พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินพิพาทเป็นธรณีสงฆ์ของวัด โจทก์ขอสิทธิครอบครองมิได้ การพัฒนาพื้นที่เป็นอำนาจหน้าที่
ที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดจำเลย พระครู น.เจ้าอาวาสองค์แรกของจำเลยอุทิศถวายให้จำเลยสร้างวัดและทางราชการ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินศาสนสมบัติวัดไว้แล้วแม้หนังสือรับรองสภาพวัดของกรมการศาสนาและทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดที่ระบุว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของจำเลยตามเอกสารหมาย ล.1 และ ล.8 จะเป็นเพียงสำเนาเอกสารก็ตามแต่เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นและรับรองโดยเฉพาะสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดตามเอกสารหมายล.8 มีรายการที่ธรณีสงฆ์ซึ่งมีอาณาเขตที่ดินตรงกับสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดเอกสารหมาย จ.6 และ จ.11ที่โจทก์ส่งอ้างเป็นพยานทุกประการเพียงแต่เลขทะเบียนที่ดินเท่านั้นที่ไม่ตรงกัน สำเนาเอกสารหนังสือรับรองสภาพวัดของกรมการศาสนาและสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดเอกสารหมายล.1 และ ล.8 จึงรับฟังได้ ที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของจำเลย ไม่ใช่ที่ดินของเทศบาลโจทก์การที่โจทก์ขอออกหนังสือสิทธิครอบครองตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินเอกสารฉบับพิพาท จึงเป็นการออกทับที่ธรณีสงฆ์ของจำเลย ทั้งการเข้าพัฒนาที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นเพียงการให้บริการแก่ประชาชนผู้อยู่อาศัยในที่ดินพิพาท ตามอำนาจหน้าที่ไม่ใช่เป็นการครอบครองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ย่อมไม่ก่อให้โจทก์ได้สิทธิเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินธรณีสงฆ์: การครอบครองและสิทธิในที่ดินของวัด vs. เทศบาล
ที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดจำเลย พระครู น.เจ้าอาวาสองค์แรกของจำเลยอุทิศถวายให้จำเลยสร้างวัดและทางราชการ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินศาสนสมบัติวัดไว้แล้ว แม้หนังสือรับรองสภาพวัดของกรมการศาสนาและทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดที่ระบุว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของจำเลยตามเอกสารหมาย ล.1และ ล.8 จะเป็นเพียงสำเนาเอกสารก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นและรับรอง โดยเฉพาะสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดตามเอกสารหมาย ล.8 มีรายการที่ธรณีสงฆ์ซึ่งมีอาณาเขตที่ดินตรงกับสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดเอกสารหมาย จ.6 และ จ.11 ที่โจทก์ส่งอ้างเป็นพยานทุกประการเพียงแต่เลขทะเบียนที่ดินเท่านั้นที่ไม่ตรงกัน สำเนาเอกสารหนังสือรับรองสภาพวัดของกรมการศาสนาและสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดเอกสารหมาย ล.1 และล.8 จึงรับฟังได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของจำเลย ไม่ใช่ที่ดินของเทศบาลโจทก์การที่โจทก์ขอออกหนังสือสิทธิครอบครองตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินเอกสารฉบับพิพาท จึงเป็นการออกทับที่ธรณีสงฆ์ของจำเลย ทั้งการเข้าพัฒนาที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นเพียงการให้บริการแก่ประชาชนผู้อยู่อาศัยในที่ดินพิพาท ตามอำนาจหน้าที่ไม่ใช่เป็นการครอบครองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ย่อมไม่ก่อให้โจทก์ได้สิทธิเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของจำเลย ไม่ใช่ที่ดินของเทศบาลโจทก์การที่โจทก์ขอออกหนังสือสิทธิครอบครองตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินเอกสารฉบับพิพาท จึงเป็นการออกทับที่ธรณีสงฆ์ของจำเลย ทั้งการเข้าพัฒนาที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นเพียงการให้บริการแก่ประชาชนผู้อยู่อาศัยในที่ดินพิพาท ตามอำนาจหน้าที่ไม่ใช่เป็นการครอบครองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ย่อมไม่ก่อให้โจทก์ได้สิทธิเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยการสร้างสะพาน แม้เป็นประโยชน์สาธารณะ ก็ต้องรับผิดชอบหากทำให้เจ้าของที่ดินเสียหาย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปลูกสร้างสะพานกว้าง 1 เมตรยาว 50 เมตร ลงในคลองสำโรง ผ่านหน้าที่ดินของโจทก์ในระยะห่างประมาณ 1 ถึง 2 เมตร สะพานมีลักษณะมั่นคงและถาวร การปลูกสร้างสะพานของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็น ที่เล็งเห็นได้ว่า สะพานนั้นน่าจะหรืออาจทำให้โจทก์ได้รับ ความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายในการใช้ ที่ดินของโจทก์เป็นทางขึ้นหรือทางลงคลองสำโรง ดังนั้นแม้โจทก์จะมิได้อาศัยและทำประโยชน์อยู่ในที่ดินขณะปลูกสร้างสะพาน และการปลูกสร้างได้กระทำลงในคลองสาธารณะและ เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนดังข้ออ้างของจำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และ 4 โจทก์ก็มีสิทธิจะฟ้องขอให้รื้อถอนสะพานที่ผ่านหน้าที่ดินของโจทก์เพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินริมคลองในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ แม้เป็นประโยชน์สาธารณะ
