พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เช็คต้องครบดอกเบี้ยตามสัญญาซื้อขายก่อนคดีเลิกตาม พ.ร.บ. เช็ค
หนี้ที่จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินเป็นมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่จำเลยทั้งสองซื้อถั่วลิสงเคลือบไปจากโจทก์โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาและฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระเงินตามจำนวนในเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยจากการผิดนัดในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีด้วยดังนั้นการชำระเงินเพื่อให้หนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินทั้งสิ้นผลผูกพันไปนั้นจะต้องชำระเงินตามจำนวนเงินในเช็คพิพาทซึ่งเป็นมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายพร้อมกับต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทจนถึงวันที่ชำระเงินแก่โจทก์ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคหนึ่งและมาตรา214การที่จำเลยที่2นำเงินตามจำนวนในเช็คพิพาทมาวางต่อศาลชั้นต้นในคดีนี้เพื่อชำระหนี้เงินตามเช็คโดยมิได้ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์หนี้เงินตามสัญญาซื้อขายจึงยังไม่ได้รับการชำระครบถ้วนไม่มีผลให้หนี้ดังกล่าวสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดจะถือว่าคดีเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา7และทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(3)ยังไม่ได้แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยทั้งสองได้ชำระดอกเบี้ยของเช็คพิพาทโดยนำไปวางต่อศาลชั้นต้นและโจทก์ได้รับชำระไปแล้วหนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คพิพาทจึงสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา7สิทธินำคดีอาญามาฟ้องตามเช็คพิพาทย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เช็คและการคิดดอกเบี้ย: ผลกระทบต่อคดีอาญา
หนี้ที่จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นเป็นมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขาย นอกจากโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้แล้ว ยังได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระเงินตามจำนวนในเช็คพิพาทซึ่งเป็นมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายพร้อมดอกเบี้ยจากการผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจนถึงวันที่จำเลยทั้งสองชำระเงินเสร็จแก่โจทก์ ดังนั้นในกรณีที่จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินตามมูลหนี้สัญญาซื้อขายเพื่อให้หนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินสิ้นผลผูกพันไปนั้น จำเลยที่ 2 จะต้องชำระเงินตามจำนวนเงินในเช็คพิพาทซึ่งเป็นมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายพร้อมกับต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทอันถือได้ว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดชำระหนี้เงินตามสัญญาซื้อขายจนถึงวันที่จำเลยที่ 2ชำระเงินแก่โจทก์ครบถ้วนสิ้นเชิง ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่งและมาตรา 214 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 นำเงินตามจำนวนในเช็คพิพาทมาวางต่อศาลชั้นต้นในคดีนี้เพื่อชำระหนี้เงินตามเช็ค โดยมิได้ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามนัยที่ได้วินิจฉัยไว้ หนี้เงินตามสัญญาซื้อขายที่จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นจึงยังไม่ได้รับการชำระครบถ้วนสิ้นเชิง จึงไม่มีผลให้หนี้ดังกล่าวสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแต่อย่างใด ฉะนั้นจึงถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 39 (3) ยังไม่ได้ แต่เมื่อปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาในคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระดอกเบี้ยของเช็คพิพาทตามคำพิพากษา โดยจำเลยทั้งสองได้นำเงินค่าดอกเบี้ยไปวางต่อศาล และโจทก์ได้รับชำระไปแล้ว หนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คพิพาทดังกล่าวเพื่อใช้เงินจึงสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกัน และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2939/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) ของคำฟ้องที่ระบุข้อเท็จจริงการกระทำความผิดและสถานที่เกิดเหตุโดยไม่ต้องระบุชื่อทางหลวง
คดีโจทก์ฟ้องด้วยวาจา ศาลต้องบันทึกใจความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐาน หาจำต้องบันทึกไว้โดยละเอียดไม่ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เท่านั้น ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 โดยโจทก์ได้ระบุข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดแล้ว กล่าวคือ จำเลยขับรถบรรทุกมีน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดบนทางหลวงอันเป็นความผิด ทั้งได้ระบุสถานที่ที่เกี่ยวข้องพอสมควรที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี โจทก์ไม่จำเป็นต้องระบุข้อเท็จจริงว่าเป็นทางหลวงสายใด คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว