พบผลลัพธ์ทั้งหมด 216 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6627/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกไปยังภูมิลำเนาเดิมที่ไม่ใช่ปัจจุบัน แม้เป็นการส่งโดยชอบ แต่หากจำเลยไม่ได้รับรู้เรื่องฟ้องคดี ศาลอนุญาตให้พิจารณาใหม่ได้
จำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง แม้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยโดยการปิดหมายไว้ ณ บ้านที่จำเลยมีที่อยู่ทางทะเบียน จะเป็นการส่งโดยชอบก็ตาม แต่ปัญหาว่าการส่งหมายเป็นไปโดยชอบหรือไม่กับปัญหาว่าจำเลยจงใจขาดนัดหรือไม่เป็นคนละเรื่องกันเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยไม่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ และจำเลยไม่ทราบเรื่องที่ถูกฟ้องคดีนี้จึงไม่อาจถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณากรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4421/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการขอพิจารณาใหม่ จำเลยต้องแสดงเหตุจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
การที่จำเลยซึ่งขาดนัดพิจารณา อ้างว่าไม่ทราบหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องหมายนัดพิจารณาตลอดจน คำบังคับซึ่งส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลย เพราะเหตุไปค้าขายที่ต่างจังหวัดนั้น มิใช่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำขอพิจารณาคดีใหม่หลังขาดนัด ศาลต้องพิจารณาเหตุจงใจขาดนัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว การพิจารณาคำขอดังกล่าวจึงต้องพิจารณาเป็นลำดับ คือ ศาลต้องพิจารณาคำขอนั้นก่อนว่าถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207และ 208 หรือไม่ แล้วพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนั้นมาศาลไม่ได้หรือไม่ ตามมาตรา 209 วรรคหนึ่ง การที่คู่ความจงใจขาดนัดก็เป็นกรณีไม่มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้นั่นเองเมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่า โจทก์พลั้งเผลอเป็นเหตุให้หลงลืมวันนัดและไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ไม่ใช่เหตุอันสมควรที่โจทก์จะมาศาลไม่ได้และยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ จึงเท่ากับศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าการขาดนัดพิจารณาของโจทก์เป็นไปโดยจงใจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดการบังคับคดีระหว่างอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาและยกคำร้องได้หากไม่มีเหตุคุ้มครองประโยชน์ระหว่างอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ซึ่งศาลชั้นต้น วินิจฉัยว่าคดีนี้มิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยจำเลยขาดนัด พิจารณาและได้สั่งยกคำร้องไปแล้ว จำเลยจึงไม่อาจ ขอให้งดการบังคับคดี แต่คำร้องขอของจำเลยอาจถือได้ว่า เป็นการขอให้สั่งคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ทำคำพิพากษาเสร็จแล้ว จึงไม่มีเหตุจะต้อง สั่งคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ต่อไป ศาลอุทธรณ์จึงต้องสั่งให้ยกคำร้อง ของ จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
คดีนี้มีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทว่าเป็นของโจทก์หรือไม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกไปจากที่ดินและอาคารพิพาทจำเลยยื่นฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและ อาคารพิพาท จึงเป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยตรง เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาจำเลย โดยวินิจฉัยว่า จำเลย ถูกฟ้องล้มละลายและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย เด็ดขาดไปก่อนจำเลยยื่นฎีกาคดีนี้ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน ของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 ฎีกาของจำเลยเป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจยื่นฎีกาได้ คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว ย่อมถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกายกคดี ขึ้นพิจารณาใหม่ในชั้นศาลฎีกาได้ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อจำเลยล้มละลาย: สิทธิในการฎีกา
คดีนี้มีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทว่าเป็นของโจทก์หรือไม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกไปจากที่ดินและอาคารพิพาท จำเลยยื่นฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาท จึงเป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยตรง เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาจำเลย โดยวินิจฉัยว่า จำเลยถูกฟ้องล้มละลายและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดไปก่อนจำเลยยื่นฎีกาคดีนี้ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 22 ฎีกาของจำเลยเป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยจำเลยจึงไม่อาจยื่นฎีกาได้ คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวย่อมถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 147 และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกายกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ในชั้นศาลฎีกาได้ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7137/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอพิจารณาคดีใหม่: คุณสมบัติคู่ความและเหตุขาดนัด
