พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4181/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนอากรที่ได้รับยกเว้นและอำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การพิจารณาคุณสมบัติของสินค้าและผลกระทบต่อการคืนอากร
พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มิได้บัญญัติว่าการขอคืนเงินอากรที่ได้รับยกเว้นอากรจะต้องยื่นคำร้องขอคืนตามแบบที่กำหนดไว้ ต่างกับการขอคนภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร ซึ่งมาตรา 27 ตรี แห่ง ป.รัษฎากรให้ยื่นคำร้องขอคืนตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น ดังนั้น การขอคืนเงินอากรที่ได้รับยกเว้นอากรจึงไม่ต้องยื่นคำร้องตามแบบที่กำหนดไว้ แม้ใบขอคืนเงินจะระบุแต่ชื่อโจทก์และจำนวนเงินอากรที่ขอคืนเท่านั้น มิได้ระบุรายละเอียดอื่น เช่น เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เลขที่ใบขนสินค้าที่อ้างว่าได้ชำระอากรโดยผิดหลง และเลขที่บัญชีธนาคารที่ประสงค์จะให้จำเลยโอนเงินตามจำนวนที่ขอคืน แต่จำเลยก็ต้องพิจารณาว่าจะต้องคืนเงินอากรแก่โจทก์หรือไม่ เมื่อจำเลยพิจารณาแล้วไม่คืนเงินอากรแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากรฯ ภาค 4 ของที่ได้รับยกเว้นอากรประเภทที่ 13 ต้องเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในทางราชการ เมื่อได้ความว่ามีการทำสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับกรมอู่ทหารเรือ และกระทรวงกลาโหมมีหนังสือถึงอธิบดีจำเลยขอยกเว้นค่าอากรสำหรับสินค้าพิพาทที่นำเข้าตามสัญญาซื้อขาย เนื่องจากเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการทหาร ต่อมากรมอู่ทหารเรือบอกเลิกสัญญาเนื่องจากสินค้าที่โจทก์ส่งมอบมิใช่สินค้าตามที่กำหนดในสัญญาซื้อขาย สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับกรมอู่ทหารเรือจึงเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 สินค้าพิพาทจึงมิใช่ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการในขณะที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตาม พ.ร.ก.ดังกล่าว แม้ภายหลังกรมอู่ทหารเรือจะทำสัญญาซื้อขายใหม่กับโจทก์โดยถือคุณสมบัติของสินค้าเหมือนเดิมทุกประการ ก็เป็นกรณีที่จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับสินค้าที่นำเข้าตามสัญญาซื้อขายใหม่ การที่โจทก์นำสินค้าพิพาทที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยผ่านพิธีการทางศุลกากรและชำระค่าอากรขาเข้าไปแล้วเพราะไม่ได้เป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในทางราชการมาส่งมอบให้กรมอู่ทหารเรือตามสัญญาซื้อขายฉบับใหม่ ไม่ทำให้สินค้าพิพาทตามสัญญาเดิมที่ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้ากลายเป็นได้รับยกเว้นอากรขาเข้าด้วย จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินอากรขาเข้าพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากรฯ ภาค 4 ของที่ได้รับยกเว้นอากรประเภทที่ 13 ต้องเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในทางราชการ เมื่อได้ความว่ามีการทำสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับกรมอู่ทหารเรือ และกระทรวงกลาโหมมีหนังสือถึงอธิบดีจำเลยขอยกเว้นค่าอากรสำหรับสินค้าพิพาทที่นำเข้าตามสัญญาซื้อขาย เนื่องจากเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการทหาร ต่อมากรมอู่ทหารเรือบอกเลิกสัญญาเนื่องจากสินค้าที่โจทก์ส่งมอบมิใช่สินค้าตามที่กำหนดในสัญญาซื้อขาย สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับกรมอู่ทหารเรือจึงเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 สินค้าพิพาทจึงมิใช่ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการในขณะที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตาม พ.ร.ก.