พบผลลัพธ์ทั้งหมด 246 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมโอนกรรมสิทธิ์ สัญญาเช่าเดิมยังผูกพันผู้รับโอน และได้รับความคุ้มครองตาม พรบ.ควบคุมค่าเช่า
ที่พิพาทเป็นของเจ้าของรวม 2 คน จำเลยเช่าจากเจ้าของรวมคนหนึ่ง แม้ที่พิพาทจะเปลี่ยนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งแต่ผู้เดียวภายหลังก็ตาม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 สัญญาเช่าก็หาได้ระงับไปไม่ โจทก์ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่เจ้าของรวมคนนั้นมีอยู่ต่อจำเลยตามสัญญา ทั้งเมื่อโจทก์ไม่ได้ตั้งประเด็นนำสืบให้ปรากฎว่า โจทก์ไม่ต้องผูกพันตามสัญญาเช่านั้นอย่างใด เช่นนี้แล้ว เมื่อสัญญาเช่ายังไม่ระงับและเป็นการเช่าที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ โจทก์ก็ไม่สิทธิฟ้องขับไล่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่สืบต่อแม้มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของกรรมสิทธิ์ และการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
ที่พิพาทเป็นของเจ้าของรวม 2 คน จำเลยเช่าจากเจ้าของรวมคนหนึ่งแม้ที่พิพาทจะเปลี่ยนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งแต่ผู้เดียวภายหลังก็ตามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 สัญญาเช่าก็หาได้ระงับไปไม่ โจทก์ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่เจ้าของรวมคนนั้นมีอยู่ต่อจำเลยตามสัญญา ทั้งเมื่อโจทก์ไม่ได้ตั้งประเด็นนำสืบให้ปรากฏว่า โจทก์ไม่ต้องผูกพันตามสัญญาเช่านั้นอย่างใด เช่นนี้แล้ว เมื่อสัญญาเช่ายังไม่ระงับและเป็นการเช่าที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าโจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเฉพาะตัว: การโอนสิทธิในบ้านไม่ทำให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเช่า หากไม่มีสัญญาเช่ากับเจ้าของที่ดิน
แม้ผู้เช่าที่ดินของโจทก์เพื่อปลูกสร้างเคหะอยู่อาศัยจะได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า ฯ ก็ดี หากผู้เช่าที่ดินได้ขายฝากเฉพาะเคหะจนหลุดเป็นสิทธิแก่จำเลย เมื่อจำเลยยังไม่ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์ ก็ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง เพราะสัญญาเช่าที่ดินเป็นการเฉพาะตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเฉพาะตัว: ผู้รับโอนสิทธิในบ้านไม่ได้รับความคุ้มครองหากไม่ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับเจ้าของที่ดิน
แม้ผู้เช่าที่ดินของโจทก์เพื่อปลูกสร้างเคหะอยู่อาศัยจะได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ ก็ดี หากผู้เช่าที่ดินได้ขายฝากเฉพาะเคหะจนหลุดเป็นสิทธิแก่จำเลยเมื่อจำเลยยังไม่ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์ ก็ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะสัญญาเช่าที่ดินเป็นการเฉพาะตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินขายฝากตกแก่ผู้ซื้อตั้งแต่ทำสัญญา สัญญาเช่าก่อนโอนกรรมสิทธิ์ผูกพันผู้ซื้อ
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากตกไปยังผู้ซื้อฝากตั้งแต่เวลาทำสัญญาขายฝากไม่ใช่เมื่อพ้นกำหนดเวลาไถ่คืน
จำเลยทำสัญญาเช่าห้องแถวกับเจ้าของเดิมก่อนโจทก์รับซื้อฝากห้องแถวจากเจ้าของเดิม โจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ไปย่อมรับโอนทั้งสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของเดิมผู้โอนด้วยสัญญาเช่าของจำเลยนั้นจึงผูกพันโจทก์
จำเลยทำสัญญาเช่าห้องแถวกับเจ้าของเดิมก่อนโจทก์รับซื้อฝากห้องแถวจากเจ้าของเดิม โจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ไปย่อมรับโอนทั้งสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของเดิมผู้โอนด้วยสัญญาเช่าของจำเลยนั้นจึงผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่จดทะเบียนเกิน 3 ปี สิทธิผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเดิม ไม่ตามไปกับทรัพย์สินที่โอน
