คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 569

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 246 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466-1468/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการเรียกร้องค่าเสียหายที่เกี่ยวเนื่องกับการเช่าอสังหาริมทรัพย์: ข้อจำกัดในการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าเดือนละ 150 บาท และเรียกค่าเสียหายเดือนละ 10,000 บาทนับจากวันฟ้องไปจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายออกจากตึกพิพาทเสร็จสิ้น โจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้มาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่น หากแต่เรียกร้องมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง
โจทก์เป็นผู้รับโอนที่ดินและตึกแถวที่พิพาทโดยสุจริตจากผู้จัดการมรดกของเจ้าของที่ดินพิพาทเดิม แม้ว่าจะมีสัญญาต่างตอบแทนกันอยู่ระหว่างเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมกับจำเลยนอกเหนือไปจากสัญญาเช่า สัญญาต่างตอบแทนนี้ก็เพียงแต่ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิ อันมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาด้วยกันเองเท่านั้น สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาต่างตอบแทนนั้นหาได้โอนไปยังผู้รับโอนทรัพย์ที่พิพาทด้วยไม่
หมายเหตุ วรรค 1 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่
( ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2518 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466-1468/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ค่าเสียหายจากการฟ้องขับไล่ และผลของสัญญาต่างตอบแทนที่ไม่ผูกพันผู้รับโอนทรัพย์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าเดือนละ 150 บาท และเรียกค่าเสียหายเดือนละ 10,000 บาทนับจากวันฟ้องไปจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายออกจากตึกพิพาทเสร็จสิ้น โจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้มาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่น หากแต่เรียกร้องมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง
โจทก์เป็นผู้รับโอนที่ดินและตึกแถวที่พิพาทโดยสุจริตจากผู้จัดการมรดกของเจ้าของที่ดินพิพาทเดิม แม้ว่าจะมีสัญญาต่างตอบแทนกันอยู่ระหว่างเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมกับจำเลยนอกเหนือไปจากสัญญาเช่า สัญญาต่างตอบแทนนี้ก็เพียงแต่ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิ อันมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาด้วยกันเองเท่านั้น สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาต่างตอบแทนนั้นหาได้โอนไปยังผู้รับโอนทรัพย์ที่พิพาทด้วยไม่
หมายเหตุ วรรค 1 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ทำขึ้นโดยรู้ว่าทรัพย์สินกำลังถูกบังคับคดียึดขายทอดตลาด ถือเป็นการฉ้อฉล สัญญาเป็นโมฆะ
ท.เป็นเจ้าของที่ดินและตึกพิพาทซึ่งจำนองไว้แก่ ช. จำเลยรู้ดีว่า ช. กับ ท. กำลังเป็นความกันอยู่และศาลได้พิพากษาให้ ท.ไถ่ถอนจำนองที่ดินและตึกพิพาท ควรจะรู้แล้วว่าหาก ท.ไม่จัดการไถ่ถอนที่ดินและตึกพิพาทอาจจะต้องถูกยึดขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้จำนองแก่ ช. จำเลยก็ยังทำสัญญาเช่าตึกพิพาทกับ ท. มีกำหนด 8 ปี โดยจดทะเบียนซึ่งควรรู้ไดว่าจะก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ตึกพิพาทในเมื่อ ท.ไม่สามารถชำระหนี้จำนองและอาจมีการขายทอดตลาดซึ่งย่อมทำให้ผู้ซื้อเสียเปรียบ ครั้นเมื่อ ท.ไม่ชำระหนี้จำนอง ศาลจึงบังคับคดียึดที่ดินและตึกพิพาทขายทอดตลาด โจทก์เป็นผู้ซื้อได้โดยไม่รู้ว่าตึกพิพาทมีสัญญาเช่าผูกพันอยู่ พฤติการณ์ของ ท.กับจำเลยถือได้ว่า ท.กับจำเลยสมยอมกันทำสัญญาเช่าตึกพิพาทโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้บุคคลที่อาจประมูลซื้อตึกพิพาทในภายหลังเสียเปรียบ เป็นการฉ้อฉล แม้โจทก์จะประมูลซื้อตึกพิพาทในภายหลัง ก็ถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 สัญญาเช่านั้นจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายได้