จำเลยปลูกสร้างสะพานกว้าง 1 เมตร ยาว 50 เมตร ลงในคลองสำโรงซึ่งเป็นคลองสาธารณะ ผ่านหน้าที่ดินของโจทก์ในระยะห่างประมาณ1 ถึง 2 เมตร ในลักษณะมั่นคงและถาวร อันอาจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายในการใช้ที่ดินของโจทก์เป็นทางขึ้นหรือทางลงคลองดังกล่าว ดังนั้น แม้โจทก์มิได้อาศัยและทำประโยชน์อยู่ในที่ดินขณะจำเลยปลูกสร้างสะพาน และการปลูกสร้างได้กระทำลงในคลองสาธารณะและเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนก็ตาม โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิจะฟ้องขอให้รื้อถอนสะพานที่ผ่านหน้าที่ดินของโจทก์เพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: หลักเกณฑ์การประเมินราคา, ดอกเบี้ยค่าทดแทน, และสิทธิของเจ้าของรวม
ขณะที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว ตามข้อ 1 และข้อ 5 ของกฎหมายฉบับนี้ได้แก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินจากเดิมซึ่งให้กำหนดโดยถือราคาตามมาตรา 21 (2) หรือ(3) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์ มาเป็นว่าให้กำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 และเนื่องจากไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสี่ไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ การกำหนดเงินค่าทดแทนดังกล่าวจึงต้องกำหนดโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 (1) ถึง (5) ประกอบกัน ดังนั้นการที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯได้กำหนดเงินค่าทดแทนตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี 2531 ถึง 2534 เพียงอย่างเดียวจึงยังไม่เป็นธรรม
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติว่า "การคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสองหรือราคาลดลงตามวรรคสามให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา" ปรากฏว่าได้มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืน พ.ศ.2537 ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2537 ต่อมาได้มี พ.ร.ฎ.ยกเลิก พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืน พ.ศ.2537 พ.ศ.2538 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2538เท่ากับว่าขณะนี้ไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณราคาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสาม กำหนดหลักการไว้ว่าถ้าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาสูงขึ้น ให้เอาราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทน หรือทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาลดลง ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะส่วนที่ราคาลดลงด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ดังนั้น ถ้าไม่หักราคาที่สูงขึ้นออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะไม่เป็นธรรมแก่สังคม หรือถ้าไม่กำหนดเงินค่าทดแทนเฉพาะส่วนที่ลดลงให้ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนหรือโจทก์ทั้งสี่ ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญดังกล่าว ส่วนบทบัญญัติมาตรา 21 วรรคสี่ นั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม เท่านั้น แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณออกใช้บังคับ ก็หาใช่เหตุที่จะทำให้ไม่สามารถนำหลักการสำคัญดังกล่าวมาใช้บังคับได้ไม่ ถ้าได้ความว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ทั้งสี่มีราคาสูงขึ้นหรือลดลง ศาลย่อมมีอำนาจนำราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทนหรือกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนซึ่งราคาลดลงได้
