คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไสว จันทะศรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาประมูลป่าไม้: หน้าที่บำรุงรักษาหลังสิ้นสุดสัญญา & การส่งมอบอุปกรณ์ดับไฟ
ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักทั้ง 5 แปลง ข้อ 17 วรรคหนึ่งระบุว่า"ตลอดระยะเวลาสัมปทานนี้ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ปลูกต้นไม้บำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่ขึ้นอยู่แล้วในป่าสัมปทานและบำรุงรักษาป่าสัมปทานด้วนค่าใช้จ่ายของผู้รับสัมปทาน ทั้งนี้ตามวิธีการที่กรมป่าไม้ทั้งหมด รวมทั้งชนิดของต้นไม้ที่กำหนดให้ปลูกด้วย" ดังนั้น ก่อนสัมปทานจะสิ้นสุดลง จำเลยจึงต้องมีภาระที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสัมปทานดังกล่าว แม้ต่อมาในระหว่างอายุสัมปทานทำไม้ของจำเลย โจทก์โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิดสิ้นสุดลงทั้งแปลง คำสั่งดังกล่าวคงมีผลเพียงทำให้สิทธิที่จำเลยจะทำไม้ได้ต่อไปภายในอายุสัมปทานสิ้นสุดลงเท่านั้น แต่ จำเลย ยังมีภาระหน้าที่จะต้องปลูกป่าและบำรุงป่าทดแทนในส่วนที่จำเลยได้ทำไม้ไปแล้วก่อนเวลาสัมปทานจะสิ้นสุดลง ตามเงื่อนไขสัมปทานข้อ 17 วรรคหนึ่ง ตลอดระยะเวลาสัมปทาน ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่บำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่ขึ้นอยู่แล้วในป่าสัมปทานแต่ต่อมาในระหว่างอายุสัมปทานโจทก์ได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลงและกรมป่าไม้ได้มีหนังสือห้ามไม่ให้ผู้ได้รับสัมปทานทำไม้อีกต่อไป และให้ขนเครื่องมือเครื่องจักรออกจากป่าในเขตสัมปทานสัมปทานการทำไม้ของจำเลยจึงสิ้นสุดลง ดังนั้น ภาระในการบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่มีอยู่แล้วในป่าสัมปทานและบำรุงรักษาป่าสัมปทานของจำเลยจึงหมดไป ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักข้อ 20 ระบุว่า "ภายในเขตป่าสัมปทานและป่าที่มีการปลูกและบำรุงรักษาตามข้อ 17 วรรคสอง ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาและป้องกันมิให้มีการลักลอบตัดไม้แผ้วถางป่า หรือทำการก่นสร้างป่าหรือเผาป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่า หรือยึดถือครอบครองป่าหรือทำอันตรายหรือจับสัตว์ป่าโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องและในกรณีที่มีผู้ละเมิดกฎหมายดังกล่าว ผู้รับสัมปทานต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบทันที" ตามเงื่อนไขดังกล่าวจำเลยจึงมี หน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องเท่านั้น มิได้มีหน้าที่ถึงขนาดว่า หากมีราษฎรบุกรุกป่าหรือมีไฟไหม้ป่า จำเลยจะต้องรับผิดชอบด้วยความเสียหายของสวนป่าที่ปลูกตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้ของจำเลยส่วนใหญ่เกิดจากราษฎรบุกรุกและถูกไฟไหม้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์ ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักข้อ 19 ระบุว่า "ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ดำเนินการป้องกันไฟสำหรับป่าสัมปทาน และป่าที่มีการปลูกและบำรุงรักษาตามข้อ 17 วรรคสอง ทั้งนี้ ตามวิธีการที่กรมป่าไม้กำหนด" และกรมป่าไม้ได้กำหนดวิธี การป้องกันไฟป่าไว้ ซึ่งตามข้อกำหนดวิธีการป้องกันไฟป่า ข้อ 9 กำหนดว่า เมื่อสัมปทานสิ้นสุดลงด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ผู้รับ สัมปทานยินยอมยกหกดูไฟและอุปกรณ์ในการดับไฟทั้งหมดให้ เป็นของกรมป่าไม้ ดังนั้นเมื่อต่อมาวันที่ 17 มกราคม 2532 โจทก์ได้มีคำสั่งที่ 32/2532 ให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิดทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลง จำเลยจึงต้องส่งมอบหอดูไฟและอุปกรณ์ในการดับไฟทั้งหมดให้กรมป่าไม้ จำเลยได้สร้างหอดูไฟให้แล้ว 2 หอ และสัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รื้อถอน หอดูไฟดังกล่าวไปหรือทำให้เสียหายหรือบุบสลายแก่หอดูไฟดังกล่าวจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ราคาค่าหอดูไฟให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8222/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์, การรับบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์, สิทธิในทรัพย์มรดก
พินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ แต่ไม่ระบุวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม อันเป็นการทำพินัยกรรมที่ไม่ถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1657 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมจึงเป็นทรัพย์มรดกที่ไม่มีพินัยกรรม และเมื่อการจัดการมรดกมีเหตุขัดข้อง ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713
แม้เอกสารฉบับพิพาทพร้อมคำแปลจะมีข้อความว่า ป.เจ้ามรดกเป็นผู้ทำ และมีลักษณะเป็นพินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ โดยผู้ทำลงวัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตนในเอกสารอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเท่านั้น ไม่ใช่ต้นฉบับเอกสาร จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 กรณีไม่อาจฟังว่า ป.เจ้ามรดกทำพินัยกรรมนั้นไว้จริง
เมื่อเอกสารที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นเอกสารการรับเป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันระหว่าง ป.เจ้ามรดกกับผู้คัดค้านเป็นเพียงสัญญารับบุตรบุญธรรมเพราะ ป.เจ้ามรดกไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอรับบุตรบุญธรรม ทั้งไม่ปรากฏว่า ป.เจ้ามรดกได้รับอนุมัติจากศาลปกครองในการรับบุตรบุญธรรมให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ดังนั้น เมื่อการรับบุตรบุญธรรมของ ป.ไม่สมบูรณ์ และไม่มีผลตามกฎหมาย และเมื่อ ป.เจ้ามรดก ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายของประเทศไทย ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ทายาทของ ป. ทั้งเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ป. ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ป.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8153/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้อง ลงโทษจำคุก1 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน และลงโทษปรับอีกสถานหนึ่ง โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้2 ปี นั้น ศาลอุทธรณ์ยังพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องโจทก์อยู่ เพียงแต่ลงโทษแตกต่างไปจากศาลชั้นต้นเท่านั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นการพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่พิพากษากลับ จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219 ตรี โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ จึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8153/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงโทษจากกักขังเป็นปรับโดยศาลอุทธรณ์ ถือเป็นการแก้คำพิพากษาเดิม ไม่ใช่การกลับคำพิพากษา ทำให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นไปไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้อง ลงโทษจำคุก 1 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนและลงโทษปรับอีกสถานหนึ่ง โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปีนั้น ศาลอุทธรณ์ยังพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องโจทก์อยู่เพียงแต่ลงโทษแตกต่างไปจากศาลชั้นต้นเท่านั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นการพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่พิพากษากลับ จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ จึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8048/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการไม่ส่งมอบทรัพย์, เบี้ยปรับ, ดอกเบี้ย, และการลดหย่อนค่าเสียหายตามดุลพินิจศาล
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตกลงชำระค่าธรรมเนียมปีละ 65,000 บาท ให้แก่โจทก์ ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้จำเลยชำระค่าธรรมเนียมรายปีดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าธรรมเนียมรายปี แก่โจทก์จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 สัญญาเช่ามีข้อตกลงว่า เมื่อกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาสิ้นสุดลงจำเลยยังมีเวลารื้อถอนและส่งมอบทรัพย์ที่เช่าต่อไปอีก 30 วัน ดังนั้น การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยภายใน35 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดที่จำเลยมีสิทธิส่งทรัพย์ที่เช่าคืนว่าจะไม่ให้จำเลยทำสัญญาเช่าต่อไปนับได้ว่าเป็นเวลาอันสมควรและเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์มิได้นิ่งเฉย