พบผลลัพธ์ทั้งหมด 605 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันสัญญาตัวแทน, อายุความ, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การผ่อนปรนหนี้, และความรับผิดของผู้จำนอง
การที่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการยอมผ่อนปรนแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทน โดยให้โอกาสแก่จำเลยที่ 1 ในอันที่จะจัดการเรื่องหนี้สินให้เรียบร้อยนั้น จะถือว่าเป็นความผิดของโจทก์หาได้ไม่ และตามข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องกระทำการต่าง ๆ ก็หาได้ระบุไว้ในสัญญาว่าจะต้องกระทำ ณ เวลาใดอันเป็นกำหนดแน่นอนไม่ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าว และยังกระทำผิดสัญญาในเรื่องการให้กู้ยืมกับให้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์ยังไม่เลิกสัญญาทันทีนั้น ก็ไม่เป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 จำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้จำนองเป็นประกันการที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์สำหรับความเสียหายทั้งปวง จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
อายุความสำหรับธนาคารที่จะเรียกร้องเอาดอกเบี้ยทบต้นตามบัญชีเดินสะพัดจากลูกหนี้ของธนาคาร กับอายุความสำหรับโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกัน จำเลยที่ 1 นั้นเป็นคนละเรื่องกัน ธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้รายใดได้จนถึงวันใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก เมื่อจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของธนาคารเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพราะเงินต้นและดอกเบี้ยสูญ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหาย และเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ได้ ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขาอันเป็นสัญญาตั้งตัวแทน มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คดีโจทก์ส่วนที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ยังไม่ขาดอายุความ จึงไม่ขาดอายุความในส่วนที่ฟ้องผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ด้วย
เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดกรณีย่อมไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 225 วรรคสอง ในระหว่างนั้นโจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากลูกหนี้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีได้ตามมาตรา 655 วรรคสอง (อ้างฎีกา 658 - 659/2511 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)
ท้ายฟ้องมีเอกสารหมายเลข 4 ซึ่งเป็นบัญชีลูกหนี้ที่จำเลยที่ 1 ให้กู้ยืมและเบิกเงินเกินบัญชีแล้วเรียกเก็บไม่ได้ซึ่งแสดงรายละเอียดว่า ลูกหนี้ชื่อใด บัญชีเท่าใด ยอดหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ตลอดทั้งเหตุที่เรียกเก็บไม่ได้ เป็นเพราะไม่มีสัญญาหรือว่าไม่มีทั้งสัญญาและหลักประกันด้วย ดังนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมส่วนข้อที่ว่า หนี้แต่ละรายเหล่านั้นเป็นเงินต้นเท่าใด คิดดอกเบี้ยอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดซึ่งโจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้
การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 จำนองที่ดินแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขานั้น เป็นการให้สัญญาแก่โจทก์ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้วไม่ชำระหนี้ค่าเสียหายนั้นก็ให้โจทก์บังคับจำนองได้ ซึ่งต่างกับการค้ำประกัน และมิได้มีบทบัญญัติใดในลักษณะจำนองที่ให้นำมาตรา 689 ในลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย (อ้างฎีกา 1187/2517)
อายุความสำหรับธนาคารที่จะเรียกร้องเอาดอกเบี้ยทบต้นตามบัญชีเดินสะพัดจากลูกหนี้ของธนาคาร กับอายุความสำหรับโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกัน จำเลยที่ 1 นั้นเป็นคนละเรื่องกัน ธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้รายใดได้จนถึงวันใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก เมื่อจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของธนาคารเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพราะเงินต้นและดอกเบี้ยสูญ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหาย และเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ได้ ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขาอันเป็นสัญญาตั้งตัวแทน มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คดีโจทก์ส่วนที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ยังไม่ขาดอายุความ จึงไม่ขาดอายุความในส่วนที่ฟ้องผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ด้วย
เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดกรณีย่อมไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 225 วรรคสอง ในระหว่างนั้นโจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากลูกหนี้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีได้ตามมาตรา 655 วรรคสอง (อ้างฎีกา 658 - 659/2511 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)
ท้ายฟ้องมีเอกสารหมายเลข 4 ซึ่งเป็นบัญชีลูกหนี้ที่จำเลยที่ 1 ให้กู้ยืมและเบิกเงินเกินบัญชีแล้วเรียกเก็บไม่ได้ซึ่งแสดงรายละเอียดว่า ลูกหนี้ชื่อใด บัญชีเท่าใด ยอดหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ตลอดทั้งเหตุที่เรียกเก็บไม่ได้ เป็นเพราะไม่มีสัญญาหรือว่าไม่มีทั้งสัญญาและหลักประกันด้วย ดังนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมส่วนข้อที่ว่า หนี้แต่ละรายเหล่านั้นเป็นเงินต้นเท่าใด คิดดอกเบี้ยอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดซึ่งโจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้
การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 จำนองที่ดินแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขานั้น เป็นการให้สัญญาแก่โจทก์ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้วไม่ชำระหนี้ค่าเสียหายนั้นก็ให้โจทก์บังคับจำนองได้ ซึ่งต่างกับการค้ำประกัน และมิได้มีบทบัญญัติใดในลักษณะจำนองที่ให้นำมาตรา 689 ในลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย (อ้างฎีกา 1187/2517)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเคลือบคลุม – จำเป็นต้องระบุรายละเอียดสินค้าและจำนวนเงินที่ชัดเจนในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้เบิกสินค้าต่าง ๆ ไปจากโจทก์นำไปขายคิดเป็นเงินทั้งสิ้น 1,551,387.40 บาท แต่จำเลยได้ส่งสินค้าคืนหักค่าใช้จ่ายค่าของแถม และส่งเงินสดให้โจทก์แล้วเป็นเงิน 1,412,710.30บาท จึงเหลือเงินที่จำเลยยังไม่ได้ส่งให้โจทก์รวม 138,677.10 บาทและเงินค่าสินค้าที่จำเลยเบิกไปขายซึ่งยังไม่ได้ส่งให้โจทก์ยกมาจากปีก่อนอีกรวม 39,728 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 177,955.10 บาท ปรากฏตามพยานหลักฐาน(ใบรับของแผนกแคชเซล) ซึ่งโจทก์จะได้นำส่งศาลในวันพิจารณาต่อไปดังนี้ โจทก์มิได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าสินค้าที่จำเลยที่ 1 เบิกรับไปจากโจทก์ไปขายนั้น เป็นสินค้าอะไร จำนวนและราคาเท่าใด ได้ส่งสินค้าอะไรจำนวนและราคาเท่าใดคืนจึงรวมเป็นเงินที่จำเลยส่งคืนแล้วและจำนวนเงินที่จำเลยยังไม่ได้ส่งให้โจทก์ตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องทั้งมิได้แนบสำเนาเอกสารที่เกี่ยวกับสินค้าที่จำเลยรับไปและส่งคืนมาท้ายคำฟ้องที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าปรากฏตามพยานหลักฐาน (ใบรับแผนกแคชเซล) ซึ่งโจทก์จะได้นำส่งศาลในชั้นพิจารณาต่อไปนั้น แม้ภายหลังโจทก์จะส่งพยานหลักฐานดังกล่าวต่อศาลพยานหลักฐานนั้นก็มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องจะเอามาพิจารณาประกอบคำฟ้องหาได้ไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่มิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเป็นคำฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเคลือบคลุม – การแสดงรายละเอียดสินค้าและราคายังไม่ชัดเจน – คำฟ้องไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้เบิกสินค้าต่าง ๆ ไปจากโจทก์นำไปขายคิดเป็นเงินทั้งสิ้น 1,551,387.40 บาท แต่จำเลยได้ส่งสินค้าคืนหักค่าใช้จ่ายค่าของแถม และส่งเงินสดให้โจทก์แล้วเป็นเงิน 1,412,710.30 บาท จึงเหลือเงินที่จำเลยยังไม่ได้ส่งให้โจทก์รวม 138,677.10 บาท และเงินค่าสินค้าที่จำเลยเบิกไปขายซึ่งยังไม่ได้ส่งให้โจทก์ยกมาจากปีก่อนอีกรวม 39,728 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 177,955.10 บาท ปรากฏตามพยานหลักฐาน (ใบรับของแผนกแคชเซล) ซึ่งโจทก์จะได้นำส่งศาลในวันพิจารณาต่อไป ดังนี้ โจทก์มิได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าสินค้าที่จำเลยที่ 1 เบิกรับไปจากโจทก์ไปขายนั้น เป็นสินค้าอะไร จำนวนและราคาเท่าใด ได้ส่งสินค้าอะไร จำนวนและราคาเท่าใดคืน จึงรวมเป็นเงินที่จำเลยส่งคืนแล้วและจำนวนเงินที่จำเลยยังไม่ได้ส่งให้โจทก์ตามจำนวนที่โจทก์ฟ้อง ทั้งมิได้แนบสำเนาเอกสารที่เกี่ยวกับสินค้าที่จำเลยรับไปและส่งคืนมาท้ายคำฟ้อง