ฝ่ายจำเลยไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินหรือวางเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสี่ โดยผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหนังสือแจ้งราคาค่าทดแทนและแจ้งการเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้น เมื่อคิดคำนวณและหักกลบลบกันกับเงินค่าทดแทนแล้วเกลื่อนกลืนกันไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนให้สำหรับที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนจำเลยที่ 1 มีความจำเป็นจะต้องใช้พื้นที่ทำการก่อสร้างทางหลวง จึงแจ้งการเข้าครอบครองที่ดินหลังจากครบกำหนด 60 วัน นับจากวันที่โจทก์ทั้งสี่ได้รับหนังสือโจทก์ทั้งสี่ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2534 ดังนั้น วันที่ถัดจากวันที่ครบกำหนด 60 วัน อันเป็นวันที่ฝ่ายจำเลยมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ทั้งสี่คือวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ก่อนการเข้าครอบครองหรือใช้ที่ดินนั้น เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ต้องจัดให้มีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 13 ก่อนเมื่อโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนเป็นเงิน 2,505,000บาท โจทก์ทั้งสี่จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลกำหนดให้เพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยกำหนดด้วย นับแต่วันที่ฝ่ายจำเลยมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินโจทก์ทั้งสี่คือวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2535 อันถือได้ว่าเป็นวันที่ต้องจัดให้มีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคท้าย ส่วนอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นอัตราขึ้นลงไม่คงที่โดยเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ทั้งสี่ขอ
โจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3742 โดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด โจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการเวนคืนที่ดินดังกล่าวมาจำนวนเดียวกัน เป็นการใช้สิทธิร่วมกัน มิใช่กรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว โจทก์ทั้งสี่จึงมีหน้าที่ชำระค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์รวม มิใช่แยกชำระค่าขึ้นศาลเป็นรายบุคคล ดังนั้น ที่โจทก์ทั้งสี่ชำระค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเกิน 200,000 บาทมานั้นไม่ถูกต้อง สมควรสั่งคืนส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ทั้งสี่
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติว่า "การคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสองหรือราคาลดลงตามวรรคสามให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา" ปรากฏว่าได้มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืน พ.ศ.2537 ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2537 ต่อมาได้มี พ.ร.ฎ.ยกเลิก พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืน พ.ศ.2537 พ.ศ.2538 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2538เท่ากับว่าขณะนี้ไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณราคาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสาม กำหนดหลักการไว้ว่าถ้าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาสูงขึ้น ให้เอาราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทน หรือทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาลดลง ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะส่วนที่ราคาลดลงด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ดังนั้น ถ้าไม่หักราคาที่สูงขึ้นออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะไม่เป็นธรรมแก่สังคม หรือถ้าไม่กำหนดเงินค่าทดแทนเฉพาะส่วนที่ลดลงให้ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนหรือโจทก์ทั้งสี่ ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญดังกล่าว ส่วนบทบัญญัติมาตรา 21 วรรคสี่ นั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม เท่านั้น แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณออกใช้บังคับ ก็หาใช่เหตุที่จะทำให้ไม่สามารถนำหลักการสำคัญดังกล่าวมาใช้บังคับได้ไม่ ถ้าได้ความว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ทั้งสี่มีราคาสูงขึ้นหรือลดลง ศาลย่อมมีอำนาจนำราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทนหรือกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนซึ่งราคาลดลงได้
ฝ่ายจำเลยไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินหรือวางเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสี่ โดยผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหนังสือแจ้งราคาค่าทดแทนและแจ้งการเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้น เมื่อคิดคำนวณและหักกลบลบกันกับเงินค่าทดแทนแล้วเกลื่อนกลืนกันไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนให้สำหรับที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนจำเลยที่ 1 มีความจำเป็นจะต้องใช้พื้นที่ทำการก่อสร้างทางหลวง จึงแจ้งการเข้าครอบครองที่ดินหลังจากครบกำหนด 60 วัน นับจากวันที่โจทก์ทั้งสี่ได้รับหนังสือโจทก์ทั้งสี่ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2534 