คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไสว จันทะศรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5613/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารยทรัพย์และการกระทำของผู้มีสิทธิในการรักษาสิทธิในทางพิพาท
ปัญหาตามฎีกาของโจทก์ว่า อุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 หรือไม่ แม้เป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยรื้อเหล็กปิดกั้นซอย 1 และซอย 4 ในหมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ 2 โครงการ 3 ห้ามขัดขวางรบกวนการใช้ซอยดังกล่าวของโจทก์ ซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ใช้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่จำนวนมากบรรทุกสินค้าเข้าออกผ่านทางพิพาท เป็นที่เห็นได้ว่าทางพิพาทจะชำรุดเสียหาย ไม่สะดวกและน่าเป็นอันตรายต่อผู้อื่นที่ใช้ทาง เสียงเครื่องยนต์รถยนต์บรรทุก กรรมกรบนรถยนต์บรรทุก ควันเสียจากรถยนต์บรรทุก รบกวนสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่ในหมู่บ้าน เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในชั้นไต่สวนคำร้องที่จำเลยขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในเหตุฉุกเฉินตามคำขอของโจทก์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงในสำนวน หาใช่เป็นการคาดคะเนหรือเป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวนไม่
ทางพิพาทเป็นถนนส่วนบุคคลเป็นของจำเลยที่ 1 และเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 15 และการที่โจทก์ที่ 2 กับโจทก์ที่ 3 ซื้อที่ดินจัดสรรเพื่ออยู่อาศัยจากจำเลยที่ 1 โดยให้สัญญาว่าต้องใช้ประโยชน์แห่งที่ดินและอาคารในทางที่ไม่เป็นการละเมิดต่อกฎหมายและไม่เป็นการรบกวนปกติสุขของผู้อยู่ข้างเคียงหรือสังคม แต่โจทก์ที่ 2 กับโจทก์ที่ 3 กลับให้โจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทในลักษณะผิดข้อสัญญาดังกล่าว และโจทก์ทั้งสามในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ได้ร่วมกันใช้ทางพิพาทซึ่งเป็นภารยทรัพย์ในลักษณะเกินขอบเขตปกติแห่งการใช้รถยนต์สัญจรไปมาเข้าออกบนทางพิพาท ซึ่งถือได้ว่าทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์อันทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ย่อมเป็นการกระทำโดยไม่มีสิทธิหรือไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1388 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์ และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 15 ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ได้ร่วมตั้งเสาทำคานปิดกั้นทางพิพาทมิให้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ผ่านเข้าออก ส่วนรถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุกเล็กผ่านไปมาได้ มิได้ห้ามหรือปิดกั้นไม่ให้โจทก์ทั้งสามใช้ทางพิพาทเสียทีเดียว ย่อมเป็นการกระทำของผู้มีอำนาจในทางพิพาทในลักษณะปกติธรรมดาของการปกป้องเยียวยาต่อการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งสาม และเป็นการกระทำของเจ้าของสามยทรัพย์ซึ่งมีสิทธิทำการทุกอย่างอันจำเป็นเพื่อรักษาภาระจำยอม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1391 จึงถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบ หาจำต้องถูกบังคับให้ต้องใช้สิทธิต่อพนักงานสอบสวนหรือศาลไม่ และการกระทำของจำเลยทั้งสิบห้าดังกล่าวก็ไม่เป็นการประกอบกรรมใด ๆอันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตามป.พ.พ.มาตรา 1390 ดังนั้น จำเลยทั้งสิบห้าจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5613/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม การใช้สิทธิเจ้าของสามยทรัพย์ การรบกวนปกติสุขและอำนาจฟ้อง
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยร่วมกันรื้อเหล็กปิดกั้นซอยในหมู่บ้านและห้ามขัดขวางรบกวนการใช้ซอยของโจทก์ เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง ปัญหาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ คู่ความก็ยกขึ้นฎีกาได้ ศาลฎีกาวินิจฉัยให้
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในชั้นไต่สวนคำร้องที่จำเลยขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในเหตุฉุกเฉินตามคำขอของโจทก์ถือเป็นข้อเท็จจริงในสำนวน