ที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าปรากฏตามพยานหลักฐาน (ใบรับแผนกแคชเซล) ซึ่งโจทก์จะได้นำส่งศาลในชั้นพิจารณาต่อไปนั้น แม้ภายหลังโจทก์จะส่งพยานหลักฐานดังกล่าวต่อศาล พยานหลักฐานนั้นก็มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องจะเอามาพิจารณาประกอบคำฟ้องหาได้ไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่มิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเป็นคำฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามทุนทรัพย์ และการใช้สัญญาเช่าซื้อเป็นพยานหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขัดทรัพย์ว่าทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์อันดับ 1 ซึ่งมีราคา 30,000 บาทเป็นของผู้ร้องที่ 1 และอันดับที่ 2 ถึงที่ 9 รวมราคา 28,680 บาท เป็นของผู้ร้องที่ 2 แม้ผู้ร้องจะตีราคารวมกันมาในคำร้องเป็นจำนวนเงิน 58,680 บาท ก็ถือว่าคดีสำหรับผู้ร้องที่ 1 เป็นคดีมีทุนทรัพย์เพียง 30,000 บาท คดีสำหรับผู้ร้องที่ 2 มีทุนทรัพย์เพียง 28,680 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ผู้ร้องทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
เอกสารสัญญาเช่าซื้อแม้ผู้ร้องจะมิได้อ้างเป็นพยานหลักฐานเพื่อบังคับการตามสัญญาเช่าซื้อหากแต่อ้างมาประกอบพยานบุคคลว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดมาเพื่อการบังคับคดีเป็นของผู้ร้องโดยเช่าซื้อมานั้นก็จะต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าผู้ร้องได้เช่าซื้อทรัพย์ดังกล่าวมาจริงหรือไม่ ซึ่งต้องพิเคราะห์จากสัญญาเช่าซื้อที่ผู้ร้องอ้างมา สัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานโดยตรงในคดี เมื่อไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
เอกสารสัญญาเช่าซื้อแม้ผู้ร้องจะมิได้อ้างเป็นพยานหลักฐานเพื่อบังคับการตามสัญญาเช่าซื้อหากแต่อ้างมาประกอบพยานบุคคลว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดมาเพื่อการบังคับคดีเป็นของผู้ร้องโดยเช่าซื้อมานั้นก็จะต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าผู้ร้องได้เช่าซื้อทรัพย์ดังกล่าวมาจริงหรือไม่ ซึ่งต้องพิเคราะห์จากสัญญาเช่าซื้อที่ผู้ร้องอ้างมา สัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานโดยตรงในคดี เมื่อไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์คดี, ข้อจำกัดการฎีกา, พยานหลักฐานสัญญาเช่าซื้อ (ขาดการปิดอากรแสตมป์)
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขัดทรัพย์ว่าทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ อันดับ 1 ซึ่งมีราคา 30,000 บาทเป็นของผู้ร้องที่ 1และอันดับที่ 2 ถึงที่ 9 รวมราคา 28,680 บาท เป็นของผู้ร้องที่ 2 แม้ผู้ร้องจะตีราคารวมกันมาในคำร้องเป็นจำนวนเงิน 58,680 บาท ก็ถือว่าคดีสำหรับผู้ร้องที่ 1 เป็นคดีมีทุนทรัพย์เพียง 30,000 บาทคดีสำหรับผู้ร้องที่ 2 มีทุนทรัพย์เพียง 28,680 บาทเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ผู้ร้องทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
เอกสารสัญญาเช่าซื้อแม้ผู้ร้องจะมิได้อ้างเป็นพยานหลักฐานเพื่อบังคับการตามสัญญาเช่าซื้อหากแต่อ้างมาประกอบพยานบุคคลว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดมาเพื่อการบังคับคดีเป็นของผู้ร้องโดยเช่าซื้อมานั้นก็จะต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าผู้ร้องได้เช่าซื้อทรัพย์ดังกล่าวมาจริงหรือไม่ ซึ่งต้องพิเคราะห์จากสัญญาเช่าซื้อที่ผู้ร้องอ้างมา สัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานโดยตรงในคดี เมื่อไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
เอกสารสัญญาเช่าซื้อแม้ผู้ร้องจะมิได้อ้างเป็นพยานหลักฐานเพื่อบังคับการตามสัญญาเช่าซื้อหากแต่อ้างมาประกอบพยานบุคคลว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดมาเพื่อการบังคับคดีเป็นของผู้ร้องโดยเช่าซื้อมานั้นก็จะต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าผู้ร้องได้เช่าซื้อทรัพย์ดังกล่าวมาจริงหรือไม่ ซึ่งต้องพิเคราะห์จากสัญญาเช่าซื้อที่ผู้ร้องอ้างมา สัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานโดยตรงในคดี เมื่อไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639-640/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานแจ้งย้ายเข้าโดยไม่มีการย้ายจริง เป็นการทำเอกสารเท็จและปฏิบัติหน้าที่ทุจริต ถือเป็นกรรมเดียวกัน
