คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 108

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 208 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิด พ.ร.บ.ที่ดิน: ช่วงเวลาสำคัญในการพิจารณาความผิดตามมาตรา 9, 108 และ 108 ทวิ
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 และมาตรา 108 ทวิบัญญัติถึงผู้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ออกเป็น 2 ช่วงระยะเวลา คือ หากผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 อยู่ก่อน วันที่ 4 มีนาคม 2515 แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจะต้อง ปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่มาตรา 108 บัญญัติไว้ก่อน ผู้ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบจึงมีความผิดตามมาตรา 108 แต่ถ้า กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2515 เป็นต้นไป แล้ว ผู้ฝ่าฝืนตามมาตรา 108 ทวิ มีความผิดทันทีโดยพนักงาน เจ้าหน้าที่ไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนใด ๆ ทั้งสิ้น บทบัญญัติ ทั้งสองมาตรานี้จึงบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิด มาตรา 9 ไว้ต่างกัน โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2533 เวลากลางวันและ กลางคืนติดต่อกัน จำเลยปลูกบ้านในที่ดินสาธารณประโยชน์ อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ร่วมกัน และเป็นที่ดินของรัฐ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108,108 ทวิ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยปลูกบ้าน ตามฟ้องก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515 แม้ข้อเท็จจริงจะฟังว่า ที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านบางส่วนเป็นทางสาธารณประโยชน์ อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน โดยจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองและไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยก็ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9,108 ทวิ หากเป็นความผิดก็อาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 และตามข้อเท็จจริงที่โจทก์ กล่าวในฟ้อง โจทก์ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงดังเช่นที่ปรากฏ ในทางพิจารณาจึงไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่ จึงไม่อาจ ลงโทษจำเลยตามมาตรา 108 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิด พ.ร.บ.ที่ดิน: ช่วงเวลาสำคัญและขั้นตอนการแจ้งความผิดตามมาตรา 108 vs. 108 ทวิ
ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 108 และมาตรา 108 ทวิบัญญัติถึงผู้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ออกเป็น 2 ช่วงระยะเวลา คือ หากผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 อยู่ก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่มาตรา 108 บัญญัติไว้ก่อนผู้ฝ่าฝืนจึงมีความผิดตามมาตรา 108 แต่ถ้ากระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2515 เป็นต้นไป ผู้ฝ่าฝืนตามมาตรา 108 ทวิ มีความผิดทันที โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2533 จำเลย ปลูกบ้านในที่ดินสาธารณประโยชน์ตามฟ้อง อันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ร่วมกันและ เป็นที่ดินของรัฐ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 9,108,108 ทวิ เมื่อได้ความว่าจำเลยปลูกบ้าน ตามฟ้องก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515 จำเลยจึงไม่มีความผิด ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 9,108 ทวิ แม้อาจเป็น ความผิดตามมาตรา 9,108 และโจทก์ได้อ้างมาตรา 108 มาด้วย แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงดังเช่นที่ปรากฏ ในทางพิจารณามาในฟ้อง จึงไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสี่ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 108 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกสาธารณสมบัติของแผ่นดินและการพิสูจน์การครอบครองหลังประกาศ คณะปฏิวัติ
ความผิดฐานบุกรุกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2)(3) ประกอบมาตรา 362 กฎหมายมุ่งลงโทษผู้ที่บุกรุกเข้าไปใน อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น ไม่ใช่เป็นบทบัญญัติที่จะลงโทษผู้บุกรุก ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแต่อย่างใด ส่วนการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9(1) และมีโทษตามมาตรา 108 ทวิ วรรคสอง นั้นจะต้องเป็นการฝ่าฝืนนับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96ใช้บังคับ คือวันที่ 4 มีนาคม 2515 เป็นต้นไป เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะฟังว่า จำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ภายหลังวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 มีผลใช้บังคับ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9(1) ประกอบมาตรา 108 ทวิ วรรคสอง ได้ โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องด้วยว่าพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย หรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบ และพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ฟ้องของโจทก์จึงขาดสาระสำคัญไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินตามมาตรา 9(1),108 ที่จะลงโทษจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานออกคำสั่งรื้อถอนที่ดินบุกรุกป่าสงวน การแจ้งความดำเนินคดีอาญาไม่ใช่ละเมิดที่ศาลคุ้มครองชั่วคราวได้
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507ออกคำสั่งจังหวัดโดยอ้างว่าโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและสั่งให้โจทก์ทำการรื้อถอนแก้ไขหรือกระทำประการอื่นใดแก่สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งที่ทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติภายใน30วันแม้ต่อมาโจทก์จะฟ้องจำเลยขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและห้ามมิให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องหรือกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือขาดประโยชน์จากที่ดินของโจทก์อีกต่อไปโดยโต้แย้งว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่คนละตำบลและคนละอำเภอก็ตามแต่การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้อำเภอแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา368ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9,108,108ทวิฐานไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้นเป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและเป็นการใช้สิทธิในขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องหรือขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดังกล่าวดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไปอีกเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานป่าสงวนมีอำนาจสั่งรื้อถอนและดำเนินคดีอาญาได้ โจทก์ไม่มีสิทธิห้าม
