คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไสว จันทะศรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องอุทธรณ์ที่ผิดรูปแบบ และอำนาจศาลในการย้อนสำนวนเพื่อแก้ไขกระบวนการ
ฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ทนายความลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์โดยที่จำเลยยังมิได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้งทนายความผู้นั้นเป็นทนายจำเลยเท่ากับเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ยังมิได้ลงลายมือชื่อจำเลยผู้อุทธรณ์ จึงเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องในส่วนที่เป็นรูปแบบซึ่งสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยแก้ไขฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้องเสียก่อน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 161 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นกลับสั่งรับฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย และศาลอุทธรณ์พบข้อผิดพลาดในการดำเนินกระบวนพิจารณาของคู่ความและศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้ว ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องได้ ด้วยการให้จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์หรือยื่นใบแต่งทนายความตั้งทนายความที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์เป็นทนายจำเลย และกรณีนี้ก็หาได้ล่วงเลยเวลาที่ควรปฏิบัติไม่ ทั้งไม่ต้องด้วยความยุติธรรมที่จะให้จำเลยเสียสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์อันเนื่องมาแต่ข้อผิดพลาดในการดำเนินกระบวนพิจารณาของคู่ความและศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์จำเลยเพราะเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นใบแต่งทนายความจำเลย ย่อมเป็นการไม่ชอบ ประกอบกับคดีนี้จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ และผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป จึงมีเหตุสมควร ให้ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้จำเลยแก้ไขฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้อง แล้วดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6061/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย: การแจ้งคำสั่ง, การนำสืบหลักฐาน, และการบังคับคดีโดยคำขอฝ่ายเดียว
การที่ผู้ร้องนำสืบแสดงสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 ต่อศาลผู้คัดค้านก็มิได้นำสืบโต้แย้งว่าผู้ร้องมิได้ส่งต้นฉบับคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 เมื่อศาลวินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้ในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา93 (2) แล้ว โดยผู้ร้องไม่จำต้องขออนุญาตศาลก่อน และการที่ ส. หัวหน้าเขตหรือผู้อำนวยการเขตมาเบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมายร.1 จากผู้ร้อง ก็เป็นอันเพียงพอให้รับฟังได้ว่า ผู้ร้องมอบอำนาจให้หัวหน้าเขตหรือผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 ผู้อำนวยการเขตจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนผู้ร้องตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
ผู้ร้องจัดให้มีการส่งคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของผู้คัดค้านตามสำเนาทะเบียนบ้าน โดยปรากฏว่าเป็นการส่งให้แก่บุคคลที่มีชื่อกับที่อยู่ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับ และมีผู้รับแทนเป็นพี่ของผู้คัดค้านกับคนในบ้านของผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านมิได้นำสืบโต้เถียงความถูกต้องแท้จริงแห่งสำเนาเอกสารดังกล่าวจึงเพียงพอรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านทราบคำสั่งของผู้ร้องแล้ว ตามวิธีการแจ้งคำสั่งที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 47 ก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม
เมื่อผู้ร้องได้ออกคำสั่งถูกต้องตามขั้นตอนชอบด้วยกฎหมายและผู้คัดค้านทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว เพิกเฉยไม่รื้อถอนอาคารพิพาทภายในเวลาที่กำหนดไว้ในคำสั่ง ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ขอให้จับกุมและกักขังผู้คัดค้านซึ่งมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอนดังกล่าวได้ โดยให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยผู้ร้องไม่จำต้องทำเป็นคำฟ้องและไม่จำต้องร้องขอออกคำบังคับแก่ผู้คัดค้าน กับไม่ต้องคำนึงว่าผู้ร้องมีอำนาจรื้อถอนอาคารพิพาทอยู่แล้ว หรือผู้คัดค้านขัดขวางการรื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 43 (1) แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6061/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารและการบังคับตามกฎหมายควบคุมอาคาร: การรับฟังพยานหลักฐานและการแจ้งคำสั่ง
การที่ผู้ร้องนำสืบแสดงสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย ร.1ต่อศาลผู้คัดค้านก็มิได้นำสืบโต้แย้งว่าผู้ร้องมิได้ส่งต้นฉบับคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 เมื่อศาลวินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้ในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2) แล้ว โดยผู้ร้องไม่จำต้องขออนุญาตศาลก่อนและการที่ส.