ดังกล่าว แม้ภายหลังกรมอู่ทหารเรือจะทำสัญญาซื้อขายใหม่กับโจทก์โดยถือคุณสมบัติของสินค้าเหมือนเดิมทุกประการ ก็เป็นกรณีที่จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับสินค้าที่นำเข้าตามสัญญาซื้อขายใหม่ การที่โจทก์นำสินค้าพิพาทที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยผ่านพิธีการทางศุลกากรและชำระค่าอากรขาเข้าไปแล้วเพราะไม่ได้เป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในทางราชการมาส่งมอบให้กรมอู่ทหารเรือตามสัญญาซื้อขายฉบับใหม่ ไม่ทำให้สินค้าพิพาทตามสัญญาเดิมที่ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้ากลายเป็นได้รับยกเว้นอากรขาเข้าด้วย จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินอากรขาเข้าพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4409/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทพิกัดศุลกากรสินค้า: เครื่องแช่แข็งอาหาร (Freezing Tunnel) มิใช่เครื่องลำเลียง
เดิมสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร บริษัทผู้ผลิตเรียกชื่อสินค้าดังกล่าวว่า "Freezing Tunnel" หรือ "Food Freezer" ซึ่งแปลว่าเครื่องแช่แข็งอาหาร แต่โจทก์ได้ขอให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าพิพาทเปลี่ยนชื่อสินค้าพิพาทใหม่โดยใช้ชื่อว่า "Belt Conveyor" แปลว่า เครื่องสายพานลำเลียง แสดงว่าบริษัทผู้ผลิตต้องการให้สินค้าพิพาท เป็นเครื่องแช่แข็งอาหาร มิใช่เป็นเครื่องสายพานลำเลียงเท่านั้น และสาระสำคัญของสินค้าพิพาทก็เพื่อประโยชน์ ในการแช่แข็งอาหารโดยใช้สายพานและระบบขับเคลื่อนเป็นส่วนประกอบเพื่อลำเลียงอาหารสดให้ได้รับสารทำความเย็น สินค้าพิพาทจึงมิใช่เพียงเครื่องสายพานลำเลียงหรือเครื่องลำเลียงอาหารสดเท่านั้น และถึงแม้ว่าสินค้าพิพาทจะ ไม่สามารถผลิตสารทำความเย็นได้ด้วยตนเองและไม่มีส่วนใดที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับคอมเพรสเซอร์ คอนเดนเซอร์ ลิ้นลดความดัน คงมีแต่แผงกระจายความเย็นที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับอีแวโพเรเตอร์ก็ตาม แต่ก็สามารถทำความเย็นได้ด้วยการนำถังบรรจุสารทำความเย็นมาติดตั้งและต่อท่อส่งสารทำความเย็นไปที่ระบบหัวฉีดของเครื่องแล้วนำ สินค้าพิพาทแช่แข็งอาหารได้ ดังนี้ สินค้าพิพาทจึงจัดเป็นเครื่องอุปกรณ์ทำความเย็นหรือทำให้เย็นจนแข็งอื่น ๆ ซึ่งมิใช่แบบคอมเพรสชันที่คอนเดนเซอร์เป็นตัวแลกเปลี่ยนความร้อน อันเป็นสินค้าจัดอยู่ในประเภทพิกัด 8418.69 มิใช่เป็นเครื่องลำเลียงอาหารสด ประเภทพิกัด 8428.33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงอัตราอากรขาเข้าผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์: ผลกระทบต่อการประเมินภาษีและสิทธิประโยชน์ทางภาษี
ประกาศกระทรวงการคลังที่ศก.15/2531ยกเลิกการลดอัตราอากรขาเข้าสำหรับของประเภทที่32.04และให้เพิ่มรายการตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ศก.15/2531ไว้ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ศก.1/2531เมื่อรายการที่เพิ่มไม่มีผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์อยู่ด้วยจึงไม่ได้รับการลดอัตราอากรขาเข้าอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราอากรผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์: ผลกระทบจากการยกเลิกการลดหย่อนอัตราอากรตามประกาศกระทรวงการคลัง
ตามพระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530ภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า ประเภทที่ 32.04 รายการ วัตถุแต่งสีที่เป็นอินทรีย์สังเคราะห์จะนิยามไว้ในทางเคมีหรือไม่ก็ตาม สิ่งปรุงแต่งที่มีวัตถุแต่งสีอินทรีย์สังเคราะห์เป็นหลักตามที่ระบุไว้ในหมายเหตุ 3 ของตอนนี้ ผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์หรือใช้เป็นลูมิโนฟอร์ จะนิยามไว้ในทางเคมีหรือไม่ก็ตาม วัตถุแต่งสีอินทรีย์สังเคราะห์และสิ่งปรุงแต่งที่มีวัตถุดังกล่าวเป็นหลักตามที่ระบุไว้ในหมายเหตุ 3 ของตอนนี้ ประเภทย่อย 