พบผลลัพธ์ทั้งหมด 605 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2702/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประพฤติตนไม่เรียบร้อยในศาล: การจับกุมโดยไม่มีหมายจับและการใช้กำลังฉุดกระชาก
แม้เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้แล้วจำเลยจะต้องจ่ายเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่ง แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง กลับจะนำเงินที่นำมาด้วยกลับไปนั้นเป็นเรื่องระหว่างโจทก์จำเลย ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล
การที่จำเลยขัดขืน.ไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวไปที่ห้องจ่าศาลและร้องเอะอะโวยวายให้ผู้อื่นช่วย อันเนื่องมาจากการจับกุมจำเลยโดยไม่มีหมายจับ ซึ่งกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะจับกุมจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 ดังนั้นการนำตัวจำเลยมาศาลจึงต้องใช้กำลังฉุดกระชาก และจำเลยร้องเอะอะโวยวายเมื่อถูกใส่กุญแจมือนั้น ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยประพฤติตน ไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล
การที่จำเลยขัดขืน.ไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวไปที่ห้องจ่าศาลและร้องเอะอะโวยวายให้ผู้อื่นช่วย อันเนื่องมาจากการจับกุมจำเลยโดยไม่มีหมายจับ ซึ่งกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะจับกุมจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 ดังนั้นการนำตัวจำเลยมาศาลจึงต้องใช้กำลังฉุดกระชาก และจำเลยร้องเอะอะโวยวายเมื่อถูกใส่กุญแจมือนั้น ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยประพฤติตน ไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจำนองก่อนล้มละลาย และสิทธิการรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน
เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้กู้ยืมเงินในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน ได้ความว่าลูกหนี้ได้กู้เงินจากเจ้าหนี้โดยทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกัน โดยทำสัญญาจำนองและรับเงินกันในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย กรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งเพิกถอนการจำนองรายนี้ตามมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย เมื่อศาลสั่งเพิกถอนแล้ว เจ้าหนี้ยังมีสิทธิขอรับชำระหนี้เดิมได้ตามมาตรา 92 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอความเห็นต่อศาลชั้นต้นให้ยกคำขอรับชำระหนี้รายนี้ตามมาตรา 107(1) นั้น เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายที่ไม่ชอบศาลมีอำนาจสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กระทำใหม่ให้ถูกต้องได้ตามมาตรา 151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจำนองก่อนล้มละลาย และสิทธิการรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน
เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้กู้ยืมเงินในฐานะเจ้าหนี้มีประกันได้ความว่าลูกหนี้ได้กู้เงินจากเจ้าหนี้โดยทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกัน โดยทำสัญญาจำนองและรับเงินกันในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งเพิกถอนการจำนองรายนี้ตามมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย เมื่อศาลสั่งเพิกถอนแล้ว เจ้าหนี้ยังมีสิทธิขอรับชำระหนี้เดิมได้ตามมาตรา 92การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอความเห็นต่อศาลชั้นต้นให้ยกคำขอรับชำระหนี้รายนี้ตามมาตรา 107(1) นั้น เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายที่ไม่ชอบศาลมีอำนาจสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กระทำใหม่ให้ถูกต้องได้ตามมาตรา151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467-2468/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำและข้อจำกัดการเรียกร้องค่าเสียหาย: การฟ้องร้องเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดินในคราวเดียวกัน
ฟ้องโจทก์สำนวนหลังเป็นการฟ้องหาว่าจำเลยบุกรุกที่ดินแปลงเดียวกับสำนวนแรกและบุกรุกในวันเดียวกัน แต่สำนวนแรกโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า จำเลยบุกรุกที่ดินส่วนไหน เนื้อที่เท่าไร และโจทก์ได้รับความเสียหายเพียงใด โจทก์เพิ่งมาบรรยายฟ้องในสำนวนหลังว่า จำเลยบุกรุกเป็นบางส่วน โจทก์จึงได้ฟ้องขับไล่จำเลยตามสำนวนแรก ภายหลังฟ้องแล้วจำเลยยังทำการบุกรุกเรื่อยมาจนกระทั่งหมดทั้งแปลง และขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายด้วย ดังนี้ ฟ้องโจทก์สำนวนหลังระบุถึงการบุกรุกของจำเลยในที่ดินแปลงเดียวกันในคราวเดียวกัน และเกี่ยวเนื่องกันกับสำนวนแรกความประสงค์ของโจทก์ที่ฟ้องสำนวนหลังก็เพื่อจะเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งโจทก์อาจเรียกร้องได้ตั้งแต่สำนวนแรก แต่โจทก์มิได้เรียกร้องไว้ โจทก์เพิ่งมาเรียกร้องในสำนวนหลัง ฟ้องโจทก์สำนวนหลัง จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2388/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องเบี้ยปรับตามสัญญาซื้อขาย: ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้ว ไม่สามารถเรียกร้องเบี้ยปรับรายวันได้
