คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 207

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 216 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดชี้สองสถานและงดสืบพยาน หากจำเลยไม่เห็นด้วยต้องอุทธรณ์คำพิพากษา ไม่ใช่ขอพิจารณาใหม่
ในวันนัดชี้สองสถานและนัดพร้อมเพื่อสอบข้อเท็จจริง โจทก์มาศาล ส่วนจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าตามคำฟ้องและคำให้การคดีพอวินิจฉัยได้แล้วให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย และพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี ดังนี้ หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป จำเลยต้องอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้เพราะมิใช่กรณีที่จำเลยไม่มาศาลในวันสืบพยาน และศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาซึ่งจำเลยจะขอพิจารณาใหม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 565/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริง ทำให้ศาลไม่วินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับการขาดนัด
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ส่วนฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยที่ว่า ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยโดยมิได้ทำการไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21 เสียก่อนเป็นการไม่ชอบนั้น เมื่อฎีกาของจำเลยต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเสียแล้ว ฎีกาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5724/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการพิจารณาคดีใหม่หลังขาดนัด - การพิจารณาเจตนาการขาดนัดและผลกระทบต่อสิทธิในการให้การ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 บัญญัติให้สิทธิจำเลยที่ขาดนัดพิจารณาสาบานตนเข้าเบิกความเป็นพยาน และถามค้านพยานโจทก์ได้ หากการขาดนัดพิจารณาของจำเลยเป็นไปโดยไม่จงใจ และศาลอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ และแม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจก็ตาม ในการไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ศาลจึงต้องวินิจฉัยด้วยว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจหรือไม่ เพื่อสิทธิตามกฎหมายของจำเลย
การที่จำเลยไปศาลแต่ไม่ยอมเข้าไปในห้องพิจารณาเองโดยไม่มีใครห้าม ต้องถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาขัดกับข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์คดีแพ่งและการฟังข้อเท็จจริงเรื่องการขาดนัด
ในชั้นขอให้พิจารณาใหม่ เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า จำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ก็ต้องถือตามทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีเป็นหลักในการพิจารณาว่าเป็นคดีที่ฎีกาได้หรือไม่ เมื่อทุนทรัพย์ในคดีเป็นเงินไม่เกินห้าหมื่นบาท จำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 จำเลยฎีกาว่าไม่ได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาอันเป็นข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5104/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ล้มละลายไม่มีสิทธิยื่นคำขอพิจารณาใหม่เอง อำนาจอยู่ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ก่อนจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ศาลแพ่งได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยในคดีล้มละลายแล้ว จึงเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา22 (3) การที่จำเลยยื่นขอให้พิจารณาใหม่เป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้ จำเลยไม่มีสิทธิดำเนินการเอง เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ส่วนที่ศาลจะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนตามมาตรา 25 ได้ต้องเป็นกรณีที่จำเลยได้ยื่นขอพิจารณาใหม่ไว้ก่อน แล้วถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในภายหลัง เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ จึงไม่ต้องตามตามบทบัญญัติ มาตรา 25 ที่ศาลจะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาว่าคดีแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5104/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของลูกหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่ผู้เดียว
ก่อนจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ศาลแพ่งได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยในคดีล้มละลายแล้ว จึงเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(3) การที่จำเลยยื่นขอให้พิจารณาใหม่เป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้ จำเลยไม่มีสิทธิดำเนินการเอง เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ส่วนที่ศาลจะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนตามมาตรา 25 ได้ต้องเป็นกรณีที่จำเลยได้ยื่นขอพิจารณาใหม่ไว้ก่อน แล้วถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในภายหลัง เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ จึงไม่ต้องตามบทบัญญัติ มาตรา 25ที่ศาลจะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาว่าคดีแทน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5040/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ: ความประมาทเลินเล่อของทนาย และผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183
ในวันนัดชี้สองสถานทนายจำเลยมาศาลเมื่อศาลนัดสืบพยานโจทก์ไปแล้ว จำเลยเพียงแต่สอบถามวันนัดจากเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ ไม่ได้ตรวจดู สำนวนว่าศาลนัดสืบพยานโจทก์วันเวลาใดให้แน่ชัด จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลย และตามป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสอง บัญญัติให้คู่ความมาศาลในวันชี้สองสถานถ้า คู่ความฝ่ายใดไม่มาศาลให้ถือว่าทราบกระบวนพิจารณาของศาลในวันนั้นแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ จำเลยจะอ้างว่าฟังเวลาจากเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ ผิดไปหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหลังพิทักษ์ทรัพย์: จำเลยไม่มีสิทธิยื่นคำขอพิจารณาใหม่, เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ก่อนจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยหลังจากนั้นเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483มาตรา 22(3) การยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ในคดีนี้เป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้ จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะยื่นคำขอจำเลยหามีสิทธิยื่นไม่ การที่ศาลจะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 25 นั้น ต้องเป็นกรณีที่จำเลยได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ไว้ก่อนแล้ว คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา และศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ภายหลัง เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปก่อนแล้วจึงยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายหลัง กรณีย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวที่ศาลจะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาว่าคดีแทนจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายในการขอพิจารณาคดีใหม่ต้องระบุชัดเจนในใบแต่งทนายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62
คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ลงชื่อโดยทนายจำเลยซึ่งมิได้ระบุให้มีอำนาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้ในใบแต่งทนายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลจะพึงรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุขาดนัดพิจารณาคดี: ความล่าช้าจากการต่อรองค่าเสียหายอุบัติเหตุรถยนต์ไม่ถือเป็นเหตุสมควร
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ อ้างว่ามิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเพราะในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการขับรถยนต์ชนกับรถยนต์ของผู้มีชื่อระหว่างทางมาศาล ต้องเสียเวลาตกลงกันเกือบ 2 ชั่วโมง ทำให้มาศาลไม่ทันตามกำหนดเวลานัด แต่ข้อเท็จจริงส่อแสดงว่าเหตุที่รถยนต์ชนกันเป็นความผิดของจำเลยที่ 2 และความล่าช้าในการตกลงเรื่องค่าเสียหายกับผู้มีชื่อเกิดจากการที่จำเลยที่ 2 พยายามต่อรองราคาค่าเสียหาย ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 2 สามารถจ่ายหรือทำความตกลงกับผู้มีชื่อได้โดยไม่ชักช้า นอกจากนั้นจำเลยที่ 2 ยังจะต้องให้ผู้มีชื่อซึ่งไม่มีความสันทัดในการเขียนหนังสือเขียนใบรับเงินที่มีข้อความค่อนข้างยืดยาวให้อีก อันเป็นการเพิ่มพูนการเสียเวลาให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งความชักช้าดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 มาศาลไม่ทันตามกำหนดนัด เช่นนี้ จึงยังฟังไม่ได้ถนัดนักว่ามีเหตุสมควรเชื่อว่าจำเลยที่ 2 มาศาลไม่ได้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีไม่อาจอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามที่ขอได้
of 22