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำแหน่งผู้ช่วยนายทะเบียนท้องถิ่น รับแจ้งย้ายบุคคลเข้าอยู่ในบ้านอันเป็นการทำเอกสารเท็จและปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตและจำเลยได้ย้ายบุคคลดังกล่าวไปอยู่ที่อื่นในการกระทำคราวเดียวกันกับที่จำเลยกรอกรายการย้ายเข้า จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615-616/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยพิจารณาจากส่วนแห่งความประมาทและฐานความรับผิดของนายจ้าง
ฎีกากล่าวเพียงว่าค่าเสียหายไม่ควรเกินกว่าจำนวนเท่านั้นเท่านี้โดยไม่มีข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใด ๆ สนับสนุนเป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะอ้างอิงขึ้นกล่าวไว้โดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับวิ่งคู่กันไปแล้วเกิดกระแทกกันรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับเสียหลักวิ่งข้ามเกาะกลางถนนไปชนสามีและบิดาโจทก์ถึงตายเป็นเรื่องต่างทำละเมิด ไม่ใช่ร่วมกันทำละเมิดจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2ในผลแห่งการทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 ประมาทมาก ศาลให้จำเลยที่ 1,3 ใช้ค่าเสียหาย 9 ส่วน จำเลยที่ 2 ใช้ 1 ส่วน
รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับวิ่งคู่กันไปแล้วเกิดกระแทกกันรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับเสียหลักวิ่งข้ามเกาะกลางถนนไปชนสามีและบิดาโจทก์ถึงตายเป็นเรื่องต่างทำละเมิด ไม่ใช่ร่วมกันทำละเมิดจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2ในผลแห่งการทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 ประมาทมาก ศาลให้จำเลยที่ 1,3 ใช้ค่าเสียหาย 9 ส่วน จำเลยที่ 2 ใช้ 1 ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่โดยศาลอุทธรณ์ ต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบ
การที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 คดีนี้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จสิ้นและพิพากษาคดีไปตามประเด็นที่ได้ชี้สองสถานไว้แล้ว โดยมิได้ดำเนินคดีโดยมิชอบด้วยกระบวนพิจารณาแต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร ก็ชอบที่จะพิพากษาแก้ หรือกลับ ไม่มีเหตุที่จะบังคับให้ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีใหม่
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วให้พิพากษาใหม่นั้นจึงมิชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วให้พิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วให้พิพากษาใหม่นั้นจึงมิชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วให้พิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบ
การที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 คดีนี้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จสิ้นและพิพากษาคดีไปตามประเด็นที่ได้ชี้สองสถานไว้แล้ว. โดยมิได้ดำเนินคดีโดยมิชอบด้วยกระบวนพิจารณาแต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร ก็ชอบที่จะพิพากษาแก้ หรือกลับ ไม่มีเหตุที่จะบังคับให้ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีใหม่
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วให้พิพากษาใหม่นั้นจึงมิชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วให้พิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วให้พิพากษาใหม่นั้นจึงมิชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วให้พิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: การพิจารณาช่วงเวลาชำระหนี้ และการไม่ถือว่าผิดนัด
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่าจำเลยยอมชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2520 เป็นต้นไปโดยผ่อนชำระเป็นงวด ๆ คือ ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2521 เป็นต้นไปถึงวันที่ 18 ธันวาคม 2521 เงินต้นจ่ายเดือนละ 30,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยที่ค้าง ดังนี้ แสดงว่าจำเลยยอมชำระหนี้ให้โจทก์เดือนละ 1 งวดทุก ๆ เดือนไป วันเริ่มต้นนับคือวันที่ 18 มกราคม 2521 วันครบกำหนด 1 เดือนในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2521 การที่จำเลยชำระหนี้งวดแรกแก่โจทก์เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2521 จึงเป็นการชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้หาเป็นการผิดนัดชำระหนี้ จนระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อให้ปฏิบัติตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้วอันจะเป็นเหตุให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้ทันทีในเมื่อโจทก์ร้องขอไม่