คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ม. 39

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7030/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นผู้เสียหายในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 กรณีกล่าวหาแพทย์ประพฤติผิดจริยธรรม - ต้องเสียหายโดยตรง
พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 เป็นกฎหมายมุ่งคุ้มครองและควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม แม้ให้สิทธิโจทก์ทั้งสองเป็นผู้กล่าวหาผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมโดยนำเรื่องยื่นต่อจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 32 แต่ตามมาตรา 39 ก็ให้อำนาจคณะกรรมการจำเลยที่ 1 ที่จะวินิจฉัยชี้ขาดเพียงว่า ยกข้อกล่าวหา ว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกิน 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งเป็นการกระทำต่อผู้ถูกกล่าวหาที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเท่านั้น มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองโดยตรงแต่ประการใด การที่จำเลยที่ 28 ถึงที่ 33 สรุปผลการแสวงหาข้อเท็จจริงว่า คดีไม่มีมูล และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 27 พิจารณารายงานและความเห็นดังกล่าวแล้วมีมติว่า คดีไม่มีมูลให้ยกข้อกล่าวหา จึงไม่เป็นการกระทำต่อโจทก์ทั้งสองโดยตรงและไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายเป็นพิเศษเนื่องจากการกระทำความผิดตามฟ้อง โจทก์ทั้งสองไม่เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(4) และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามสิบสามในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7030/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ คดีอาญาแผ่นดิน
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ได้มีคำอธิบายความหมายของผู้เสียหายไว้ว่าหมายถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6 ซึ่งข้อกล่าวหาตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยทั้งสามสิบสามในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 เป็นบทบัญญัติที่ต้องการเอาโทษแก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เป็นความผิดอาญาแผ่นดินโดยปกติเป็นความผิดต่อรัฐ รัฐเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย เอกชนคนหนึ่งคนใดย่อมไม่เป็นผู้เสียหาย ยกเว้นตามบทบัญญัติดังกล่าวข้อความในตอนแรก คำว่าเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดนั้นหมายความรวมถึง เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือเอกชนผู้หนึ่งผู้ใดด้วย ดังนั้น หากการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานโดยมิชอบ เป็นการกระทำต่อโจทก์ทั้งสองโดยตรง และเป็นการทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายเป็นพิเศษแล้วโจทก์ทั้งสองย่อมเป็นผู้เสียหายได้ โดยที่ พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรมฯ เป็นกฎหมายมุ่งคุ้มครองและควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม แม้ให้สิทธิโจทก์ทั้งสองเป็นผู้กล่าวหาผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมโดยนำเรื่องยื่นต่อจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 32 แต่ตามมาตรา 39 ก็ให้อำนาจคณะกรรมการจำเลยที่ 1 ที่จะวินิจฉัยชี้ขาดเพียงว่า ยกข้อกล่าวหา ว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกิน 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งเป็นการกระทำต่อผู้ถูกกล่าวหาที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเท่านั้น มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองโดยตรงแต่ประการใด ดังนั้น การที่จำเลยที่ 28 ถึงที่ 33 สรุปผลการแสวงหาข้อเท็จจริงว่า คดีไม่มีมูล และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 27 พิจารณารายงานและความเห็นดังกล่าวแล้วมีมติว่า คดีไม่มีมูลให้ยกข้อกล่าวหาจึงไม่เป็นการกระทำต่อโจทก์ทั้งสองโดยตรงและไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายเป็นพิเศษเนื่องจากการกระทำความผิดตามฟ้อง โจทก์ทั้งสองไม่เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามสิบสามในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4080/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การภาคทัณฑ์แพทย์จากข้อเท็จจริงการจ่ายยาโดยมิได้ตรวจร่างกายผู้ป่วยอย่างละเอียด การกระทำเข้าข่ายขาดความรับผิดชอบและอาจเป็นเหตุเลื่อมเสียเกียรติศักดิ์
การสอบสวนของแพทยสภาจำเลยจะชอบด้วยกระบวนการสอบสวนหรือไม่ ต้องมีข้อเท็จจริงที่จะนำมาพิจารณาปรับเข้ากับข้อกฎหมาย เมื่อโจทก์ไม่ได้ยกขึ้นกล่าวไว้ในคำฟ้องจึงไม่มีประเด็นการสอบสวนชอบหรือไม่ จำเลยจึงไม่จำเป็นที่จะต้องนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกขึ้นวินิจฉัยว่ากระบวนการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมไม่เป็นธรรมต่อจำเลย จึงไม่ชอบเพราะหากมีประเด็นนี้ในศาลชั้นต้น จำเลยอาจจะนำสืบข้อเท็จจริงต่างจากที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยได้ การที่จะยกข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยขึ้นวินิจฉัยเอง จะต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีด้วย
โจทก์ไม่ได้ตรวจร่างกาย ป. ก่อนที่ ส. จะจ่ายมา เมื่อยาดังกล่าวเป็นไดอาซีแพมหรือแวเลี่ยมวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 และเออโกตามีน ทาร์เตรต ซึ่งเป็นยาอันตราย การกระทำของโจทก์จึงเป็นการขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ป่วยได้และอาจเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ การที่คณะกรรมการของแพทยสภาจำเลยเห็นว่าพฤติกรรมดังกล่าวของโจทก์เป็นอันตรายต่อสังคมทั่วไปและเป็นพฤติกรรมไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับแพทย์สภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2526 หมวด 1 ข้อ 2 และมีมติภาคทัณฑ์โจทก์ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 มาตรา 39 (3) จึงเป็นดุลพินิจที่ชอบ