สัญญาซื้อขายข้อ 7 กำหนดเบี้ยปรับในกรณีที่ผู้ขายผิดสัญญาโดยไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบไม่ครบจำนวนและผู้ซื้อได้บอกเลิกสัญญาแก่ผู้ขาย ส่วนข้อ 8 กำหนดเบี้ยปรับในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่ผู้ขาย ยังคงยอมให้ผู้ขายนำสิ่งของที่ซื้อขายส่งให้แก่ผู้ซื้อต่อไป ผู้ซื้อจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับจากผู้ขายเป็นรายวันได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเนื่องจากจำเลยส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ ถูกต้อง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 7 เท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2388/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับตามข้อสัญญาที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง
สัญญาซื้อขายข้อ 7 กำหนดเบี้ยปรับในกรณีที่ผู้ขายผิดสัญญาโดยไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบไม่ครบจำนวนและผู้ซื้อได้บอกเลิกสัญญาแก่ผู้ขาย ส่วนข้อ 8 กำหนดเบี้ยปรับในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่ผู้ขาย ยังคงยอมให้ผู้ขายนำสิ่งของที่ซื้อขายส่งให้แก่ผู้ซื้อต่อไป ผู้ซื้อจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับจากผู้ขายเป็นรายวันได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเนื่องจากจำเลยส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ ถูกต้อง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 7 เท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาอุทธรณ์: นับจากวันอ่านคำสั่งตามกฎหมาย ไม่ใช่วันที่คู่ความทราบ
ในกรณีที่มีการกระทำอันประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140 บัญญัติให้ถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้อ่านตามกฎหมายแล้วในวันใดต้องเริ่มนับกำหนดเวลาอุทธรณ์ในวันรุ่งขึ้นจากวันนั้น หาใช่เริ่มนับจากวันที่คู่ความทราบคำสั่งตามความเป็นจริงไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมผู้กระทำผิดศุลกากร: การรายงานจับกุมและการใช้อำนาจจับกุมของเจ้าหน้าที่ศุลกากรและ ก.ต.ภ.
บันทึกกักสินค้าหลังใบขนสินค้าไม่ใช่การจับกุมตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 24/2508 เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับใบแจ้งความนำจับรายงานการจับกุมและรายงานการตรวจพบการเก็บอากรขาด เมื่อพนักงานศุลกากรจับกุมแล้วต้องทำรายงานการจับกุมต่อผู้บังคับบัญชาด้วยเมื่อผู้ร้องไม่ได้ทำรายงานการจับกุมเพียงแต่บันทึกกักสินค้าหลังใบขนสินค้าผู้ร้องซึ่งเป็นพนักงานศุลกากรจึงไม่ใช่ผู้จับกุมบุคคลที่กระทำผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลการจับกุม
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ก.ต.ภ. ในการจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรมีอยู่เฉพาะตาม พระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2506 มาตรา 3ไม่ได้มีอำนาจทั่วไปอย่างที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะพึงมี กล่าวคือมีอำนาจจับกุมจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78 วรรคท้าย โดยไม่มีหมาย แต่ต้องจับด้วยตนเองและต้องเป็นกรณีออกหมายจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั้งยังมีข้อจำกัดอำนาจอยู่ตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503 มาตรา 6(3) ว่าต้องเป็นกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วนด้วย จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสำนักงานที่แน่นอน จึงไม่ใช่กรณีที่จำเป็นหรือเร่งด่วนที่จะต้องทำการจับกุมแต่อย่างใดอำนาจจับโดยไม่ต้องมีหมายประธาน ก.ต.ก. หามีอำนาจมอบให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานปฏิบัติแทนไม่ผู้ร้องที่เป็นพนักงาน ก.ต.ก. จึงไม่ใช่ผู้จับกุมจำเลยไม่มีสิทธิได้รับรางวัลการจับกุมเช่นเดียวกัน
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ก.ต.ภ. ในการจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรมีอยู่เฉพาะตาม พระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2506 มาตรา 3ไม่ได้มีอำนาจทั่วไปอย่างที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะพึงมี กล่าวคือมีอำนาจจับกุมจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78 วรรคท้าย โดยไม่มีหมาย แต่ต้องจับด้วยตนเองและต้องเป็นกรณีออกหมายจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั้งยังมีข้อจำกัดอำนาจอยู่ตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503 มาตรา 6(3) ว่าต้องเป็นกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วนด้วย จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสำนักงานที่แน่นอน จึงไม่ใช่กรณีที่จำเป็นหรือเร่งด่วนที่จะต้องทำการจับกุมแต่อย่างใดอำนาจจับโดยไม่ต้องมีหมายประธาน ก.ต.ก. หามีอำนาจมอบให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานปฏิบัติแทนไม่ผู้ร้องที่เป็นพนักงาน ก.ต.ก. จึงไม่ใช่ผู้จับกุมจำเลยไม่มีสิทธิได้รับรางวัลการจับกุมเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้รับเงินรางวัลจากการจับกุมความผิดทางศุลกากร ต้องเป็นการจับกุมโดยชอบด้วยกฎหมายและมีรายงานการจับกุมที่ถูกต้อง
บันทึกกักสินค้าหลังใบขนสินค้าไม่ใช่การจับกุมตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 24/2508 เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับใบแจ้งความนำจับ รายงานการจับกุม และรายงานการตรวจพบการเก็บอากรขาด เมื่อพนักงานศุลกากรจับกุมแล้ว ต้องทำรายงานการจับกุมต่อผู้บังคับบัญชาด้วย เมื่อผู้ร้องไม่ได้ทำรายงานการจับกุมเพียงแต่บันทึกกักสินค้าหลังใบขนสินค้า ผู้ร้องซึ่งเป็นพนักงานศุลกากรจึงไม่ใช่ผู้จับกุมบุคคลที่กระทำผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลการจับกุม
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ก.ต.ภ. ในการจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรมีอยู่เฉพาะตาม พระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2506 มาตรา 3ไม่ได้มีอำนาจทั่วไปอย่างที่พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจจะพึงมี กล่าวคือมีอำนาจจับกุมจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 วรรคท้าย โดยไม่มีหมาย แต่ต้องจับด้วยตนเองและต้องเป็นกรณีออกหมายจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั้งยังมีข้อจำกัดอำนาจอยู่ตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503 มาตรา 6 (3) ว่าต้องเป็นกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วนด้วย จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสำนักงานที่แน่นอน จึงไม่ใช่กรณีที่จำเป็นหรือเร่งด่วนที่จะต้องทำการจับกุมแต่อย่างใดอำนาจจับโดยไม่ต้องมีหมายประธาน ก.ต.ก. หามีอำนาจมอบให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานปฏิบัติแทนไม่ผู้ร้องที่เป็นพนักงาน ก.ต.ก. จึงไม่ใช่ผู้จับกุมจำเลยไม่มีสิทธิได้รับรางวัลการจับกุมเช่นเดียวกัน
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ก.ต.ภ. ในการจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรมีอยู่เฉพาะตาม พระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2506 มาตรา 3ไม่ได้มีอำนาจทั่วไปอย่างที่พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจจะพึงมี กล่าวคือมีอำนาจจับกุมจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 วรรคท้าย โดยไม่มีหมาย แต่ต้องจับด้วยตนเองและต้องเป็นกรณีออกหมายจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั้งยังมีข้อจำกัดอำนาจอยู่ตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503 มาตรา 6 (3) ว่าต้องเป็นกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วนด้วย จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสำนักงานที่แน่นอน จึงไม่ใช่กรณีที่จำเป็นหรือเร่งด่วนที่จะต้องทำการจับกุมแต่อย่างใดอำนาจจับโดยไม่ต้องมีหมายประธาน ก.ต.ก. หามีอำนาจมอบให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานปฏิบัติแทนไม่ผู้ร้องที่เป็นพนักงาน ก.ต.ก. จึงไม่ใช่ผู้จับกุมจำเลยไม่มีสิทธิได้รับรางวัลการจับกุมเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1738/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกเลิกสัมปทานและค่าเสียหาย: ศาลล่างงดสืบพยานโดยไม่ชอบ
สัมปทานบัตรเพื่อการลงทุนประกอบการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมในที่ดินที่กระทรวงมหาดไทยจำเลยออกให้โจทก์ก็คือสัญญาระหว่างรัฐกับโจทก์ ทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิและหน้าที่ที่ จะต้องปฏิบัติต่อกันตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัมปทานบัตร และในส่วนที่ไม่ได้ระบุไว้ก็ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉะนั้นแม้ไม่ได้ระบุถึงสิทธิของผู้รับสัมปทานในการที่จะขอยกเลิก สัมปทานบัตร ก็หาใช่ว่าโจทก์จะไม่มีสิทธิบอกเลิกไม่ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิ บอกเลิกสัมปทานบัตรแล้ว คู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 และหากการบอกเลิก เป็นเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย จากจำเลยได้ด้วย