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋ว หรือภายในกำหนดช้าเร็วกว่านั้นตามแต่ผู้สั่งจ่ายจะได้ระบุไว้ ดังนั้นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็นอาจนำตั๋วยื่นให้ผู้ออกตั๋วใช้เงินได้ตั้งแต่วันออกตั๋ว ซึ่งก็คือวันที่ลงในตั๋วจนถึงวันครบกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋วอันเป็นวันสุดท้ายที่อาจยื่นให้ใช้เงินได้ ตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ 31 มกราคม 2520 ครบกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋วคือวันที่ 31 กรกฎาคม 2520 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินนำตั๋วไปยื่นให้ใช้เงินแต่อย่างใด จึงต้องถือว่าวันที่ 31 กรกฎาคม 2520อันเป็นวันสุดท้ายที่อาจบังคับให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับอาวัลใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินได้เป็นวันถึงกำหนดใช้เงิน กำหนดอายุความ3 ปี ต้องเริ่มนับแต่วันดังกล่าว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเพิ่งใช้สิทธิของลูกหนี้เรียกร้องให้ผู้ร้องใช้เงินเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2530 จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน: กำหนดใช้เงินตามตั๋วชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น และการนับอายุความ
ผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินย่อมมีความผูกพันเป็นอย่างเดียวกับลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ออกตั๋ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 940 วรรคแรก การฟ้องให้ผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินรับผิดจึงต้องฟ้องภายใน 3 ปี นับแต่วันตั๋วถึงกำหนด ตามมาตรา 1001 ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ไม่ได้ระบุเวลาใช้เงิน ต้องถือว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น ตามมาตรา 984 วรรคสองซึ่งกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดดังกล่าวต้องเป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยกำหนดใช้เงินของตั๋วแลกเงินชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น ตามมาตรา 944 ประกอบด้วยมาตรา 985 กล่าวคือในวันเมื่อยื่นตั๋ว แต่ทั้งนี้ต้องยื่นให้ใช้เงินภายในกำหนดเวลาซึ่งบังคับไว้เพื่อการยื่นให้รับรองตั๋วเงินชนิดให้ใช้เงินเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็นนั้น สำหรับกำหนดเวลาซึ่งบังคับไว้เพื่อการยื่นให้รับรอง ตั๋วเงินชนิดให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็น มีบัญญัติไว้ในมาตรา 928 ว่า ต้องนำตั๋วเงินยื่นเพื่อให้รับรองภายในหกเดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินหรือภายในเวลาช้าเร็วกว่านั้นตามแต่ผู้สั่งจ่ายจะได้ระบุไว้ แสดงว่าผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดพึงใช้เงิน เมื่อได้เห็นอาจนำตั๋วยื่นให้ผู้ออกตั๋วใช้เงินได้ตั้งแต่วันออกตั๋วซึ่งก็คือวันที่ลงในตั๋วแต่จะยื่นให้ใช้เงินภายหลังพ้นเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋วไม่ได้ กำหนดเวลาใช้เงินตามตั๋ว สัญญาใช้เงินชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็นจึงมีได้ตั้งแต่วันที่คงในตั๋วจนถึงวันครบกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋ว อันเป็นวันสุดท้ายที่อาจยื่นให้ใช้เงินได้ทั้งนี้แล้วแต่ว่าจะมีการยื่นตั๋วให้ใช้เงินวันใด ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทลงวันที่ 31 มกราคม 2520 เมื่อครบกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋วคือวันที่ 31 กรกฎาคม 2520ไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทนำตั๋วไปยื่นให้ใช้เงิน จึงต้องถือว่าวันที่ 31 กรกฎาคม 2520 อันเป็นวันสุดท้ายที่อาจบังคับให้ผู้ร้องใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทได้ เป็นวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท กำหนดอายุความ 3 ปี ตามาตรา 1001 ต้องเริ่มนับแต่วันดังกล่าวเมื่อผู้คัดค้านเพิ่งใช้สิทธิของลูกหนี้เรียกร้องให้ผู้ร้องใช้เงินเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2530 จึงขาดอายุความตามมาตรา 1001ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน-เงื่อนเวลา-การชำระหนี้-การยินยอมชำระหนี้ด้วยตั๋วอื่น-ผลผูกพัน