โจทก์ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ได้ใช้ทางพิพาทซึ่งเป็นภารยทรัพย์ในลักษณะเกินขอบเขตปกติแห่งการใช้รถยนต์สัญจรไปมาเข้าออกทางพิพาท โดยโจทก์ใช้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่จำนวนมากบรรทุกสินค้าเข้าออกผ่านทางพิพาท อันเป็นที่เห็นได้ว่าทางพิพาทจะชำรุดเสียหาย ไม่สะดวกและน่าเป็นอันตรายต่อผู้อื่นที่ใช้ทาง เสียงเครื่องยนต์ รถยนต์บรรทุก กรรมกรบนรถยนต์บรรทุก ควันเสียจากรถยนต์บรรทุกรบกวนสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่ในหมู่บ้านจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ถือได้ว่าทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์อันทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ย่อมเป็นการกระทำโดยไม่มีสิทธิหรือไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388 การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์ และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 15 ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ได้ร่วมกันตั้งเสาทำคานปิดกั้นทางพิพาท มิให้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ผ่านเข้าออก ส่วนรถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุกเล็กผ่านไปมาได้ ย่อมเป็นการกระทำของผู้มีอำนาจในทางพิพาทที่จะปกป้องเยียวยาต่อการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ดังกล่าวและเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของสามยทรัพย์ทำการทุกอย่างอันจำเป็นเพื่อรักษาภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 และการกระทำของจำเลยไม่เป็นการประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสมัครรับเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน: การพิจารณาภูมิลำเนาต่อเนื่อง แม้ทำงานต่างประเทศ
ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้านพ.ศ. 2535 ข้อ 6 กำหนดให้นายอำเภอดำเนินการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งนายอำเภอจะต้องเป็นผู้ประกาศกำหนดวันเวลาสถานที่เลือก เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการลงคะแนน ระยะเวลาการสมัครรับเลือก นอกจากนี้ให้นายอำเภอจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือก การแต่งตั้งคณะกรรมการเลือก แต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยณ ที่เลือกและเป็นประธานหรือมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นประธานคณะกรรมการเลือกและอื่น ๆ ตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 5 ข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9ดังนี้ นายอำเภอจึงเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดที่จะดำเนินการเลือกผู้ใหญ่บ้านแต่ละครั้งให้สำเร็จลุล่วงด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม โจทก์เป็นผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 8 วรรคสอง กำหนดว่าก่อนนายอำเภอจะรับใบสมัครของผู้สมัครรับเลือกผู้ใหญ่บ้านให้คณะกรรมการเลือกตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกของผู้สมัครทุกราย และให้นายอำเภอจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านแล้วประกาศให้ ราษฎรทราบก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่าสามวัน แสดงว่าแม้คณะกรรมการเลือกจะต้องตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านของผู้สมัครทุกรายก็ตามแต่ผู้ที่จะรับสมัครในชั้นที่สุดและประกาศแสดงให้ผู้สมัครหรือราษฎรทราบว่าผู้สมัครรายใดมีสิทธิหรือไม่มีสิทธิรับเลือกบ้างก็คือนายอำเภอซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในการดำเนินการเลือก หาใช่กรรมการเลือกแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ดังนั้น การรับสมัครและการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงยังตกอยู่ในความรับผิดชอบของนายอำเภอ เพียงแต่ต้องให้คณะกรรมการเลือกเป็นผู้กลั่นกรองตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกของผู้สมัคร อันพอถือได้ว่าเป็นการถ่วงดุลมิให้นายอำเภอรับสมัครบุคคลใด ๆ ได้ตามอำเภอใจ การที่จำเลยซึ่งเป็นนายอำเภอท้องที่ที่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านและเป็นผู้ดำเนินการเลือกไม่รับสมัครโจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ด้วยการไม่ประกาศรายชื่อโจทก์ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้มีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านในหมู่บ้านที่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านติดต่อกันมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสองปีจนถึงวันเลือกตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครอง ท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 12(3) ที่แก้ไขแล้ว ย่อมทำให้ โจทก์เสียสิทธิดังกล่าวโดยไม่มีทางเยียวยาได้ในทางปกครอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงหากข้อเท็จจริงปรากฏว่าคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านของโจทก์ตามที่คณะกรรมการเลือกผู้ใหญ่บ้านได้ตรวจสอบไว้แล้วนั้นครบถ้วนถูกต้องเพียงแต่จำเลยวินิจฉัยและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกดังกล่าวขัดต่อบทกฎหมายข้างต้น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ศาลมีคำสั่งบังคับให้จำเลยรับสมัครโจทก์และจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน เสียใหม่ แล้วประกาศให้ราษฎรทราบเพื่อดำเนินการเลือก ผู้ใหญ่บ้านต่อไปได้ คำสั่งดังกล่าวของศาลย่อมลบล้าง ข้อวินิจฉัยของจำเลยไปในตัว หาเป็นการบังคับให้จำเลย กระทำการใดอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หรือเป็นการก้าวล่วง อำนาจของฝ่ายปกครองที่ได้วินิจฉัยสั่งการไปโดย มิชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่ ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 26 กำหนดว่าเมื่อประกาศผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านแล้ว ผู้สมัครหรือผู้มีสิทธิเลือกผู้ใดเห็นว่าการเลือกเป็นไปโดยมิชอบ ให้มีสิทธิร้องคัดค้านการเลือกต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายสิบห้าวันนับแต่วันเลือกเพื่อให้มีการเลือกใหม่ แต่เรื่องข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้ออื่น ๆ ได้กำหนดขั้นตอนการเลือกผู้ใหญ่บ้านไว้เป็นลำดับ ตั้งแต่กำหนดวันเวลาสถานที่เลือก ระยะเวลาการสมัครรับเลือกการตั้งคณะกรรมการเลือก การตรวจคุณสมบัติและหลักฐานของผู้สมัครรับเลือกการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านการประกาศและประชุมราษฎรในหมู่บ้านเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ในการเลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือก ตลอดจนวิธีการเลือกให้ราษฎรทราบโดยทั่วกัน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงขั้นตอนการเตรียมการเลือกผู้ใหญ่บ้านตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 10 เท่านั้น ต่อจากนั้นเป็นขั้นตอนการเลือกผู้ใหญ่บ้านซึ่งอาจเป็นการเลือกโดยวิธีลับหรือโดยวิธีเปิดเผย การลงคะแนน การนับคะแนนที่นายอำเภอและคณะกรรมการเลือกผู้ใหญ่บ้านจะต้องควบคุม ดูแลการเลือกและการประกาศผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านให้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯพ.ศ. 2535 ข้อ 11 ถึงข้อ 24 และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการรายงานผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 25ดังนี้ การที่จำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตัดสิทธิไม่ให้โจทก์สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ด้วยการไม่ประกาศชื่อโจทก์ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงเกิดขึ้นก่อนการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ดังนั้น จึงไม่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านที่จะให้โจทก์อ้างว่าการเลือกเป็นไปโดยมิชอบในขณะนั้นที่โจทก์จะต้องร้องคัดค้านต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อโจทก์มิได้คัดค้านว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ แต่อ้างเพียงว่าจำเลยไม่รับสมัครโจทก์ทำให้โจทก์เสียสิทธิไม่ได้ลงสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านเท่านั้น กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยพ.ศ. 2535 ข้อ 26 ทั้งไม่มีข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯข้ออื่นใดที่บังคับให้โจทก์ต้องร้องคัดค้านต่อผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนที่จะฟ้องคดีในกรณีเช่นนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2501 ที่หมู่ที่ 7ตำบลโคกบีบอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ (ม.ศ.3) จากโรงเรียนโคกปีบวิทยาคม และโจทก์อยู่บ้านเลขที่ 144/1หมู่ที่ 7 ตำบลโคบปีบ มาตั้งแต่เกิดและย้ายทะเบียนบ้านไปอยู่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เมื่อวันที่18 กรกฎาคม 2532 ต่อมาอีกเพียง 3 เดือนเศษ ก็ย้ายกลับมาอยู่ที่บ้านเลขที่ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2532แสดงว่าโจทก์ถือเอาบ้านเลขที่ 144/1 หมู่ที่ 7 ตำบลโคกปีบซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยประกาศให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นแหล่งที่อยู่สำคัญมาตั้งแต่เกิดเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้วบ้านเลขที่ดังกล่าวจึงเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 37 ส่วนการที่โจทก์ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นโจทก์มิได้แจ้งย้ายไปอยู่ที่อื่นหรือแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งว่าโจทก์จะถือเอาประเทศญี่ปุ่นเป็นภูมิลำเนา การไปอยู่ประเทศญี่ปุ่นจึงเป็นเพียงเพราะสภาพของานบังคับให้ไปอยู่ที่นั่น ทั้งระยะทางก็อยู่ห่างไกลกันคนละประเทศ จะให้โจทก์เทียวไปเทียวมาระหว่างบ้านกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อที่จะแสดงว่าโจทก์ไม่ได้ย้ายภูมิลำเนาย่อมเป็นไปไม่ได้ กรณีต้องถือว่าโจทก์ไปทำงานเพียงชั่วคราวเท่านั้น