พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ห้ามปรับซ้ำสำหรับความผิดครั้งเดียว
มาตรา 27 ทวิ พระราชบัญญัติศุลกากร แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13)พ.ศ.2499 มาตรา 4 บัญญัติให้ปรับ 4 เท่าราคาของรวมค่าอากร ฯลฯ แม้ไม่มีข้อความว่า 'สำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ' ดัง มาตรา 27 ก็ตามก็มีความหมายมิให้ปรับเรียงตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีนำเข้ารถจี๊บ: การตีความอำนาจกรมศุลกากรและการหลีกเลี่ยงภาษี
จำเลยสั่งรถจี๊บ (ไม่มีตัวถัง)34 คันและเครื่องอุปกรณ์จากญี่ปุ่นเสียภาษีศุลกากรสำหรับรถจี๊ปร้อยละ 20 สำหรับเครื่องอุปกรณ์ร้อยละ 25 ของราคา แล้วนำมาประกอบกันเป็นรถนั่งสมบูรณ์จดทะเบียนจำหน่ายไป ซึ่งพระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2478 มาตรา 4 และบัญชีต่อท้ายระบุถึงรถไม่มีตัวถังอัตราอากรตามราคาร้อยละ 20 รถมีตัวถังหรือสมบูรณ์แล้วร้อยละ 50 ดังนี้ เมื่อจำเลยได้เสียภาษีอย่างรถไม่มีตัวถังเป็นการเสียภาษีตามพิกัดอัตราศุลกากรแล้ว พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2479 มาตรา 5 ก็บัญญัติให้เรียกเก็บอากรแก่สิ่งที่นำเข้ามาตามสภาพแห่งของนั้น ณ เวลาที่นำเข้า แต่ที่บัญญัติต่อไปว่า "แต่สิ่งที่สมบูรณ์แล้วหากนำเข้ามาเป็นส่วนๆนั้น จะเรียกเก็บตามอัตราที่กำหนดไว้สำหรับสิ่งนั้นเสมือนหนึ่งว่าได้นำเข้ามาโดยประกอบส่วนต่างๆ นั้น เข้าด้วยกันโดยสมบูรณ์แล้วก็ได้" นั้น มีความหมายว่า จะเรียกเก็บก็ได้ หรือจะไม่เรียกเก็บก็ได้ ฉะนั้น จำเลยจะต้องเสียอากรเสมือนสิ่งสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อถูกเรียกเก็บเมื่อยังไม่ถูกเรียกเก็บ จำเลยก็ยังไม่ต้องรับผิดชอบเสียอากรเสมือนสิ่งที่สมบูรณ์ เมื่อจำเลยยังไม่ต้องรับผิดเสียอากรก็ไม่อาจถือว่าจำเลยหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษี
พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2479 มาตรา 6 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมศุลกากรอีกชั้นหนึ่ง ที่จะพิจารณาเรียกเก็บภาษี แต่มิใช่เป็นการให้อำนาจแก่อธิบดีฯ เป็นผู้พิจารณาและชี้ขาดว่าการนำสิ่งของเข้ามาเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรหรือไม่ การพิจารณาและชี้ขาดว่าผู้ใดทำผิดและถูกลงโทษหรือไม่ เป็นอำนาจของศาล
พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2479 มาตรา 6 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมศุลกากรอีกชั้นหนึ่ง ที่จะพิจารณาเรียกเก็บภาษี แต่มิใช่เป็นการให้อำนาจแก่อธิบดีฯ เป็นผู้พิจารณาและชี้ขาดว่าการนำสิ่งของเข้ามาเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรหรือไม่ การพิจารณาและชี้ขาดว่าผู้ใดทำผิดและถูกลงโทษหรือไม่ เป็นอำนาจของศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานนำเข้าสินค้าและเงินตราต่างประเทศ จำเลยต้องมีความผิดชัดเจน
