คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไสว จันทะศรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 8 เดือน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า พยานโจทก์เบิกความไม่อยู่กับร่องกับรอยปรักปรำจำเลยทั้งสองไม่น่าเชื่อถือ พยานจำเลยทั้งสองน่าเชื่อถือมากกว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้ทำผิดตามฟ้อง หากเห็นว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษให้จำเลยทั้งสองด้วยนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้จำเลยทั้งสองฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เว้นแต่ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาหรืออธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย ก็ให้รับฎีกานั้นไว้พิจาณาต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ซึ่งขั้นตอนในการที่จะปฏิบัติเข้าข้อยกเว้นดังกล่าว มิได้บัญญัติวางหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะใน ป.วิ.อ. จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 กล่าวคือจำเลยทั้งสองต้องยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษาที่จำเลยทั้งสองประสงค์จะขออนุญาตฎีกา พร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องพร้อมด้วยสำนวนความไปยังผู้พิพากษาดังกล่าวเพื่อพิจารณาอนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ แต่ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองคงเพียงขอให้ผู้พิพากษาสองคนที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นคือ บ. และ ธ. อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้ระบุถึงผู้พิพากษาคนอื่นที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ดังนี้ เมื่อผู้พิพากษาทั้งสองคนที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสอง แต่กลับส่งคำร้องไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2 การที่ ช. ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยลำพัง จึงหามีผลให้เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 อันจะส่งผลตามกฎหมายให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ เพราะมิได้ต้องด้วยความประสงค์ของจำเลยทั้งสอง และมิได้ผ่านหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานวัตถุ (ธนบัตร) และพยานเอกสาร (แผนที่เกิดเหตุ) ใช้พิสูจน์ความผิดได้ แม้ไม่มีการลงบันทึกประจำวันหรือจัดทำแผนที่ เหตุล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนถือเป็น 'ขาย'
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226กำหนดให้พยานวัตถุซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ ธนบัตรของกลางเป็นพยานวัตถุที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยแม้จะมิได้ลงบันทึกประจำวันไว้ โจทก์ย่อมอ้างเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ ไม่มีกฎหมายห้าม แผนที่เกิดเหตุเป็นเพียงพยานเอกสารจำลองถึงที่เกิดเหตุ ตามที่พนักงานสอบสวนได้จัดทำขึ้น แม้จะมีระเบียบให้พนักงานสอบสวน จัดทำขึ้นเพื่อประกอบคดี แต่ถ้าพนักงานสอบสวนมิได้ จัดทำก็หาทำให้พยานหลักฐานอื่นที่โจทก์นำสืบเสียไปแต่อย่างใดไม่ หากพยานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง ศาลก็ลงโทษจำเลยได้โดยไม่จำต้องมีแผนที่เกิดเหตุ การที่จำเลยเอาเมทแอมเฟตามีนมาขายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ แม้สายลับจะไม่มีเจตนาซื้อมาเพื่อเสพหรือแสวงหาประโยชน์อื่นใด จากเมทแอมเฟตามีน ก็ถือว่าจำเลยได้ขายเมทแอมเฟตามีน ตามบทนิยามคำว่า ขาย ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานวัตถุ-เอกสารประกอบคดี-การขายยาเสพติด: หลักเกณฑ์การนำสืบและการพิสูจน์ความผิด
ธนบัตรของกลางเป็นพยานวัตถุที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย แม้จะมิได้ลงบันทึกประจำวันไว้ โจทก์ก็อ้างเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 226 เพราะไม่มีกฎหมายห้าม
แผนที่เกิดเหตุเป็นเพียงพยานเอกสารจำลองถึงที่เกิดเหตุตามที่พนักงานสอบสวนได้จัดทำขึ้น แม้จะมีระเบียบให้พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นเพื่อประกอบคดีแต่ถ้าพนักงานสอบสวนมิได้จัดทำ ก็หาทำให้พยานหลักฐานอื่นที่โจทก์นำสืบเสียไปแต่อย่างใดไม่ หากพยานโจทก์ฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้อง ศาลก็ลงโทษจำเลยได้โดยไม่จำต้องมีแผนที่เกิดเหตุ