จำเลยฎีกาว่า จำเลยเป็นตัวแทนรับเงินจากโจทก์จำนวน5 ล้านบาทเพื่อให้บริษัทกู้ เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถให้บริษัทดังกล่าวกู้โดยตรงได้เพราะอยู่ในเครือเดียวกับโจทก์ และกรรมการของโจทก์เป็นบุคคลคนเดียวกับกรรมการของบริษัทดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2510นั้น ในปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นตัวแทนโจทก์ในการให้กู้ยืมเงินดังกล่าว และในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ดังนั้น ข้ออ้างตามฎีกาของจำเลยจึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยออกให้โจทก์ถึงกำหนดใช้เงินเมื่อทวงถาม ซึ่งมีความหมายว่าทวงถามเมื่อใดก็ต้องใช้เงินทันที แต่โจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันเกี่ยวกับหนี้ของบริษัท ง.ที่มีต่อจำเลยจำนวน 5 ล้านบาทว่า หากจำเลยยังไม่ได้รับชำระหนี้จากบริษัทดังกล่าวจนครบถ้วน โจทก์ก็จะไม่ถอนเงินฝากตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยออกให้โจทก์ หรือจะไม่โอนตั๋วสัญญาใช้เงินหรือสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้แก่บุคคลใด อันเป็นเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้เป็นประโยชน์แก่จำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 154 เดิมดังนั้นเมื่อพิจารณาวันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินประกอบข้อตกลงดังกล่าวข้างต้นแล้ว จึงพอเข้าใจได้ว่าโจทก์จะทวงถามให้จำเลยชำระเงินหรือถอนเงินฝากตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อเมื่อบริษัท ง.ได้ชำระหนี้ให้จำเลยจำนวน 5 ล้านบาทครบถ้วนแล้ว เมื่อปรากฏว่าต่อมาบริษัท ง.ถูกกระทรวงการคลังเพิกถอนใบอนุญาตและถูกฟ้องล้มละลาย ศาลชั้นต้นสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ดังนั้นในทางแพ่งบริษัทดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของตนอีกต่อไป ซึ่งรวมทั้งไม่มีอำนาจชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินแก่จำเลย และจำเลยได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ง.ไปยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับชำระหนี้จากบริษัทดังกล่าวครบถ้วนแล้วหรือไม่ แต่อย่างไรก็ดี ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์เคยมีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ย จำเลยมีหนังสือตอบโจทก์ว่า บริษัท ง.ถูกถอนใบอนุญาตไม่สามารถใช้เงินแก่จำเลยได้ เพื่อให้การชำระหนี้เสร็จสิ้นไปด้วยดีจำเลยขอชำระหนี้โจทก์ด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ส. และหากโจทก์ประสงค์จะใช้เงิน จำเลยก็ยินดีรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวไว้ แสดงว่าจำเลยยินยอมชำระหนี้ให้โจทก์เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ส. โดยไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตามข้อตกลงดังกล่าวข้างต้นอีกต่อไปแล้ว ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ตามวันถึงกำหนดใช้เงินในตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ เมื่อโจทก์ทวงถาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงิน เริ่มนับจากวันที่ลงในตั๋วเงิน แม้ไม่ได้ระบุในตั๋ว
ป.พ.พ. ว่าด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ได้บัญญัติในเรื่องดอกเบี้ยไว้ แต่มาตรา 985 บัญญัติให้นำเอาบทบัญญัติว่าด้วยตั๋วแลกเงินมาบังคับ ซึ่งหมวดดังกล่าวมาตรา 911 บัญญัติว่า ผู้สั่งจ่ายจะเขียนข้อความกำหนดลงไว้ว่าจำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้นให้คิดดอกเบี้ยด้วยก็ได้ และกรณีเช่นนั้นถ้ามิได้กล่าวลงไว้เป็นอย่างอื่น ดอกเบี้ยย่อมคิดแต่วันที่ลงในตั๋วเงิน ดังนี้ เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทมิได้กล่าวถึงเรื่องการคิดดอกเบี้ยไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2517 อันเป็นวันที่ลงในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นเป็นต้นไป หาใช่ตั้งแต่วันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงิน: เริ่มนับจากวันที่ออกตั๋ว หากไม่ได้ระบุวันเริ่ม
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ลูกหนี้ออกให้เจ้าหนี้ทั้ง 5 ฉบับกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 21 ต่อปี โดยมิได้ระบุให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่เมื่อใด จึงต้องคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ลงในตั๋วสัญญาใช้เงินจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 911 ประกอบมาตรา 985และ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 มิใช่คิดตั้งแต่วันถึงกำหนดใช้เงิน ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นตั๋วสัญญาใช้เงินตามกฎหมาย และการพิสูจน์การรับโอนเช็คโดยสุจริต
โจทก์มิได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นต่อผู้ออกตั๋ว ณ ภูมิลำเนาของผู้ออกตั๋วเพื่อให้ใช้เงินในวันถึงกำหนดใช้เงิน เป็นการไม่ปฏิบัติตามวิธีการที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 985ประกอบด้วยมาตรา 941 บังคับไว้ แม้โจทก์มีหนังสือทวงถามผู้ออกตั๋วภายหลังจากตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนด ก็เป็นเรื่องทวงถามแบบหนี้ทั่วไป ถือไม่ได้ว่าผู้ออกตั๋วโต้แย้งสิทธิผิดคำมั่นสัญญาไม่ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องและเมื่อศาลวินิจฉัยเช่นนี้แล้ว ฎีกาของโจทก์ที่อ้างว่าตั๋วสัญญาใช้เงินมีกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอน โจทก์ไม่จำต้องนำตั๋วไปยื่นต่อผู้ออกตั๋ว จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี จำเลยยกข้อต่อสู้ว่าโจทก์ผู้ทรงรับโอนเช็คไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย เมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ว่าโจทก์รับโอนเช็คโดยทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ทรงคนก่อนผิดสัญญาซื้อขายต่อผู้ซื้อจนผู้ซื้อบอกเลิกสัญญาจำเลยจึงต้องรับผิดชอบตามเช็คในฐานะผู้สั่งจ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกชำระหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คพิพาท: การปฏิบัติตามวิธีการใช้เงินตามกฎหมายและการพิสูจน์การฉ้อฉล
เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดโจทก์ผู้ทรงมิได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นต่อจำเลยณ ภูมิลำเนาของจำเลยเพื่อให้ใช้เงินตามตั๋ว เพียงแต่มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินถือว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามวิธีการตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 985 ประกอบด้วยมาตรา 941 บังคับไว้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดคำมั่นไม่ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์แม้ภายหลังจะปรากฏว่าโจทก์ทวงถามจำเลยและจำเลยยังไม่ได้ชำระเงินตามตั๋ว ก็เป็นเรื่องโจทก์ปฏิบัติการทวงถามแบบหนี้ทั่วไป โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 5 ต่อสู้ว่า จำเลยที่ 5 ไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์เพราะโจทก์รับโอนเช็คพิพาทไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลนั้น ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลยที่ 5 ที่จะต้องนำสืบให้รับฟังได้ดังที่จำเลยที่ 5 กล่าวอ้าง
เมื่อเช็คพิพาทได้มาโดยมีมูลหนี้ จำเลยที่ 5 มีหน้าที่ต้องนำสืบว่า จำเลยที่ 2ผิดสัญญาต่อ ย. จน ย.ได้บอกเลิกสัญญาขายหุ้นและโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทโดยทราบดีว่าสัญญาซื้อขายหุ้นระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ย.ได้เลิกกัน เมื่อจำเลยที่ 5ไม่สามารถสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 5 จึงต้องรับผิดตามเช็คพิพาทในฐานะผู้สั่งจ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องตั๋วสัญญาใช้เงินและการพิสูจน์การฉ้อฉลในการรับโอนเช็ค
เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดโจทก์ผู้ทรงมิได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นต่อจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเพื่อให้ใช้เงินตามตั๋ว เพียงแต่มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินถือว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามวิธีการตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 985 ประกอบด้วยมาตรา 941 บังคับไว้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดคำมั่นไม่ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ แม้ภายหลังจะปรากฏว่าโจทก์ทวงถามจำเลยและจำเลยยังไม่ได้ชำระเงินตามตั๋วก็เป็นเรื่องโจทก์ปฏิบัติการทวงถามแบบหนี้ทั่วไป โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 5 ต่อสู้ว่า จำเลยที่ 5 ไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์เพราะโจทก์รับโอนเช็คพิพาทไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลนั้นภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลยที่ 5 ที่จะต้องนำสืบให้รับฟังได้ดังที่จำเลยที่ 5 กล่าวอ้าง เมื่อเช็คพิพาทได้มาโดยมีมูลหนี้ จำเลยที่ 5 มีหน้าที่ต้องนำสืบว่า จำเลยที่ 2 ผิดสัญญาต่อ ย.จนย. ได้บอกเลิกสัญญาขายหุ้นและโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทโดยทราบดีว่าสัญญาซื้อขายหุ้นระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ย. ได้เลิกกัน เมื่อจำเลยที่ 5 ไม่สามารถสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 5 จึงต้องรับผิดตามเช็คพิพาทในฐานะผู้สั่งจ่าย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินที่ระบุ "เปลี่ยนมือไม่ได้" ต้องทำเป็นหนังสือ จึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ผู้สั่งจ่ายเขียนลงด้าน หน้าว่า"เปลี่ยนมือไม่ได้" จะโอนให้กันได้แต่โดย รูปการและด้วย ผลอย่างการโอนสามัญ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 985,917,306 การโอนระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนจึงต้อง ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอน มิฉะนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เมื่อปรากฏเพียงว่าผู้โอนโอนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้ด้วย วิธีสลักหลังและส่งมอบเท่านั้น การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ตาม กฎหมาย เจ้าหนี้จึงยังไม่เป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แล้วผู้โอนจะได้ ทำคำบอกกล่าวให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบถึง การสลักหลัง และส่งมอบตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ก็ตาม ก็หาทำให้เจ้าหนี้กลับเป็นผู้ทรงโดย ชอบไม่ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ และไม่อาจนำหนี้ตามตั๋ว สัญญาใช้เงินนี้ไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่เจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้.
of 7