คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวัฒน์ รัตรสาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 605 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1051/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลทันที ทำให้คำสั่งนั้นมีผลบังคับใช้ และจำเลยไม่สามารถสืบพยานได้
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งไม่รับบัญชีพยานของจำเลยก็ดี หรือสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ได้รับบัญชีพยานของจำเลยไว้แล้วก็ดี จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวนั้นเลยเพิ่งมาโต้แย้งเมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลยดังนี้เป็นการโต้แย้งคำสั่งงดสืบพยานเพื่อผลในการอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226. คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับบัญชีพยานและที่สั่งเพิกถอนคำสั่งรับบัญชีพยานของจำเลยจึงยังคงมีอยู่ ซึ่งมีผลเท่ากับว่าจำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีพยานเลย กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: อายุจำเลยเป็นเหตุให้ต้องพิจารณาตามศาลคดีเด็กและเยาวชน แต่การพิจารณาพิพากษาเดิมยังใช้ได้ตามมาตรา 12
วันยื่นฟ้อง ศาลจังหวัดนครราชสีมาสอบถามแล้วจดอายุจำเลยว่าจำเลยอายุ 18 ปี ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดนครราชสีมาจะพิจารณาพิพากษา และศาลจังหวัดนครราชสีมาได้ทำการพิจารณาพิพากษาคดีไปแล้วต่อมาจำเลยอุทธรณ์อ้างว่าวันยื่นฟ้องจำเลยอายุ 17 ปี 7 เดือน 8 วัน โดยแนบสำเนาทะเบียนบ้านมาพร้อมอุทธรณ์คดีอยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมาดังนี้ กรณีต้องด้วยมาตรา12 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 ซึ่งมีความว่าการพิจารณาพิพากษาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา และศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนนั้นให้เป็นอันใช้ได้แม้ความจริงจะปรากฏในภายหลังว่าข้อเท็จจริงใน เรื่องอายุหรือการบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสของบุคคลที่เกี่ยวข้องจะผิดไป ซึ่งถ้าปรากฏเสียแต่ต้นจะเป็นเหตุให้ศาลนั้น ๆ ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาก็ตาม'ดังนี้การพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดนครราชสีมามีผลใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลเด็กและเยาวชน: ผลของอายุที่แตกต่างจากที่จดไว้เมื่อยื่นฟ้อง
วันยื่นฟ้อง ศาลจังหวัดนครราชสีมาสอบถามแล้วจดอายุจำเลยว่า จำเลยอายุ 18 ปี ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดนครราชสีมาจะพิจารณาพิพากษา และศาลจังหวัดนครราชสีมาได้ทำการพิจารณาพิพากษาคดีไปแล้ว ต่อมาจำเลยอุทธรณ์อ้างว่าวันยื่นฟ้องจำเลยอายุ 17 ปี 7 เดือน 8 วัน โดยแนบสำเนาทะเบียนบ้านมาพร้อมอุทธรณ์คดีอยู่ในอำนาจของ ศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมาดังนี้ กรณีต้องด้วยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 ซึ่งมีความว่า การพิจารณาพิพากษาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา และศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนนั้นให้เป็นอันใช้ได้แม้ความจริงจะปรากฏในภายหลังว่าข้อเท็จจริงใน เรื่องอายุหรือการบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสของบุคคลที่เกี่ยวข้องจะผิดไป ซึ่งถ้าปรากฏเสียแต่ต้นจะเป็นเหตุให้ศาลนั้น ๆ ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาก็ตาม'ดังนี้ การพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดนครราชสีมามีผลใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์: เหตุผล 'พฤติการณ์พิเศษ' ต้องมีน้ำหนักเพียงพอ มิใช่ความผิดพลาดของทนาย
คำร้องของจำเลยที่ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ มีใจความว่าทนายจำเลยพิมพ์อุทธรณ์ไม่ทัน เนื่องจากติดว่าความที่ศาลจังหวัดนครปฐมในตอนเช้า และกลับมาพิมพ์อุทธรณ์ในตอนบ่าย แล้วมายื่นต่อศาลไม่ทันเนื่องจากจราจรติดขัด เพราะนักศึกษาเดินขบวน ดังนี้ ไม่ใช่พฤติการณ์พิเศษ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 จะยกขึ้นมากล่าวอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษ มิใช่ความผิดพลาดของทนายจำเลย
คำร้องของจำเลยที่ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ มีใจความว่าทนายจำเลยพิมพ์อุทธรณ์ไม่ทันเนื่องจากติดว่าความที่ศาลจังหวัดนครปฐมในตอนเช้า และกลับมาพิมพ์อุทธรณ์ในตอนบ่าย แล้วมายื่นต่อศาลไม่ทันเนื่องจากจราจรติดขัดเพราะนักศึกษาเดินขบวนดังนี้ ไม่ใช่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 จะยกขึ้นมากล่าวอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ซื้อขายที่ดินโดยมีเจตนาไม่จดทะเบียน: สัญญาเป็นโมฆะ แม้มีสัญญาจะซื้อจะขาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทกัน แต่ได้ทำนิติกรรมจำนองอำพรางไว้ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ จำเลยมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาทจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