การที่จำเลยเอาเมทแอมเฟตามีนมาขายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อแม้สายลับจะไม่มีเจตนาซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยมาเพื่อเสพหรือแสวงหาประโยชน์อื่นใดจากเมทแอมเฟตามีน ก็ถือว่าจำเลยได้ขายเมทแอมเฟตามีนตามบทนิยามคำว่าขายที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ 2518มาตรา 4 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานวัตถุ-เอกสารประกอบคดี-การขายยาเสพติด: การล่อซื้อและนิยามการขาย
ธนบัตรของกลางเป็นพยานวัตถุที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย แม้จะมิได้ลงบันทึกประจำวัน ไว้ โจทก์ก็อ้างเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 เพราะ ไม่มีกฎหมายห้าม แผนที่เกิดเหตุเป็นเพียงพยานเอกสารจำลองถึงที่เกิดเหตุตามที่พนักงานสอบสวนได้จัดทำขึ้นแม้จะมีระเบียบให้พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นเพื่อประกอบคดีแต่ถ้าพนักงานสอบสวนมิได้จัดทำ ก็หาทำให้พยานหลักฐานอื่นที่โจทก์นำสืบเสียไปแต่อย่างใดไม่หากพยานโจกท์ ฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้องศาลก็ลงโทษจำเลยได้โดยไม่จำต้องมีแผนที่เกิดเหตุ การที่จำเลยเอาเมทแอมเฟตามีนมาขายให้แก่สายลับ ผู้ล่อซื้อแม้สายลับจะไม่มีเจตนาซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยมาเพื่อเสพหรือแสวงหาประโยชน์อื่นใดจากเมทแอมเฟตามีน ก็ถือว่าจำเลยได้ขายเมทแอมเฟตามีนตามบทนิยามคำว่าขายที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 4 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7570/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คหลายฉบับเพื่อชำระหนี้เดียวกัน ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้
แม้จำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมรวม 7 ฉบับ ในคราวเดียวกันและเช็คพิพาทลงวันที่เดียวกันเพื่อชำระหนี้ในมูลหนี้เดียวกันก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาออกเช็คเพื่อให้มีการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับแยกจากกันเป็นคนละส่วนคนละจำนวน เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช็คพิพาทแต่ละฉบับก็เป็นความผิดที่เกิดขึ้นต่างหากแยกจากกันได้โดยชัดเจนเป็นการเฉพาะของเช็คแต่ละฉบับ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6869/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนด้วยการหลอกลวงลงทุนและดอกเบี้ยเกินอัตรา ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้อง
จำเลยที่ 3 และที่ 4 กับพวก ได้หลอกลวงโจทก์ทั้เก้าโดยอ้างว่าได้ร่วมกันประกอบกิจการโรงงานจัดส่งปอกระสาไปจำหน่ายต่างประเทศ ร่วมกันลงทุนทำธุรกิจเกี่ยวกับที่ดินและธุรกิจให้กู้ยืมเงินซึ่งให้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน ร้อยละ 5 ต่อ 15 วัน ร้อยละ 4 ต่อ 7 วัน ร้อยละ 3 ต่อ5 วัน จำเลยที่ 3 และที่ 5 กับพวกต้องการกู้ยืมเงินจากโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนทั่วไปเพื่อนำไปลงทุนขยายกิจการดังกล่าว โจทก์ทั้งเก้าหลงเชื่อจึงให้กู้ยืมเงินหลายครั้งการกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงเป็นการกระทำโดยทุจริต ร่วมกันหลอกลวงโจทก์ทั้งเก้าและประชาชน ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากโจทก์ทั้งเก้า เป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ตาม ป.อ.มาตรา 343, 83 ส่วนการที่โจทก์ทั้งเก้า ร่วมรับดอกเบี้ยเกินอัตรานั้น โจทก์ทั้งเก้ามิได้ฟ้องร้องจำเลยที่ 3 และ ที่4 กับพวกในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา หากแต่ฟ้องร้องในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ซึ่งข้อหานี้โจทก์ทั้งเก้ามิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3และที่ 4 อันจะทำให้โจทก์ทั้งเก้าไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ทั้งเก้าจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้
