พบผลลัพธ์ทั้งหมด 605 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินเดิมยกให้บุตรต้องทำหนังสือจดทะเบียน มิฉะนั้นยังเป็นกรรมสิทธิ์เดิมของผู้ยก
บ้านพิพาทผู้ร้องเอาเงินที่ได้จากการขายบ้านและที่ดินซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องซื้อมา บ้านพิพาทจึงเป็นสินเดิมของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465(เดิม)ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ซึ่งตามพระราชบัญญัติให้ใช้บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 มาตรา 7 ได้บัญญัติให้สินเดิมดังกล่าวเป็นสินส่วนตัว บ้านพิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง
ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้หย่าและตกลงกันเรื่องทรัพย์สินตามเอกสารหมาย ร.2ว่า ทรัพย์สินทั้งหมดซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องมาก่อนหรือเป็นสินสมรสระหว่างเป็นสามีภรรยายกให้บุตรทั้งสี่คนก็ตาม แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะบ้านพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์และเป็นสินเดิมของผู้ร้อง แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้ไม่มีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525บ้านพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาจึงไม่มีสิทธินำยึด
ประเด็นมีว่าบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้องหรือไม่ปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่ว่า การที่ผู้ร้องยกบ้านพิพาทให้บุตรเป็นการสมบูรณ์หรือไม่จึงเป็นปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่รวมอยู่ในประเด็นดังกล่าว เพราะหากฟังว่าการยกให้มีผลสมบูรณ์บ้านพิพาทก็ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ร้อง แต่ถ้าการยกให้ไม่สมบูรณ์ บ้านพิพาทก็ยังคงเป็นของผู้ร้อง
ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้หย่าและตกลงกันเรื่องทรัพย์สินตามเอกสารหมาย ร.2ว่า ทรัพย์สินทั้งหมดซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องมาก่อนหรือเป็นสินสมรสระหว่างเป็นสามีภรรยายกให้บุตรทั้งสี่คนก็ตาม แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะบ้านพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์และเป็นสินเดิมของผู้ร้อง แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้ไม่มีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525บ้านพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาจึงไม่มีสิทธินำยึด
ประเด็นมีว่าบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้องหรือไม่ปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่ว่า การที่ผู้ร้องยกบ้านพิพาทให้บุตรเป็นการสมบูรณ์หรือไม่จึงเป็นปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่รวมอยู่ในประเด็นดังกล่าว เพราะหากฟังว่าการยกให้มีผลสมบูรณ์บ้านพิพาทก็ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ร้อง แต่ถ้าการยกให้ไม่สมบูรณ์ บ้านพิพาทก็ยังคงเป็นของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายมีสิทธิมรดก: พฤติการณ์แสดงเจตนาชัดเจนถือเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
เจ้ามรดกอยู่กินกับมารดาโจทก์โดยไม่จดทะเบียนสมรส มารดาคลอดโจทก์เมื่อมาอยู่ที่บ้านอื่น แต่เจ้ามรดกก็ยังมาดูแลแจ้งการเกิดว่าโจทก์เป็นบุตร ให้โจทก์ใช้นามสกุล และให้ ค่าเลี้ยงดูศึกษาเล่าเรียน เป็นพฤติการณ์ที่เจ้ามรดกรับรองว่า โจทก์เป็นบุตร รับมรดกได้เหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดตามพ.ร.บ.การค้าข้าว ต้องพิสูจน์แหล่งที่มาของข้าวสารจากร้านค้าของรัฐ
ความในประกาศของคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ.2489 ฉบับที่ 98 พ.ศ.2517 นั้น เห็นได้ชัดว่าที่จะถือว่าผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนประกาศดังกล่าว จะต้องได้ความว่าผู้นั้นได้รับซื้อหรือขายข้าวสารที่มีการซื้อหรือได้มาจากร้านค้าย่อยในความสงเคราะห์ของกรมการค้าภายในหรือจากร้านสมทบจำหน่ายข้าวสารหรือจากที่ว่าการเขตต่าง ๆ ที่ทางราชการกำหนดให้เป็นผู้จำหน่ายปลีกแก่ประชาชน เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าข้าวสารของกลางเป็นข้าวสารที่มีความเป็นมาดังกล่าวแล้ว ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายข้าวสารต้องพิสูจน์แหล่งที่มา หากไม่สามารถพิสูจน์ว่าข้าวสารได้มาจากการซื้อจากร้านค้าที่รัฐกำหนด ศาลลงโทษฐานฝ่าฝืน พ.ร.บ.การค้าข้าวไม่ได้
ความในประกาศของคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ.2489 ฉบับที่ 98 พ.ศ.2517 นั้นเห็นได้ชัดว่าที่จะถือได้ว่าผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนประกาศดังกล่าวจะต้องได้ความว่าผู้นั้นได้รับซื้อหรือขายข้าวสารที่มีการซื้อหรือได้มาจากร้านค้าย่อยในความสงเคราะห์ของกรมการค้าภายในหรือจากร้านสมทบจำหน่ายข้าวสารหรือจากที่ว่าการเขตต่างๆ ที่ทางราชการกำหนดให้เป็นผู้จำหน่ายปลีกแก่ประชาชน เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าข้าวสารของกลางเป็นข้าวสารที่มีความเป็นมาดังกล่าวแล้ว ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานละเว้นหน้าที่-แจ้งความเท็จ โครงการพัฒนาท้องถิ่น: เจตนาและประโยชน์ที่มิควรได้
กำนันถูกแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการโครงการสร้างถนนเข้าหมู่บ้านเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457เบิกเงินมาเพื่อจ่ายแก่ผู้รับเหมาทำถนนในขณะที่ถนนยังไม่เสร็จ แต่เบิกมาเพื่อจะจ่ายให้ผู้รับเหมาทำงานต่อไปได้ มิฉะนั้นจะต้องส่งเงินคืนคลังกำนันจ่ายเงินแก่ผู้รับเหมาไปแล้วดังนี้ ขาดเจตนาแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 เป็นเหตุในลักษณะคดีใช้ตลอดถึงจำเลยที่ไม่ได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213, 225 แต่เมื่อรับเงินมาแล้วกำนันละเว้นไม่ดำเนินการให้ผู้รับเหมาทำงานต่อไปให้เสร็จตามสัญญา เป็นการทุจริตให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานละเว้นหน้าที่, แจ้งความเท็จ, และการกระทำโดยทุจริตต่อหน้าที่
จำเลยเป็นกำนัน ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการโครงการสร้างถนนเข้าหมู่บ้าน เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ฯ การที่จำเลยเบิกเงินต่อผู้ว่าราชการจังหวัดผ่านนายอำเภอ เพื่อจ่ายแก่ผู้รับเหมาทำถนนในขณะที่ถนนยังไม่เสร็จ แต่เบิกมาเพื่อจะจ่ายให้ผู้รับเหมาทำงานต่อไปได้และจำเลยจ่ายเงินแก่ผู้รับเหมาไปแล้วนั้น แม้ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าทำตามคำแนะนำของนายอำเภอและไม่เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับโทษ แต่ก็แสดงว่าจำเลยกระทำไปโดยขาดเจตนาที่จะแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงาน จึงไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จและเหตุดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องถึงจำเลยคนอื่นซึ่งคดีถึงที่สุดแล้วได้
เมื่อจำเลยรับเงินมาจ่ายให้ผู้รับเหมาแล้วได้ละเว้นไม่ดำเนินการให้ผู้รับเหมาทำงานต่อไปให้เสร็จตามสัญญา เป็นการทำให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โดยผู้รับเหมาได้รับเงินมากกว่าที่ควรจะได้ จึงเป็นการกระทำโดยทุจริต เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