การซื้อขายที่ดินต้องพิจารณาถึงเจตนาของคู่กรณีว่าตั้งใจจะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กันในภายหลังหรือไม่ หากไม่มีเจตนาดังกล่าวก็เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด สัญญาตกเป็นโมฆะ หากมีเจตนาดังกล่าว ก็เป็นสัญญาจะซื้อขายการชำระราคาและส่งมอบที่ดินให้แก่กัน ก็ถือเป็นการชำระหนี้บางส่วนซึ่งจะบังคับตามสัญญาซื้อขายได้ เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาชัดแจ้งที่จะไม่นำการซื้อขายที่ดินพิพาทไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลังอีก แต่โจทก์จะโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นต่อไปโดยอาศัยใบมอบอำนาจของจำเลยจึงเป็นการซื้อขายเด็ดขาด เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยทำสัญญาจำนองอำพรางและเจตนาไม่จดทะเบียน: สัญญาเป็นโมฆะ
ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทกัน แต่ได้ทำนิติกรรมจำนองอำพรางไว้ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ จำเลยมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาทจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
การซื้อขายที่ดินต้องพิจารณาถึงเจตนาของคู่กรณีว่า ตั้งใจจะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กันในภายหลังหรือไม่ หากไม่มีเจตนาดังกล่าวก็เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดสัญญาตกเป็นโมฆะ หากมีเจตนาดังกล่าว ก็เป็นสัญญาจะซื้อขายการชำระราคาและส่งมอบที่ดินให้แก่กัน ก็ถือเป็นการชำระหนี้บางส่วนซึ่งจะบังคับตามสัญญาซื้อขายได้ เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาชัดแจ้งที่จะไม่นำการซื้อขายที่ดินพิพาทไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลังอีก แต่โจทก์จะโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นต่อไปโดยอาศัยใบมอบอำนาจของจำเลยจึงเป็นการซื้อขายเด็ดขาด เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา การผิดสัญญา การบอกเลิกสัญญา และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคาร จำเลยผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ต้องมอบพื้นที่และกำหนดแนวเขตพื้นที่ที่โจทก์จะต้องก่อสร้างการที่จำเลยสั่งระงับการก่อสร้างเฉพาะการวางผังและตอกเสาเข็มรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นนั้นเป็นความผิดของจำเลยที่ไม่ตรวจแนวเขตที่ดินให้แน่นอนเสียก่อนจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาที่ไม่สามารถให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างตามสัญญาต่อไปได้แต่ในสัญญาจ้างเหมาไม่มีข้อสัญญาให้สิทธิในการบอกเลิกสัญญาไว้เลย สิทธิในการบอกเลิกสัญญาจึงย่อมมีอยู่เฉพาะตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้นแม้สัญญาจ้างเหมาจะกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน แต่เมื่อมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาเป็นข้อสำคัญอีกต่อไป กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 โจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยดำเนินการให้โจทก์ลงมือก่อสร้างต่อไปโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยแก้ไขข้อขัดข้อง ไม่สามารถแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนดให้แล้ว โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ หากโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติดังกล่าว โจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อโจทก์ยังไม่มีแม้แต่สิทธิที่จะบอกเลิกสัญญา โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา ความผิดของผู้ว่าจ้างในการไม่ส่งมอบพื้นที่ และสิทธิในการบอกเลิกสัญญา
สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคาร จำเลยผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ต้องมอบพื้นที่และกำหนดแนวเขตพื้นที่ที่โจทก์จะต้องก่อสร้าง การที่จำเลยสั่งระงับการก่อสร้าง เฉพาะการวางผังและตอกเสาเข็มรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นนั้นเป็นความผิดของจำเลยที่ไม่ตรวจแนวเขตที่ดินให้แน่นอนเสียก่อน จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาที่ไม่สามารถให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างตามสัญญาต่อไปได้แต่ในสัญญาจ้างเหมาไม่มีข้อสัญญาให้สิทธิในการบอกเลิกสัญญาไว้เลย สิทธิในการบอกเลิกสัญญาจึงย่อมมีอยู่เฉพาะตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้นแม้สัญญาจ้างเหมาจะกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนแต่เมื่อมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาเป็นข้อสำคัญอีกต่อไป กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 โจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยดำเนินการให้โจทก์ลงมือก่อสร้างต่อไปโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยแก้ไขข้อขัดข้อง ไม่สามารถแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนดให้แล้ว โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ หากโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติดังกล่าว โจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อโจทก์ยังไม่มีแม้แต่สิทธิที่จะบอกเลิกสัญญา โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตสิทธิทำประโยชน์ในนาเช่าตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา: สิทธิจำกัดเฉพาะส่วนที่ลงมือทำแล้ว
ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 มาตรา 38 ที่บัญญัติว่า 'ถ้าการบอกเลิกการเช่านาตามมาตรา 35 มาตรา36 หรือมาตรา 37 มีผลเมื่อผู้เช่านาได้ลงมือทำประโยชน์ในนาแล้ว ให้ผู้เช่านามีสิทธิในนานั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จการเก็บเกี่ยวแล้วแต่ต้องเสียค่าเช่านาตามส่วน' นั้นคำว่า 'ในนา' หมายถึงนาเฉพาะส่วนที่ผู้เช่านาได้ลงมือทำประโยชน์ไปแล้วเท่านั้น หาได้หมายความรวมถึงส่วนที่ยังมิได้ลงมือทำประโยชน์ด้วยไม่
of 61