พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของประกาศ คสช. ฉบับที่ 44 ต่อการแก้ไขราคาเวนคืนและการอุทธรณ์สิทธิของผู้ถูกเวนคืน
แม้โจทก์มีที่ดินที่จะต้องเวนคืนคือที่ดินโฉนดเลขที่ 121005 อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางเขน เขตดุสิตเขตพญาไท เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตยานนาวา เขตห้วยขวาง เขตบางกะปิเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530 เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ -บางโคล่ และสายพญาไท - ศรีนครินทร์ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนแล้ว แต่โจทก์ไม่ติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนจำเลยที่ 1 จึงได้นำเงินค่าทดแทนจำนวนดังกล่าวไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์และมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็ตาม แต่ต่อมาได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ใช้บังคับ และจำเลยที่ 1 มีหนังสือให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนเพิ่มตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ดังนี้เมื่อมีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 โดยเพิ่มเติมมาตรา 10 ทวิ ให้รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 หรือคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติได้ และให้ถือว่าราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่แก้ไขแล้วเป็นราคาซื้อขายที่ตกลงกันใหม่แทนราคาเดิม และราคาเบื้องต้นที่แก้ไขแล้วเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 แล้วแต่กรณี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาศัยอำนาจดังกล่าวแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่คือคณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นฯ เพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน ฉะนั้น เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นฯ แก้ไขใหม่ จึงเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เมื่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืนไม่พอใจ ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ที่แก้ไขใหม่ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน, การโอนกรรมสิทธิ์, มัดจำ, สัญญาแลกเปลี่ยน, หน้าที่ชำระราคา
เมื่อสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยมิได้ระบุว่าหากโจทก์ยืมเงินจากธนาคารไม่ได้ ให้ถือว่าสัญญาดังกล่าวเป็นอันเลิกกัน โจทก์จึงจะนำเหตุที่ตนกู้ยืมเงินไม่ได้มาบอกเลิกสัญญากับจำเลยหาได้ไม่ โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เพราะไม่อาจชำระราคาค่าบ้านและที่ดินให้แก่จำเลยได้ ทั้งการที่จำเลยโอนบ้านและที่ดินพิพาทมาเป็นของตนก็เป็นการกระทำโดยชอบและสุจริตเพราะดำเนินการไปโดยได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ โจทก์จึงไม่ สามารถฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินพิพาท ดังกล่าวได้ แม้สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยจะระบุว่าโจทก์มอบบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยเป็นค่ามัดจำในการ ซื้อบ้านและที่ดินของจำเลย แต่เมื่อโจทก์ยังมิได้ส่งมอบบ้าน ดังกล่าวให้แก่จำเลย บ้านและที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่มัดจำ ดังนี้แม้โจทก์จะผิดสัญญาจำเลยก็ไม่อาจริบบ้านและที่ดินพิพาทได้ อย่างไรก็ตามการที่โจทก์และจำเลยต่างต้องโอนกรรมสิทธิ์ ในบ้านและที่ดินให้แก่กันนั้นมีลักษณะเป็นสัญญาแลกเปลี่ยน ทรัพย์สิน ซึ่งต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 518-520 โดยจำเลยอยู่ใน ฐานะผู้ซื้อบ้านและที่ดินพิพาทส่วนโจทก์เป็นผู้ขายเมื่อจำเลย โอนบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของตนแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้อง ชำระราคาค่าบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบังคับภารจำยอม: เจ้าของสามยทรัพย์เท่านั้นที่มีสิทธิฟ้อง แม้มีสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก
