พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6965/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำให้การของผู้ต้องหาร่วมในคดีจำหน่ายยาเสพติด และการรับฟังพยานหลักฐานประกอบ
แม้คำให้การชั้นจับกุมของ ฉ. ซึ่งมิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยคดีนี้ด้วยจะมีลักษณะเป็นคำซัดทอดในระหว่างผู้ต้องหาด้วยกันก็ตาม แต่ก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังคำให้การเช่นว่านี้เสียทีเดียว หากการซัดทอดมีเหตุผลรับฟังได้ศาลก็มีอำนาจรับฟังมาประกอบการพิจารณาได้
การที่ ฉ. เบิกความในชั้นพิจารณาของศาลมิใช่เป็นคำซัดทอดเพราะ ฉ. มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วย และ ฉ. ยังยืนยันข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่ได้ให้การไว้ในชั้นถูกจับกุม ทั้งคำเบิกความของ ฉ. ไม่ปรากฏว่ามีเหตุจูงใจในการเบิกความให้ตนพ้นความผิดหรือได้รับประโยชน์แต่อย่างใด จึงรับฟังคำเบิกความดังกล่าวของ ฉ. ด้วยความระมัดระวังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้
การที่ ฉ. เบิกความในชั้นพิจารณาของศาลมิใช่เป็นคำซัดทอดเพราะ ฉ. มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วย และ ฉ. ยังยืนยันข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่ได้ให้การไว้ในชั้นถูกจับกุม ทั้งคำเบิกความของ ฉ. ไม่ปรากฏว่ามีเหตุจูงใจในการเบิกความให้ตนพ้นความผิดหรือได้รับประโยชน์แต่อย่างใด จึงรับฟังคำเบิกความดังกล่าวของ ฉ. ด้วยความระมัดระวังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6965/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำให้การของผู้ต้องหาที่ซัดทอดกันในคดีอาญา และการใช้คำให้การประกอบพยานหลักฐานอื่น
แม้คำให้การชั้นจับกุมของ ฉ. ซึ่งมิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยคดีนี้ด้วยจะมีลักษณะเป็นคำซัดทอดในระหว่างผู้ต้องหาด้วยกันก็ตาม แต่ก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังคำให้การเช่นว่านี้เสียทีเดียว หากการซัดทอดมีเหตุผลรับฟังได้ศาลก็มีอำนาจรับฟังมาประกอบการพิจารณาได้
การที่ ฉ. เบิกความในชั้นพิจารณาของศาลมิใช่เป็นคำซัดทอดเพราะ ฉ. มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วย และ ฉ. ยังยืนยันข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่ได้ให้การไว้ในชั้นถูกจับกุม ทั้งคำเบิกความของ ฉ. ไม่ปรากฏว่ามีเหตุจูงใจในการเบิกความให้ตนพ้นความผิดหรือได้รับประโยชน์แต่อย่างใด จึงรับฟังคำเบิกความดังกล่าวของ ฉ. ด้วยความระมัดระวังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้
การที่ ฉ. เบิกความในชั้นพิจารณาของศาลมิใช่เป็นคำซัดทอดเพราะ ฉ. มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วย และ ฉ. ยังยืนยันข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่ได้ให้การไว้ในชั้นถูกจับกุม ทั้งคำเบิกความของ ฉ. ไม่ปรากฏว่ามีเหตุจูงใจในการเบิกความให้ตนพ้นความผิดหรือได้รับประโยชน์แต่อย่างใด จึงรับฟังคำเบิกความดังกล่าวของ ฉ. ด้วยความระมัดระวังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6663/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายยาเสพติดต่อความผิดเดิม: การปรับบทกฎหมายและขอบเขตความรับผิด
ขณะจำเลยกระทำความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนเมื่อวันที่24 มิถุนายน 2539 การเสพเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา62 ตรี ซึ่งจำเลยผู้กระทำความผิดต้องรับโทษตามมาตรา 106 ตรี ต่อมาก่อนการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97 (พ.ศ.2539)ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2539 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 เดิมทุกฉบับ และให้วัตถุออกฤทธิ์ที่ระบุชื่อในบัญชีท้ายประกาศดังกล่าวเป็นวัตถุออกฤทธิ์ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวไม่ได้ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์อีกต่อไป และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 ระบุไว้ในบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20 ว่าเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เท่านั้น จึงมีผลให้การเสพเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57 ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษตามมาตรา 91 และไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อีกต่อไป อันเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ซึ่งต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด ตาม ป.อ.มาตรา 3 วรรคแรก