เมื่อจำเลยรับเงินมาจ่ายให้ผู้รับเหมาแล้วได้ละเว้นไม่ดำเนินการให้ผู้รับเหมาทำงานต่อไปให้เสร็จตามสัญญา เป็นการทำให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โดยผู้รับเหมาได้รับเงินมากกว่าที่ควรจะได้ จึงเป็นการกระทำโดยทุจริต เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีป่าไม้: การพิสูจน์แหล่งที่มาของไม้เป็นสาระสำคัญ หากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม้มาจากป่า ศาลย่อมยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำไม้ยางพาราซึ่งเป็นไม้ที่ทำโดยไม่ต้องรับอนุญาตบรรทุกรถยนต์ออกไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วนำเคลื่อนที่ไปโดยไม่มีใบเบิกทางกำกับ โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จำเลยรับสารภาพตามฟ้อง เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลก็ย่อมจะพิพากษายกฟ้องของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา185
คำว่า 'ไม้ที่ทำ' ตามมาตรา 38(2) อยู่ในความหมายของ คำว่า 'ทำไม้' ตามมาตรา 4(5) คือ การตัดฟัน การ โค่น ลิดเลื่อยผ่าถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่าหรือ นำออกจากป่าด้วยประการใด ๆ และหมายความรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับไม้สักหรือไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินซึ่งมิใช่ป่า หรือการนำไม้สักหรือไม้ยางออกจากที่ดินที่ไม้นั้น ๆ ขึ้นอยู่ด้วย เห็นได้ว่า การทำไม้นั้นนอกจากไม้สักหรือไม้ยางแล้วหมายถึงเฉพาะไม้ที่อยู่ในป่าเท่านั้น การนำไม้ที่ทำเคลื่อนที่ตามมาตรา 38(2)ซึ่งเมื่อนำออกมาถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและเมื่อจะนำเคลื่อนที่ต่อไปจะต้องมีใบเบิกทางของเจ้าพนักงานไปด้วยตามมาตรา 39 ต้องเป็นไม้ที่ทำจากไม้ในป่านั่นเอง ข้อเท็จจริงที่ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ที่ทำจากป่าหรือไม่ จึงเป็นสารสำคัญแห่งคดีเมื่อโจทก์แถลงว่าไม่ทราบว่าไม้(ยางพารา)ของกลางเป็นไม้ที่ได้มาจากป่าหรือไม่ ศาลจึงลงโทษจำเลยไม่ได้
คำว่า 'ไม้ที่ทำ' ตามมาตรา 38(2) อยู่ในความหมายของ คำว่า 'ทำไม้' ตามมาตรา 4(5) คือ การตัดฟัน การ โค่น ลิดเลื่อยผ่าถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่าหรือ นำออกจากป่าด้วยประการใด ๆ และหมายความรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับไม้สักหรือไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินซึ่งมิใช่ป่า หรือการนำไม้สักหรือไม้ยางออกจากที่ดินที่ไม้นั้น ๆ ขึ้นอยู่ด้วย เห็นได้ว่า การทำไม้นั้นนอกจากไม้สักหรือไม้ยางแล้วหมายถึงเฉพาะไม้ที่อยู่ในป่าเท่านั้น การนำไม้ที่ทำเคลื่อนที่ตามมาตรา 38(2)ซึ่งเมื่อนำออกมาถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและเมื่อจะนำเคลื่อนที่ต่อไปจะต้องมีใบเบิกทางของเจ้าพนักงานไปด้วยตามมาตรา 39 ต้องเป็นไม้ที่ทำจากไม้ในป่านั่นเอง ข้อเท็จจริงที่ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ที่ทำจากป่าหรือไม่ จึงเป็นสารสำคัญแห่งคดีเมื่อโจทก์แถลงว่าไม่ทราบว่าไม้(ยางพารา)ของกลางเป็นไม้ที่ได้มาจากป่าหรือไม่ ศาลจึงลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์แหล่งที่มาของไม้แปรรูปเป็นสาระสำคัญในการฟ้องผิดตามพ.ร.บ.ป่าไม้ หากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม้มาจากในป่า คดีความไม่สามารถดำเนินต่อไปได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำไม้ยางพาราซึ่งเป็นไม้ที่ทำ โดยไม่ต้องรับอนุญาตบรรทุกรถยนต์ออกไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วนำเคลื่อนที่ไปโดยไม่มีใบเบิกทางกำกับ โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จำเลยรับสารภาพตามฟ้อง เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลก็ย่อมจะพิพากษายกฟ้องของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185