ภารจำยอมย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์เท่านั้น โดยอสังหาริมทรัพย์ที่ได้สิทธิภารจำยอมนั้นเรียกสามยทรัพย์ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกอยู่ในภารจำยอมนั้นเรียกภารยทรัพย์ ผู้ที่จะฟ้องบังคับภารจำยอมได้จึงต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าขณะฟ้องคดีนี้โจทก์ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสามยทรัพย์ให้บุคคลอื่นไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เป็นเจ้าของภารยทรัพย์ แม้ตามสัญญาให้ทางผ่านที่ดินระบุว่าหากที่ดินของโจทก์ได้โอนไปยังบุคคลหนึ่งบุคคลใด จ.ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมยินยอมให้ใช้ทางนั้นเป็นทางผ่านสัญจรไปมาได้ก็ตาม และบุคคลภายนอกผู้รับโอนที่ดินจากโจทก์ไปจะมีสิทธิอย่างไรก็เป็นเรื่องที่บุคคลภายนอกผู้รับโอนที่ดินจากโจทก์ไปจะไปใช้สิทธินั้นเองเมื่อยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่ามีการไม่ชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกนั้นโจทก์ที่ 1 ย่อมไม่มีอำนาจใช้สิทธิดังกล่าวนั้นแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบังคับภาระจำยอมสงวนเฉพาะเจ้าของสามยทรัพย์ การโอนสิทธิทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
ภาระจำยอมย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์เท่านั้น โดยอสังหาริมทรัพย์ที่ได้สิทธิภาระจำยอมนั้นเรียกสามยทรัพย์ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกอยู่ในภาระจำยอมนั้นเรียกภารยทรัพย์ ผู้ที่จะฟ้องบังคับภาระจำยอมได้จึงต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าขณะฟ้องคดีนี้โจทก์ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสามยทรัพย์ให้บุคคลอื่นไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เป็นเจ้าของภารยทรัพย์ แม้ตามสัญญาให้ทางผ่านที่ดินระบุว่า หากที่ดินของโจทก์ได้โอนไปยังบุคคลหนึ่งบุคคลใด จ.ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมยินยอมให้ใช้ทางนั้นเป็นทางผ่านสัญจรไปมาได้ก็ตาม และบุคคลภายนอกผู้รับโอนที่ดินจากโจทก์ไปจะมีสิทธิอย่างไรก็เป็นเรื่องที่บุคคลภายนอกผู้รับโอนที่ดินจากโจทก์ไปจะไปใช้สิทธินั้นเองเมื่อยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่ามีการไม่ชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกนั้น โจทก์ที่ 1 ย่อมไม่มีอำนาจใช้สิทธิดังกล่าวนั้นแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงโอนสิทธิในที่ดิน: วัตถุแห่งหนี้แตกต่างกัน การบังคับชำระราคาไม่ตรงกับข้อตกลง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตกลงจะโอนสิทธิครอบครองและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แต่จำเลยผิดสัญญา ขอให้บังคับตามข้อตกลงนั้น ก็เป็นการตกลงที่จะโอนให้ใช้ทำมาหากินคือการใช้ทำประโยชน์นั่นเอง และการที่โจทก์ขอให้จำเลยร่วมกันชำระราคาที่ดินพิพาทเป็นค่าเสียหายที่ผิดสัญญา เมื่อการตกลงโอนสิทธิครอบครองและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท วัตถุแห่งหนี้เป็นเรื่องการโอนตัวทรัพย์ ส่วนการตกลงให้เข้าใช้หรือทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท วัตถุแห่งหนี้มิได้เป็นเรื่องการโอนตัวทรัพย์ หากเพียงแต่ให้มีสิทธิใช้ประโยชน์จากที่ดินพิพาทเท่านั้น จึงเป็นข้อตกลงหรือการกระทำที่มีลักษณะแตกต่างคนละอย่างกัน
เมื่อตกลงโอนสิทธิครอบครองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันจะบังคับแต่เพียงให้เข้าใช้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมิได้ ทำนองเดียวกัน ถ้าตกลงให้เข้าใช้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็จะบังคับให้โอนที่ดินพิพาทมิได้เช่นเดียวกัน และคำขอบังคับให้ชำระราคาที่ดินพิพาทเป็นค่าทดแทนตัวทรัพย์ ก็เป็นคนละอย่างต่างกันกับการบังคับให้ชำระเงินค่าไถ่ถอนจำนอง ซึ่งกรณีหลังเป็นการคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้วแม้จะเป็นการชำระหนี้ด้วยเงินเหมือนกันก็ตาม ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ตกลงให้โจทก์มีสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่จำเลยทั้งสองผิดสัญญา แล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินค่าไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 142