ดังนั้น วันที่ถัดจากวันที่ครบกำหนด 60 วัน อันเป็นวันที่ฝ่ายจำเลยมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ทั้งสี่คือวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ก่อนการเข้าครอบครองหรือใช้ที่ดินนั้น เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ต้องจัดให้มีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 13 ก่อนเมื่อโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนเป็นเงิน 2,505,000บาท โจทก์ทั้งสี่จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลกำหนดให้เพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยกำหนดด้วย นับแต่วันที่ฝ่ายจำเลยมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินโจทก์ทั้งสี่คือวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2535 อันถือได้ว่าเป็นวันที่ต้องจัดให้มีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคท้าย ส่วนอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นอัตราขึ้นลงไม่คงที่โดยเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ทั้งสี่ขอ
โจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3742 โดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด โจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการเวนคืนที่ดินดังกล่าวมาจำนวนเดียวกัน เป็นการใช้สิทธิร่วมกัน มิใช่กรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว โจทก์ทั้งสี่จึงมีหน้าที่ชำระค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์รวม มิใช่แยกชำระค่าขึ้นศาลเป็นรายบุคคล ดังนั้น ที่โจทก์ทั้งสี่ชำระค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเกิน 200,000 บาทมานั้นไม่ถูกต้อง สมควรสั่งคืนส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ทั้งสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนที่ถูกต้อง, ราคาที่ดินสูงขึ้น และดอกเบี้ย
ขณะที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบ เรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว ตามข้อ 1 และข้อ 5 ของกฎหมายฉบับนี้ได้แก้ไขหลักเกณฑ์ในการ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินจากเดิมซึ่งให้กำหนดโดยถือราคา ตามมาตรา 21(2) หรือ (3) แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้วแต่ราคาใด จะสูงกว่าเป็นเกณฑ์ มาเป็นว่าให้กำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ ตามมาตรา 21 และเนื่องจากไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนด เงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสี่ไว้เป็นพิเศษใน พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ การกำหนด เงินค่าทดแทนดังกล่าวจึงต้องกำหนดโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ ตามมาตรา 21(1) ถึง (5) ประกอบกัน ดังนั้นการที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี 2531 ถึง 2534 เพียง อย่างเดียวจึงยังไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติว่า "การคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสองหรือราคาลดลงตามวรรคสามให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา" ปรากฏว่า ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคา ที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืน พ.ศ. 2537 ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2537ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิก พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืน พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2538ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2538 เท่ากับว่าขณะนี้ไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณราคาดังกล่าวอย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสาม กำหนดหลักการไว้ว่าถ้าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาสูงขึ้นให้เอาราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทน หรือทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาลดลง ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะส่วนที่ราคาลดลงด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ดังนั้น ถ้าไม่หักราคาที่สูงขึ้นออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะไม่เป็นธรรมแก่สังคม หรือถ้าไม่กำหนดเงินค่าทดแทนเฉพาะส่วนที่ลดลงให้ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนหรือโจทก์ทั้งสี่ ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญดังกล่าวส่วนบทบัญญัติมาตรา 21 วรรคสี่ นั้น เป็นเพียงวิธีการที่ จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 วรรคหนึ่งวรรคสอง และวรรคสาม เท่านั้น