จำเลยให้การแต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ไม่ได้บรรยายว่าเคลือบคลุมอย่างไร เป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 จำเลยโต้แย้งขึ้นมาในชั้นแก้ฎีกา จึงไม่เป็นประเด็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่สมยอมกันเพื่อทำให้ผู้ประมูลซื้อเสียเปรียบ ถือเป็นการฉ้อฉล สัญญาเช่าจึงไม่มีผลผูกพัน
ท. เป็นเจ้าของที่ดินและตึกพิพาทซึ่งจำนองไว้แก่ ช. จำเลยรู้ดีว่า ช. กับ ท. กำลังเป็นความกันอยู่และศาลได้พิพากษาให้ท. ไถ่ถอนจำนองที่ดินและตึกพิพาทควรจะรู้แล้วว่าหากท. ไม่จัดการไถ่ถอน. ที่ดินและตึกพิพาทอาจจะต้องถูกยึดขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้จำนองแก่ ช.จำเลยก็ยังทำสัญญาเช่าตึกพิพาทกับ ท. มีกำหนด 8 ปี โดยจดทะเบียน ซึ่งควรรู้ได้ว่าจะก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ตึกพิพาทในเมื่อ ท.ไม่สามารถชำระหนี้จำนอง และอาจมีการขายทอดตลาดซึ่งย่อมทำให้ผู้ซื้อเสียเปรียบ ครั้นเมื่อ ท. ไม่ชำระหนี้จำนองศาลจึงบังคับคดียึดที่ดินและตึกพิพาทขายทอดตลาดโจทก์เป็นผู้ซื้อได้โดยไม่รู้ว่าตึกพิพาทมีสัญญาเช่าผูกพันอยู่ พฤติการณ์ของ ท.กับจำเลยถือได้ว่าท. กับจำเลยสมยอมกันทำสัญญาเช่าตึกพิพาทโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้บุคคลที่อาจประมูลซื้อตึกพิพาทในภายหลังเสียเปรียบเป็นการฉ้อฉลแม้โจทก์จะประมูลซื้อตึกพิพาทในภายหลัง ก็ถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา237 สัญญาเช่านั้นจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายได้
จำเลยให้การแต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่ได้บรรยายว่าเคลือบคลุมอย่างไร เป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 จำเลยโต้แย้งขึ้นมาในชั้นแก้ฎีกาจึงไม่เป็นประเด็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำมั่นสัญญาเช่าต่อสิ้นสุดเมื่อผู้ให้เช่าเสียชีวิต ไม่ผูกพันทายาท
เงินกินเปล่าที่ผู้เช่าชำระก่อนการเช่า ไม่ทำให้เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่จะต้องให้เช่าต่อจากที่การเช่าครบอายุ
คำมั่นของผู้ให้เช่าว่าจะให้เช่าต่อนั้น เมื่อผู้ให้เช่าตาย และผู้เช่าก็รู้แล้ว คำมั่นนั้นตกไปตามมาตรา 360 ไม่ผูกพันทายาทให้ต้องปฏิบัติตามมาตรา 569

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1735/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าต้องมีเหตุจากการผิดสัญญาเช่าโดยตรง การชำระค่าเช่าทางอื่นไม่ถือผิดนัด
การที่ผู้ให้เช่าไปเก็บค่าเช่าจากผู้เช่าตลอดมา เป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้ให้เช่ามิได้ถือเด็ดขาดว่าผู้เช่าจะต้องชำระค่าเช่าณ สำนักงานหรือที่อยู่ของผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่า เมื่อผู้ให้เช่าไม่ไปเก็บค่าเช่าจากผู้เช่าจะว่าผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าไม่ได้ต่อมามีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าผู้เช่าขอชำระค่าเช่าที่ค้างชำระให้แก่ผู้รับโอน แต่ผู้รับโอนไม่ยอมรับชำระ ผู้เช่าจึงส่งค่าเช่านั้นทางธนาณัติไปให้ผู้รับโอน ผู้รับโอนก็ไม่รับอีก ดังนี้ ถือว่าผู้เช่ามิได้ผิดนัดชำระค่าเช่า