เมื่อตกลงโอนสิทธิครอบครองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันจะบังคับแต่เพียงให้เข้าใช้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมิได้ ทำนองเดียวกัน ถ้าตกลงให้เข้าใช้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็จะบังคับให้โอนที่ดินพิพาทมิได้เช่นเดียวกัน และคำขอบังคับให้ชำระราคาที่ดินพิพาทเป็นค่าทดแทนตัวทรัพย์ ก็เป็นคนละอย่างต่างกันกับการบังคับให้ชำระเงินค่าไถ่ถอนจำนอง ซึ่งกรณีหลังเป็นการคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้วแม้จะเป็นการชำระหนี้ด้วยเงินเหมือนกันก็ตาม ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ตกลงให้โจทก์มีสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่จำเลยทั้งสองผิดสัญญา แล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินค่าไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อขายที่ดินกับสิทธิทำประโยชน์: ศาลพิพากษาเกินฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตกลงจะโอนสิทธิครอบครองและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แต่จำเลยผิดสัญญา ขอให้บังคับ ตามข้อตกลงนั้น ก็เป็นการตกลงที่จะโอนให้ใช้ทำมาหากินคือการใช้ทำประโยชน์นั่นเอง และการที่โจทก์ขอให้จำเลยร่วมกันชำระราคาที่ดินพิพาทเป็นค่าเสียหายที่ผิดสัญญา เมื่อการตกลงโอนสิทธิครอบครองและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทวัตถุแห่งหนี้เป็นเรื่องการโอนตัวทรัพย์ ส่วนการตกลงให้เข้าใช้หรือทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท วัตถุแห่งหนี้มิได้เป็นเรื่องการโอนตัวทรัพย์ หากเพียงแต่ให้มีสิทธิใช้ประโยชน์จากที่ดินพิพาทเท่านั้น จึงเป็นข้อตกลงหรือการกระทำที่มีลักษณะแตกต่างคนละอย่างกัน เมื่อตกลงโอนสิทธิครอบครองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันจะบังคับแต่เพียงให้เข้าใช้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมิได้ทำนองเดียวกัน ถ้าตกลงให้เข้าใช้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็จะบังคับให้โอนที่ดินพิพาทมิได้เช่นเดียวกัน และคำขอบังคับให้ชำระราคาที่ดินพิพาทเป็นค่าทดแทนตัวทรัพย์ ก็เป็นคนละอย่างต่างกันกับการบังคับให้ชำระเงินค่าไถ่ถอนจำนองซึ่งกรณีหลังเป็นการคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้ว แม้จะเป็นการชำระหนี้ด้วยเงินเหมือนกันก็ตาม ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ตกลงให้โจทก์มีสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่จำเลยทั้งสองผิดสัญญาแล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินค่าไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายซ้ำกับคดีสิทธิภาระจำยอมที่ยังพิจารณาอยู่
เมื่อคดีทั้งสองเรื่องโจทก์อ้างสิทธิอย่างเดียวกันว่า ที่ดินโจทก์มีสิทธิภาระจำยอมเหนือที่ดินพิพาทที่จำเลยโอนให้ พ. และค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยไม่ยอมให้ที่ดินพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว การที่โจทก์กลับมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้ขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมเรียกร้องสิทธิภารจำยอม คดีหลังเรียกค่าเสียหายจากเหตุเดิม ศาลยกฟ้อง
เมื่อคดีทั้งสองเรื่องโจทก์อ้างสิทธิอย่างเดียวกันว่าที่ดินโจทก์มีสิทธิภารจำยอมเหนือที่ดินพิพาทที่จำเลยโอนให้ พ. และค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยไม่ยอมให้ที่ดินพิพาทเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว การที่โจทก์กลับมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้ขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี ต้องไม่ทำให้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองเสียสิทธิ
การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 จะต้องเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดีนั้นได้รับความคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาหรือเพื่อความสะดวกในการบังคับคดีตามคำพิพากษา คดีนี้ที่ดินพิพาทจำเลยที่ 3ได้จดทะเบียนจำนองไว้เป็นประกันการชำระหนี้แก่จำเลยที่ 4ผู้รับจำนองมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญจึงเป็นสิทธิที่ให้ความคุ้มครองตามกฎหมายแก่จำเลยที่ 4ได้ดีกว่าการที่โจทก์ทั้งสิบห้าขอวางเงินต่อศาลเป็นประกันการชำระหนี้แทนที่ดิน การใช้วิธีการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งสิบห้าไว้ในระหว่างการพิจารณาตามที่โจทก์ทั้งสิบห้ามีคำขอจึงเป็นการทำให้จำเลยที่ 4 เสียหาย จะกระทำโดยจำเลยที่ 4มิได้ยินยอมด้วยหาได้ไม่ จึงยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะคุ้มครองประโยชน์ไว้ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาตามวิธีการที่เสนอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระผูกพันตามสัญญาสัมปทานทำไม้, การสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน, และขอบเขตความรับผิดของผู้รับสัมปทาน
ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักทั้ง 5 แปลง ข้อ 17 วรรคหนึ่งระบุว่า "ตลอดระยะเวลาสัมปทานนี้ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ปลูกต้นไม้ บำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่ขึ้นอยู่แล้วในป่าสัมปทานและบำรุงรักษาป่าสัมปทานด้วยค่าใช้จ่ายของผู้รับสัมปทาน ทั้งนี้ ตามวิธีการที่กรมป่าไม้กำหนด รวมทั้งชนิดของต้นไม้ที่กำหนดให้ปลูกด้วย" ดังนั้น ก่อนสัมปทานจะสิ้นสุดลง จำเลยจึงต้องมีภาระที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสัมปทานดังกล่าว แม้ต่อมาในระหว่างอายุสัมปทานทำไม้ของจำเลย โจทก์โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิด สิ้นสุดลงทั้งแปลง คำสั่งดังกล่าวคงมีผลเพียงทำให้สิทธิที่จำเลยจะทำไม้ได้ต่อไปภายในอายุสัมปทานสิ้นสุดลงเท่านั้น แต่จำเลยยังมีภาระหน้าที่จะต้องปลูกป่าและบำรุงป่าทดแทนในส่วนที่จำเลยได้ทำไม้ไปแล้วก่อนเวลาสัมปทานจะสิ้นสุดลง
ตามเงื่อนไขสัมปทานข้อ 17 วรรคหนึ่ง ตลอดระยะเวลาสัมปทาน ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่บำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่ขึ้นอยู่แล้วในป่าสัมปทานแต่ต่อมาในระหว่างอายุสัมปทาน โจทก์ได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลง และกรมป่าไม้ได้มีหนังสือห้ามไม่ให้ผู้ได้รับสัมปทานทำไม้อีกต่อไป และให้ขนเครื่องมือเครื่องจักรออกจากป่าในเขตสัมปทาน สัมปทานการทำไม้ของจำเลยจึงสิ้นสุดลง ดังนั้น ภาระในการบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่มีอยู่แล้วในป่าสัมปทาน และบำรุงรักษาป่าสัมปทานของจำเลยจึงหมดไป
ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักข้อ 20 ระบุว่า "ภายในเขตป่าสัมปทานและป่าที่มีการปลูกและบำรุงรักษาตามข้อ 17 วรรคสอง ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาและป้องกันมิให้มีการลักลอบตัดไม้แผ้วถางป่า หรือทำการก่นสร้างป่าหรือเผาป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่า หรือยึดถือครอบครองป่าหรือทำอันตรายหรือจับสัตว์ป่าโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องและในกรณีที่มีผู้ละเมิดกฎหมายดังกล่าว ผู้รับสัมปทานต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบทันที" ตามเงื่อนไขดังกล่าวจำเลยจึงมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องเท่านั้น มิได้มีหน้าที่ถึงขนาดว่าหากมีราษฎรบุกรุกป่าหรือมีไฟไหม้ป่า จำเลยจะต้องรับผิดชอบด้วย ความเสียหายของสวนป่าที่ปลูกตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้ของจำเลยส่วนใหญ่เกิดจากราษฎรบุกรุกและถูกไฟไหม้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์
ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักข้อ 19 ระบุว่า "ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ดำเนินการป้องกันไฟสำหรับป่าสัมปทาน และป่าที่มีการปลูกและบำรุงรักษาตามข้อ 17 วรรคสอง ทั้งนี้ ตามวิธีการที่กรมป่าไม้กำหนด" และกรมป่าไม้ได้กำหนดวิธีการป้องกันไฟป่าไว้ ซึ่งตามข้อกำหนดวิธีการป้องกันไฟป่า ข้อ 9 กำหนดว่า เมื่อสัมปทานสิ้นสุดลงด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ผู้รับสัมปทานยินยอมยกหอดูไฟและอุปกรณ์ในการดับไฟทั้งหมดให้เป็นของกรมป่าไม้ ดังนั้นเมื่อต่อมาวันที่ 17 มกราคม 2532 โจทก์ได้มีคำสั่งที่ 32/2532 ให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิด ทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลง จำเลยจึงต้องส่งมอบหอดูไฟและอุปกรณ์ในการดับไฟทั้งหมดให้กรมป่าไม้ จำเลยได้สร้างหอดูไฟให้แล้ว 2 หอ และสัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รื้อถอนหอดูไฟดังกล่าวไปหรือทำให้เสียหายหรือบุบสลายแก่หอดูไฟดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ราคาค่าหอดูไฟให้โจทก์
ตามเงื่อนไขสัมปทานข้อ 17 วรรคหนึ่ง ตลอดระยะเวลาสัมปทาน ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่บำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่ขึ้นอยู่แล้วในป่าสัมปทานแต่ต่อมาในระหว่างอายุสัมปทาน โจทก์ได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลง และกรมป่าไม้ได้มีหนังสือห้ามไม่ให้ผู้ได้รับสัมปทานทำไม้อีกต่อไป และให้ขนเครื่องมือเครื่องจักรออกจากป่าในเขตสัมปทาน สัมปทานการทำไม้ของจำเลยจึงสิ้นสุดลง ดังนั้น ภาระในการบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่มีอยู่แล้วในป่าสัมปทาน และบำรุงรักษาป่าสัมปทานของจำเลยจึงหมดไป
ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักข้อ 20 ระบุว่า "ภายในเขตป่าสัมปทานและป่าที่มีการปลูกและบำรุงรักษาตามข้อ 17 วรรคสอง ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาและป้องกันมิให้มีการลักลอบตัดไม้แผ้วถางป่า หรือทำการก่นสร้างป่าหรือเผาป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่า หรือยึดถือครอบครองป่าหรือทำอันตรายหรือจับสัตว์ป่าโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องและในกรณีที่มีผู้ละเมิดกฎหมายดังกล่าว ผู้รับสัมปทานต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบทันที" ตามเงื่อนไขดังกล่าวจำเลยจึงมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องเท่านั้น มิได้มีหน้าที่ถึงขนาดว่าหากมีราษฎรบุกรุกป่าหรือมีไฟไหม้ป่า จำเลยจะต้องรับผิดชอบด้วย ความเสียหายของสวนป่าที่ปลูกตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้ของจำเลยส่วนใหญ่เกิดจากราษฎรบุกรุกและถูกไฟไหม้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์
ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักข้อ 19 ระบุว่า "ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ดำเนินการป้องกันไฟสำหรับป่าสัมปทาน และป่าที่มีการปลูกและบำรุงรักษาตามข้อ 17 วรรคสอง ทั้งนี้ ตามวิธีการที่กรมป่าไม้กำหนด" และกรมป่าไม้ได้กำหนดวิธีการป้องกันไฟป่าไว้ ซึ่งตามข้อกำหนดวิธีการป้องกันไฟป่า ข้อ 9 กำหนดว่า เมื่อสัมปทานสิ้นสุดลงด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ผู้รับสัมปทานยินยอมยกหอดูไฟและอุปกรณ์ในการดับไฟทั้งหมดให้เป็นของกรมป่าไม้ ดังนั้นเมื่อต่อมาวันที่ 17 มกราคม 2532 โจทก์ได้มีคำสั่งที่ 32/2532 ให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิด ทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลง จำเลยจึงต้องส่งมอบหอดูไฟและอุปกรณ์ในการดับไฟทั้งหมดให้กรมป่าไม้ จำเลยได้สร้างหอดูไฟให้แล้ว 2 หอ และสัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รื้อถอนหอดูไฟดังกล่าวไปหรือทำให้เสียหายหรือบุบสลายแก่หอดูไฟดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ราคาค่าหอดูไฟให้โจทก์