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ แต่รองเท้าไม้ของกลางจับได้จากนายประเสริฐ(ไม่ใช่จำเลย) เป็นของนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่รับอนุญาต ริบตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 ซึ่งเป็นบทหนัก โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาฟังว่ารองเท้าไม้นายประเสริฐถือมาอาจเป็นของนายประเสริฐเอง แต่นายประเสริฐกลัวความผิดจึงปัดว่าเป็นคนอื่น ไม่พอฟังว่าจับได้จากจำเลย พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
(หมายเหตุ ศาลฎีกาพิพากษายืน มีผลถึงให้ริบรองเท้าไม้ของกลางไว้ด้วย น่าจะเป็นเพราะมีการกระทำผิดเกิดขึ้นแล้ว นายประเสริฐซึ่งเป็นเจ้าของรู้เห็นแล้ว น่าจะไม่ขัดกับฎีกาที่ 225/2506 และเทียบเคียงได้กับฎีกาที่ 751/2507)
(หมายเหตุ ศาลฎีกาพิพากษายืน มีผลถึงให้ริบรองเท้าไม้ของกลางไว้ด้วย น่าจะเป็นเพราะมีการกระทำผิดเกิดขึ้นแล้ว นายประเสริฐซึ่งเป็นเจ้าของรู้เห็นแล้ว น่าจะไม่ขัดกับฎีกาที่ 225/2506 และเทียบเคียงได้กับฎีกาที่ 751/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความรับผิดทางอาญา: พยานหลักฐานไม่เพียงพอต่อการรับฟังว่าจำเลยนำเข้าเงินตราและสินค้าโดยผิดกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ แต่รองเท้าไม้ของกลางจับได้จากนายประเสริฐ (ไม่ใช่จำเลย)เป็นของนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่รับอนุญาตริบตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 ซึ่งเป็นบทหนัก โจทก์ฎีกาศาลฎีกาฟังว่ารองเท้าไม้นายประเสริฐถือมาอาจเป็นของนายประเสริฐเองแต่นายประเสริฐกลัวความผิดจึงปัดว่าเป็นของคนอื่น ไม่พอฟังว่าจับได้จากจำเลยพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ (หมายเหตุ ศาลฎีกาพิพากษายืน มีผลถึงให้ริบรองเท้าไม้ของกลางได้ด้วยน่าจะเป็นเพราะมีการกระทำเกิดขึ้นแล้ว นายประเสริฐซึ่งเป็นเจ้าของรู้เห็นแล้วน่าจะไม่ขัดกับฎีกาที่225/2506 และเทียบเคียงได้กับฎีกาที่ 751/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่จำเลยตามมาตรา 100 พ.ร.บ.ศุลกากร: ต้องเกี่ยวข้องกับการลักลอบหนีภาษีหรือหลีกเลี่ยงภาษี
หน้าที่ของจำเลยที่จะนำสืบตาม มาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ลอบลักหนี้อากรขาเข้าขาออกหรือเป็นผู้สมรู้ในการนั้นหรือหลีกเลี่ยงโดยเจตนาฉ้อด่านภาษี ถ้าหากว่าจำเลยซื้อของไว้จากพ่อค้าในตลาดโดยเปิดเผย แม้ของนั้นจะยังมิได้เสียภาษี จำเลยหาตกอยู่ในบังคับแห่ง มาตรา 100 ไม่จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องสืบให้สมฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216-1223/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าสินค้าโดยหลีกเลี่ยงอากร ไม่ถือเป็นละเว้นการทำรายงานตามกฎหมายศุลกากร
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 38 เป็นเรื่องที่ใช้บังคับกับนายเรือที่บรรทุกสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตามช่องทางท่าอนุมัติซึ่งไปถึงท่าที่เป็นเขตศุลกากรโดยชอบในกรณีดังกล่าว นายเรือจึงจะมีหน้าที่ต้องทำรายงานยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เรือมาถึงท่า และกฎหมายมาตรานี้บังคับด้วยว่านายเรือจะต้องแถลงรายละเอียดว่าด้วยสินค้านั้นๆ ลงไว้ในรายงานด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีการควบคุมสินค้าที่นำเข้าโดยชอบให้รัดกุมและเพื่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ทำการตรวจสินค้าและเรียกเก็บภาษีได้โดยสะดวกและรวดเร็วนั่นเอง