การที่โจทก์ไม่ประสงค์จะเปลี่ยนหรือย้ายภูมิลำเนาและโจทก์มีความรักและความผูกพันในหมู่บ้านซึ่งเป็นบ้านเกิดของตนอย่างแน่นแฟ้นเป็นเวลานานพอสมควรในการอยู่ในหมู่บ้าน สมดังเจตนารมณ์ของกฎหมายลักษณะปกครองท้องถิ่นที่ที่ประสงค์จะให้ผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านมีความผูกพันในหมู่บ้านที่จะสมัครรับเลือกตั้งนั้นแล้ว และเมื่อโจทก์กลับมาแล้วก็ได้ประกอบอาชีพอยู่ในหมู่บ้านเป็นหลักฐานตลอดมา ต้องถือว่าโจทก์มีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในหมู่บ้านนั้นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี จนถึงวันเลือก มิเช่นนั้นก็จะกลายเป็นว่านอกจากโจทก์จะมีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านแล้ว โจทก์ต้องอยู่ที่หมู่บ้านนั้นเป็นประจำตลอดจะไปไหนไม่ได้เลยระหว่างนั้นแม้เป็นการทำงานเพียงชั่วคราว อันเป็นการแปลกฎหมายไปในทางที่ตัดสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 12(3)การที่จำเลยไม่รับสมัครโจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านด้วยข้ออ้างดังกล่าวจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสมัครผู้ใหญ่บ้าน: การพิจารณาภูมิลำเนาและคุณสมบัติของผู้สมัครตามกฎหมายปกครองท้องที่
ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้านพ.ศ.2535 ข้อ 6 กำหนดให้นายอำเภอดำเนินการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งนายอำเภอจะต้องเป็นผู้ประกาศกำหนดวันเวลาสถานที่เลือก เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการลงคะแนน ระยะเวลาการสมัครรับเลือก นอกจากนี้ให้นายอำเภอจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือก การแต่งตั้งคณะกรรมการเลือก แต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ณ ที่เลือกและเป็นประธานหรือมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นประธานคณะกรรมการเลือกและอื่น ๆ ตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ.2535 ข้อ 5 ข้อ 7ข้อ 8 และข้อ 9 ดังนี้ นายอำเภอจึงเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดที่จะดำเนินการเลือกผู้ใหญ่บ้านแต่ละครั้งให้สำเร็จลุล่วงด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม
โจทก์เป็นผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 8 วรรคสอง กำหนดว่า ก่อนนายอำเภอจะรับใบสมัครของผู้สมัครรับเลือกผู้ใหญ่บ้าน ให้คณะกรรมการเลือกตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกของผู้สมัครทุกราย และให้นายอำเภอจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน...แล้วประกาศให้ราษฎรทราบก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่าสามวัน... แสดงว่าแม้คณะกรรมการเลือกจะต้องตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านของผู้สมัครทุกรายก็ตาม แต่ผู้ที่จะรับสมัครในชั้นที่สุดและประกาศแสดงให้ผู้สมัครหรือราษฎรทราบว่าผู้สมัครรายใดมีสิทธิหรือไม่มีสิทธิรับเลือกบ้างก็คือนายอำเภอซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในการดำเนินการเลือก หาใช่กรรมการเลือกแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ ดังนั้น การรับสมัครและการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงยังตกอยู่ในความรับผิดชอบของนายอำเภอ เพียงแต่ต้องให้คณะกรรมการเลือกเป็นผู้กลั่นกรองตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกของผู้สมัคร อันพอถือได้ว่าเป็นการถ่วงดุลมิให้นายอำเภอรับสมัครบุคคลใด ๆ ได้ตามอำเภอใจ
การที่จำเลยซึ่งเป็นนายอำเภอท้องที่ที่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านและเป็นผู้ดำเนินการเลือกไม่รับสมัครโจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ด้วยการไม่ประกาศรายชื่อโจทก์ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้มีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านในหมู่บ้านที่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีจนถึงวันเลือกตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 12 (3) ที่แก้ไขแล้ว ย่อมทำให้โจทก์เสียสิทธิดังกล่าวโดยไม่มีทางเยียวยาได้ในทางปกครอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรง หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านของโจทก์ตามที่คณะกรรมการเลือกผู้ใหญ่บ้านได้ตรวจสอบไว้แล้วนั้นครบถ้วนถูกต้อง เพียงแต่จำเลยวินิจฉัยและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกดังกล่าวขัดต่อบทกฎหมายข้างต้น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ศาลมีคำสั่งบังคับให้จำเลยรับสมัครโจทก์และจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านเสียใหม่ แล้วประกาศให้ราษฎรทราบเพื่อดำเนินการเลือกผู้ใหญ่บ้านต่อไปได้ คำสั่งดังกล่าวของศาลย่อมลบล้างข้อวินิจฉัยของจำเลยไปในตัว หาเป็นการบังคับให้จำเลยกระทำการใดอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หรือเป็นการก้าวล่วงอำนาจของฝ่ายปกครองที่ได้วินิจฉัยสั่งการไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่
ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ.2535 ข้อ 26 กำหนดว่าเมื่อประกาศผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านแล้ว ผู้สมัครหรือผู้มีสิทธิเลือกผู้ใดเห็นว่าการเลือกเป็นไปโดยมิชอบ ให้มีสิทธิร้องคัดค้านการเลือกต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกเพื่อให้มีการเลือกใหม่... แต่เรื่องข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ.2535 ข้ออื่น ๆ ได้กำหนดขั้นตอนการเลือกผู้ใหญ่บ้านไว้เป็นลำดับ ตั้งแต่กำหนดวันเวลาสถานที่เลือก ระยะเวลาการสมัครรับเลือกการตั้งคณะกรรมการเลือก การตรวจคุณสมบัติและหลักฐานของผู้สมัครรับเลือกการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน การประกาศและประชุมราษฎรในหมู่บ้านเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ในการเลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือก ตลอดจนวิธีการเลือกให้ราษฎรทราบโดยทั่วกัน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงขั้นตอนการเตรียมการเลือกผู้ใหญ่บ้านตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ.2535 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7ข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 10 เท่านั้น ต่อจากนั้นเป็นขั้นตอนการเลือกผู้ใหญ่บ้านซึ่งอาจเป็นการเลือกโดยวิธีลับหรือโดยวิธีเปิดเผย การลงคะแนน การนับคะแนน ฯลฯที่นายอำเภอและคณะกรรมการเลือกผู้ใหญ่บ้านจะต้องควบคุมดูแลการเลือกและการประกาศผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านให้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ.2535 ข้อ 11 ถึงข้อ 24 และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการรายงานผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ.2535 ข้อ 25 ดังนี้ การที่จำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตัดสิทธิไม่ให้โจทก์สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ด้วยการไม่ประกาศชื่อโจทก์ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงเกิดขึ้นก่อนการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ดังนั้น จึงไม่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านที่จะให้โจทก์อ้างว่าการเลือกเป็นไปโดยมิชอบในขณะนั้นที่โจทก์จะต้องร้องคัดค้านต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อโจทก์มิได้คัดค้านว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ แต่อ้างเพียงว่าจำเลยไม่รับสมัครโจทก์ทำให้โจทก์เสียสิทธิไม่ได้ลงสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านเท่านั้น กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ.2535 ข้อ 26 ทั้งไม่มีข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ ข้ออื่นใดที่บังคับให้โจทก์ต้องร้องคัดค้านต่อผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนที่จะฟ้องคดีในกรณีเช่นนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2501 ที่หมู่ที่ 7 ตำบลโคกปีบอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ(ม.ศ.3) จากโรงเรียนโคกปีบวิทยาคม และโจทก์อยู่บ้านเลขที่ 144/1 หมู่ที่ 7ตำบลโคกปีบ มาตั้งแต่เกิดและย้ายทะเบียนบ้านไปอยู่อำเภออรัญประเทศ จังหวัด-สระแก้ว เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2532 ต่อมาอีกเพียง 3 เดือนเศษ ก็ย้ายกลับมาอยู่ที่บ้านเลขที่ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2532 แสดงว่าโจทก์ถือเอาบ้านเลขที่144/1 หมู่ที่ 7 ตำบลโคกปีบ ซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยประกาศให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นแหล่งที่อยู่สำคัญมาตั้งแต่เกิดเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว บ้านเลขที่ดังกล่าวจึงเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 37 ส่วนการที่โจทก์ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นโจทก์มิได้แจ้งย้ายไปอยู่ที่อื่นหรือแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งว่าโจทก์จะถือเอาประเทศญี่ปุ่นเป็นภูมิลำเนา การไปอยู่ประเทศญี่ปุ่นจึงเป็นเพียงเพราะสภาพของงานบังคับให้ไปอยู่ที่นั่น ทั้งระยะทางก็อยู่ห่างไกลกันคนละประเทศ จะให้โจทก์เทียวไปเทียวมาระหว่างบ้านกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อที่จะแสดงว่าโจทก์ไม่ได้ย้ายภูมิลำเนาย่อมเป็นไปไม่ได้ กรณีต้องถือว่าโจทก์ไปทำงานเพียงชั่วคราวเท่านั้น การที่โจทก์ไม่ประสงค์จะเปลี่ยนหรือย้ายภูมิลำเนา และโจทก์มีความรักและความผูกพันในหมู่บ้านซึ่งเป็นบ้านเกิดของตนอย่างแน่นแฟ้นเป็นเวลานานพอสมควรในการอยู่ในหมู่บ้าน