หากสัญญาเช่าตึกพิพาทเป็นสัญญาต่างตอบแทนมิใช่สัญญาเช่าธรรมดาที่ต้องจดทะเบียนการเช่าที่เกินกว่า 3 ปี ขึ้นไปแล้ว สัญญานี้ก็คงผูกพันเฉพาะผู้ที่เป็นคู่สัญญาเดิมกับจำเลย ไม่+มากับตึกพิพาทที่โจทก์ซื้อจากเจ้าของเดิม
จำเลยทำสัญญาเช่าตึกกับเจ้าของเดิมมีอายุ 3 ปี 2 ฉบับ มีอายุ 2 ปี 2 ฉบับ ต่อกันไปรวมเป็น 10 ปี โดยไม่จดทะเบียน ย่อมมีผลบังคับได้เพียง 3 ปี ต่อจากนั้น โจทก์รับโอนตึกที่จำเลยเช่ามา โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้เพราะสัญญาหมดอายุแล้ว ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด
จำเลยทำสัญญาเช่าตึกกับเจ้าของเดิมมีอายุ 3 ปี 2 ฉบับ มีอายุ 2 ปี 2 ฉบับ ต่อกันไปรวมเป็น 10 ปี โดยไม่จดทะเบียน ย่อมมีผลบังคับได้เพียง 3 ปี ต่อจากนั้น โจทก์รับโอนตึกที่จำเลยเช่ามา โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้เพราะสัญญาหมดอายุแล้ว ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเกิน 3 ปี ไม่จดทะเบียน มีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเดิม สิทธิไม่สุจริตไม่มี
หากสัญญาเช่าตึกพิพาทเป็นสัญญาต่างตอบแทนมิใช่สัญญาเช่าธรรมดาที่ต้องจดทะเบียนการเช่าที่เกินกว่า 3 ปี ขึ้นไปแล้ว สัญญานี้ก็คงผูกพันเฉพาะผู้ที่เป็นคู่สัญญาเดิมกับจำเลย ไม่ติดมากับตึกพิพาทที่โจทก์ซื้อจากเจ้าของเดิม
จำเลยทำสัญญาเช่าตึกกับเจ้าของเดิมมีอายุ 3 ปี 2 ฉบับ มีอายุ2 ปี 2 ฉบับต่อกันไปรวมเป็น 10 ปี โดยไม่จดทะเบียน ย่อมมีผลบังคับได้เพียง 3 ปี ต่อจากนั้นโจทก์รับโอนตึกที่จำเลยเช่ามาโจทก์จึงฟ้องจำเลยได้เพราะสัญญาหมดอายุแล้ว ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด
จำเลยทำสัญญาเช่าตึกกับเจ้าของเดิมมีอายุ 3 ปี 2 ฉบับ มีอายุ2 ปี 2 ฉบับต่อกันไปรวมเป็น 10 ปี โดยไม่จดทะเบียน ย่อมมีผลบังคับได้เพียง 3 ปี ต่อจากนั้นโจทก์รับโอนตึกที่จำเลยเช่ามาโจทก์จึงฟ้องจำเลยได้เพราะสัญญาหมดอายุแล้ว ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าช่วงเกิน 10 ปีหลังสัญญาเช่าเดิมหมดอายุ ผู้เช่าไม่มีสิทธิผูกพันกับเจ้าของที่ดิน
1. ผู้ร้องทำสัญญาเช่าอาคารจากจำเลยผู้เป็นเจ้าของอาคาร คือ ไม่ได้เช่าต่อจากผู้ที่เช่าอาคารมาจากเจ้าของอาคาร ย่อมไม่เป็นการเช่าช่วง
2. ในกรณีที่จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์ปลูกอาคารมีกำหนด 10 ปี ตกลงกันว่า เมื่อครบ 10 ปีแล้ว อาคารตกเป็นของโจทก์นั้น จำเลยมีอำนาจให้เช่าได้ในฐานะเป็นเจ้าของ แต่หามีอำนาจให้เช่าเกิน 10 ปีไม่ เพราะอำนาจให้เช่าเกิน 10 ปี ย่อมตกอยู่แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของอาคาร เมื่อจำเลยไม่มีอำนาจให้เช่าเกิน 10 ปี การเช่าเกิน 10 ปี ย่อมไม่ตกมายังโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 เมื่อการเช่าไม่ตกมายังโจทก์ ผู้ร้องกับโจทก์ก็ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน ไม่มีฐานะเป็นคู่สัญญาเช่าต่อกัน เมื่อไม่ใช่คู่สัญญา โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ให้เช่า ผู้ร้องอยู่ในอาคารของโจทก์ในฐานละเมิด กรณีไม่อยู่ในข่ายความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯ ผู้ร้องเข้าอยู่ในอาคารของโจทก์โดยอาศัยอำนาจของจำเลย จึงถือว่าเป็นบริวาร
อันดับ 2 ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2505