หรือไม่ทักท้วงที่จำเลยยังคงครอบครองทรัพย์ที่เช่าอยู่ภายหลังสัญญาเช่าสิ้นกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ ถือไม่ได้ว่า โจทก์จำเลยเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 โจทก์จึงมีสิทธิ เรียกค่าเสียหายได้เริ่มแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเป็นต้นไปและสิ้นสุดก่อนวันที่จำเลยส่งมอบทรัพย์ที่เช่า เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง จำเลยไม่ส่งมอบทรัพย์ที่เช่า คืนภายในเวลาที่ตกลงกันไว้ จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรหรืองดเว้นกระทำการอันหนึ่งใดที่ ตกลงไว้ และต้องใช้เบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญา แต่โจทก์ ได้มีหนังสือขยายเวลาให้จำเลยรื้อถอนป้ายโฆษณาและส่งมอบทรัพย์ ที่เช่าคืนภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ อันถือได้ว่าโจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว เมื่อจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2535 จำเลยจึงมีสิทธิรื้อถอนส่งมอบทรัพย์ที่เช่าคืนโจทก์ได้จนถึง ภายในวันที่ 24 เมษายน 2536 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยในช่วงเวลาดังกล่าว คงเรียกได้แต่เพียงค่าเสียหายปกติ คือค่าเช่าในอัตราและเงื่อนไขเดิมส่วนค่าเสียหายที่เป็นเบี้ยปรับนับแต่วันที่ 25 เมษายน 2536นั้น โจทก์มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามที่ตกลงไว้ได้ซึ่งถ้าเบี้ยปรับอันมีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดก้นไว้ล่วงหน้านั้นสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้และเมื่อศาลกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายวันละ 2,000 บาทอันเป็นค่าเสียหายในอนาคตแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8045/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดิน: การปฏิบัติตามขั้นตอนและหนังสือเวียนของกรมที่ดิน
แม้ที่ดินที่โจทก์ขอให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์มิได้อยู่ในเขตท้องที่ที่ได้ประกาศเป็นที่สาธารณประโยชน์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏในบันทึกของช่างรังวัดซึ่งเสนอนายอำเภอว่า ที่ดินที่โจทก์ขอให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตั้งอยู่ในทุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ในกรณีเช่นนี้นายอำเภอจะต้องปฏิบัติตามหนังสือเวียนของกระทรวงมหาดไทย โดยเมี่อนายอำเภอหาดใหญ่รับเรื่องราวและดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วต้องส่งเรื่องราวทั้งหมดไปให้กรมที่ดินพิจารณาก่อน แต่กลับปรากฏว่ามีประกาศของนายอำเภอว่าผู้ใดจะคัดค้านการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ให้คัดค้านภายใน 30 วัน นับแต่วันประกาศ และต่อมาก็ไม่ปรากฏว่านายอำเภอได้ส่งเรื่องของโจทก์ไปยังกรมที่ดินหรือแจ้งให้โจทก์ทราบเกี่ยวกับการดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด จนกระทั่งได้เปลี่ยนแปลงเขตการปกครองโดยย้ายที่ดินแปลงพิพาทที่โจทก์ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์จึงได้ทำหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ในฐานะปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอให้สั่งการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่า จากการตรวจสอบเรื่องราวการขอรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ปรากฏว่าที่ดินแปลงที่โจทก์ขอให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์อยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการได้สงวนหวงห้ามไว้ให้เป็นที่สำหรับประชาชนใช้เลี้ยงสัตว์ซึ่งก่อนที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ซึ่งจะต้องส่งเรื่องราวทั้งหมดไปให้กรมที่ดินพิจารณาก่อน ทั้งก่อนส่งเรื่องราวดังกล่าวไปให้กรมที่ดินพิจารณาจะต้องทำการตรวจสอบโดยละเอียดรอบคอบก่อนว่า ส.ค.1 ฉบับที่โจทก์นำไปเป็นหลักฐานในการขอรับรองการทำประโยชน์นั้นเป็น ส.