สมดังเจตนารมณ์ของกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ที่ประสงค์จะให้ผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านมีความผูกพันในหมู่บ้านที่จะสมัครรับเลือกตั้งนั้นแล้ว และเมื่อโจทก์กลับมาแล้วก็ได้ประกอบอาชีพอยู่ในหมู่บ้านเป็นหลักฐานตลอดมา ต้องถือว่าโจทก์มีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในหมู่บ้านนั้นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี จนถึงวันเลือก มิเช่นนั้นก็จะกลายเป็นว่านอกจากโจทก์จะมีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านแล้ว โจทก์ต้องอยู่ที่หมู่บ้านนั้นเป็นประจำไปตลอดจะไปไหนไม่ได้เลยระหว่างนั้นแม้เป็นการไปทำงานเพียงชั่วคราวก็ตาม อันเป็นการแปลกฎหมายไปในทางที่ตัดสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 12 (3)การที่จำเลยไม่รับสมัครโจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านด้วยข้ออ้างดังกล่าวจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5019/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพิจารณาคดี: การส่งหมายนัดชอบด้วยกฎหมายและการพิสูจน์เหตุสมควรที่มาศาลไม่ได้
การที่จะให้ศาลชั้นต้นยกคดีโจทก์ขึ้นพิจารณาใหม่ได้นั้น โจทก์จะต้องแสดงให้เห็นว่า มีเหตุสมควรที่มาศาลในวันนัดไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา166 วรรคสอง ประกอบมาตรา 181 คดีนี้ศาลชั้นต้นนัดสอบถามคำให้การจำเลยและนัดสืบพยานโจทก์ โดยได้ส่งหมายนัดให้โจทก์ตามที่อยู่ที่ปรากฏในคำฟ้อง และพ.ทนายความโจทก์ตามที่อยู่ที่ปรากฏในใบแต่งทนายความของ พ.ตั้งแต่วันที่ 9โดยมี ช.ซึ่งอยู่ในสถานที่เดียวกับโจทก์และทนายความโจทก์เป็นผู้รับหมายไว้แทนการส่งหมายนัดของศาลจึงเป็นไปโดยชอบและต้องถือว่าโจทก์และทนายความโจทก์ได้ทราบวันนัดของศาลก่อนถึงวันนัดแล้ว การที่โจทก์อ้างว่า พ.ทนายความโจทก์ทราบนัดล่าช้าเพราะเหตุสำนักงานใหญ่และสำนักงานฝ่ายกฎหมายของโจทก์อยู่คนละที่กันก็ดี และ พ.เดินทางไปภูมิลำเนาเดิมเพื่อพิธีไหว้สารทจีนตั้งแต่ก่อนวันที่รับหมายไว้แทนนั้นก็ดี ล้วนแต่เป็นวิธีปฏิบัติภายในของโจทก์และทนายความโจทก์มิใช่กรณีที่โจทก์มีเหตุสมควรที่มาศาลในวันนัดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5019/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มาศาลตามนัดโดยไม่มีเหตุสมควร ศาลไม่ยกเลิกคำสั่งให้ยกฟ้อง
การที่จะให้ศาลชั้นต้นยกคดีโจทก์ขึ้นพิจารณาใหม่ได้นั้น โจทก์จะต้องแสดงให้เห็นว่า มีเหตุสมควรที่มาศาลในวันนัดไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166 วรรคสอง ประกอบมาตรา 181 คดีนี้ศาลชั้นต้นนัดสอบถามคำให้การจำเลยและนัดสืบพยานโจทก์ โดย ได้ส่งหมายนัดให้โจทก์ตามที่อยู่ที่อยู่ที่ปรากฏในคำฟ้อง และพ.ทนายความโจทก์ตามที่อยู่ที่ปรากฏในใบแต่งทนายความของพ.ตั้งแต่วันที่9โดยมีช.ซึ่งอยู่ในสถานที่เดียวกับโจทก์และทนายความโจทก์เป็นผู้รับหมายไว้แทนการส่งหมายนัดของศาลจึงเป็นไปโดยชอบและต้องถือว่าโจทก์และทนายความโจทก์ได้ทราบวันนัดของศาลก่อนถึงวันนัดแล้ว การที่โจทก์อ้างว่า พ.ทนายความโจทก์ทราบนัดล่าช้าเพราะเหตุสำนักงานใหญ่และสำนักงานฝ่ายกฎหมายของโจทก์อยู่คนละที่กันก็ดี และ พ.เดินทางไปภูมิลำเนาเดิมเพื่อพิธีไหว้สารทจีนตั้งแต่ก่อนวันที่รับหมายไว้แทนนั้นก็ดี ล้วนแต่เป็นวิธีปฏิบัติภายในของโจทก์และทนายความโจทก์มิใช่กรณีที่โจทก์มีเหตุสมควรที่มาศาลในวันนัดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4982/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ครอบคลุมมูลละเมิดอื่น โจทก์ยังมีสิทธิฟ้อง
หลังจากจำเลยทั้งสองร่วมกันทำหนังสือร้องเรียนครอบครัวของโจทก์ทั้งสองต่อผู้บังคับบัญชาอันเป็นมูลละเมิดในคดีนี้แล้ว โจทก์ที่ 1 ได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ในข้อหาหมิ่นประมาท และโจทก์ที่ 2 ก็ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้เปิดทางระบายน้ำที่หน้าบ้านของจำเลยทั้งสองต่อศาลจังหวัดมีนบุรีในที่สุดคดีดังกล่าวได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ มีข้อความข้อแรกว่าจำเลยที่ 1จะทำการดัดแปลงซีเมนต์ที่ก่อไว้หน้าบ้านจำเลยที่ 1 ให้เป็นร่องตรงท่อระบายน้ำให้พอทำความสะอาดได้และเอาเหล็กตะแกรงวางตรงร่องนั้น ข้อสอง จำเลยที่ 2 ไปถอนคำร้องเรียนโจทก์ที่ 1 ต่อกองทัพบกและขอโทษโจทก์ที่ 1 ต่อหน้าผู้บังคับบัญชา ข้อสามโจทก์ที่ 1 ไปถอนคำร้องทุกข์ที่กล่าวหาจำเลยที่ 2 ในข้อหาหมิ่นประมาท โดยตอนท้ายสัญญาประนีประนอมยอมความคู่ความตกลงกันว่าจะไม่กล่าวร้ายกันอีก เห็นได้ว่าในข้อแรกเป็นข้อที่จำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติเพื่อระงับข้อพิพาทในคดีแพ่งดังกล่าว แต่ในข้อสองเป็นข้อที่จำเลยทั้งสองจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยที่ 2 ร้องเรียนโจทก์ที่ 1 ต่อกองทัพบก โดยฝ่ายโจทก์ก็จะถอนคำร้องทุกข์ที่ได้กล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 หมิ่นประมาทเป็นการตอบแทนตามข้อสาม