คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 162

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งงดไต่สวนมูลฟ้อง, ความชอบด้วยกฎหมายของการสอบสวนทางวินัย, และการมีอำนาจฟ้องในคดีอาญา
ในศาลชั้นต้นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญามีคำสั่งให้นัดไต่สวนมูลฟ้องไว้แล้ว เมื่อผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเห็นว่าตามที่โจทก์บรรยายฟ้องไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่อ้างได้ การไต่สวนมูลฟ้องต่อไปไม่เป็นประโยชน์แก่คดี ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนย่อมมีอำนาจสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้องได้ หาเกี่ยวกับอำนาจบังคับบัญชาไม่
ตามกฎ ก.พ. จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ในกรณีโจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง นั้น การส่งเรื่องกล่าวหาเป็นหน้าที่ของผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน มิใช่เป็นหน้าที่ของจำเลย และการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาเท่าที่ปรากฏให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบเท่านั้นมิได้กำหนดให้แจ้งโดยละเอียด เมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสร็จให้คณะกรรมการประชุมปรึกษาสรุปข้อเท็จจริง พร้อมทั้งความเห็นเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เมื่อตามฟ้องระบุว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้สั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นกรรมการสอบสวน *จึงไม่อาจเอาผิดแก่จำเลยได้
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสอบสวนพยานและบันทึกเสนอข้อความบิดเบือนความจริง และบันทึกข้อความนอกสำนวนนั้น เมื่อฟ้องมิได้บรรยายว่าความจริงเป็นอย่างไร บิดเบือนอย่างไร ข้อความใดนอกสำนวน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
การที่จำเลยไม่รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อสอบสวนเอาผิดแก่ผู้กระทำผิดรายอื่น และคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยละเว้นไม่สอบสวนบุคคลดังกล่าว โจทก์ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง
*และจำเลยเสนอสำนวนการสอบสวนตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความเท็จต่อศาล: การครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 177 และการไม่ต้องรอคำพิพากษาในคดีที่เบิกความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเบิกความเท็จในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 58/2521 ของศาลจังหวัดเพชรบุรีว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ ความจริงจำเลยรู้ว่าที่พิพาทในคดีนั้นไม่ใช่ที่สาธารณะ ซึ่งถ้าศาลเชื่อตามที่จำเลยเบิกความในคดีนั้นแล้ว โจทก์จะเป็นผู้แพ้ ในคดีดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าว ดังนี้ พอเข้าใจ ได้ว่าคำเบิกความเท็จของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดีคือทำให้โจทก์แพ้ในคดีนั้นฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิด มาตรา 177 แห่งประมวลกฎหมายอาญาแล้ว
การฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยเบิกความเท็จหาจำต้องรอให้ศาลพิพากษาคดีที่จำเลยเบิกความเท็จเสียก่อนไม่ เพราะความผิดเกิดตั้งแต่จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาลในคดีนั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหารคดีความมั่นคงและผลของประกาศคณะปฏิวัติ แม้มีรัฐธรรมนูญ
การที่ศาลได้รับคำฟ้องไว้เพื่อไต่สวนมูลฟ้องนั้น ไม่จำเป็นจะต้องสืบพยานหรือต้องวินิจฉัยว่าฟ้องมีมูลหรือไม่เสมอไป ถ้าศาลเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็ชอบที่จะงดการไต่สวนมูลฟ้องและพิพากษายกฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโฆษณาหรือประกาศให้บุคคลอื่นประทุษร้ายต่อชีวิตโจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 85และมีคำขอท้ายฟ้องโดยอ้างมาตรา 288 มาด้วย ต้องถือว่า โจทก์มีความประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 288 เพราะตามมาตรา 85 นั้น เมื่อจะใช้ก็ต้องโยงไปประกอบมาตรา 288 ด้วย ดังนั้น เมื่อเหตุในคดีนี้เกิดขึ้นระหว่างที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก และความผิดตามมาตรา 288 อยู่ในอำนาจของศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลอาญา
เมื่อคณะปฏิวัติหรือคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าคณะปฏิวัติหรือหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมมีอำนาจออกประกาศ หรือคำสั่งอันถือว่าเป็นกฎหมายใช้บังคับแก่ประชาชนได้ แม้จะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกาศใช้แล้วก็ตาม แต่เมื่อไม่มีกฎหมายยกเลิกประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวประกาศหรือคำสั่งนั้นก็ยังคงเป็นกฎหมายใช้บังคับอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่ชัดเจน: ศาลมีอำนาจยกฟ้องได้แม้ไต่สวนมูลฟ้องแล้ว หากคำฟ้องไม่ระบุรายละเอียดให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้แกล้งนำความเท็จมาฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาในข้อหาฟ้องเท็จเบิกความเท็จ และนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานเท็จพร้อมกับอ้างสำเนาคำฟ้องที่จำเลยฟ้องโจทก์ ทั้งนี้เพราะจำเลยอาฆาตแค้นโจทก์ที่เป็นทนายฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาอีกคดีหนึ่ง ดังนี้ จำเลยกระทำอย่างใดที่ว่าฟ้องเท็จ ฟ้องโจทก์จะต้องระบุมาให้เห็นว่า ความจริงเป็นอย่างไร มิฉะนั้นจำเลยย่อมไม่อาจต่อสู้คดีได้ถูก ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องที่ระบุพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี แม้โจทก์จะได้แนบสำเนาคำฟ้องที่จำเลยฟ้องโจทก์มาในคำฟ้องคดีนี้ด้วยก็ตาม คำฟ้องโจทก์คดีนี้ก็ต้องสมบูรณ์มาก่อน มิใช่ว่าต้องให้ศาลไปตรวจดูฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
โจทก์บรรยายฟ้องคดีหมิ่นประมาทว่าจำเลยแกล้งเรียงคำฟ้องอันเป็นเท็จใส่ความโจทก์ต่อศาล ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศาล ต่อพยาน และบุคคลอื่น ๆ ที่ทราบเรื่องนี้ดีทำให้โจทก์ต้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ดังนี้โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องให้ชัดแจ้งว่าข้อความวรรคใด ตอนใดที่เป็นการเสียหายต่อชื่อเสียงของโจทก์ ซึ่งศาลจะได้ยกขึ้นพิจารณาได้โดยเฉพาะถือว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่อาจทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
เมื่อศาลดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า ฟ้องโจทก์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายศาลก็มีอำนาจยกฟ้องเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่ชัดเจน! ศาลยกฟ้องคดีอาญาและหมิ่นประมาท จำเลยต้องเข้าใจข้อหาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้แกล้งนำความเท็จมาฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาในข้อหาฟ้องเท็จเบิกความเท็จ และนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานเท็จพร้อมกับอ้างสำเนาคำฟ้องที่จำเลยฟ้องโจทก์ทั้งนี้เพราะจำเลยอาฆาตแค้นโจทก์ที่เป็นทนายฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาอีกคดีหนึ่ง ดังนี้ จำเลยกระทำอย่างใดที่ว่าฟ้องเท็จ ฟ้องโจทก์จะต้องระบุมาให้เห็นว่า ความจริงเป็นอย่างไร มิฉะนั้นจำเลยย่อมไม่อาจต่อสู้คดีได้ถูก ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องที่ระบุพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี แม้โจทก์จะได้แนบสำเนาคำฟ้องที่จำเลยฟ้องโจทก์มาในคำฟ้องคดีนี้ด้วยก็ตาม คำฟ้องโจทก์คดีนี้ก็ต้องสมบูรณ์มาก่อน มิใช่ว่าต้องให้ศาลไปตรวจดูฟ้องของโจทก์ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
โจทก์บรรยายฟ้องคดีหมิ่นประมาทว่าจำเลยแกล้งเรียงคำฟ้องอันเป็นเท็จใส่ความโจทก์ต่อศาล ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศาล ต่อพยาน และบุคคลอื่น ๆ ที่ทราบเรื่องนี้ดี ทำให้โจทก์ต้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ดังนี้โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องให้ชัดแจ้งว่าข้อความวรรคใด ตอนใดที่เป็นการเสียหายต่อชื่อเสียงของโจทก์ ซึ่งศาลจะได้ยกขึ้นพิจารณาได้โดยเฉพาะ ถือว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่อาจทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
เมื่อศาลดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า ฟ้องโจทก์ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจยกฟ้องเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกฟ้องคดีอาญาเมื่อศาลเห็นว่าการกระทำไม่เป็นความผิด แม้ฟ้องจะสมบูรณ์
แม้ฟ้องของโจทก์จะสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อศาลพิจารณาคำฟ้องแล้ว เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดก็ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสียได้ โดยไม่จำต้องทำการไต่สวนมูลฟ้องต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความถูกต้องของฟ้องอาญาและการไต่สวนมูลฟ้อง: การอ้างมาตรากฎหมายและอำนาจศาล