3204.20 ผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์ มีอัตราอากรร้อยละ 30 ต่อมามีประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.1/2531เรื่อง การลดอัตราอากรศุลกากรและการกำหนดให้ของได้รับการยกเว้นอากร ข้อ 1. ให้ลดอัตราอากรสำหรับของในภาค 2แห่งพระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ดังต่อไปนี้ข้อ 1.1 ของซึ่งกำหนดให้ได้รับการลดอัตราอากรตามบัญชีท้ายประกาศนี้ ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.1/2531 ระบุให้ของในประเภทที่ 32.04 รายการ เฉพาะวัตถุแต่งสีที่เป็นอินทรีย์สังเคราะห์ จะนิยามไว้ในทางเคมีหรือไม่ก็ตาม สิ่งปรุงแต่งที่มีวัตถุแต่งสีอินทรีย์สังเคราะห์เป็นหลักตามที่ระบุไว้ในหมายเหตุ 3 ของตอนนี้ผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์หรือใช้เป็นลูมิโนฟอร์ จะนิยามไว้ในทางเคมีหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่สีเม็ดพลาสติก สีแวตสีไดเร็กและสีรีแอกทีฟ อัตราอากรปกติร้อยละ 30 ลดลงเหลือ ร้อยละ 15 แต่หลังจากนั้นมีประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.15/2531 เรื่อง ยกเลิกการลดและลดอัตราอากรศุลกากรและกำหนดให้ของได้รับการยกเว้นอากรข้อ 1.2 ให้ยกเลิกการลด อัตราอากรขาเข้าสำหรับของตามประเภทที่ 32.04 ตามประกาศ กระทรวงการคลัง ที่ ศก.1/2531 และข้อ 2. ให้เพิ่มรายการตามบัญชีท้ายประกาศนี้ไว้ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.1/2531 ลงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 ภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้าตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.15/2531 ภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า ประเภทที่32.04 รายการ เฉพาะสิ่งปรุงแต่งที่มีวัตถุแต่งสีอินทรีย์สังเคราะห์เป็นหลักตามที่ระบุไว้ในหมายเหตุ 3 ของตอนนี้ผลิตภัณฑ์อิอนทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นลูมิโนฟอร์ และวัตถุแต่งสีที่เป็นอินทรีย์สังเคราะห์ จะนิยามไว้ในทางเคมีหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่สีเม็ดพลาสติก สีแวตสีไดเร็กสีรีแอกทีฟสีดิสเฟอร์สสีแอซีดสีเบสิกและสีซัลเฟอร์อัตราอากรปกติร้อยละ 30 ลดลงเหลือร้อยละ 15 จึงเป็นที่เห็นได้ว่าการที่ประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.15/2531ยกเลิกการลดอัตราอากรขาเข้าสำหรับของประเภทที่ 32.04 และ ให้เพิ่มรายการตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง ที่ศก.15/2531 ไว้ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.1/2531 แสดงว่า ให้ยกเลิกการลดอัตราอากรขาเข้าสำหรับของประเภทที่ 32.04 ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.1/2531 ดังนี้ เมื่อรายการที่เพิ่มตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.15/2531 ประเภทที่ 32.04 ไม่มีรายการ "ผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์" อยู่ด้วย ผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูอออเรสเซนต์ จึงไม่ได้รับการลดอัตราอากรขาเข้าอีกต่อไปตามภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า แห่งพระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ของประเภทที่ 32.04 ได้แยกชนิดของวัตถุหรือผลิตภัณฑ์ในประเภทนี้ออกเป็นหลายชนิดโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์ แยกเป็นประเภทย่อย 3204.20 และตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.15/2531 ก็ตัดคำว่า "ผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์" ออกไปจากเดิมที่เคยระบุไว้ในประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.1/2531 แสดงว่ากฎหมายมีเจตนาแยกผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเฉพาะดังกล่าวออกต่างหากและไม่ต้องการให้ได้รับการลดอัตราอากรอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงอัตราอากรขาเข้าผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดฟลูออเรสเซนต์ตามประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.15/2531 