2. ในกรณีที่จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์ปลูกอาคารมีกำหนด 10 ปี ตกลงกันว่า เมื่อครบ 10 ปีแล้ว อาคารตกเป็นของโจทก์นั้น จำเลยมีอำนาจให้เช่าได้ในฐานะเป็นเจ้าของ แต่หามีอำนาจให้เช่าเกิน 10 ปีไม่ เพราะอำนาจให้เช่าเกิน 10 ปี ย่อมตกอยู่แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของอาคาร เมื่อจำเลยไม่มีอำนาจให้เช่าเกิน 10 ปี การเช่าเกิน 10 ปี ย่อมไม่ตกมายังโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 เมื่อการเช่าไม่ตกมายังโจทก์ ผู้ร้องกับโจทก์ก็ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน ไม่มีฐานะเป็นคู่สัญญาเช่าต่อกัน เมื่อไม่ใช่คู่สัญญา โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ให้เช่า ผู้ร้องอยู่ในอาคารของโจทก์ในฐานละเมิด กรณีไม่อยู่ในข่ายความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯ ผู้ร้องเข้าอยู่ในอาคารของโจทก์โดยอาศัยอำนาจของจำเลย จึงถือว่าเป็นบริวาร
อันดับ 2 ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2505
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าช่วง, การสิ้นสุดสิทธิเช่า, และความสัมพันธ์ทางละเมิดระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้เช่าช่วง
1. ผู้ร้องทำสัญญาเช่าอาคารจากจำเลยผู้เป็นเจ้าของอาคารคือ ไม่ได้เช่าต่อจากผู้ที่เช่าอาคารมาจากเจ้าของอาคาร ย่อมไม่เป็นการเช่าช่วง
2. ในกรณีที่จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์ปลูกอาคารมีกำหนด10 ปี ตกลงกันว่าเมื่อครบ 10 ปีแล้วอาคารตกเป็นของโจทก์นั้นจำเลยมีอำนาจให้เช่าได้ในฐานะเป็นเจ้าของแต่หามีอำนาจให้เช่าเกิน 10 ปีไม่ เพราะอำนาจให้เช่าเกิน 10 ปี ย่อมตกอยู่แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของอาคาร เมื่อจำเลยไม่มีอำนาจให้เช่าเกิน 10ปี การเช่าเกิน 10 ปีย่อมไม่ตกมายังโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 เมื่อการเช่าไม่ตกมายังโจทก์. ผู้ร้องกับโจทก์ก็ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันไม่มีฐานะเป็นคู่สัญญาเช่าต่อกัน เมื่อไม่ใช่คู่สัญญา โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ให้เช่าผู้ร้องอยู่ในอาคารของโจทก์ในฐานละเมิด กรณีไม่อยู่ในข่ายความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าในภาวะคับขันฯ ผู้ร้องเข้าอยู่ในอาคารของโจทก์โดยอาศัยอำนาจของจำเลยจึงถือว่าเป็นบริวาร
(อันดับ 2 ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2505)
2. ในกรณีที่จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์ปลูกอาคารมีกำหนด10 ปี ตกลงกันว่าเมื่อครบ 10 ปีแล้วอาคารตกเป็นของโจทก์นั้นจำเลยมีอำนาจให้เช่าได้ในฐานะเป็นเจ้าของแต่หามีอำนาจให้เช่าเกิน 10 ปีไม่ เพราะอำนาจให้เช่าเกิน 10 ปี ย่อมตกอยู่แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของอาคาร เมื่อจำเลยไม่มีอำนาจให้เช่าเกิน 10ปี การเช่าเกิน 10 ปีย่อมไม่ตกมายังโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 เมื่อการเช่าไม่ตกมายังโจทก์. ผู้ร้องกับโจทก์ก็ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันไม่มีฐานะเป็นคู่สัญญาเช่าต่อกัน เมื่อไม่ใช่คู่สัญญา โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ให้เช่าผู้ร้องอยู่ในอาคารของโจทก์ในฐานละเมิด กรณีไม่อยู่ในข่ายความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าในภาวะคับขันฯ ผู้ร้องเข้าอยู่ในอาคารของโจทก์โดยอาศัยอำนาจของจำเลยจึงถือว่าเป็นบริวาร
(อันดับ 2 ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าก่อนการไถ่ทรัพย์ขายฝาก: สัญญาเช่ายังมีผลแม้มีการไถ่ทรัพย์คืน
ขายฝากที่ดินและตึกแถวกันแล้ว แม้ผู้ขายฝากจะเอาตึกแถวไปให้คนอื่นเช่าในระหว่างขายฝากก็ตาม ถ้าได้ไถ่แล้ว ก็ต้องถือว่าทรัพย์นั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขายฝากดุจว่าไม่มีการขายฝากไว้เลย ฉะนั้น สัญญาเช่าที่ผู้ขายฝากทำไว้ จึงไม่ได้รับความกระทบกระเทือนแต่อย่างใด