หัวหน้าเขตหรือผู้อำนวยการเขตมาเบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมายร.1 จากผู้ร้อง ก็เป็นอันเพียงพอให้รับฟังได้ว่า ผู้ร้องมอบอำนาจให้หัวหน้าเขตหรือผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 ผู้อำนวยการเขตจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนผู้ร้องตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ผู้ร้องจัดให้มีการส่งคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของผู้คัดค้านตามสำเนาทะเบียนบ้านโดยปรากฏว่าเป็นการส่งให้แก่บุคคลที่มีชื่อกับที่อยู่ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับ และมีผู้รับแทนเป็นพี่ของผู้คัดค้านกับคนในบ้านของผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านมิได้นำสืบโต้เถียงความถูกต้องแท้จริงแห่งสำเนาเอกสารดังกล่าวจึงเพียงพอรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านทราบคำสั่งของผู้ร้องแล้วตามวิธีการแจ้งคำสั่งที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 47 ก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อผู้ร้องได้ออกคำสั่งถูกต้องตามขั้นตอนชอบด้วยกฎหมายและผู้คัดค้านทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว เพิกเฉยไม่รื้อถอนอาคารพิพาทภายในเวลาที่กำหนดไว้ในคำสั่ง ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ขอให้จับกุมและกักขังผู้คัดค้านซึ่งมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอนดังกล่าวได้โดยให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยผู้ร้องไม่จำต้องทำเป็นคำฟ้องและไม่จำต้องร้องขอออกคำบังคับแก่ผู้คัดค้าน กับไม่ต้องคำนึงว่าผู้ร้องมีอำนาจรื้อถอนอาคารพิพาทอยู่แล้ว หรือผู้คัดค้านขัดขวางการรื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 43(1) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6048/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานบุคคลแทนเอกสารสูญหาย ศาลรับฟังได้หากมีพยานรู้เห็นการสูญหายและจำเลยไม่อุทธรณ์
การที่ศาลจะอนุญาตให้นำพยานบุคคลมาสืบแทนต้นฉบับ เอกสารที่สูญหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2) นั้น หาได้มีบทบัญญัติบังคับไว้ว่าต้องนำพยานบุคคลผู้รักษาต้นฉบับเอกสารมาสืบไม่ พยานบุคคลใด ๆ ที่รู้เห็น หรือทราบความสูญหายแห่งต้นฉบับเอกสารนั้นสามารถนำมาสืบได้ ดังนั้นการที่โจทก์นำผู้รับมอบอำนาจโจทก์ผู้ทราบความสูญหาย แห่งต้นฉบับเอกสารมาเบิกความยืนยันว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน ได้สูญหายไปเพราะโจทก์เก็บเอกสารไม่เป็นระเบียบและเกิด น้ำท่วมภูมิลำเนาที่อยู่อาศัยของโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ไม่ สามารถนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นย่อมเป็นการเพียงพอให้ รับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินได้สูญหาย ไปจริงและโจทก์ชอบที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ โดยไม่จำต้อง มีหนังสือสัญญากู้ยืมเงินมาแสดงต่อศาลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5944/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับโอนอาคารที่ดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องผูกพันตามคำพิพากษาเดิม แม้รับโอนโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลแพ่งซึ่งถึงที่สุดแล้วได้พิพากษาให้ ป. รื้อถอนตึกแถวพิพาทส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งมีผลผูกพันคู่ความในคดีหรือ ป. แม้โจทก์จะรับโอนตึกแถวพิพาทโดยสุจริตก็ตาม ก็ตกอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิของ ป. หรืออยู่ในฐานะเช่นเดียวกับ ป. ที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาและหมายบังคับคดีของศาลแพ่งซึ่งมีผลผูกพันโจทก์ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากคำพิพากษาให้รื้อถอนอาคารเช่นคดีนี้มิใช่วิธีการเยียวยาในทางแพ่ง หากแต่เป็นการเยียวยาเพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย และการอื่นที่จำเป็นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารอันเป็นกฎหมายมหาชน เพราะฉะนั้น การที่จำเลยทั้งสองดำเนินการตามคำพิพากษาและหมายบังคับคดีของศาลแพ่งจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย หาได้เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางภารจำยอมเกิดจากการใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง แม้ใช้เฉพาะช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ก็ถือเป็นภารจำยอมได้
การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทเฉพาะในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวเข้าออกจากที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะเป็นเวลาเกินกว่า10 ปีนั้น ย่อมทำให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมเฉพาะแต่ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวเท่านั้น มิใช่ตกเป็นภารจำยอมตลอดทั้งปี เมื่อจำเลยทั้งสามทำคันดินกั้นทางพิพาทกับนำท่อนไม้มาขวางไว้ ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยทั้งสามมีหน้าที่ต้องรื้อถอนคันดินกับท่อนไม้เปิดทางพิพาทห้ามเกี่ยวข้องและต้องชดใช้ค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นบัญชีรายชื่อพยานตามกำหนด และประเด็นอำนาจฟ้องที่สละสิทธิ์ การได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์
จำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า15 วัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานขณะที่โจทก์ได้สืบพยานไปจนจบแล้ว โดยอ้างว่าระยะเวลายื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกได้สิ้นสุดไปก่อนหน้าที่ทนายจำเลยคนปัจจุบันเข้ามารับหน้าที่ ซึ่งมิได้เป็นเหตุสุดวิสัย หากอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบย่อมจะทำให้โจทก์เสียเปรียบ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบจึงชอบแล้ว
แม้จำเลยจะได้ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นประเด็นไว้ แต่ในวันชี้สองสถานซึ่งศาลชั้นต้นได้ทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์และจำเลยได้แบ่งแยกกันครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วหรือไม่เท่านั้น โดยจำเลยมิได้คัดค้านอันเป็นการสละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้อง โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงประเด็นดังกล่าว และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อที่ดินที่ ป.ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีก่อนเป็นที่ดินที่ไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ที่โจทก์และจำเลยครอบครองอยู่ การที่โจทก์และจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทของตนในคดีนี้เป็นส่วนสัดโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยได้รับการยกให้จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปี แล้ว โดยไม่มีใครรบกวน โจทก์และจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในส่วนที่ตนครอบครองนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดินร่วมกัน และการยื่นบัญชีระบุพยานที่ไม่ทันกำหนด
จำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 15 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอยื่นบัญชี ระบุพยานขณะที่โจทก์ได้สืบพยานไปจนจบแล้ว โดยอ้างว่า ระยะเวลายื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกได้สิ้นสุดไปก่อนหน้า ที่ทนายจำเลยคนปัจจุบันเข้ามารับหน้าที่ ซึ่งมิได้เป็นเหตุ สุดวิสัย หากอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบย่อมจะทำให้ โจทก์เสียเปรียบ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยาน เข้าสืบจึงชอบแล้ว แม้จำเลยจะได้ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นประเด็นไว้ แต่ในวันชี้สองสถานซึ่งศาลชั้นต้นได้ทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็น ข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์และจำเลยได้แบ่งแยกกันครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วหรือไม่เท่านั้นโดยจำเลยมิได้คัดค้านอันเป็นการสละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้องโจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงประเด็นดังกล่าว และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อที่ดิน ป.ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีก่อนเป็นที่ดินที่ไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ที่โจทก์และจำเลย ครอบครองอยู่ การที่โจทก์และจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทของตนในคดีนี้เป็นส่วนสัดโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยได้รับการยกให้จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว โดยไม่มีใครรบกวน โจทก์และจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในส่วน ที่ตนครอบครองนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกการครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัด การฟ้องรังวัด และประเด็นอำนาจฟ้องที่จำเลยสละประเด็น
จำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 15 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอยื่นบัญชี ระบุพยานขณะที่โจทก์ได้สืบพยานไปจนจบแล้ว โดยอ้างว่า ระยะเวลายื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกได้สิ้นสุดไปก่อนหน้า ที่ทนายจำเลยคนปัจจุบันเข้ามารับหน้าที่ ซึ่งมิได้เป็นเหตุ สุดวิสัย หากอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบย่อมจะทำให้ โจทก์เสียเปรียบ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยาน เข้าสืบจึงชอบแล้ว แม้จำเลยจะได้ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นประเด็นไว้ แต่ในวันชี้สองสถานซึ่งศาลชั้นต้นได้ทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็น ข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์และจำเลยได้แบ่งแยกกันครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วหรือไม่เท่านั้นโดยจำเลยมิได้คัดค้านอันเป็นการสละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้องโจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงประเด็นดังกล่าว และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อที่ดิน ป.ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีก่อนเป็นที่ดินที่ไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ที่โจทก์และจำเลย ครอบครองอยู่ การที่โจทก์และจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทของตนในคดีนี้เป็นส่วนสัดโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยได้รับการยกให้จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว โดยไม่มีใครรบกวน โจทก์และจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในส่วน ที่ตนครอบครองนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินตามสัญญาซื้อขายที่เกี่ยวข้องกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มิใช่ลาภมิควรได้ ใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์ชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้จำเลยครบถ้วนตามสัญญาซื้อขายแล้วโดยมีข้อตกลงกันว่า หากปรากฏในภายหลังว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันมีมากกว่าที่ระบุไว้ในสัญญา โจทก์จะจ่ายค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้แก่จำเลย แต่ถ้าจำนวนเนื้อที่ดินน้อยกว่าที่ระบุในสัญญา จำเลยต้องคืนเงินค่าที่ดินให้แก่โจทก์ ดังนี้ เมื่อมีการรังวัดที่ดินแล้วพบว่าจำนวนเนื้อที่ดินมีน้อยกว่าที่ระบุไว้ในสัญญา จำนวนเงินที่จำเลยรับไว้ก็ดีหรือต้องคืนให้แก่โจทก์ก็ดี จึงเป็นเงินที่จำเลยรับไว้หรือต้องคืนตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไว้เป็นเงื่อนไขของการชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม อีกฝ่ายหนึ่งย่อมฟ้องร้องบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามสัญญาได้ กรณีหาใช่เป็นเรื่องลาภมิควรได้ซึ่งโจทก์จะต้องใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในกำหนดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 ไม่ และเมื่อการฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินที่ชำระไว้ล่วงหน้าตามสัญญาซื้อขายที่ดินอันเกี่ยวด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เช่นกรณีพิพาทนี้ ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คือมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามสัญญาซื้อขาย
of 19