พบผลลัพธ์ทั้งหมด 605 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมขนส่งสินค้าและการรับฟังพยานหลักฐานจากสำเนาเอกสารที่ไม่มีการโต้แย้ง
ในขณะที่โจทก์นำสืบอ้างสำเนากรมธรรม์ประกันภัยและสำเนาหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงของบริษัท พ. เป็นพยาน จำเลยที่ 1 มิได้ดำเนินการโต้แย้งหรือคัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารว่าไม่มีต้นฉบับ หรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือแต่บางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องตรงกับต้นฉบับ ศาลไม่ควรรับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 125 จำเลยที่ 1 เพียงแต่ถามค้าน ป. พยานโจทก์เกี่ยวกับสำเนากรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวว่า ข้อความเกี่ยวกับรถยนต์คันดังกล่าวปรากฏตามเอกสารดังกล่าว ซึ่งเป็นเพียงสำเนาไม่ใช่ต้นฉบับเท่านั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าสำเนาเอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวนั้น ถูกต้องตรงกับต้นฉบับแล้ว ศาลจึงรับฟังเอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นพยานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่จ่ายสินบนนำจับเป็นของอธิบดีกรมศุลกากร ไม่ใช่จำเลยในคดีนี้
จำเลยทั้งสองไม่มีอำนาจหรือหน้าที่ในการจ่ายเงินสินบนนำจับแต่อย่างใดผู้ที่มีหน้าที่ในการจ่ายสินบนนำจับคืออธิบดีกรมศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 102 ตรีแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 9 และในการขอรับเงินสินบนนำจับนั้น จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิจะขอรับ เป็นเรื่องผู้แจ้งความนำจับที่จะขอรับโดยเจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งความลงชื่อรับรองว่าผู้ขอเป็นผู้แจ้งความนำจับ ปรากฏตามระเบียบศุลกากรโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินสินบนนำจับจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการจ่ายสินบนนำจับเป็นของอธิบดีกรมศุลกากร ผู้แจ้งความนำจับเท่านั้นที่มีสิทธิรับเงิน
จำเลยทั้งสองไม่มีอำนาจหรือหน้าที่ในการจ่ายเงินสินบนนำจับแต่อย่างใดผู้ที่มีหน้าที่ในการจ่ายสินบนนำจับคืออธิบดีกรมศุลกากร ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 102 ตรี แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 9 และในการขอรับเงินสินบนนำจับนั้น จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิจะขอรับ เป็นเรื่องผู้แจ้งความนำจับที่จะขอรับโดยเจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งความลงชื่อรับรองว่าผู้ขอเป็นผู้แจ้งความนำจับ ปรากฏตามระเบียบศุลกากร โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินสินบนนำจับจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญากู้ยืมและขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์มอบให้ทนายมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้กู้ เบิกเงินเกินบัญชี และไถ่ถอนจำนองให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่ วันที่ได้รับหนังสือจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าววันที่ 18 สิงหาคม 2522 ถือได้ว่ามีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตั้งแต่วันที่ครบกำหนดตามที่ บอกกล่าวคือในวันที่ 17 กันยายน 2522 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงวันที่ 17 กันยายน 2522 ต่อจากนั้นคงคิดได้แต่ดอกเบี้ยตามธรรมดา
ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพียงเท่าที่ตนยอมค้ำประกัน ข้อสัญญาที่ผู้รับจำนองค้ำประกันมีสิทธิบังคับจำนองสำหรับหนี้ต้นเงินที่เกินวงเงินจำนองค้ำประกันด้วยนั้น เป็นการให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเกินกว่าที่ตนยอมค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดในต้นเงินที่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาทปรากฏตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์ครั้งสุดท้ายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 16,031 บาท69 สตางค์โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันนี้ ส่วนวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นเพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดนั้นต้องดูรายการที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่ค้ำประกันเป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้น ปรากฏตามรายการบัญชีเดินสะพัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 43,031 บาท 69 สตางค์ จึงให้ถือเอา วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงิน 30,000 บาท ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 จนถึงวันที่ 17 กันยายน 2522 อันเป็นวันสุดท้ายที่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น ต่อจากนั้นให้คิดดอกเบี้ยตามปกติ
การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 4 ได้
ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพียงเท่าที่ตนยอมค้ำประกัน ข้อสัญญาที่ผู้รับจำนองค้ำประกันมีสิทธิบังคับจำนองสำหรับหนี้ต้นเงินที่เกินวงเงินจำนองค้ำประกันด้วยนั้น เป็นการให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเกินกว่าที่ตนยอมค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดในต้นเงินที่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาทปรากฏตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์ครั้งสุดท้ายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 16,031 บาท69 สตางค์โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันนี้ ส่วนวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นเพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดนั้นต้องดูรายการที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่ค้ำประกันเป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้น ปรากฏตามรายการบัญชีเดินสะพัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 43,031 บาท 69 สตางค์ จึงให้ถือเอา วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงิน 30,000 บาท ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 จนถึงวันที่ 17 กันยายน 2522 อันเป็นวันสุดท้ายที่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น ต่อจากนั้นให้คิดดอกเบี้ยตามปกติ
การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค้ำประกัน, ดอกเบี้ยทบต้น, ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, หนี้ร่วม
โจทก์มอบให้ทนายมีหนัสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชี และไถ่ถอนจำนองให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าววันที่ 18 สิงหาคม 2522 ถือได้ว่ามีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตั้งแต่วันที่ครบกำหนดตามที่บอกกล่าวคือในวันที่ 17 กันยายน 2522 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงวันที่ 17 กันยายน 2522 ต่อจากนั้นคงคิดได้แต่ดอกเบี้ยตามธรรมดา
ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพียงเท่าที่ตนยอมค้ำประกัน ข้อสัญญาที่ผู้รับจำนองค้ำประกันมีสิทธิบังคับจำนองสำหรับหนี้ต้นเงินที่เกินวงเงินจำนองค้ำประกันด้วยนั้น เป็นการให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเกินกว่าที่ตนยอมค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดในต้นเงินที่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาท ปรากฏตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์ครั้งสุดท้ายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 16,031 บาท 69 สตางค์ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันนี้ ส่วนวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นเพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดนั้นต้องดูรายการที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่ค้ำประกันเป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้น ปรากฏตามรายการบัญชีเดินสะพัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 43,031 บาท 69 สตางค์ จึงให้ถือเอาวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงิน 30,000 บาท ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 จนถึงวันที่ 17 กันยายน 2522 อันเป็นวันสุดท้ายที่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น ต่อจากนั้นให้คิดดอกเบี้ยตามปกติ
การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 4 ได้
ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพียงเท่าที่ตนยอมค้ำประกัน ข้อสัญญาที่ผู้รับจำนองค้ำประกันมีสิทธิบังคับจำนองสำหรับหนี้ต้นเงินที่เกินวงเงินจำนองค้ำประกันด้วยนั้น เป็นการให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเกินกว่าที่ตนยอมค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดในต้นเงินที่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาท ปรากฏตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์ครั้งสุดท้ายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 16,031 บาท 69 สตางค์ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันนี้ ส่วนวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นเพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดนั้นต้องดูรายการที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่ค้ำประกันเป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้น ปรากฏตามรายการบัญชีเดินสะพัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 43,031 บาท 69 สตางค์ จึงให้ถือเอาวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงิน 30,000 บาท ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 จนถึงวันที่ 17 กันยายน 2522 อันเป็นวันสุดท้ายที่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น ต่อจากนั้นให้คิดดอกเบี้ยตามปกติ
การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3692/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับคืนเงินประกันหลังซ่อมเครื่อง: การพิจารณาคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ต้องอาศัยเหตุผลที่ว่าคำตัดสินเดิมไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิยึดหน่วงเงินที่โจทก์วางไว้เป็นประกันจนกว่าโจทก์จะซ่อมหรือเปลี่ยนเครื่องให้จำเลยใหม่ คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์กล่าวว่า ถ้ามีการพิจารณาคดีใหม่โจทก์มีทางชนะคดี เนื่องจากเงินที่โจทก์วางไว้แก่จำเลยนั้น เป็นเงินประกันในการที่โจทก์นำชิ้นส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์กลับไปซ่อม เมื่อโจทก์ซ่อมและนำมาติดตั้งให้จำเลยใหม่แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิรับเงินคืน จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงเงินจำนวนนี้ พอสรุปได้ว่ากล่าวถึงข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องเป็นการครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1672/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3692/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับคืนเงินประกันจากการซ่อมเครื่องมือ หากเครื่องมือยังใช้งานไม่ได้หลังซ่อม
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิยึดหน่วงเงินที่โจทก์วางไว้เป็นประกันจนกว่าโจทก์จะซ่อมหรือเปลี่ยนเครื่องให้จำเลยใหม่ คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์กล่าวว่า ถ้ามีการพิจารณาคดีใหม่โจทก์มีทางชนะคดี เนื่องจากเงินที่โจทก์วางไว้แก่จำเลยนั้น เป็นเงินประกันในการที่โจทก์นำชิ้นส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์กลับไปซ่อม เมื่อโจทก์ซ่อมและนำมาติดตั้งให้จำเลยใหม่แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิรับเงินคืน จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงเงินจำนวนนี้ พอสรุปได้ว่ากล่าวถึงข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องเป็นการครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1672/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3505/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางผ่าน (ทางพิพาท) ถูกจำกัดเมื่อมีการซื้อขายที่ดิน
โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลย และใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลยเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ต่อมาจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินแปลงที่ทางพิพาทตัดผ่าน ผู้จะซื้อปิดกั้นและรื้อไถทางพิพาทโจทก์ จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งจำเลยรื้อสิ่งปิดกั้นทางพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3446/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่นำสืบข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ตนเองกล่าวอ้าง
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2. ซึ่งได้เอาประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 3 ไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ให้การรับว่าได้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ไว้จริง แต่จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย เพราะจำเลยที่ 1 ผู้ขับขี่รถยนต์คันนี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับขี่รถยนต์ได้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้ออ้างดังกล่าวจำเลยที่ 3 เป็นฝ่ายกล่าวอ้างขึ้นในคำให้การ จึงมีหน้าที่นำสืบในข้อนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3446/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ข้อยกเว้นความรับผิดในสัญญาประกันภัย จำเลยต้องนำสืบข้ออ้าง
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2. ซึ่งได้เอาประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 3ไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ให้การรับว่าได้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ไว้จริง แต่จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย เพราะจำเลยที่ 1ผู้ขับขี่รถยนต์คันนี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับขี่รถยนต์ได้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้ออ้างดังกล่าวจำเลยที่ 3 เป็นฝ่ายกล่าวอ้างขึ้นในคำให้การ จึงมีหน้าที่นำสืบในข้อนี้