จำเลยผู้เป็นนายเรือได้นำกะปิของกลางบรรทุกเรือเข้ามาในราชอาณาจักรตามช่องทางซึ่งมิใช่ท่าอนุมัติโดยเจตนาหลีกเลี่ยงอากร และจะฉ้อค่าภาษีรัฐบาล กรณีจึงมิใช่เรื่องที่จำเลยได้นำเรือมาถึงท่าโดยชอบแล้วละเว้นไม่ทำรายงานอันถูกต้อง ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 38
จำเลยผู้เป็นนายเรือได้นำกะปิของกลางบรรทุกเรือเข้ามาในราชอาณาจักรตามช่องทางซึ่งมิใช่ท่าอนุมัติโดยเจตนาหลีกเลี่ยงอากร และจะฉ้อค่าภาษีรัฐบาล กรณีจึงมิใช่เรื่องที่จำเลยได้นำเรือมาถึงท่าโดยชอบแล้วละเว้นไม่ทำรายงานอันถูกต้อง ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 38
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางที่ใช้ในการกระทำผิด แม้จะไม่อยู่ในความครอบครองของเจ้าพนักงาน
ประมวลกฎหมายอาญาซึ่งบัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินนั้น มิได้บัญญัติให้ริบเฉพาะทรัพย์ที่นำมาอยู่ในอำนาจของศาลหรือ เจ้าพนักงานเท่านั้นแต่มุ่งหมายถึงทรัพย์ที่บุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดเป็นสาระสำคัญฉะนั้น ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดแม้จะไม่มีอยู่ที่เจ้าพนักงานก็ตาม ศาลก็สั่งให้ริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด แม้จะไม่อยู่ในอำนาจเจ้าพนักงาน
ประมวลกฎหมายอาญาซึ่งบัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินนั้น มิได้บัญญัติให้ริบเฉพาะทรัพย์ที่นำมาอยู่ในอำนาจของศาลหรือเจ้าพนักงานเท่านั้น แต่มุ่งหมายถึงทรัพย์ที่บุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดเป็นสาระสำคัซญ ฉะนั้น ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดแม้จะไม่มีอยู่ที่เจ้าพนักงานก็ตาม ศาลก็สั่งให้ริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีนำเข้าของต้องห้ามและหลีกเลี่ยงภาษี โดยไม่จำต้องระบุเจตนา
ฟ้องว่านำของต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร และหลบหนีภาษีศุลกากรนั้น แม้ในฟ้องจะมิได้บรรยายว่า จำเลยมีเจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากรก็ตาม ถ้าตามฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ในตัวเช่นนั้นแล้ว ก็ย่อมเป็นฟ้องที่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้ายาที่ได้รับการยกเว้น ต้องขออนุญาตก่อนนำเข้า ไม่ใช่หลังนำเข้า
กฎกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งออกตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษระบุให้ผู้ปรารถนานำยาซึ่งได้รับยกเว้น เข้ามาในราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขออนุญาต ถ้าปลัดกระทรวงสาธารณสุขเห็นสมควรก็ให้ออกใบอนุญาตนั้น ย่อมเห็นได้ว่า แม้จะเป็นยายกเว้นก็ยังบังคับให้ผู้นำเข้าต้องขออนุญาตเสียก่อน หาใช่นำเข้ามาโดยไม่จำต้องขออนุญาตไม่ และย่อมเป็นที่เข้าใจว่าต้องได้รับอนุญาตก่อนนำเข้า ไม่ใช่นำเข้าแล้วจึงไปขออนุญาต ฉะนั้น เมื่อมิได้ขออนุญาตก่อนนำเข้าแต่นำเข้าแล้วจึงไปขออนุญาต จึงมีความผิด