แม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณออกใช้บังคับ ก็หาใช่เหตุที่จะทำให้ไม่สามารถนำหลักการสำคัญดังกล่าวมาใช้บังคับได้ไม่ถ้าได้ความว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ทั้งสี่มีราคาสูงขึ้นหรือลดลง ศาลย่อมมีอำนาจนำราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทนหรือกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนซึ่งราคาลดลงได้ ฝ่ายจำเลยไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินหรือวางเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสี่ โดยผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหนังสือแจ้งราคาค่าทดแทนและแจ้งการเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้น เมื่อคิดคำนวณและหักกลบลบกันกับเงินค่าทดแทนแล้วเกลื่อนกลืนกันไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนให้สำหรับที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนจำเลยที่ 1มีความจำเป็นจะต้องใช้พื้นที่ทำการก่อสร้างทางหลวง จึงแจ้งการเข้าครอบครองที่ดินหลังจากครบกำหนด 60 วันนับจากวันที่โจทก์ทั้งสี่ได้รับหนังสือโจทก์ทั้งสี่ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2534 ดังนั้น วันที่ถัดจากวันที่ครบกำหนด 60 วัน อันเป็นวันที่ฝ่ายจำเลยมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ทั้งสี่คือวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ก่อนการเข้าครอบครองหรือใช้ที่ดินนั้น เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ต้องจัดให้มีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 13 ก่อนเมื่อโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนเป็นเงิน 2,505,000 บาทโจทก์ทั้งสี่จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลกำหนดให้เพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยกำหนดด้วย นับแต่วันที่ฝ่ายจำเลยมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินโจทก์ทั้งสี่คือวันที่18 กุมภาพันธ์ 2535 อันถือได้ว่าเป็นวันที่ต้องจัดให้มีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคท้าย ส่วนอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวข้างต้นซึ่งเป็นอัตราขึ้นลงไม่คงที่โดยเป็นไปตามประกาศ ของธนาคารออมสินแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามที่โจทก์ทั้งสี่ขอ โจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3742โดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด โจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการเวนคืนที่ดินดังกล่าวมาจำนวนเดียวกัน เป็นการใช้สิทธิร่วมกันมิใช่กรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว โจทก์ทั้งสี่จึงมีหน้าที่ชำระค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์รวม มิใช่แยกชำระค่าขึ้นศาลเป็นรายบุคคล ดังนั้น ที่โจทก์ทั้งสี่ชำระค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเกิน 200,000 บาทมานั้นไม่ถูกต้อง สมควรสั่งคืนส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ทั้งสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดก การแบ่งมรดกโดยเปิดเผย และการไม่สมควรเพิกถอนผู้จัดการมรดก
จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้รับการจดทะเบียนโอนที่ดินมรดกมาเป็นชื่อของจำเลย และจำเลยเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากของเจ้ามรดกนำมาเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยแล้วนำเงินมรดกดังกล่าวบริจาคให้วัด กับสร้างโบสถ์และ ซื้อที่ดินให้วัดอันเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการมรดกเพื่อ จัดแบ่งให้แก่ฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นทายาท ส่วนการบริจาคเงินมรดกก็เป็นการจัดการตามความประสงค์ของผู้ตายโดยฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกยินยอมไม่คัดค้าน และจำเลยได้จัดการ มรดกในลักษณะที่เปิดเผย ทั้งจำเลยได้แบ่งปันที่ดินทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์บางส่วนแล้วและจะแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกอื่นให้อีก โดยมอบโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ไว้ แต่โจทก์ไม่ยอม ไปจดทะเบียนรับโอนเพราะยังไม่พอใจในอัตราส่วนแบ่งมรดกเช่นนี้กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งแต่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแล้วและจำเลยได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดและจัดทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการทรัพย์มรดกแล้ว เมื่อผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกมีเพียงโจทก์และจำเลยเพียงสองคนในการยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกจำเลยก็ได้ยื่นบัญชีทรัพย์มรดกแนบท้ายคำร้องขอด้วย ซึ่งฝ่ายโจทก์ทราบและยินยอมในการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกและฝ่ายโจทก์รู้เห็นในการทำบัญชีทรัพย์มรดกด้วยแล้วนอกจากนี้จำเลยได้จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์แล้วบางส่วนและยังจะแบ่งทรัพย์มรดกอื่นให้อีก เมื่อจำเลยมิได้ละเลยในการแบ่งปันทรัพย์มรดก และไม่ปรากฏว่าจำเลยทุจริตหรือความไม่สามารถอันเป็นประจักษ์ จึงยังไม่สมควรที่จะ ถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดก การแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยความยินยอม และการไม่ถือว่าเป็นการยักย้ายหรือทุจริต
