คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 207

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 216 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนนัดพิจารณาคดีและการขาดนัดพิจารณา: จำเลยไม่จงใจขาดนัดหากไม่ทราบวันนัดใหม่
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 5 ตุลาคม 2520 ในวันที่4 ตุลาคม 2520 ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่น ขอให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 14 พฤศจิกายน 2520ครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยไปว่าความศาลอื่นตามที่อ้าง ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่ 5 ตุลาคม 2520 อันเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์อนุญาตให้เลื่อนคดีกำหนดวันนัดใหม่ ให้นัดสืบพยานโจทก์วันที่ 14พฤศจิกายน 2520 เวลา 8.30 น. อันเป็นวันที่ทนายจำเลยขอให้นัดไว้ แต่ไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยได้ทราบคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีไปนัดสืบพยานโจทก์ในวันนัดใหม่นั้นแล้ว แม้ทนายจำเลยจะไม่ได้ติดตามสอบถามเพราะหลงลืม และต่อมาจำเลยและทนายจำเลยไม่ได้มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ก็ยังไม่พอจะถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1997/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มาศาลตามนัดโดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ได้แจ้งให้ศาลทราบ ถือเป็นการจงใจไม่มาศาล
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ถึงวันนัดพิจารณาคำร้องจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้ว ไม่มาศาล และไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ จำเลยอ้างว่าทนายจำเลยต้องไปตรวจตราทรัพย์ของลูกความคดีอื่นที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ ขากลับการจราจรติดขัด กลับมาไม่ทัน แต่ทนายจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องไว้เป็นหลักฐาน แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะดำเนินการเกี่ยวกับการร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ต่อไป ถือได้ว่าจำเลยจงใจไม่มาศาล ศาลย่อมสั่งยกคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามในคดีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่น – การขอพิจารณาใหม่
ในกรณีร้องขอให้พิจารณาใหม่ในคดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายส่งมอบที่ดินมีเนื้อที่น้อยกว่าข้อตกลง ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินค่าซื้อที่ดินซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น จำเลยจะฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามในคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท
ในกรณีร้องขอให้พิจารณาใหม่ในคดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายส่งมอบที่ดินมีเนื้อที่น้อยกว่าข้อตกลง ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินค่าซื้อที่ดินซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น จำเลยจะฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำเพิกถอนคำพิพากษาเดิมต้องใช้กระบวนการตามกฎหมาย การฟ้องใหม่จึงไม่รับพิจารณา
จำเลยที่ 1 เคยฟ้องโจทก์กับจำเลยที่ 4 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาให้ที่ดินซึ่ง ท.ภริยาจำเลยที่ 1 ยกให้โจทก์และจำเลยที่ 4 โจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ส่วนจำเลยที่ 4 ยอมรับว่าเป็นจริงตามฟ้อง ศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาดังกล่าว คดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์กับจำเลยที่ 1 หากโจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำพิพากษาคดีดังกล่าวก็ต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207,208 และ 209คือขอให้มีการพิจารณาใหม่ การที่โจทก์มาฟ้องเป็นคดีใหม่ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำพิพากษาคดีก่อนเช่นนี้ย่อมเป็นการฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นคำฟ้องซึ่งศาลไม่พึงรับไว้พิจารณา
เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาคดีก่อนเสียแล้ว คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. โอนใส่ชื่อตนเองกับจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับมรดกแล้วจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ทำนิติกรรมยกที่ดินแปลงดังกล่าวโอนกลับคืนให้จำเลยที่ 4 ครึ่งหนึ่งของเนื้อที่ จึงให้จำเลยทั้งสี่ไปดำเนินการเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนต่างๆ เสีย ให้โจทก์กับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามเดิม นั้นย่อมไม่เป็นคำฟ้องอันพึงรับไว้พิจารณาเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-คำพิพากษาถึงที่สุด: ศาลไม่รับฟ้องเพิกถอนคำพิพากษาเดิมหากไม่ใช้กระบวนการตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เคยฟ้องโจทก์กับจำเลยที่ 4 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาให้ที่ดินซึ่ง ท.ภิริยาจำเลยที่ 1 ยกให้โจทก์และจำเลยที่ 4 โจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ส่วนจำเลยที่ 4 ยอมรับว่าเป็นจริงตามฟ้อง ศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาดังกล่าว คดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์กับจำเลยที่ 1 หากโจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำพิพากษาคดีดังกล่าวก็ต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ,208,และ 209 คือขอให้มีการพิจารณาใหม่การที่โจทก์มาฟ้องเป็นคดีใหม่ขอให้ศาลพิจารณาเพิกถอนคำพิพากษาคดีก่อนย่อมเป็นการฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ในส่วนที่เกี่ยวกันเช่นนี้จำเลยที่ 1 จึงเป็นคำฟ้องซึ่งศาลไม่พึงรับไว้พิจารณา
เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาคดีก่อนเสียแล้ว คำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท.โอนใส่ชื่อตนเองกับจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับมรดกแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ทำนิติกรรมยกที่ดินแปลงดังกล่าวโอนกลับคืนให้จำเลยที่ 4 ครึ่งหนึ่งของเนื้อที่ จึงให้จำเลยทั้งสี่ไปดำเนินการเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนต่างๆเสีย ให้โจทก์กับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิตามเดิมนั้นย่อมไม่เป็นคำฟ้องอันพึงรับไว้พิจารณาเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมาศาลของจำเลยและการขาดนัดพิจารณาคดี: จำเลยมาศาลแต่กลับก่อนสืบพยานโจทก์เสร็จ ไม่ถือว่าขาดนัด
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ในวันสืบพยานจำเลยมาศาลแต่ได้กลับไปเสียก่อนที่ศาลจะสืบพยานโจทก์เสร็จ กรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จะมีคำขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ เพราะคู่ความที่จะมีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 นั้น จะต้องเป็นคู่ความที่ศาลแสดงว่าขาดนัดพิจารณา และมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากขาดนัดฟังคำสั่ง และการที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาประเด็นเกินขอบเขตที่อุทธรณ์
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีอ้างว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าคำร้องของโจทก์มีขอ้ความชัดว่าโจทก์ร้องขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป มิใช่ขอให้พิจารณาใหม่ ไม่สมควรที่ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดี ขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของโจทก์ จึงเท่ากับอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีโดยไม่ชอบ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้โจทก์จะจงใจไม่มาศาลในวันนัดฟังประเด็นกลับ ก็มิใช่เป็นกรณีที่จะถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ พิพากษาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ย่อมเป็นการวินิจฉัยในประเด็นโดยตรงที่โจทก์อุทธรณ์แล้ว ไม่จำเป็นที่จะวินิจฉัยว่าจะให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของโจทก์ต่อไปหรือไม่
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีวันที่ 19 พฤศจิกายน 2519 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2519 โจทก์ยื่นคำร้องว่ามิได้มีเจตนาขาดนัดหรือจงใจละทิ้งคดี ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้อง วันที่ 22 ธันวาคม 2519 ครั้นถึงวันนัดศาลชั้นต้นงดไต่สวนคดีแล้วสั่งยกคำร้อง ต้องถือว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2519 มีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2519 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นงดการไต่สวนและยกคำร้องและเป็นวันเริ่มต้นนับวันอายุอุทธรณ์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากขาดนัดพิจารณา และการอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีที่ยังไม่ถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีอ้างว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าคำร้องของโจทก์มีข้อความชัดว่าโจทก์ร้องขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป มิใช่ขอให้พิจารณาใหม่ ไม่สมควรที่ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดี ขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของโจทก์ จึงเท่ากับอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีโดยไม่ชอบ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้โจทก์จะจงใจไม่มาศาลในวันนัดฟังประเด็นกลับ ก็มิใช่เป็นกรณีที่จะถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ พิพากษาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปนั้น ย่อมเป็นการวินิจฉัยในประเด็นโดยตรงที่โจทก์อุทธรณ์แล้ว ไม่จำเป็นที่จะวินิจฉัยว่าจะให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของโจทก์ต่อไปหรือไม่
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีวันที่ 19 พฤศจิกายน 2519 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2519 โจทก์ยื่นคำร้องว่ามิได้มีเจตนาขาดนัดหรือจงใจละทิ้งคดี ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องวันที่ 22 ธันวาคม 2519 ครั้นถึงวันนัดศาลชั้นต้นงดไต่สวนแล้วสั่งยกคำร้อง ต้องถือว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2519 มีผลแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2519 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นงดการไต่สวนและยกคำร้องและเป็นวันเริ่มต้นนับอายุอุทธรณ์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาในคดีเช่าทรัพย์สิน: อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม
คดีฟ้องเรียกค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์อันมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองหมื่นบาท และขอให้ขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาท จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วให้ยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ดังนี้ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 3 และต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 7 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
of 22