ยกเลิกการลดอัตราอากรขาเข้าสำหรับของประเภทที่ 32.04 และให้เพิ่มรายการตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.15/2531 ไว้ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.1/2531 เมื่อรายการที่เพิ่มไม่มีผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์อยู่ด้วย จึงไม่ได้รับการลดอัตราอากรขาเข้าอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงอัตราอากรศุลกากรสำหรับวัตถุแต่งสีอินทรีย์สังเคราะห์และผลิตภัณฑ์ฟลูออเรสเซนต์
ตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า ประเภทที่ 32.04 รายการ วัตถุแต่งสีที่เป็นอินทรีย์สังเคราะห์จะนิยามไว้ในทางเคมีหรือไม่ก็ตาม สิ่งปรุงแต่งที่มีวัตถุแต่งสีอินทรีย์สังเคราะห์เป็นหลักตามที่ระบุไว้ในหมายเหตุ 3 ของตอนนี้ ผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์หรือใช้เป็นลูมิโนฟอร์ จะนิยามไว้ในทางเคมีหรือไม่ก็ตาม วัตถุแต่งสีอินทรีย์สังเคราะห์และสิ่งปรุงแต่งที่มีวัตถุดังกล่าวเป็นหลักตามที่ระบุไว้ในหมายเหตุ 3 ของตอนนี้ ประเภทย่อย 3204.20 ผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์ มีอัตราอากรร้อยละ 30 ต่อมามีประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.1/2531 เรื่อง การลดอัตราอากรศุลกากรและการกำหนดให้ของได้รับการยกเว้นอากร ข้อ 1.ให้ลดอัตราอากรสำหรับของในภาค 2 แห่ง พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ดังต่อไปนี้ข้อ 1.1 ของซึ่งกำหนดให้ได้รับการลดอัตราอากรตามบัญชีท้ายประกาศนี้ ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.1/2531 ระบุให้ของในประเภทที่ 32.04รายการ เฉพาะวัตถุแต่งสีที่เป็นอินทรีย์สังเคราะห์ จะนิยามไว้ในทางเคมีหรือไม่ก็ตาม สิ่งปรุงแต่งที่มีวัตถุแต่งสีอินทรีย์สังเคราะห์เป็นหลักตามที่ระบุไว้ในหมายเหตุ 3ของตอนนี้ ผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์หรือใช้เป็นลูมิโนฟอร์ จะนิยามไว้ในทางเคมีหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่สีเม็ดพลาสติก สีแวต สีไดเร็ก และสีรีแอกทีฟ อัตราอากรปกติร้อยละ 30 ลดลงเหลือร้อยละ 15 แต่หลังจากนั้นมีประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.15/2531เรื่อง ยกเลิกการลดและลดอัตราอากรศุลกากรและกำหนดให้ของได้รับการยกเว้นอากรข้อ 1.2 ให้ยกเลิกการลดอัตราอากรขาเข้าสำหรับของตามประเภทที่ 32.04ตามประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.1/2531 และข้อ 2. ให้เพิ่มรายการตามบัญชีท้ายประกาศนี้ไว้ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.1/2531 ลงวันที่1 มกราคม พ.ศ.2531 ภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้าตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.15/2531 ภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า ประเภทที่ 32.04รายการ เฉพาะสิ่งปรุงแต่งที่มีวัตถุแต่งสีอินทรีย์สังเคราะห์เป็นหลักตามที่ระบุไว้ในหมายเหตุ 3 ของตอนนี้ ผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นลูมิโนฟอร์ และวัตถุแต่งสีที่เป็นอินทรีย์สังเคราะห์ จะนิยามไว้ในทางเคมีหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่สีเม็ดพลาสติก สีแวต สีไดเร็ก สีรีแอกทีฟ สีดีสเฟอร์ส สีแอซิด สีเบลิก และสีซัลเฟอร์ อัตราอากรปกติร้อยละ 30 ลดลงเหลือร้อยละ 15 จึงเป็นที่เห็นได้ว่าการที่ประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.15/2531 ยกเลิกการลดอัตราอากรขาเข้าสำหรับของประเภทที่ 32.04 และให้เพิ่มรายการตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.15/2531 ไว้ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.1/2531แสดงว่า ให้ยกเลิกการลดอัตราอากรขาเข้าสำหรับของประเภทที่ 