คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 40 (5) (ก)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบอาคารพิพาทและขอบเขตการบังคับคดีค่าเสียหาย รวมถึงข้อยกเว้นภาษีเงินได้จากค่าสินไหมทดแทน
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองพร้อมบริวารออกจากอาคารพิพาทของโจทก์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบอาคารดังกล่าวแก่โจทก์ในสภาพซ่อมแซมดีแล้วและใช้ค่าเสียหายจนกว่าจะส่งมอบเสร็จแก่โจทก์ ชั้นบังคับคดีปรากฏว่า ต. เช่าอาคารพิพาทบางส่วนจากจำเลยทั้งสอง ต. จึงเป็นบริวารของจำเลยทั้งสองและถือได้ว่า ต. ได้ครอบครองอาคารพิพาทแทนจำเลยทั้งสองตลอดมาถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ส่งมอบอาคารพิพาทให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น ต่อมา ต. ได้นำกุญแจห้องในอาคารพิพาทมอบให้แก่โจทก์ต่อหน้าศาล จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ส่งมอบอาคารพิพาทให้แก่โจทก์เสร็จสิ้นในวันดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้จนถึงวันดังกล่าว
เงินหรือประโยชน์จากการให้เช่าทรัพย์สินเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (5) (ก) ที่จะนำไปคำนวณภาษีเงินได้ แต่เงินค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับตามคำพิพากษาถือเป็นเงินค่าสินไหมทดแทนกรณีละเมิดที่จำเลยทั้งสองอยู่อาศัยในอาคารพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา มาตรา 42 (13) จำเลยทั้งสองจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีแทนโจทก์และไม่มีสิทธิหักภาษีเงินได้ดังกล่าวจากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์อาคารเช่าชั่วคราวบนที่ดินเช่า ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร
โจทก์ที่ 1 เช่าที่ดินจาก น. โดยมีข้อสัญญาระบุว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิปลูกสร้างอาคารลงในที่ดิน เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ที่ 1 ต้องรื้อถอนอาคารที่ปลูกสร้างออกไป ดังนั้นการที่โจทก์ที่ 1 ให้ ด. ปลูกตึกแถวลงในที่ดินเพื่อให้คนเช่า โดยให้ ด. ออกเงินค่าก่อสร้างเองและ ด. มีสิทธิเรียกเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างจากผู้เช่าแต่ผู้เดียว ตึกแถวดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์ที่ติดกับที่ดินเพียงชั่วคราวมิใช่ส่วนควบของที่ดิน กรรมสิทธิ์ในตึกแถวดังกล่าวย่อมตกได้แก่โจทก์ที่ 1 และถือว่าเป็นประโยชน์อย่างอื่นที่โจทก์ที่ 1 ได้รับเนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(5)(ก) จึงต้องนำตึกแถวดังกล่าวมาคำนวณมูลค่าถือเป็นเงินได้พึงประเมินในการเสียภาษีเงินได้ของโจทก์ที่ 1ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2855/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าประทานบัตรเหมืองแร่ถือเป็นการเช่าทรัพย์สิน เงินได้จากการขายแร่เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากรมิได้นิยามคำว่า "ทรัพย์สิน"ไว้ คำว่าทรัพย์สินตามประมวลรัษฎากรจึงต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99
การที่โจทก์ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ดีบุกนั้น ทำให้โจทก์มีสิทธิทำเหมืองหรือขุดหาแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประทานบัตรนั้น สิทธิดังกล่าวตามประทานบัตรของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งและโจทก์สามารถให้เช่าได้
การที่โจทก์ให้ ฟ. ผลิตแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์มีกำหนด 3 ปี เป็นสัญญาที่โจทก์ตกลงให้ ฟ. ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากประทานบัตรอันเป็นทรัพย์สินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และการที่ ฟ. ตกลงแบ่งแร่ดีบุกที่ผลิตได้แต่ละเดือนให้โจทก์ ถือว่า ฟ. ตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างโจทก์กับฟ. จึงเป็นการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โดยไม่คำนึงว่าจะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายตาม พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 หรือไม่
เมื่อ ฟ. แบ่งแร่ดีบุกให้โจทก์ตามที่ตกลงกันและโจทก์ขายแร่ดีบุกดังกล่าวไป เงินที่ได้จากการขายแร่ดีบุกดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(5)(ก) คือเงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 5(1)(จ) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 10 มิใช่เป็นเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ซึ่งให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 90 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8(32)(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2855/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าประทานบัตรทำเหมืองแร่ถือเป็นการเช่าทรัพย์สิน เงินได้จากการขายแร่เป็นเงินได้พึงประเมิน
ประมวลรัษฎากรมิได้นิยามคำว่า "ทรัพย์สิน" ไว้ คำว่าทรัพย์สินตามประมวลรัษฎากรจึงต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99
การที่โจทก์ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ดีบุกนั้น ทำให้โจทก์มีสิทธิ์ทำเหมืองหรือขุดหาแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประทานบัตรนั้น สิทธิ์ดังกล่าวตามประทานบัตรของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง และโจทก์สามารถให้เช่าได้
การที่โจทก์ให้ ฟ. ผลิตแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์มีกำหนด 3 ปี เป็นสัญญาที่โจทก์ตกลงให้ ฟ. ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากประทานบัตรอันเป็นทรัพย์สินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และการที่ ฟ. ตกลงแบ่งแร่ดีบุกที่ผลิตได้แต่ละเดือนให้โจทก์ ถือว่า ฟ. ตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างโจทก์กับ ฟ. จึงเป็นการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โดยไม่คำนึงว่าจะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 หรือไม่
เมื่อ ฟ. แบ่งแร่ดีบุกให้โจทก์ตามที่ตกลงกันและโจทก์ขายแร่ดีบุกดังกล่าวไป เงินที่ได้จากการขายแร่ดีบุกดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(5) (ก) คือเงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 5(1) (จ) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 10 มิใช่เป็นเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ซึ่งให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 90 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8(32)
(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2519)