พบผลลัพธ์ทั้งหมด 605 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของกรรมการบริษัทต่อหนี้ที่เกิดจากการสั่งซื้อสินค้าในนามบริษัท แม้จะมีข้อจำกัดวงเงิน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งสินค้าของโจทก์มาจำหน่ายยังค้างชำระราคาสินค้าโจทก์อยู่ จำเลยที่ 1 ปฏิเสธว่าไม่ได้สั่งซื้อ จำเลยที่ 2 ให้การว่าได้สั่งซื้อในนามของจำเลยที่ 1 ศาลล่างพิพากษามาให้จำเลยร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินค้าที่ค้างชำระจำนวนหนึ่งแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ไม่ฎีกา คดียุติชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 จะฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ค้างชำระค่าสินค้าโจทก์อยู่เพียง 2 หมื่นบาทเศษ หาได้ไม่ เพราะตนมิได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำในการ
จำเลยที่ 2 ติดต่อสั่งซื้อสินค้าหลายรายการหลายครั้ง จากโจทก์ขณะเป็นผู้จัดการจำเลยที่ 1 และได้กระทำในนามของจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อในตำแหน่งผู้จัดการจำเลยที่ 1 กับได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ในเอกสารต่าง ๆ ทุกฉบับ ถือว่าได้ซื้อในนามหรือแทนจำเลย ที่ 1 ตามหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ จะต้องชำระราคาที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จะยกเอาคำสั่งภายในที่โจทก์ ไม่รู้มายันโจทก์ เพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
หมายเหตุในใบส่งของของโจทก์ระบุให้ฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดกรุงเทพนั้นเป็นข้อความที่โจทก์พิมพ์ไว้แต่ฝ่ายเดียว ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ตกลงด้วย จึงไม่ใช่ข้อตกลงที่จะผูกพันความ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7 (4) โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อ ศาลจังหวัดนครปฐม ซึ่งจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้ตามมาตรา 4 (2)
จำเลยที่ 2 ติดต่อสั่งซื้อสินค้าหลายรายการหลายครั้ง จากโจทก์ขณะเป็นผู้จัดการจำเลยที่ 1 และได้กระทำในนามของจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อในตำแหน่งผู้จัดการจำเลยที่ 1 กับได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ในเอกสารต่าง ๆ ทุกฉบับ ถือว่าได้ซื้อในนามหรือแทนจำเลย ที่ 1 ตามหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ จะต้องชำระราคาที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จะยกเอาคำสั่งภายในที่โจทก์ ไม่รู้มายันโจทก์ เพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
หมายเหตุในใบส่งของของโจทก์ระบุให้ฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดกรุงเทพนั้นเป็นข้อความที่โจทก์พิมพ์ไว้แต่ฝ่ายเดียว ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ตกลงด้วย จึงไม่ใช่ข้อตกลงที่จะผูกพันความ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7 (4) โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อ ศาลจังหวัดนครปฐม ซึ่งจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้ตามมาตรา 4 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของกรรมการบริษัทในการซื้อขายสินค้า โดยกรรมการสั่งซื้อในนามบริษัทและลงตราสำคัญ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งสินค้าของโจทก์มาจำหน่ายยังค้างชำระราคาสินค้าโจทก์อยู่ จำเลยที่ 1ปฏิเสธว่าไม่ได้สั่งซื้อ จำเลยที่ 2 ให้การว่าได้สั่งซื้อในนามของจำเลยที่ 1 ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินค้าที่ค้างชำระจำนวนหนึ่งแก่โจทก์จำเลยที่ 2 ไม่ฎีกา คดียุติชั้นศาลอุทธรณ์ จำเลยที่1 จะฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ค้างชำระค่าสินค้าโจทก์อยู่เพียง2 หมื่นบาทเศษ หาได้ไม่ เพราะตนมิได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ
จำเลยที่ 2 ติดต่อสั่งซื้อสินค้าหลายรายการหลายครั้งจากโจทก์ขณะเป็นผู้จัดการจำเลยที่ 1 และได้กระทำในนามของจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อในตำแหน่งผู้จัดการจำเลยที่ 1กับได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ในเอกสารต่างๆทุกฉบับ ถือว่าได้ซื้อในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 ตามหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่จะต้องชำระราคาที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จะยกเอาคำสั่งภายในที่โจทก์ไม่รู้มายันโจทก์เพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