สำหรับข้อหาความผิดฐานผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102(3 ตรี) และ 127 ทวิ แม้การเสพเมทแอมเฟตามีนจะไม่เป็นความผิดตามมาตรา102 (3 ตรี) เพราะภายหลังการกระทำความผิดดังกล่าวเมทแอมเฟตามีนไม่ถือเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แต่ถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษก็ตาม แต่ความผิดฐานผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษยังคงถือว่าเป็นความผิดอยู่ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 102 (3 ทวิ) และมาตรา 127ทวิ และมีโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย มิได้ถูกยกเลิกไป จึงมิใช่กรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติภายหลังยกเลิกความผิดดังกล่าวหรือบัญญัติให้เป็นคุณตามป.อ.มาตรา 2 และ 3 แต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อไม่มีกรณีที่จะต้องปรับบทด้วยกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำของจำเลยยังคงเป็นความผิดตามพ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ตรี) และ 127 ทวิซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิด ส่วนข้อหาความผิดฐานจำเลยเป็นผู้ขับขี่เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่งและ 157 ทวิ วรรคหนึ่ง นั้น เมื่อภายหลังการกระทำความผิดดังกล่าวเมทแอมเฟตามีนไม่ถือเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อไปแต่ถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539)ดังกล่าว และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติลงโทษผู้ขับขี่ซึ่งเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ อันเป็นกรณีที่บทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ซึ่งต้องให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 2วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว และศาลไม่อาจสั่งจำเลยให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลย ตามบทกฎหมายดังกล่าวตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ ปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ ตาม ป.วิ.อ.185, 215 และ 225 การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทคือเฉพาะบทความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 ตรี และ106 ตรี และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ตรี)และ 127 ทวิ เท่านั้น ซึ่งต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 ตรี และ 106 ตรี อันเป็นบทหนักที่สุด
สำหรับข้อหาความผิดฐานผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102(3 ตรี) และ 127 ทวิ แม้การเสพเมทแอมเฟตามีนจะไม่เป็นความผิดตามมาตรา102 (3 ตรี) เพราะภายหลังการกระทำความผิดดังกล่าวเมทแอมเฟตามีนไม่ถือเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แต่ถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษก็ตาม แต่ความผิดฐานผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษยังคงถือว่าเป็นความผิดอยู่ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 102 (3 ทวิ) และมาตรา 127ทวิ และมีโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย มิได้ถูกยกเลิกไป จึงมิใช่กรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติภายหลังยกเลิกความผิดดังกล่าวหรือบัญญัติให้เป็นคุณตามป.อ.มาตรา 2 และ 3 แต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อไม่มีกรณีที่จะต้องปรับบทด้วยกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำของจำเลยยังคงเป็นความผิดตามพ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ตรี) และ 127 ทวิซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิด ส่วนข้อหาความผิดฐานจำเลยเป็นผู้ขับขี่เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่งและ 157 ทวิ วรรคหนึ่ง นั้น เมื่อภายหลังการกระทำความผิดดังกล่าวเมทแอมเฟตามีนไม่ถือเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อไปแต่ถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539)ดังกล่าว และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติลงโทษผู้ขับขี่ซึ่งเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ อันเป็นกรณีที่บทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ซึ่งต้องให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 2วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว และศาลไม่อาจสั่งจำเลยให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลย ตามบทกฎหมายดังกล่าวตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ ปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ ตาม ป.วิ.อ.185, 215 และ 225 การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทคือเฉพาะบทความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 ตรี และ106 ตรี และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ตรี)และ 127 ทวิ เท่านั้น ซึ่งต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 ตรี และ 106 ตรี อันเป็นบทหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6663/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายยาเสพติดให้โทษต่อความผิดเดิม: ศาลยกฟ้องข้อหาเดิมและลงโทษตามกฎหมายใหม่
ขณะจำเลยกระทำความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2539 การเสพเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 ซึ่งจำเลยผู้กระทำความผิดต้องรับโทษตามมาตรา 106 ตรี ต่อมาก่อนการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539) ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2539 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 เดิมทุกฉบับ และให้วัตถุออกฤทธิ์ที่ระบุชื่อในบัญชีท้ายประกาศดังกล่าวเป็นวัตถุออกฤทธิ์ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวไม่ได้ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์อีกต่อไป และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 ระบุไว้ในบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20 ว่าเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522เท่านั้น