อันเป็นการยุติข้อพิพาทเฉพาะคดีอาญา โดยในสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดเลยที่ระบุว่าคู่ความจะไม่ดำเนินคดีหรือฟ้องร้องต่อกันในทางแพ่งอีก คงมีข้อความเพียงว่าคู่ความจะไม่กล่าวร้ายกันอีกเท่านั้น ซึ่งหมายความเพียงว่าจะไม่ทะเลาะด่าว่ากันอีกต่อไป ไม่รวมถึงการฟ้องร้องคดีอันเป็นการใช้สิทธิทางศาลตามกฎหมาย ดังนั้นจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทในทางแพ่งอันเป็นมูลละเมิดในคดีนี้ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงยังมีสิทธิฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4804/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเขตเดินสายไฟฟ้า ตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ไม่ผูกติดอายุความ
คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ว่า สิ่งปลูกสร้างที่จำเลยทั้งสองสร้างขึ้นบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องข้อ 3 รวม 5 รายการ ได้รุกล้ำเข้าไปในเขตเดินสายไฟฟ้าตามสำเนาภาพถ่ายแผนผังสิ่งปลูกสร้างเอกสารท้ายฟ้อง ทั้งได้บรรยายข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวว่า โจทก์ได้ประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้า โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับความกว้างระยะเริ่มต้นและระยะสิ้นสุดของเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำอยู่ที่ไหน และมีสภาพอย่างไร รวมทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำนั้นออกไปจากแนวเขตเดินสายไฟฟ้าที่โจทก์ได้ประกาศไว้ คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดในเรื่องที่โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้าไปในเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าได้ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 29 และ 32 โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม
ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องเป็นทำนองว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ และโจทก์เพิ่งทราบการกระทำของจำเลยทั้งสองในปี 2536 แต่ปรากฏความจริงตามเอกสารท้ายฟ้องว่าโจทก์ทราบเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 2532 แล้ว ซึ่งขัดกันอยู่ ทั้งคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้มิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองจึงไม่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องละเมิดที่ศาลจะต้องวินิจฉัย
คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้าไปในเขตเดินสายไฟฟ้าที่โจทก์ได้ประกาศไว้ ซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 มาตรา 29 (3)ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างนั้นได้ปลูกสร้างขึ้นก่อนประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้า โดยโจทก์จะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทราบก่อน และโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามมาตรา 32 วรรคสอง ในกรณีได้ปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างนั้นขึ้นภายหลังจากที่ได้ประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าแล้วโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากโจทก์ อำนาจฟ้องขอให้รื้อถอนของโจทก์ตามมาตรา 29 (3) และมาตรา 32 วรรคสอง ดังกล่าวนี้ มิใช่สิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 จึงไม่มีอายุความ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำอยู่ในเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าได้ตลอดเวลาที่สิ่งก่อสร้างนั้นรุกล้ำอยู่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้า และโจทก์ได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำอยู่ภายในเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4804/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเขตเดินสายไฟฟ้าตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ ไม่ขาดอายุความ
คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ว่า สิ่งปลูกสร้างที่จำเลยทั้งสองสร้างขึ้นบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องข้อ 3 รวม 5 รายการ ได้รุกล้ำเข้าไปในเขตเดินสายไฟฟ้าตามสำเนาภาพถ่ายแผนผังสิ่งปลูกสร้างเอกสารท้ายฟ้องทั้งได้บรรยายข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวว่าโจทก์ได้ประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้า โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับความกว้างระยะเริ่มต้นและระยะสิ้นสุดของเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำอยู่ที่ไหน