จำเลยได้รับการจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 37181,37183 และ 3493 ไว้ และจำเลยเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้ตายจำนวน2,790,425.74 บาท นำมาเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลย แล้วนำเงินมรดกดังกล่าวบริจาคให้วัด กับสร้างโบสถ์และซื้อที่ดินให้วัด การที่จำเลยจดทะเบียนรับโอนที่ดินมรดกเมื่อเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการมรดกเพื่อจัดแบ่งให้แก่ฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นทายาทต่อไป ส่วนการบริจาคเงินมรดกก็เป็นการจัดการตามความประสงค์ของผู้ตายโดยฝ่ายโจทก์ยินยอมไม่คัดค้าน ทั้งมารดาโจทก์และจำเลยต่างได้ร่วมกันจัดการศพผู้ตายตลอดจนปรึกษาหารือกันเรื่องทรัพย์มรดกมาโดยตลอด และจำเลยก็จัดการมรดกในลักษณะที่เปิดเผย ทั้งจำเลยได้แบ่งปันที่ดินทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์บางส่วนแล้วและจะแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกอื่นให้อีก โดยมอบโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ไว้ แต่โจทก์ไม่ยอมไปจดทะเบียนรับโอนเพราะยังไม่พอใจในอัตราส่วนแบ่งมรดกเช่นนี้ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก และจำเลยได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และจัดทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการทรัพย์มรดกแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกมีเพียงโจทก์และจำเลยเพียงสองคน ซึ่งในการยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกจำเลยก็ได้ยื่นบัญชีทรัพย์มรดกแนบท้ายคำร้องขอด้วย ซึ่งฝ่ายโจทก์ทราบและยินยอมในการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก และน่าเชื่อว่าฝ่ายโจทก์รู้เห็นในการทำบัญชีทรัพย์มรดกด้วยแล้ว นอกจากนี้จำเลยได้จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์แล้วบางส่วนและยังจะแบ่งทรัพย์มรดกอื่นให้อีก จำเลยหาได้ละเลยในการแบ่งปันทรัพย์มรดกไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่า จำเลยละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการมรดก หรือทุจริตหรือความไม่สามารถอันเห็นประจักษ์ จึงยังไม่สมควรที่จะถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก และจำเลยได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และจัดทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการทรัพย์มรดกแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกมีเพียงโจทก์และจำเลยเพียงสองคน ซึ่งในการยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกจำเลยก็ได้ยื่นบัญชีทรัพย์มรดกแนบท้ายคำร้องขอด้วย ซึ่งฝ่ายโจทก์ทราบและยินยอมในการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก และน่าเชื่อว่าฝ่ายโจทก์รู้เห็นในการทำบัญชีทรัพย์มรดกด้วยแล้ว นอกจากนี้จำเลยได้จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์แล้วบางส่วนและยังจะแบ่งทรัพย์มรดกอื่นให้อีก จำเลยหาได้ละเลยในการแบ่งปันทรัพย์มรดกไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่า จำเลยละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการมรดก หรือทุจริตหรือความไม่สามารถอันเห็นประจักษ์ จึงยังไม่สมควรที่จะถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาที่ดินที่เหลือเพิ่มขึ้น หักออกจากค่าทดแทนได้ สิทธิการฟ้องละเมิดไม่มี
พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายธนบุรี - สมุทรสาคร - สมุทรสงคราม - ปากท่อ พ.ศ. 2508 ออกตามความใน พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ. 2482 มาตรา 56 กำหนดให้ท้องที่อำเภอต่าง ๆ รวมทั้งอำเภอเมืองสมุทรสาครซึ่งที่ดินของโจทก์ตั้งอยู่เป็นแนวเขตทางหลวง และต่อมาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ให้เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายธนบุรี - สมุทรสาคร - สมุทรสงคราม - ปากท่อ ในท้องที่อำเภอราษฎร์บูรณะ ฯลฯ ให้แก่จำเลย โดยถือว่าประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับ พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามความในมาตรา 41 และ มาตรา 47 แห่ง พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ. 2482 แต่ต่อมามีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ให้ยกเลิก พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ. 2482 และให้ใช้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้แทนซึ่งข้อ 87 วรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติในส่วนที่ 3 มาใช้บังคับแก่การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังดำเนินอยู่ในวันประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ และวรรคสองบัญญัติว่า การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์และการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันใช้ได้ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 โดยมีบทบัญญัติในมาตรา 7 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงข้อ 63 ถึงข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ในกรณีของโจทก์ขณะที่ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับ ขั้นตอนการดำเนินการเวนคืนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะฝ่ายจำเลยยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนรวมทั้งโจทก์ ดังนั้น การดำเนินการต่อไปตั้งแต่การมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนก็ดี การแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนก็ดี การอุทธรณ์ค่าทดแทนก็ดี กำหนดระยะเวลาที่โจทก์ต้องนำคดีมาร้องฟ้องต่อศาล ตลอดจนเรื่องอื่น ๆ ต่อไปที่เกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ก็ดีต้องบังคับตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวข้างต้นหมายความว่า การเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ประกาศใช้บังคับย่อมเป็นอันใช้ได้แต่การดำเนินการต่อไปต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวรคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องต่อศาล เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนยังไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนไว้เป็น 2 กรณี กรณีแรกรัฐมนตรีได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา 25 วรรคสอง ซึ่งผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี และในกรณีที่สองที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง กำหนดเวลาฟ้องคดีภายในหนึ่งปีจะเริ่มนับแต่วันที่พ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ คดีนี้เป็นกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ (วันที่ 15 ตุลาคม 2535) ดังนั้น สิทธิของโจทก์ในการดำเนินคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี จึงเริ่มนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดดังกล่าวคือวันที่ 15 ธันวาคม 2535 จนถึง 15 ธันวาคม 2536 โจทก์เพิ่งนำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2538 เกินกว่า 1 ปีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ อำนาจในการฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นอันหมดสิ้นไป
กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งเป็นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความอันจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นนับใหม่ได้
การเวนคืนเพื่อตัดทางหลวงสายนี้ทำให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นจากเดิมมาก ทั้งเนื้อที่ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีมากกว่าเนื้อที่ที่ดินที่ถูกเวนคืนเกิน 4 เท่า แม้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากเวนคืนมีราคาเพิ่มขึ้นจากเดิมเพียงเล็กน้อยแค่ 1 ใน 4 ส่วนเท่านั้น ก็จะมีราคาเพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่าเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนแล้ว ตามบทกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนให้เอาราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนในส่วนที่มีราคาสูงขึ้นจากเดิมมาหักออกจากเงินค่าทดแทน ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน แม้ฝ่ายจำเลยเพิ่งมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปตกลงราคาเพื่อรับเงินค่าทดแทนที่ดินตารางวาละ 5 บาท ภายหลังจากที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนมาเป็นเวลานานแล้ว ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายดังกล่าวโจทก์ไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินอยู่แล้ว เมื่อไม่มีความเสียหายจึงไม่เป็นละเมิด