คำว่า "ไม้ที่ทำ" ตามมาตรา 38 (2) อยู่ในความหมายของคำว่า "ทำไม้" ตามมาตรา 4(5) คือ การตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่าน ถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่าหรือนำออกจากป่าด้วยประการใด ๆ และหมายความรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับไม้สักหรือไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินซึ่งมิใช่ป่า หรือการนำไม้สักหรือไม้ยางออกจากที่ดินที่ไม้นั้น ๆ ขึ้นอยู่ด้วย เห็นได้ว่า การทำไม้นั้นนอกจากไม้สักหรือไม้ยางแล้วหมายถึงเฉพาะไม้ที่อยู่ในป่าเท่านั้น การนำไม้ที่ทำเคลื่อนที่ตามมาตรา 38 (2) ซึ่งเมื่อนำออกมาถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและเมื่อจะนำเคลื่อนที่ต่อไปจะต้องมีใบเบิกทางของเจ้าพนักงานไปด้วยตามมาตรา 39 ต้องเป็นไม้ที่ทำจากไม้ในป่านั่นเอง ข้อเท็จจริงที่ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ที่ทำจากป่าหรือไม่จึงเป็นสาระสำคัญแห่งคดี เมื่อโจทก์แถลงว่าไม่ทราบว่าไม้ (ยางพารา) ของกลางเป็นไม้ที่ได้มาจากป่าหรือไม่ ศาลจึงลงโทษจำเลยไม่ได้
คำว่า "ไม้ที่ทำ" ตามมาตรา 38 (2) อยู่ในความหมายของคำว่า "ทำไม้" ตามมาตรา 4(5) คือ การตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่าน ถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่าหรือนำออกจากป่าด้วยประการใด ๆ และหมายความรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับไม้สักหรือไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินซึ่งมิใช่ป่า หรือการนำไม้สักหรือไม้ยางออกจากที่ดินที่ไม้นั้น ๆ ขึ้นอยู่ด้วย เห็นได้ว่า การทำไม้นั้นนอกจากไม้สักหรือไม้ยางแล้วหมายถึงเฉพาะไม้ที่อยู่ในป่าเท่านั้น การนำไม้ที่ทำเคลื่อนที่ตามมาตรา 38 (2) ซึ่งเมื่อนำออกมาถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและเมื่อจะนำเคลื่อนที่ต่อไปจะต้องมีใบเบิกทางของเจ้าพนักงานไปด้วยตามมาตรา 39 ต้องเป็นไม้ที่ทำจากไม้ในป่านั่นเอง ข้อเท็จจริงที่ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ที่ทำจากป่าหรือไม่จึงเป็นสาระสำคัญแห่งคดี เมื่อโจทก์แถลงว่าไม่ทราบว่าไม้ (ยางพารา) ของกลางเป็นไม้ที่ได้มาจากป่าหรือไม่ ศาลจึงลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในอาวุธปืนยังเป็นของเจ้าของ แม้ถูกยึดจากการกระทำผิด จนกว่าศาลจะมีคำสั่งริบ
อาวุธปืนกระบอกพิพาทเป็นของส.ผู้ตาย แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจยึดไว้โดยอ้างว่าเป็นอาวุธปืนที่ ส.ใช้ในการกระทำความผิดอาญา ก็ยังคงเป็นทรัพย์ของ ส. อยู่จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของแผ่นดินก็ต่อเมื่อศาลมีคำสั่งให้ริบ เมื่อปรากฏว่าศาลไม่ได้พิพากษาให้ริบ อาวุธปืนกระบอกนี้จึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. ตลอดมาเมื่อส.ตายก็ตกเป็นมรดกแก่ทายาทของ ส. จำเลยไม่มีสิทธิใด ๆที่จะยึดปืนกระบอกนี้ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091-3092/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์: การกระทำผิดเป็นกรรม ๆ ไปตามจำนวนครั้งที่กระทำ
เจ้าอาวาสเจ้าของโรงเรียนมอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปแจ้งความร้องทุกข์กล่าวหาว่าจำเลยทุจริตยักยอกเงินของโรงเรียน เป็นการร้องทุกข์โดยถูกต้องแล้ว เจ้าอาวาสเบิกความต่อศาลว่า ที่ให้ไปแจ้งความก็เพื่อให้ได้เงินคืน ไม่ต้องการให้จำเลยรับโทษทางอาญา ไม่ทำให้การแจ้งความร้องทุกข์ที่ได้กระทำไว้แล้วโดยชอบเสียไป และไม่ใช่ถอนคำร้องทุกข์ด้วย
เมื่อสิ้นภาคเรียนจำเลยมีหน้าที่ต้องนำเงินของโรงเรียนมอบให้เจ้าอาวาสทุกครั้งไป ครั้งใดจำเลยไม่ส่งมอบแต่กลับยักยอกเอาเป็นประโยชน์ของตนเสีย ก็เป็นความผิดฐานยักยอกสำหรับครั้งนั้นสำเร็จขาดตอนไปเป็นกรรมหนึ่ง การยักยอกของจำเลยจึงเป็นความผิดเป็นกรรม ๆ ไปตามจำนวนครั้งที่จำเลยกระทำการยักยอก
เมื่อสิ้นภาคเรียนจำเลยมีหน้าที่ต้องนำเงินของโรงเรียนมอบให้เจ้าอาวาสทุกครั้งไป ครั้งใดจำเลยไม่ส่งมอบแต่กลับยักยอกเอาเป็นประโยชน์ของตนเสีย ก็เป็นความผิดฐานยักยอกสำหรับครั้งนั้นสำเร็จขาดตอนไปเป็นกรรมหนึ่ง การยักยอกของจำเลยจึงเป็นความผิดเป็นกรรม ๆ ไปตามจำนวนครั้งที่จำเลยกระทำการยักยอก