การที่ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่า อาจกระทำได้ในกรณีที่ผู้เช่าผิดสัญญาเช่า หรือทำผิดหน้าที่ตามกฎหมายในเรื่องเช่าหรือในกรณีอื่นซึ่งเกี่ยวกับเรื่องการเช่าโดยตรง ส่วนการที่ผู้เช่าไม่ไปให้ความยินยอมในการที่ผู้ให้เช่ารังวัดแบ่งแยกที่ดินที่เช่านั้นไม่เกี่ยวกับการเช่าจึงไม่เป็นเหตุที่ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเช่าได้และกรณีนี้ก็มิใช่เรื่องที่ผู้เช่าต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 553 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1735/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าเช่า และการบอกเลิกสัญญาเช่าที่มิชอบด้วยกฎหมาย
การที่ผู้ให้เช่าไปเก็บค่าเช่าจากผู้เช่าตลอดมา เป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้ให้เช่ามิได้ถือเด็ดขาดว่าผู้เช่าจะต้องชำระค่าเช่า ณ สำนักงานหรือที่อยู่ของผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่า เมื่อผู้ให้เช่าไม่ไปเก็บค่าเช่าจากผู้เช่าจะว่าผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าไม่ได้ ต่อมามีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าผู้เช่าขอชำระค่าเช่าที่ค้างชำระให้แก่ผู้รับโอน แต่ผู้รับโอนไม่ยอมรับชำระ ผู้เช่าจึงส่งค่าเช่านั้นทางธนาณัติไปให้ผู้รับโอน ผู้รับโอนก็ไม่รับอีก ดังนี้ ถือว่าผู้เช่ามิได้ผิดนัดชำระค่าเช่า
การที่ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่า อาจกระทำได้ในกรณีที่ผู้เช่าผิดสัญญาเช่า. หรือทำผิดหน้าที่ตามกฎหมายในเรื่องเช่าหรือในกรณีอื่นซึ่งเกี่ยวกับเรื่องการเช่าโดยตรง ส่วนการที่ผู้เช่าไม่ไปให้ความยินยอมในการที่ผู้ให้เช่ารังวัดแบ่งแยกที่ดินที่เช่านั้น ไม่เกี่ยวกับการเช่าจึงไม่เป็นเหตุที่ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเช่าได้ และกรณีนี้ก็มิใช่เรื่องที่ผู้เช่าต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 553 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและการรับซื้อโรงเรือนของผู้เช่าเมื่อสัญญาเช่าใหม่ไม่มีกำหนดเวลา
ข้อตกลงเรื่องผู้ให้เช่าต้องรับซื้อโรงเรือนของจำเลย(ผู้เช่า)ตามสัญญาข้อ 3 ตอนท้าย แม้จะเป็นเงื่อนไขในสัญญาแต่ก็เป็นเงื่อนไขหรือข้อตกลงต่างหากจากการเช่าจึงไม่ผูกพันโจทก์ผู้รับโอนให้จำต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 คือ ต้องรับซื้อโรงเรือนของจำเลยก่อน จึงจะมีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและการรับซื้อโรงเรือน: ข้อตกลงแยกต่างหากไม่ผูกพันผู้รับโอน
ข้อตกลงเรื่องผู้ให้เช่าต้องรับซื้อโรงเรือนของจำเลย(ผู้เช่า) ตามสัญญาข้อ 3 ตอนท้าย แม้จะเป็นเงื่อนไขในสัญญา แต่ก็เป็นเงื่อนไขหรือข้อตกลงต่างหากจากการเช่าจึงไม่ผูกพันโจทก์ผู้รับโอนให้จำต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 คือ ต้องรับซื้อโรงเรือนของจำเลยก่อน จึงจะมีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1213/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำมั่นสัญญาต่ออายุสัญญาเช่าหลังผู้ให้เช่าเสียชีวิต ไม่ผูกพันทายาทผู้รับมรดก
หนังสือสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับนาย จ. ข้อ 5 ที่มีข้อความว่า เมื่อครบอายุสัญญาเช่าแล้ว ผู้ให้เช่ายินยอมจดทะเบียนต่ออายุสัญญาเช่าให้แก่ผู้เช่าอีกสิบปีตามสัญญาเดิม เป็นแต่เพียงคำมั่นของนาย จ. ว่าจะให้โจทก์เช่าต่อไปเท่านั้นยังมิได้ก่อให้เกิดสัญญาแม้สัญญาเช่าเดิมจะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนไว้ คำมั่นนี้ก็ไม่มีผลผูกพันนาย จ. เพราะโจทก์ไม่ได้สนองรับก่อนนาย จ. ตาย และเมื่อโจทก์ได้รู้อยู่แล้วว่านาย จ. ตายก่อนสัญญาเช่าจะครบกำหนดสิบปี กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 360 ซึ่งบัญญัติมิให้นำบทบัญญัติมาตรา 130 วรรคสอง มาใช้บังคับคำมั่นของนาย จ. ย่อมไม่มีผลบังคับ ไม่ผูกพันจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกที่ดินส่วนที่โจทก์เช่าให้ต้องปฏิบัติตาม โจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่จดทะเบียนต่ออายุสัญญาเช่าให้โจทก์อีกสิบปีไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3, 4/2517)
of 25