ค.1 ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และกำลังดำเนินการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการอยู่ พร้อมทั้งรวบรวมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้ครบถ้วนก่อนส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินพิจารณา กรณีเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ยังมิได้ปฏิเสธที่จะไม่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ เพราะจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติตามหนังสือเวียนของกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้นและอยู่ในระหว่างดำเนินการอยู่ โจทก์ก็มาฟ้องเป็นคดีนี้โดยที่จำเลยที่ 1 ยังมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่อย่างใด ทั้งกรณีของโจทก์นี้ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ให้สิทธิโจทก์ฟ้องคดีต่อศาล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8045/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีที่ดินทับซ้อนพื้นที่สงวนเลี้ยงสัตว์และการปฏิบัติตามหนังสือเวียนของกระทรวงมหาดไทย
แม้ที่ดินที่โจทก์ขอให้ออกหนังสือรับการทำประโยชน์มิได้อยู่ในเขตท้องที่ที่ได้ประกาศเป็นที่สาธารณประโยชน์ ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏในบันทึกของช่างรังวัดซึ่งเสนอนายอำเภอ ว่า ที่ดินที่โจทก์ขอให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตั้งอยู่ในทุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ในกรณีเช่นนี้นายอำเภอจะต้องปฏิบัติตามหนังสือเวียนของกระทรวงมหาดไทย โดยเมื่อนายอำเภอหาดใหญ่รับเรื่องราวและดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วต้องส่งเรื่องราวทั้งหมดไปให้กรมที่ดินพิจารณาก่อน แต่กลับปรากฏว่ามีประกาศของนายอำเภอว่าผู้ใดจะคัดค้านการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ให้คัดค้านภายใน 30 วัน นับแต่วันประกาศ และต่อมาก็ไม่ปรากฏว่านายอำเภอได้ส่งเรื่องของโจทก์ไปยังกรมที่ดินหรือแจ้งให้โจทก์ทราบเกี่ยวกับการดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด จนกระทั่งได้เปลี่ยนแปลงเขตการปกครองโดยย้ายที่ดินแปลงพิพาทที่โจทก์ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์จึงได้ทำหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ในฐานะปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอให้สั่งการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ ดังนี้การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่า จากการตรวจสอบเรื่องราวการขอรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ปรากฏว่า ที่ดินแปลงที่โจทก์ขอให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์อยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการได้สงวนหวงห้ามไว้ให้เป็นที่สำหรับประชาชนใช้เลี้ยงสัตว์ซึ่งก่อนที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์จะต้องส่งเรื่องราวทั้งหมดไปให้กรมที่ดินพิจารณาก่อน ทั้งก่อนส่งเรื่องราวดังกล่าวไปให้กรมที่ดินพิจารณาจะต้องทำการตรวจสอบโดยละเอียดรอบคอบก่อนว่าส.ค.1 ฉบับที่โจทก์นำไปเป็นหลักฐานในการขอรับรองการทำประโยชน์ นั้นเป็น ส.ค.1 ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และกำลังดำเนินการ พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการอยู่ พร้อมทั้งรวบรวมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้ครบถ้วนก่อนส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินพิจารณา กรณีเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ยังมิได้ปฏิเสธที่จะไม่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ เพราะจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติตามหนังสือเวียนของกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้นและอยู่ในระหว่างดำเนินการอยู่ โจทก์ก็มาฟ้องเป็นคดีนี้โดยที่จำเลยที่ 1 ยังมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่อย่างใด ทั้งกรณีของโจทก์นี้ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ให้สิทธิโจทก์ฟ้องคดีต่อศาล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7986/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดชอบครู/อาจารย์ต่อศิษย์ตาม ป.อ.มาตรา 285: การกระทำนอกเหนือหน้าที่ดูแล
ความหมายของข้อความที่ว่า ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล ตามป.อ.มาตรา 285 นั้น มิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ซึ่งมีหน้าที่สอนหรือเคยสอนศิษย์เท่านั้น แต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่มีหน้าที่ดังกล่าวในขณะเกิดเหตุ เพราะเหตุเกิดที่บ้าน พ. และอยู่นอกเวลาควบคุมดูแลของจำเลย การกระทำของจำเลยก็มิใช่กระทำต่อศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล
ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ผู้เสียหายเป็นผู้อยู่ในความควบคุมของจำเลยตามหน้าที่ราชการ เมื่อเป็นข้อที่มิได้กล่าวในฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7986/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่อเด็กในความดูแล: หน้าที่ควบคุมดูแลนอกเวลาราชการมีผลต่อการรับโทษ
ความหมายของข้อความที่ว่า ศิษย์ ซึ่งอยู่ในความดูแลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 นั้น มิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ซึ่งมีหน้าที่สอนหรือเคยสอนศิษย์ เท่านั้น แต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์ และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่มีหน้าที่ดังกล่าวในขณะเกิดเหตุ เพราะเหตุเกิดที่บ้านพ.และอยู่นอกเวลาควบคุมดูแลของจำเลย การกระทำของจำเลยก็มิใช่กระทำต่อศิษย์ ซึ่งอยู่ในความดูแล ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ผู้เสียหายเป็นผู้อยู่ในความควบคุมของจำเลยตามหน้าที่ราชการ เมื่อเป็นข้อที่มิได้กล่าวในฟ้องจึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7810/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกรในการทำนิติกรรม และอายุความในการเรียกค่าหนี้ซื้อปุ๋ย
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การของรัฐบาลพ.ศ. 2496 โดยจัดตั้งขึ้นตาม พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ. 2517 โจทก์จึงมีอำนาจเป็นตัวการที่จะกระทำ การใดหรือทำนิติกรรมใด ๆ ได้ด้วยตัวเองตามกฎหมาย เป็นการ ดำเนินการในฐานะตัวแทนของ รัฐบาลและกระทรวง ทบวง กรม ที่รับนโยบายรัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติในนามของโจทก์เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร หาใช่โจทก์กระทำการใด ๆ ในฐานะที่เป็นตัวแทนกระทำการแทนตัวการที่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจตั้งตัวแทนไม่ โจทก์จึงมีอำนาจกระทำนิติกรรมใด ๆ กับจำเลยได้ โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจจากกระทรวงทบวง กรม แต่อย่างใด และมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ตามกฎหมาย องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรโจทก์มีอำนาจกระทำการใด ๆหรือนิติกรรมใด ๆ ได้ด้วยตนเองตามกฎหมายแล้ว เมื่อป. ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการของโจทก์ ป. จึงมีอำนาจกระทำการใดหรือทำนิติกรรมใด ๆ รวมทั้งการฟ้องคดีและอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์ตามวัตถุประสงค์ที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ. 2517 แทนโจทก์ได้ โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจแต่งตั้ง เป็นตัวแทนของกระทรวง ทบวง กรมใด ๆ จำเลยทำสัญญาซื้อเชื่อปุ๋ยจากโจทก์และได้รับปุ๋ยจากโจทก์ทุกครั้ง อีกทั้งตามข้อบังคับของจำเลยได้ระบุผู้ที่มีอำนาจลงลายมือชื่อในนิติกรรมและเอกสารทั้งปวงแทนจำเลยว่าจะต้องเป็นประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการหรือเลขานุการหรือเหรัญญิกหรือผู้จัดการคนใดคนหนึ่ง เมื่อตามสัญญาซื้อเชื่อปุ๋ยดังกล่าวมี ผ.ประธานกรรมการและส.เลขานุการเป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาตามความประสงค์ในการประชุมคณะกรรมการของจำเลย สัญญาซื้อเชื่อปุ๋ยดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยตามกฎหมาย แม้ในการซื้อปุ๋ยแต่ละครั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรไม่เคยอนุมัติวงเงินซื้อปุ๋ยและไม่เคยให้ความเห็นชอบให้จำเลยซื้อเชื่อปุ๋ยก็ตาม ก็เป็นเรื่องไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของจำเลยเท่านั้น หามีผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของสัญญาซื้อเชื่อปุ๋ยระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรพ.ศ. 2517 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 (1) (8) หาใช่ประกอบ การค้าโดยทำการซื้อสินค้ามาแล้วขายไปเพื่อหากำไรตามปกติ จึงมิใช่เป็นพ่อค้าตามมาตรา 165 (1) จะนำอายุความ 2 ปี มาใช้บังคับในกรณีขอให้ลูกหนี้ชำระค่าปุ๋ยไม่ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 (เดิม)
of 19