จึงมีผลให้การเสพเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษตามมาตรา 91 และไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518อีกต่อไป อันเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ซึ่งต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรก สำหรับข้อหาความผิดฐานผู้ได้รับใบอนุญาตปฎิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 102(3 ตรี) และ 127 ทวิแม้การเสพเมทแอมเฟตามีน จะไม่เป็นความผิดตามมาตรา 102(3 ตรี) เพราะภายหลังการกระทำความผิดดังกล่าวเมทแอมเฟตามีน ไม่ถือเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แต่ถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษก็ตาม แต่ความผิดฐานผู้ได้รับใบอนุญาตปฎิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษยังคงถือว่าเป็นความผิดอยู่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 102(3 ทวิ) และมาตรา 127 ทวิและมีโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย มิได้ถูกยกเลิกไป จึงมิใช่กรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติภายหลังยกเลิกความผิดดังกล่าวหรือบัญญัติให้เป็นคุณตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2และ 3 แต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อไม่มีกรณีที่จะต้องปรับบทด้วยกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำของจำเลยยังคงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 102(3 ตรี) และ 127 ทวิ ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิด ส่วนข้อหาความผิดฐานจำเลยเป็นผู้ขับขี่เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง นั้น เมื่อภายหลังการกระทำความผิดดังกล่าวเมทแอมเฟตามีนไม่ถือเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อไปแต่ถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) ดังกล่าว และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ไม่มีบทบัญญัติลงโทษผู้ขับขี่ซึ่งเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอันเป็นกรณีที่บทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ซึ่งต้องให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว และศาลไม่อาจสั่งจำเลยให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลย ตามบทกฎหมายดังกล่าวตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ ปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 185,215 และ 225การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทคือเฉพาะบทความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 62 ตรี และ 106 ตรี และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 102(3 ตรี) และ 127 ทวิเท่านั้น ซึ่งต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 ตรี และ 106 ตรี อันเป็นบทหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6399/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืน และผลของการฟ้องพ้นกรอบเวลาตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดกรณีพิพาทคดีนี้ มาตรา 26 วรรคหนึ่งได้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรกเป็นกรณีที่รัฐมนตรีได้วินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยนั้น กรณีที่สองเป็นกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จสิ้นภายใน60 วัน นับแต่วันรับอุทธรณ์ กรณีเช่นนี้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลภายใน 1 ปี นับแต่พ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์
โจทก์อุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์2537 โดยรัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2537 ดังนี้ โจทก์จะต้องอุทธรณ์ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน โจทก์ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2537 โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2537 หากถือว่าโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์และรัฐมนตรีรับอุทธรณ์ในวันดังกล่าวนี้ เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์มาภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ สิทธิในการนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี จึงเริ่มนับแต่วันที่ 8 กันยายน2537 ซึ่งจะครบ 1 ปีในวันที่ 7 กันยายน 2538 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25ตุลาคม 2538 เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์อันพ้นกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อโจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา223 ทวิ ว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว แม้หากอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาดังกล่าวฟังขึ้นก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ข้ออื่นของโจทก์ทั้งสองได้ และต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นอื่นอีก อุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง1 ข้อ 2 (ก) โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้มาจำนวน 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินกว่า 200 บาท ให้แก่โจทก์