หมายเหตุในใบส่งของของโจทก์ระบุให้ฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดกรุงเทพนั้นเป็นข้อความที่โจทก์พิมพ์ไว้แต่ฝ่ายเดียวไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ตกลงด้วย จึงไม่ใช่ข้อตกลงที่จะผูกพันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา7(4) โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดนครปฐมซึ่งจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้ตามมาตรา 4(2)
จำเลยที่ 2 ติดต่อสั่งซื้อสินค้าหลายรายการหลายครั้งจากโจทก์ขณะเป็นผู้จัดการจำเลยที่ 1 และได้กระทำในนามของจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อในตำแหน่งผู้จัดการจำเลยที่ 1กับได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ในเอกสารต่างๆทุกฉบับ ถือว่าได้ซื้อในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 ตามหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่จะต้องชำระราคาที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จะยกเอาคำสั่งภายในที่โจทก์ไม่รู้มายันโจทก์เพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
หมายเหตุในใบส่งของของโจทก์ระบุให้ฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดกรุงเทพนั้นเป็นข้อความที่โจทก์พิมพ์ไว้แต่ฝ่ายเดียวไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ตกลงด้วย จึงไม่ใช่ข้อตกลงที่จะผูกพันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา7(4) โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดนครปฐมซึ่งจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้ตามมาตรา 4(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถมขยะไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง หากไม่ได้เข้าครอบครองพื้นที่
การเอาขยะไปถมที่ดินโจทก์โดยมิได้เข้าไปครอบครองไม่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์: การปฏิเสธความรับผิดชอบหลังรับทรัพย์ของผู้เสียหายแสดงเจตนาทุจริต
จำเลยเป็นผู้รับเครื่องเพชรไปแต่ปฏิเสธว่าผู้อื่นเป็นคนเอาไป แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้เสียหายเป็นของตนโดยทุจริต มีความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดอุทธรณ์ค่าฤชาธรรมเนียมหลังจำหน่ายคดี: ต้องอุทธรณ์ภายใน 1 เดือนนับจากคำสั่งจำหน่ายคดี หากพ้นกำหนดแล้วไม่สามารถขอคืนค่าธรรมเนียมได้
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความเพราะโจทก์ทิ้งฟ้อง (โดยมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม) โจทก์ต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีการที่โจทก์ยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลเมื่อล่วงเลยอายุอุทธรณ์แล้วไม่เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลให้โจทก์แต่อย่างใดโจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแทนผู้เสมือนไร้ความสามารถ: ผู้พิทักษ์มีอำนาจเฉพาะให้ความยินยอม ไม่สามารถฟ้องแทนได้
บุคคลผู้เสมือนไร้ความสามารถนั้นทำนิติกรรมเองได้สิ่งทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นแต่จะต้องด้วยข้อจำกัดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 35 ซึ่งผู้เสมือนไร้ความสามารถจะทำได้เฉพาะเมื่อผู้พิทักษ์ให้ความยินยอมเท่านั้น ผู้พิทักษ์มีอำนาจหน้าที่เพียงแต่ให้ความยินยอมหรือไม่แก่ผู้เสมือนไร้ความสามารถในกิจการที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ให้อำนาจผู้พิทักษ์ฟ้องคดีแทนผู้เสมือนไร้ความสามารถ ผู้พิทักษ์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เสมือนไร้ความสามารถ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมทางเดิน: การใช้ทางเกินขอบเขตเดิมถือเป็นการเพิ่มภาระแก่ภารยทรัพย์ เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิใช้ทางเกินกว่าที่ตกลงกันไว้