32.04 ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.1/2531 ดังนี้ เมื่อรายการที่เพิ่มตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.15/2531 ประเภทที่ 32.04 ไม่มีรายการ"ผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์"อยู่ด้วย ผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์ จึงไม่ได้รับการลดอัตราอากรขาเข้าอีกต่อไป ตามภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า แห่ง พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ของประเภทที่ 32.04 ได้แยกชนิดของวัตถุหรือผลิตภัณฑ์ในประเภทนี้ออกเป็นหลายชนิดโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์ แยกเป็นประเภทย่อย 3204.20 และตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.15/2531 ก็ตัดคำว่า "ผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์" ออกไปจากเดิมที่เคยระบุไว้ในประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.1/2531 แสดงว่ากฎหมายมีเจตนาแยกผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเฉพาะดังกล่าวออกต่างหากและไม่ต้องการให้ได้รับการลดอัตราอากรอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกกิจการของผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีและการประเมินภาษี
แม้คดีนี้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแต่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยศาลอาจสืบพยานตามที่เห็นจำเป็นเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ และจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 205 วรรคแรก ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17ดังนั้น เมื่อศาลภาษีอากรพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จำเลยย่อมอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลภาษีอากรว่าข้ออ้างของโจทก์ทั้งสองไม่มีมูลให้ชนะคดีได้ ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 24 ประกอบมาตรา 29
ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นประเด็นที่จำเลยจะต้องให้การไว้ คดีนี้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ถูกยกเลิกบัตรส่งเสริมการลงทุน เพราะจำเลยที่ 1เลิกกิจการ มิใช่ถูกคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับตามบัตรส่งเสริมอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 แห่งพ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2522 ซึ่งจะทำให้ผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องเสียภาษีอากรโดยถือสภาพของของ ราคาและอัตราภาษีที่เป็นอยู่ในวันนำเข้าเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากร ตามมาตรา 55 วรรคแรก
ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่งได้บัญญัติเรื่องผู้ได้รับการส่งเสริมเลิกกิจการ รวมกิจการกับผู้อื่น หรือโอนกิจการให้แก่ผู้อื่น ให้บัตรส่งเสริมนั้นใช้ได้ต่อไปอีกไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันเลิก รวมหรือโอนกิจการ ส่วนวรรคสองเป็นเรื่องที่ผู้ซึ่งดำเนินกิจการที่ร่วมกันขึ้นใหม่ หรือโอนกิจการ ประสงค์จะขอรับช่วงดำเนินกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมต่อไป ก็ให้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมภายในเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าไม่สมควรให้การส่งเสริม ก็ให้สั่งให้เพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมด ดังนี้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า ตามมาตรา 56 วรรคสองมิได้บัญญัติถึงเรื่องการเลิกกิจการ อันจะถือเท่ากับว่าสิทธิและประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมถูกเพิกถอนแล้วไม่
ปัญหาเรื่องบัตรส่งเสริมถูกยกเลิกเพราะมีการเลิกกิจการสิทธิและประโยชน์ที่ผู้ได้รับการส่งเสริมเคยได้รับโดยเฉพาะเรื่องภาษีอากรนี้จะเรียกเก็บอย่างไร มิได้มีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ฯ จึงต้องบังคับตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ก. (ฉบับที่ 45) พ.ศ.2528 มิใช่บังคับตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราภาษีศุลกากร พ.ศ.2530 เพราะจำเลยที่ 1 เลิกกิจการและสำนักงานส่งเสริมการลงทุน ประกาศยกเลิกบัตรส่งเสริมของจำเลยที่ 1 ก่อนที่ พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 จะมีผลใช้บังคับ
ตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 มาตรา 10วรรคหนึ่ง ของนำเข้าใดเคยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากร ถ้าสิทธิที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนสิ้นสุดลง ของนั้นจะต้องเสียอากรโดยถือสภาพของของ ราคาและอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่สิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงเป็นเกณฑ์ในการคำนวณอากรโดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรต้องไปดำเนินการเพื่อชำระอากรตามที่กำหนดไว้ ส่วนในช่วงก่อนที่สิทธิที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรจะสิ้นสุดลง ผู้นั้นก็ได้รับสิทธิและประโยชน์ต่อไป และน่ายังถือว่าเป็นสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับไปแล้ว หากผู้นำของเข้าหมดสิทธิที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์ต่อไปมิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้น คือ มิได้ดำเนินการเพื่อชำระอากรดังกล่าว ก็ให้ถือว่าของนั้นได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้เสียอากรถูกต้อง อันอาจถูกพนักงานศุลกากรกักยึดเพื่อประเมินเรียกเก็บภาษีอากร รวมทั้งต้องเสียเงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา เท่านั้น แต่ก็ยังต้องถือว่าเป็นของที่ต้องเสียภาษีอากรโดยทั้งสภาพของของ ราคา และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่สิทธิได้รับยกเว้นอากรสิ้นสุดลงตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 อยู่ หาได้หมายความว่า เมื่อผู้นำของเข้ามิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นแล้ว ให้ถือว่าของนั้นได้นำเข้าโดยยังมิได้เสียอากรถูกต้องตามสภาพของของ ราคา และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่นำเข้าไม่
หลังจากจำเลยได้รับแจ้งประเมินให้เสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยจึงหมดสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ซึ่งรวมถึงหมดสิทธิที่จะฟ้องหรือยกขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลว่าการประเมินดังกล่าวมิชอบด้วย
ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นประเด็นที่จำเลยจะต้องให้การไว้ คดีนี้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ถูกยกเลิกบัตรส่งเสริมการลงทุน เพราะจำเลยที่ 1เลิกกิจการ มิใช่ถูกคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับตามบัตรส่งเสริมอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 แห่งพ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2522 ซึ่งจะทำให้ผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องเสียภาษีอากรโดยถือสภาพของของ ราคาและอัตราภาษีที่เป็นอยู่ในวันนำเข้าเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากร ตามมาตรา 55 วรรคแรก
ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่งได้บัญญัติเรื่องผู้ได้รับการส่งเสริมเลิกกิจการ รวมกิจการกับผู้อื่น หรือโอนกิจการให้แก่ผู้อื่น ให้บัตรส่งเสริมนั้นใช้ได้ต่อไปอีกไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันเลิก รวมหรือโอนกิจการ ส่วนวรรคสองเป็นเรื่องที่ผู้ซึ่งดำเนินกิจการที่ร่วมกันขึ้นใหม่ หรือโอนกิจการ ประสงค์จะขอรับช่วงดำเนินกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมต่อไป ก็ให้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมภายในเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าไม่สมควรให้การส่งเสริม ก็ให้สั่งให้เพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมด ดังนี้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า ตามมาตรา 56 วรรคสองมิได้บัญญัติถึงเรื่องการเลิกกิจการ อันจะถือเท่ากับว่าสิทธิและประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมถูกเพิกถอนแล้วไม่
ปัญหาเรื่องบัตรส่งเสริมถูกยกเลิกเพราะมีการเลิกกิจการสิทธิและประโยชน์ที่ผู้ได้รับการส่งเสริมเคยได้รับโดยเฉพาะเรื่องภาษีอากรนี้จะเรียกเก็บอย่างไร มิได้มีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ฯ จึงต้องบังคับตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ก. (ฉบับที่ 45) พ.ศ.2528 มิใช่บังคับตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราภาษีศุลกากร พ.ศ.2530 เพราะจำเลยที่ 1 เลิกกิจการและสำนักงานส่งเสริมการลงทุน ประกาศยกเลิกบัตรส่งเสริมของจำเลยที่ 1 ก่อนที่ พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 จะมีผลใช้บังคับ
ตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 มาตรา 10วรรคหนึ่ง ของนำเข้าใดเคยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากร ถ้าสิทธิที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนสิ้นสุดลง ของนั้นจะต้องเสียอากรโดยถือสภาพของของ ราคาและอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่สิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงเป็นเกณฑ์ในการคำนวณอากรโดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรต้องไปดำเนินการเพื่อชำระอากรตามที่กำหนดไว้ ส่วนในช่วงก่อนที่สิทธิที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรจะสิ้นสุดลง ผู้นั้นก็ได้รับสิทธิและประโยชน์ต่อไป และน่ายังถือว่าเป็นสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับไปแล้ว หากผู้นำของเข้าหมดสิทธิที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์ต่อไปมิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้น คือ มิได้ดำเนินการเพื่อชำระอากรดังกล่าว ก็ให้ถือว่าของนั้นได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้เสียอากรถูกต้อง อันอาจถูกพนักงานศุลกากรกักยึดเพื่อประเมินเรียกเก็บภาษีอากร รวมทั้งต้องเสียเงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา เท่านั้น แต่ก็ยังต้องถือว่าเป็นของที่ต้องเสียภาษีอากรโดยทั้งสภาพของของ ราคา และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่สิทธิได้รับยกเว้นอากรสิ้นสุดลงตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 อยู่ หาได้หมายความว่า เมื่อผู้นำของเข้ามิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นแล้ว ให้ถือว่าของนั้นได้นำเข้าโดยยังมิได้เสียอากรถูกต้องตามสภาพของของ ราคา และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่นำเข้าไม่
หลังจากจำเลยได้รับแจ้งประเมินให้เสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยจึงหมดสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ซึ่งรวมถึงหมดสิทธิที่จะฟ้องหรือยกขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลว่าการประเมินดังกล่าวมิชอบด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราอากรศุลกากร: วอเตอร์ ซิลเลอร์ เป็นเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องทำความเย็น เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนอัตราอากร
เครื่องวอเตอร์ ซิลเลอร์ เป็นเครื่องปรับอากาศที่อาศัยน้ำเป็นตัวสื่อทำความเย็น ไม่ใช่เครื่องทำน้ำเย็น เมื่อโจทก์นำเข้ามาเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรม โจทก์จึงมีสิทธิได้ลดอากรเหลืออัตราร้อยละ 30 ตามประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.10/2525