ผู้ที่จะมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 207ได้นั้น จะต้องเป็นคู่ความและเป็นคู่ความฝ่ายที่ถูกศาลแสดงว่าขาดนัดพิจารณา และการขาดนัดพิจารณาเป็นเหตุให้ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ฝ่ายที่ขาดนัดนั้นแพ้คดีในประเด็นข้อพิพาทด้วย
คดีนี้ศาลชั้นต้นได้ทำการไต่สวนเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท และมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 ไปแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาท ผู้คัดค้านไม่ได้เป็นผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นคู่ความในคดีนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1 (11) และผู้คัดค้านไม่ได้ถูกศาลแสดงว่าขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้คัดค้านแพ้คดีในประเด็นที่พิพาทผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่
คดีนี้ศาลชั้นต้นได้ทำการไต่สวนเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท และมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 ไปแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาท ผู้คัดค้านไม่ได้เป็นผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นคู่ความในคดีนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1 (11) และผู้คัดค้านไม่ได้ถูกศาลแสดงว่าขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้คัดค้านแพ้คดีในประเด็นที่พิพาทผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7137/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอพิจารณาคดีใหม่ต้องเป็นคู่ความที่ถูกศาลแสดงว่าขาดนัดและมีคำพิพากษาถึงที่สุด
ผู้ที่จะมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ได้นั้นจะต้องเป็นคู่ความและเป็นคู่ความฝ่ายที่ถูกศาลแสดงว่าขาดนัดพิจารณา และการขาดนัดพิจารณาเป็นเหตุให้ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ฝ่ายที่ขาดนัดนั้นแพ้คดีในประเด็นข้อพิพาทด้วย คดีนี้ศาลชั้นต้นได้ทำการไต่สวนเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382ไปแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาท ผู้คัดค้านไม่ได้เป็นผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นคู่ความในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(11) และผู้คัดค้านไม่ได้ถูกศาลแสดงว่าขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้คัดค้านแพ้คดีในประเด็นที่พิพาทผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2524/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมาย: การปิดหมายที่สำนักงานในอาคารสูง และการจงใจขาดนัด
อาคารที่ตั้งสำนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นตึกสูง 20 ชั้นในอาคารนั้นเป็นที่ตั้งสำนักงานบริษัทอื่น ๆ ประมาณ50 บริษัท สำนักงานของจำเลยที่ 1 อยู่ที่ชั้น 19ซึ่งตามปกติพนักงานของศาลที่ไปส่งหมายต่าง ๆ ให้บริษัทจำเลยที่ 1 จะปิดหมายไว้ที่บริเวณใกล้ตู้โทรศัพท์ซึ่งเป็นทางเดินเล็ก ๆ ไปยังห้องน้ำอยู่แล้ว ดังนั้น ที่พนักงานเดินหมายของกรมบังคับคดีนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องซึ่งได้กำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไปส่งให้แก่จำเลยที่ 1โดยการปิดไว้ชั้นล่างของอาคารดังกล่าว จึงเป็นวิธีปฏิบัติตามปกติในการส่งหมายให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ย้ายภูมิลำเนาไปที่อื่น การปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตลอดจนการแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการปิดคำคู่ความและเอกสารไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคหนึ่งแล้วเมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องกับได้ทราบถึงวันนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดและไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดีจึงเป็นการจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดโดยชอบตามภูมิลำเนาเดิม แม้มีการย้ายภูมิลำเนาแล้ว แต่ไม่แจ้งให้ศาลทราบ
จำเลยที่ 2 อ้างเหตุในคำขอให้พิจารณาใหม่ว่า จำเลยที่ 2ไม่เคยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ เพราะได้ย้ายไปจากภูมิลำเนาตามฟ้องตั้งแต่ปี 2536 แล้ว ซึ่งหากได้ความตามคำร้องดังกล่าว การส่งหมายนัดสืบพยานประเด็นโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยวิธีปิดหมายก็ย่อมไม่ชอบ มีผลทำให้การสืบพยานประเด็นโจทก์และนัดต่อ ๆ มาจนถึงวันนัดฟังคำพิพากษาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบถือว่าจำเลยที่ 2 มิได้ทราบวันนัดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษากรณีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2จะมิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 225 เพราะเป็นกรณีที่เกี่ยวกับการที่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่จะยังให้การไปโดยยุติธรรม แต่เมื่อข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ 207/23-24 ถนนอ่อนนุชและในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 2 ยังมีภูมิลำเนาอยู่ที่เดิม ดังนี้ แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาเป็นเลขที่ 300/46 ถนนอ่อนนุชก็ตาม แต่ตามเอกสารดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่ใหม่ตั้งแต่เมื่อใด เมื่อจำเลยที่ 2ไม่นำสืบให้ปรากฏชัด ทั้งไม่เคยแจ้งการย้ายภูมิลำเนาไปที่ใหม่ให้ศาลทราบจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ที่เดิมตามฟ้อง ฉะนั้น การส่งหมายนัดไปให้จำเลยที่ 2และนัดต่อ ๆ มาจนถึงนัดฟังคำพิพากษาโดยวิธีการใดก็ตามย่อมถือว่าเป็นการส่งให้จำเลยที่ 2 โดยชอบแล้ว