ทางภารจำยอมกว้างประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 60 เมตรซึ่งเจ้าของภารยทรัพย์มีเจตนาโดยชัดแจ้งที่จะให้ใช้ทางนี้เป็นทางเดินเข้าเท่านั้น และโจทก์ผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ก็รู้เจตนาดังกล่าวดีอยู่แล้ว ดังนี้ การที่โจทก์จะใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกในทางภารจำยอมอันจะต้องใช้ทางกว้างขึ้นจึงเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ แม้ต่อมาภายหลังโจทก์จะมีรถยนต์เป็นเหตุให้ให้โจทก์มีความจำเป็นต้องใช้รถยนต์ผ่านทางภารจำยอม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะทำเช่นนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388 และ 1389
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมแคบใช้ทางเท้า โจทก์ใช้รถยนต์เพิ่มภาระแก่ภารยทรัพย์ ศาลฎีกายกฟ้อง
ทางภารจำยอมกว้างประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 60 เมตร ซึ่งเจ้าของสามยทรัพย์มีเจตนาโดยชัดแจ้งที่จะให้ใช้ทางนี้เป็นทางเดินเข้าเท่านั้น และโจทก์ผู้เป็นเจ้าของภารยทรัพย์ก็รู้เจตนาดังกล่าวดีอยู่แล้ว ดังนี้ การที่โจทก์จะใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกในทางภารจำยอมอันจะต้องใช้ทางกว้างขึ้น จึงเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ แม้ต่อมาภายหลังโจทก์จะมีรถยนต์เป็นเหตุให้โจทก์มีความจำเป็นต้องใช้รถยนต์ผ่านทางภารจำยอมโจทก์ ก็ไม่มีสิทธิจะทำเช่นนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388 และ 1389
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำต่อเนื่องเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา ไม่ขาดอายุความฟ้องหย่า
จำเลยมิได้อยู่กินเป็นสามีภริยากับโจทก์มาถึงทุกวันนี้เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วโดยจำเลยมีสามีใหม่และอยู่กินกับสามีใหม่ตลอดมาจนขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้การกระทำของจำเลยดังกล่าว นอกจากจะเป็นเหตุหย่าในเหตุอื่นเช่นมีชู้จงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี เป็นต้นแล้วยังเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรงอีกด้วย และเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องตลอดมาทุกวัน คดีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันสัญญาตัวแทน, อายุความ, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การผ่อนปรนหนี้, และความรับผิดของผู้จำนอง
การที่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการยอมผ่อนปรนแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทน โดยให้โอกาสแก่จำเลยที่ 1 ในอันที่จะจัดการเรื่องหนี้สินให้เรียบร้อยนั้น จะถือว่าเป็นความผิดของโจทก์หาได้ไม่ และตามข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องกระทำการต่าง ๆ ก็หาได้ระบุไว้ในสัญญาว่าจะต้องกระทำ ณ เวลาใดอันเป็นกำหนดแน่นอนไม่ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าว และยังกระทำผิดสัญญาในเรื่องการให้กู้ยืมกับให้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์ยังไม่เลิกสัญญาทันทีนั้น ก็ไม่เป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 จำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้จำนองเป็นประกันการที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์สำหรับความเสียหายทั้งปวง จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
อายุความสำหรับธนาคารที่จะเรียกร้องเอาดอกเบี้ยทบต้นตามบัญชีเดินสะพัดจากลูกหนี้ของธนาคาร กับอายุความสำหรับโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกัน จำเลยที่ 1 นั้นเป็นคนละเรื่องกัน ธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้รายใดได้จนถึงวันใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก เมื่อจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของธนาคารเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพราะเงินต้นและดอกเบี้ยสูญ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหาย และเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ได้ ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขาอันเป็นสัญญาตั้งตัวแทน มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คดีโจทก์ส่วนที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ยังไม่ขาดอายุความ จึงไม่ขาดอายุความในส่วนที่ฟ้องผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ด้วย
เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดกรณีย่อมไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 225 วรรคสอง ในระหว่างนั้นโจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากลูกหนี้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีได้ตามมาตรา 655 วรรคสอง (อ้างฎีกา 658 - 659/2511 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)
ท้ายฟ้องมีเอกสารหมายเลข 4 ซึ่งเป็นบัญชีลูกหนี้ที่จำเลยที่ 1 ให้กู้ยืมและเบิกเงินเกินบัญชีแล้วเรียกเก็บไม่ได้ซึ่งแสดงรายละเอียดว่า ลูกหนี้ชื่อใด บัญชีเท่าใด ยอดหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ตลอดทั้งเหตุที่เรียกเก็บไม่ได้ เป็นเพราะไม่มีสัญญาหรือว่าไม่มีทั้งสัญญาและหลักประกันด้วย ดังนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมส่วนข้อที่ว่า หนี้แต่ละรายเหล่านั้นเป็นเงินต้นเท่าใด คิดดอกเบี้ยอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดซึ่งโจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้
การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 จำนองที่ดินแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขานั้น เป็นการให้สัญญาแก่โจทก์ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้วไม่ชำระหนี้ค่าเสียหายนั้นก็ให้โจทก์บังคับจำนองได้ ซึ่งต่างกับการค้ำประกัน และมิได้มีบทบัญญัติใดในลักษณะจำนองที่ให้นำมาตรา 689 ในลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย (อ้างฎีกา 1187/2517)
อายุความสำหรับธนาคารที่จะเรียกร้องเอาดอกเบี้ยทบต้นตามบัญชีเดินสะพัดจากลูกหนี้ของธนาคาร กับอายุความสำหรับโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกัน จำเลยที่ 1 นั้นเป็นคนละเรื่องกัน ธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้รายใดได้จนถึงวันใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก เมื่อจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของธนาคารเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพราะเงินต้นและดอกเบี้ยสูญ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหาย และเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ได้ ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขาอันเป็นสัญญาตั้งตัวแทน มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คดีโจทก์ส่วนที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ยังไม่ขาดอายุความ จึงไม่ขาดอายุความในส่วนที่ฟ้องผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ด้วย
เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดกรณีย่อมไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 225 วรรคสอง ในระหว่างนั้นโจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากลูกหนี้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีได้ตามมาตรา 655 วรรคสอง (อ้างฎีกา 658 - 659/2511 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)
ท้ายฟ้องมีเอกสารหมายเลข 4 ซึ่งเป็นบัญชีลูกหนี้ที่จำเลยที่ 1 ให้กู้ยืมและเบิกเงินเกินบัญชีแล้วเรียกเก็บไม่ได้ซึ่งแสดงรายละเอียดว่า ลูกหนี้ชื่อใด บัญชีเท่าใด ยอดหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ตลอดทั้งเหตุที่เรียกเก็บไม่ได้ เป็นเพราะไม่มีสัญญาหรือว่าไม่มีทั้งสัญญาและหลักประกันด้วย ดังนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมส่วนข้อที่ว่า หนี้แต่ละรายเหล่านั้นเป็นเงินต้นเท่าใด คิดดอกเบี้ยอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดซึ่งโจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้
การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 จำนองที่ดินแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขานั้น เป็นการให้สัญญาแก่โจทก์ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้วไม่ชำระหนี้ค่าเสียหายนั้นก็ให้โจทก์บังคับจำนองได้ ซึ่งต่างกับการค้ำประกัน และมิได้มีบทบัญญัติใดในลักษณะจำนองที่ให้นำมาตรา 689 ในลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย (อ้างฎีกา 1187/2517)