โจทก์อุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์2537 โดยรัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2537 ดังนี้ โจทก์จะต้องอุทธรณ์ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน โจทก์ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2537 โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2537 หากถือว่าโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์และรัฐมนตรีรับอุทธรณ์ในวันดังกล่าวนี้ เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์มาภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ สิทธิในการนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี จึงเริ่มนับแต่วันที่ 8 กันยายน2537 ซึ่งจะครบ 1 ปีในวันที่ 7 กันยายน 2538 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25ตุลาคม 2538 เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์อันพ้นกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อโจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา223 ทวิ ว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว แม้หากอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาดังกล่าวฟังขึ้นก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ข้ออื่นของโจทก์ทั้งสองได้ และต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นอื่นอีก อุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง1 ข้อ 2 (ก) โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้มาจำนวน 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินกว่า 200 บาท ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6399/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืนที่ดิน: คำวินิจฉัยเมื่อรัฐมนตรีไม่พิจารณาอุทธรณ์ภายใน 60 วัน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดกรณีพิพาทคดีนี้ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรกเป็นกรณีที่รัฐมนตรีได้วินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน1 ปี นับแต่วันที่ ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยนั้น กรณีที่สองเป็นกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จสิ้นภายใน 60 วันนับแต่วันรับอุทธรณ์ กรณีเช่นนี้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลภายใน 1 ปี นับแต่พ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ โจทก์อุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรี เมื่อวันที่8 กุมภาพันธ์ 2537 โดยรัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ในวันที่9 กุมภาพันธ์ 2537 ดังนี้ โจทก์จะต้องอุทธรณ์ภายใน 60 วันนับแต่วนที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนโจทก์ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่เมื่อวันที่10 พฤษภาคม 2537 โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2537 หากถือว่าโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์และรัฐมนตรีรับอุทธรณ์ในวันดังกล่าวนี้ เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์มาภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์สิทธิในการนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี จึงเริ่มนับแต่วันที่ 8 กันยายน 2537 ซึ่งจะครบ 1 ปี ในวันที่ 7 กันยายน2538 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2538 เกินกว่า1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์อันพ้นกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อโจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้วแม้หากอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาดังกล่าวฟ้องขึ้นก็ตามแต่เมื่อศาลฎีกาไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ข้ออื่นของโจทก์ทั้งสองได้ และต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นอื่นอีก อุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้มาจำนวน 200,000 บาทจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินกว่า 200 บาท ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องต้องชัดเจนและระบุรายละเอียด หากไม่ชัดเจนศาลไม่รับพิจารณา
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์กล่าวว่า หลังจากจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยนำที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์ไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่สหกรณ์การเกษตร และเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินในเวลาต่อมาโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมอันเป็นการออกเอกสารสิทธิทับที่ดินของโจทก์โดยไม่ชอบ โจทก์จึงขอแก้ไขคำฟ้องโดยการเพิ่มเติมข้อเท็จจริงดังกล่าวลงในคำฟ้องข้อ 1 และข้อ 2 กับขอเพิ่มเติมคำขอท้ายฟ้องว่าให้จำเลยจัดการแก้ไขรายการจดทะเบียนในโฉนดที่ดินพิพาทให้ปลอดจากการจำนอง แล้วจดทะเบียนโอนให้โจทก์ โดยโจทก์มิได้ระบุรายละเอียดว่าโจทก์จะขอเพิ่มเติมข้อเท็จจริงลงในคำฟ้องข้อ 1 หรือข้อ2 ตรงไหน เป็นคำร้องที่ไม่แจ้งชัด ไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6248/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยข้าราชการ: การพิจารณาความร้ายแรงของการกระทำผิดและระเบียบพัสดุ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518มาตรา 83 และมาตรา 85 การลงโทษผู้กระทำผิดวินัยที่ยังไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หากเป็นการกระทำผิดวินัยเล็กน้อยอาจลงโทษภาคทัณฑ์ก็ได้ และหากเป็นการกระทำผิดครั้งแรกจะงดลงโทษ โดยว่ากล่าวตักเตือนหรือให้ ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือไว้ก่อนก็ได้ นอกจากนี้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2521 ได้วางระเบียบในการลงโทษผู้กระทำผิดวินัยของเจ้าหน้าที่พัสดุไว้ในข้อ 8(3) ว่า ถ้าการกระทำไม่เป็นเหตุให้ทางราชการเสียหายให้ลงโทษภาคทัณฑ์หรือว่ากล่าวตักเตือน โดยทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้น เมื่อกรณีของโจทก์เป็นการกระทำผิดวินัยขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ โดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2521โดยโจทก์กระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง และไม่ทำให้ทางราชการเสียหาย การลงโทษทางวินัยโจทก์จึงต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ตามข้อ 8(3) ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ. 2521 คือภาคทัณฑ์หรือว่ากล่าวตักเตือน โดยทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร การที่จำเลยที่ 2 ลงโทษตัดเงินเดือนโจทก์ร้อยละ 10 มีกำหนด 2 เดือน ซึ่งขัดต่อระเบียบดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินเกาะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงที่กำหนด ผู้ครอบครองไม่แจ้งการครอบครองไม่มีสิทธิ
ที่ดินทั้ง 2 แปลง ที่โจทก์ขอให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นที่ดินที่ตั้งอยู่บนเกาะ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 กล่าวคือ โจทก์ต้องมีหลักฐานแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หนังสือรับรองการทำประโยชน์โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" อย่างใดอย่างหนึ่งมาแสดงหรือโจทก์ต้องเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ หรือที่ดินที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติให้จัดแก่ประชาชน หรือที่ดินซึ่งได้มีการจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา 10 และมาตรา 11 แห่ง ป.ที่ดิน โดยคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติแล้ว แต่โจทก์หาได้มีหลักฐานดังกล่าว หรือหาได้เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ แม้โจทก์จะได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินทั้ง 2 แปลง สืบต่อกันมาตั้งแต่ก่อน พ.ร.บ.ให้ใช้ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 ประกาศใช้จนถึงปัจจุบัน และเป็นกรณีที่มิได้แจ้งการครอบครองที่ดินตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 อันอาจทำให้โจทก์มีสิทธิขอให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินได้เป็นการเฉพาะรายตาม ป.ที่ดิน มาตรา 59 ทวิ ก็ตาม แต่การพิจารณาว่าที่ดินประเภทใด จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้หรือไม่นั้น จะต้องอยู่ในบังคับของกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ด้วย เมื่อปรากฏว่าที่พิพาททั้ง 2 แปลง เป็นที่เกาะและมิได้เป็นประเภทที่ดินซึ่งสามารถจะขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินทั้ง 2 แปลง ของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินเกาะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวง หากไม่มีหลักฐานตามที่กฎหมายกำหนด จะขอออกไม่ได้
ที่ดินทั้ง 2 แปลง ที่โจทก์ขอให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นที่ดินที่ตั้งอยู่บนเกาะ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎกระทรวงฉบับที่ 43(พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 กล่าวคือ โจทก์ต้องมีหลักฐานแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) มีใบจอง ใบเหยียบย่ำหนังสือรับรองการทำประโยชน์โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่า"ได้ทำประโยชน์แล้ว" อย่างใดอย่างหนึ่งมาแสดงหรือโจทก์ต้องเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ หรือที่ดินที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติให้จัดแก่ประชาชน หรือที่ดินซึ่งได้มีการจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา 10 และมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินโดยคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติแล้ว แต่โจทก์หาได้มีหลักฐานดังกล่าว หรือหาได้เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามกฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ แม้โจทก์จะได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินทั้ง 2 แปลง สืบต่อกันมาตั้งแต่ก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลที่ดิน พ.ศ. 2497 ประกาศใช้จนถึงปัจจุบัน และเป็นกรณีที่มิได้แจ้งการครอบครองที่ดินตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 อันอาจทำให้โจทก์มีสิทธิขอให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินได้เป็นการเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 ทวิ ก็ตาม แต่การพิจารณาว่าที่ดินประเภทใด จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้หรือไม่นั้น จะต้องอยู่ในบังคับของกฎกระทรวง ฉบับที่ 43(พ.ศ. 2537) ด้วย เมื่อปรากฏว่าที่พิพาททั้ง 2 แปลงเป็นที่เกาะและมิได้เป็นประเภทที่ดินซึ่งสามารถจะขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินทั้ง 2 แปลง ของโจทก์