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6) บัญญัติไว้เพียงว่า ฟ้องจะต้องอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 หาใช่บทมาตราที่ว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิดทางอาญาไม่ หากแต่เป็นบทมาตราที่ใช้แก่ความผิดโดยทั่วๆ ไปว่า เมื่อมีความผิดโดยการกระทำร่วมกันของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปเกิดขึ้น ศาลจะต้องวางโทษแก่บุคคลเหล่านั้นอย่างไร ฉะนั้น ฟ้องโจทก์ที่บรรยายไว้แล้วว่าจำเลยทั้งสามได้สมคบกันสั่งจ่ายเช็ค เพียงแต่ไม่ได้ระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ลงไว้ด้วย จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162 (1) บัญญัติว่า ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้อง จึงเป็นหน้าที่ของศาลเองโดยตรงที่จะจัดการสั่งให้มีการไต่สวนมูลฟ้องขึ้นเสียก่อนที่จะประทับฟ้องไว้พิจารณา ดังนั้น ในกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา แม้โจทก์มิได้ขอให้ศาลไต่สวนมูลฟ้องมาด้วย ศาลก็ย่อมสั่งและดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องไปตามกฎหมายได้ หาใช่เป็นการสั่งเกินคำขอของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2154/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลคดีหมิ่นประมาท: สถานที่ปรากฏข้อความหมิ่นประมาทเป็นที่เกิดเหตุ
ความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้นต้องถือว่าเกิดขึ้นในตำบลที่ข้อความหมิ่นประมาทปรากฏขึ้นด้วย โจทก์บรรยายถึงที่เกิดเหตุในฟ้องคดีหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสารหนังสือพิมพ์ว่า" ฯลฯ เหตุเกิดที่สำนักงานหนังสือพิมพ์ นน.ปช.แขวงวัดสระเกศ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานครและตลอดทั่วราชอาณาจักรไทย เพราะหนังสือพิมพ์ นน.ปช. มีจำหน่ายทั่วราชอาณาจักร ฯลฯ" เช่นนี้พอเข้าใจได้แล้วว่าหนังสือพิมพ์ที่มีข้อความหมิ่นประมาทนั้นปรากฏขึ้นในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ด้วย จึงต้องถือว่าความผิดได้เกิดในจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งย่อมรวมทั้งอำเภอที่อยู่ในเขตอำนาจศาลแขวงเชียงใหม่ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลแขวงเชียงใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 และคำบรรยายฟ้องดังกล่าวเป็นการบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิดพอสมควรเท่าที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว ศาลแขวงเชียงใหม่จึงต้องดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็ค: ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่ความผิดเสมอไป ต้องมีเจตนาที่จะไม่ให้ใช้เงิน
การที่จะเป็นความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น มิใช่ว่าเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็เกิดเป็นความผิดเสมอไปกรณีจะต้องปรากฏด้วยว่าเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินนั้น จำเลยได้ออกด้วยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คด้วยเจตนาดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ในวันที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คหรือวันออกเช็คจำเลยเป็นเจ้าหนี้ธนาคารอยู่เป็นจำนวนเงินสูงกว่าจำนวนเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายซึ่งถือไม่ได้ว่าจำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น เช่นนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด(อ้างฎีกาที่ 259/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็ค - ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้ใช้เงิน ต้องพิสูจน์เจตนา
การที่จะเป็นความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น มิใช่ว่าเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว ก็เกิดเป็นความผิดเสมอไป กรณีจะต้องปรากฏด้วยว่าเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินนั้น จำเลยได้ออกด้วยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คด้วย เจตนาดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ในวันที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คหรือวันออกเช็ค จำเลยเป็นเจ้าหนี้ธนาคารอยู่เป็นจำนวนเงินสูงกว่าจำนวนเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายซึ่งถือไม่ได้ว่าจำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น เช่นนี้การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด (อ้างฎีกาที่ 259/2513)
of 8