และมีสภาพอย่างไรรวมทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำนั้นออกไปจากแนวเขตเดินสายไฟฟ้าที่โจทก์ได้ประกาศไว้คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดในเรื่องที่โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้าไปในเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าได้ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2511 มาตรา 29 และ 32 โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องเป็นทำนองว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ และโจทก์เพิ่งทราบการกระทำของจำเลยทั้งสองในปี 2536 แต่ปรากฏความจริงตามเอกสารท้ายฟ้องว่าโจทก์ทราบเรื่อง นี้ตั้งแต่ปี 2532 แล้ว ซึ่งขัดกันอยู่ ทั้งคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้มิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองจึงไม่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องละเมิดที่ศาลจะต้องวินิจฉัย คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้าไปในเขตเดินสายไฟฟ้าที่โจทก์ได้ประกาศไว้ ซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 29(3) ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างนั้นได้ปลูกสร้างขึ้นก่อนประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าโดยโจทก์จะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทราบก่อน และโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามมาตรา 32 วรรคสอง ในกรณีได้ปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างนั้นขึ้นภายหลังจากที่ได้ประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าแล้วโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากโจทก์ อำนาจฟ้องขอให้รื้อถอนของโจทก์ตามมาตรา 29(3) และมาตรา 32 วรรคสองดังกล่าวนี้ มิใช่สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/9 จึงไม่มีอายุความโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำอยู่ในเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าได้ตลอดเวลาที่สิ่งก่อสร้างนั้นรุกล้ำอยู่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าและโจทก์ได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำอยู่ภายในเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจน ความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท โจทก์มีหน้าที่สืบพยาน
แม้ตามคำฟ้องโจทก์ได้แยกกระทงเรียงเป็นลำดับว่าเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม กล่าวคือ ข้อแรก จำเลยทั้งห้าร่วมกันทำไม้มะค่าโมงซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในเขตป่าขุนซ่องโดยใช้เลื่อยโซ่ยนต์ตัดฟันเป็นท่อน ๆรวม 2 ท่อน วัดปริมาตรได้ 3.48 ลูกบาศก์เมตร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่...ฯลฯ... ข้อสอง จำเลยทั้งห้าร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินบุกรุกเข้าไปทำไม้ ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นการกระทำให้เกิดการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เข้าไปทำไม้มะค่าโมงจำนวน 2 ต้น ทำลายต้นไม้ในป่าขุนซ่องอันเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต...ฯลฯ... ก็ตาม แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันเวลาในการกระทำผิดว่า จำเลยทั้งห้ากระทำผิดในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2538 เวลากลางวัน โดยไม่ได้ระบุว่าการกระทำผิดฐานใดกระทำในวันเวลาใดให้ชัดแจ้ง การบรรยายฟ้องดังกล่าวจึงถือได้ว่าจำเลยทั้งห้ากระทำความผิดในคราวเดียวกันเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท มิใช่เป็นการกระทำคนละคราวอันจะเป็นความผิดหลายกรรม
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าฐานร่วมกันลักลอบนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางอันเป็นของผลิตในต่างประเทศที่ยังมิได้ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร หรือรับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์โดยจำเลยทั้งห้ารู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้ลักลอบนำเข้าหลบหนีด่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้นอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27, 27 ทวิ แสดงว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียวเพราะความผิดดังกล่าวเป็นความผิดคนละฐาน ดังนี้ ศาลจะลงโทษจำเลยทั้งห้าในทั้งสองฐานความผิดย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิดฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลยทั้งห้า เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยทั้งห้าไม่ได้ และหากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้งโจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย คดีจึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสอบถามคำให้การของจำเลยทั้งห้าใหม่
of 19