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องต่อศาล เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนยังไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนไว้เป็น 2 กรณี กรณีแรกรัฐมนตรีได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา 25 วรรคสอง ซึ่งผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี และในกรณีที่สองที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง กำหนดเวลาฟ้องคดีภายในหนึ่งปีจะเริ่มนับแต่วันที่พ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ คดีนี้เป็นกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ (วันที่ 15 ตุลาคม 2535) ดังนั้น สิทธิของโจทก์ในการดำเนินคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี จึงเริ่มนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดดังกล่าวคือวันที่ 15 ธันวาคม 2535 จนถึง 15 ธันวาคม 2536 โจทก์เพิ่งนำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2538 เกินกว่า 1 ปีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ อำนาจในการฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นอันหมดสิ้นไป
กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งเป็นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความอันจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นนับใหม่ได้
การเวนคืนเพื่อตัดทางหลวงสายนี้ทำให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นจากเดิมมาก ทั้งเนื้อที่ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีมากกว่าเนื้อที่ที่ดินที่ถูกเวนคืนเกิน 4 เท่า แม้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากเวนคืนมีราคาเพิ่มขึ้นจากเดิมเพียงเล็กน้อยแค่ 1 ใน 4 ส่วนเท่านั้น ก็จะมีราคาเพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่าเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนแล้ว ตามบทกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนให้เอาราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนในส่วนที่มีราคาสูงขึ้นจากเดิมมาหักออกจากเงินค่าทดแทน ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน แม้ฝ่ายจำเลยเพิ่งมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปตกลงราคาเพื่อรับเงินค่าทดแทนที่ดินตารางวาละ 5 บาท ภายหลังจากที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนมาเป็นเวลานานแล้ว ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายดังกล่าวโจทก์ไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินอยู่แล้ว เมื่อไม่มีความเสียหายจึงไม่เป็นละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์เวนคืนหลังมีประกาศ คณะรักษาความสงบฯ แก้ไขกฎหมาย และการฟ้องคดีภายในกำหนด
แม้โจทก์มีที่ดินที่จะต้องเวนคืนคือที่ดินโฉนดเลขที่ 121005 อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรีและเขตบางเขน เขตดุสิต เขตพญาไท เขตปทุมวัน เขตบางรักเขตยานนาวา เขตห้วยขวาง เขตบางกะปิ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530 เพื่อสร้างทางพิเศษ สายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่ และสายพญาไท-ศรีนครินทร์ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดิน ที่จะต้องเวนคืนและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนแล้ว แต่โจทก์ ไม่ติดต่อขอรับเงินค่าทดแทน จำเลยที่ 1 จึงได้นำเงิน ค่าทดแทนจำนวนดังกล่าวไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์ และมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็ตาม แต่ต่อมาได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ใช้บังคับ และจำเลยที่ 1 มีหนังสือให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนเพิ่มตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ดังนี้ เมื่อมีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 โดยเพิ่มเติมมาตรา 10 ทวิ ให้รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 หรือคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติได้ และให้ถือว่าราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่แก้ไขแล้วเป็นราคาซื้อขายที่ตกลงกันใหม่แทนราคาเดิม และราคาเบื้องต้นที่แก้ไขแล้วเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 แล้วแต่กรณี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาศัยอำนาจดังกล่าวแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ คือคณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นฯเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน ฉะนั้น เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นฯ แก้ไขใหม่ จึงเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530เมื่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืนไม่พอใจ ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ที่แก้ไขใหม่ได้อีก