การหลอกลวงหรือฉ้อโกงโจทก์ทั้งเก้าและประชาชน โดยสภาพแห่งการกระทำต้องกระทำต่อบุคคลหลายคนในลักษณะที่เป็นประชาชนและอาจต่างวาระกันได้แต่เห็นได้ชัดว่าเกิดจากเจตนาอันเดียวกันคือ ฉ้อโกงประชาชน จึงถือได้ว่าการกระทำความผิดของจำเลยทั้งห้าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6869/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน: เจตนาเดียวกันถือเป็นกรรมเดียว ผู้เสียหายคือผู้ถูกหลอกลวง
โจทก์ทั้งเก้ามิได้ฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ หากแต่ฟ้องร้องในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ซึ่งข้อหานี้โจทก์ทั้งเก้ามิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วย โจทก์ทั้งเก้าจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้
การหลอกลวงหรือฉ้อโกงโจทก์ทั้งเก้าและประชาชน โดยสภาพแห่งการกระทำต้องกระทำต่อบุคคลหลายคนในลักษณะที่เป็นประชาชนและอาจต่างวาระกันได้ และเห็นได้ชัดว่าเกิดจากเจตนาอันเดียวกันคือฉ้อโกงประชาชน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยมีเจตนาร่วมกันทุจริตแพร่ข่าวและชักชวนด้วยวาจาต่อโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนทั่วไปว่าต้องการกู้เงินจากประชาชน โดยจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนถึงร้อยละ 10ต่อเดือน จนโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนทั่วไปหลงเชื่อให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 กู้ไปนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6869/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนร่วมกัน: เจตนาเดียวกันถือเป็นกรรมเดียว แม้ผู้เสียหายหลายราย
จำเลยที่ 3 และที่ 4 กับพวก ได้หลอกลวงโจทก์ทั้งเก้าโดยอ้างว่าได้ร่วมกันประกอบกิจการโรงงานจัดส่งปอกระสาไปจำหน่ายต่างประเทศ ร่วมกันลงทุนทำธุรกิจเกี่ยวกับที่ดิน และธุรกิจให้กู้ยืมเงินซึ่งให้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน ร้อยละ 5 ต่อ 15 วันร้อยละ 4 ต่อ 7 วัน ร้อยละ 3 ต่อ 5 วัน จำเลยที่ 3 และที่ 5 กับพวกต้องการกู้ยืมเงินจากโจทก์ทั้งเก้า และประชาชนทั่วไปเพื่อนำไปลงทุนขยายกิจการดังกล่าว โจทก์ทั้งเก้าหลงเชื่อจึงให้กู้ยืมเงินหลายครั้ง การกระทำ ของจำเลยทั้งห้าจึงเป็นการกระทำโดยทุจริต ร่วมกันหลอกลวง โจทก์ทั้งเก้าและประชาชน ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากโจทก์ทั้งเก้า เป็นความผิดฐานร่วม กันฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343,83 การที่โจทก์ทั้งเก้า ร่วมรับดอกเบี้ยเกินอัตรานั้นโจทก์ทั้งเก้ามิได้ฟ้องร้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 กับพวกในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯหากแต่ฟ้องร้องในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ซึ่งข้อหานี้ โจทก์ทั้งเก้ามิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 อันจะทำให้โจทก์ทั้งเก้าไม่เป็นผู้เสียหายโดย นิตินัย โจทก์ทั้งเก้าจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้ การหลอกลวงหรือฉ้อโกงโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนโดยสภาพแห่งการกระทำต้องกระทำต่อบุคคลหลายคนในลักษณะ ที่เป็นประชาชนและอาจต่างวาระกันได้แต่เห็นได้ชัดว่า เกิดจากเจตนาอันเดียวกันคือ ฉ้อโกงประชาชน จึงถือได้ว่า การกระทำความผิดของจำเลยทั้งห้าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6869/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน: เจตนาเดียว, กรรมเดียว, ผู้เสียหายคือผู้ถูกหลอกลวง
โจทก์ทั้งเก้ามิได้ฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ หากแต่ฟ้องร้องในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ซึ่งข้อหานี้โจทก์ทั้งเก้ามิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วย โจทก์ทั้งเก้าจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้
การหลอกลวงหรือฉ้อโกงโจทก์ทั้งเก้าและประชาชน โดยสภาพแห่งการกระทำต้องกระทำต่อบุคคลหลายคนในลักษณะที่เป็นประชาชนและอาจต่างวาระกันได้ และเห็นได้ชัดว่าเกิดจากเจตนาอันเดียวกันคือฉ้อโกงประชาชน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยมีเจตนาร่วมกันทุจริตแพร่ข่าวและชักชวนด้วยวาจาต่อโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนทั่วไปว่าต้องการกู้เงินจากประชาชน โดยจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนถึงร้อยละ 10ต่อเดือน จนโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนทั่วไปหลงเชื่อให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 กู้ไปนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6852-6854/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: สัญญาซื้อขายก่อนมี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินเป็นโมฆะ, ฟ้องเกินกำหนดระยะเวลา
หนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 นั้น จะต้องเป็นการแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนซึ่งได้จัดเตรียมการจ่ายไว้แล้วโดยไม่ต้องดำเนินกิจการอย่างอื่นอีก หากหนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เป็นกรณีที่กำหนดว่าจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งอีกโดยยังไม่ต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนก็ไม่ใช่หนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง หนังสือที่เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เชิญให้โจทก์ที่ 1 มาทำสัญญาซื้อขายตามมาตรา 10 มิใช่หนังสือแจ้งจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เอกสารที่เป็นหนังสือแจ้งจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง คือ เอกสารหมาย จ. 11 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2535 เรื่องแจ้งให้โจทก์ที่ 1 มารับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืน ซึ่งมีข้อความให้โจทก์ที่ 1 ไปรับเงินค่าทดแทนได้โดยไม่มีข้อที่จะดำเนินการอย่างอื่นอีก เมื่อโจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้วในวันที่ 7 ธันวาคม 2535 จึงเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 วรรคหนึ่งแล้ว โจทก์ที่ 1 มีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้
โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯในขณะที่ไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนที่ออกตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ ขณะนั้นผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ทำการแทนจำเลย ไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนแล้ว จึงไม่มีอำนาจตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯจึงไม่มีผลใช้บังคับ และที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 มารับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินที่จะต้องเวนคืนก็โดยอาศัยสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว เป็นการแจ้งและจ่ายเงินอันสืบเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯที่ไม่มีผลใช้บังคับ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจ่ายเงินหรือวางเงินค่าทดแทนในกรณีที่ไม่มีการทำสัญญาซื้อขายกันตามมาตรา 10 เพราะขณะที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ที่ 2 ไปรับเงินค่าที่ดินตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯนั้น อำนาจของผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืน และราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนในท้องที่เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2530 กำหนดโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2530 ได้สิ้นสุดลงไปพร้อมกับการหมดอายุของ พ.ร.ฎ.ดังกล่าว การดำเนินการของฝ่ายจำเลยในการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดิน การจัดซื้อ การจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนเป็นการดำเนินการในขณะที่ไม่มีอำนาจและผิดขั้นตอนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ทำให้ยังไม่มีกรณีที่จะต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 ดังที่บัญญัติในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง จึงยังไม่มีกรณีที่จะเริ่มนับกำหนดเวลาที่จะต้องฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กรณีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นกรณีที่ยังไม่ถึงขั้นตอนที่จะใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ฝ่ายจำเลยต้องดำเนินการในเรื่องการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ใหม่ จึงต้องยกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ด้วยเหตุนี้ มิใช่ยกฟ้องด้วยเหตุว่าฟ้องคดีเกินกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง
of 19