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติ อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ออกคำสั่งจังหวัด โดยอ้างว่าโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และสั่งให้โจทก์ทำการรื้อถอน แก้ไขหรือกระทำประการอื่นใดแก่สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งที่ทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติภายใน 30 วัน แม้ต่อมาโจทก์จะฟ้องจำเลยขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและห้ามมิให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องหรือกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือขาดประโยชน์จากที่ดินของโจทก์อีกต่อไปโดยโต้แย้งว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่คนละตำบลและคนละอำเภอก็ตาม แต่การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้อำเภอแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 368 ป.ที่ดินมาตรา 9, 108, 108 ทวิ ฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้น เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและเป็นการใช้สิทธิในขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องหรือขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดังกล่าว ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไปอีกเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3521/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาต่อรัฐ: เทศบาลไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 229,360 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 117,118,120 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะฟ้องร้องขอให้ลงโทษผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(1)และพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(1) เอกชนจะฟ้องได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ แม้โจทก์จะเป็นเทศบาลและมีหน้าที่บำรุงทางบกทางน้ำ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496มาตรา 50(2),53 มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษา คุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่อยู่ในเขตเทศบาลตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย และดูแลรักษาลำน้ำในเขตเทศบาลตามที่อธิบดีกรมเจ้าท่ามอบหมาย ตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีบุกรุกที่ดินสาธารณะหลังประกาศคณะปฏิวัติ การไม่จำเป็นต้องบรรยายองค์ความผิดตามมาตรา 108
โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างปี 2522 ถึงวันที่ 18 เมษายน 2531จำเลยทั้งสองได้บุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์อันเป็นที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9,108 ทวิ วันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดนั้นเป็นเวลาหลังวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ใช้บังคับแล้ว โจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108 ดังนั้นโจทก์จึงหาจำต้องบรรยายฟ้องว่า พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด จำเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบพนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยออกจากที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว จำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เพราะข้อความดังกล่าวบัญญัติไว้เป็นองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 อันเป็นกรณีที่ผู้กระทำผิดฝ่าฝืนมาตรา 9 อยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากสำนวนเดิมเพื่อปรับบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
คดีที่อุทธรณ์ได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย การนำข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาจากพยานหลักฐานในสำนวนเพื่อปรับกับบทมาตราที่โจทก์ฟ้องเป็นปัญหาโดยตรงในการวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมายังไม่ชัดเจนพอศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาให้ชัดเจนขึ้นได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งออกจากที่ดินต้องเป็นไปตามระเบียบ หากไม่ถูกต้องครบถ้วน ถือว่าจำเลยยังไม่ได้รับคำสั่งและไม่มีความผิด
ตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2515) ว่าด้วยวิธีปฏิบัติในการแจ้งและออกคำสั่งแก่ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2515 ใช้บังคับกำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้นำส่งหนังสือแจ้งบันทึกเหตุการณ์และเหตุผลในการไม่ยอมรับหนังสือแจ้งไว้ และให้มีพยานอย่างน้อย2 คน ลงชื่อรับรองไว้ในบันทึกนั้นด้วย เมื่อผู้นำส่งหนังสือแจ้งได้ปฏิบัติการดังกล่าวแล้วนั้นให้ถือว่าผู้ฝ่าฝืนได้รับหนังสือแจ้งแล้ว แต่ตามบันทึกข้อความของเจ้าหน้าที่ผู้นำหนังสือแจ้งและคำสั่งให้ออกจากที่ดินไปส่งแก่จำเลย นอกจากจะไม่ปรากฏเหตุผลที่ผู้ฝ่าฝืนไม่ยอมรับหนังสือแจ้งแล้ว ยังไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ผู้นำส่งได้สอบถามเหตุผลเอาจากผู้ฝ่าฝืนแล้วบันทึกไว้และไม่ปรากฏว่าบันทึกดังกล่าวเป็นเอกสารที่อ้างอิงเกี่ยวกับจำเลยว่าเป็นผู้เข้าไปยึดถือครอบครองก่นสร้างที่ดินของรัฐอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน บันทึกข้อความนั้นจึงไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่ระเบียบกำหนด จะถือว่าจำเลยได้รับหนังสือแจ้งอันเป็นคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้และทราบคำสั่งนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 และประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งออกจากที่ดินต้องถูกต้องตามระเบียบ หากไม่ถูกต้อง ถือว่าจำเลยไม่ได้รับแจ้งและไม่มีความผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108,108 ทวิและ ป.อ. 368 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดตาม ป.ที่ดินมาตรา 108 ทวิ และ ป.อ. มาตรา 368 มีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในข้อหาความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 แล้ว เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาความผิดดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15และที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ โดยกล่าวในฎีกาเพียงว่าขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมิได้กล่าวว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ เพราะเหตุใดก็เป็นฎีกาที่ไม่แจ้งชัดต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติมาตราทั้งสองดังกล่าวเช่นกัน ตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2515) ว่าด้วยวิธีปฏิบัติในการแจ้งและออกคำสั่งแก่ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่ง ป.ที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิบัติฉบับที่ 96ใช้บังคับกำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้นำส่งหนังสือแจ้งบันทึกเหตุการณ์และเหตุผลในการไม่ยอมรับหนังสือแจ้งไว้ แต่ตามบันทึกข้อความของเจ้าหน้าที่ผู้นำหนังสือแจ้งและคำสั่งให้ออกจากที่ดินไปส่งแก่จำเลยนอกจากจะไม่ปรากฏเหตุผลที่ผู้ฝ่าฝืนไม่ยอมรับหนังสือแจ้งแล้วยังไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ผู้นำส่งได้สอบถามเหตุผลเอาจากผู้ฝ่าฝืนแล้วบันทึกไว้ บันทึกข้อความนั้นจึงยังไม่ถูกต้องครบถ้วน จะถือว่าจำเลยได้รับหนังสือแจ้งอันเป็นคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้และทราบคำสั่งนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 368 และ ป.ที่ดิน มาตรา 108.
of 21