พบผลลัพธ์ทั้งหมด 246 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินที่มีผู้เช่า การโอนสิทธิและหน้าที่ไม่ต้องแจ้งผู้เช่า
การโอนทรัพย์สินที่มีคนเช่าไปยังบุคคลอื่นนั้น ไม่ใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 หากเป็นกรณีที่ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 ซึ่งผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ ผู้รับโอนจึงไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบการโอนเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306
(นัยฎีกา 516 ถึง 520/2498)
หากข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัยนั้นผิดพลาด เป็นเหตุให้ฟังข้อเท็จจริงผิด ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นแล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้นได้
(นัยฎีกา 516 ถึง 520/2498)
หากข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัยนั้นผิดพลาด เป็นเหตุให้ฟังข้อเท็จจริงผิด ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นแล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าและการโอนสิทธิสัญญาเช่า: สัญญาเช่าเดิมไม่ผูกพันผู้เช่ารายใหม่ที่ได้รับสิทธิจาก พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
โจทก์ให้บุคคลที่ 3 เช่าที่ดินปลูกสร้างอาคารให้เช่าช่วง มีกำหนด 10 ปี โดยมีข้อสัญญาว่า เมื่อครบ 10 ปีแล้ว อาคารตกเป็นของโจทก์ โดยบุคคลที่ 3 ผู้เช่าที่ดินจะไม่กระทำให้อาคารที่ปลูกสร้างนี้มีภาระผูกพันกับบุคคลอื่นต่อไป เมื่อครบ 10 ปี ปรากฏว่า จำเลยเช่าอาคารนี้จากบุคคลที่ 3 นั้นเพื่ออยู่อาศัยมา 7 ปีแล้ว ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า ฯ ดังนี้ โจทก์จะอาศัยสัญญาที่โจทก์ทำกับบุคคลที่ 3 ในข้อที่ว่าเมื่อครบ 10 ปี บุคคลที่ 3 จะไม่กระทำให้อาคารนี้มีภาระผูกพันกับบุคคลอื่นต่อไปมาขับไล่จำเลยหาได้ไม่ เพราะโจทก์ผู้รับโอนอาคารพิพาทจากบุคคลที่ 3 ย่อมรับไป ทั้งสิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่ 3 ซึ่งมีต่อจำเลยนั้นด้วย สัญญาที่โจทก์ทำไว้กับบุคคลที่ 3 นั้น ไม่ผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคนนอกสัญญากล่าวในแง่การเช่า จำเลยเช่าจากบุคคลภายนอกโดยบุคคลภายนอกได้รับสิทธิให้เช่ามาจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยเช่าแล้ว จำเลยได้รับสิทธิเพิ่มเติมโดยบทบัญญัติของพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช่าและสิทธิของผู้เช่าตามพรบ.ควบคุมค่าเช่า สัญญาเช่าเดิมไม่ผูกพันผู้เช่ารายใหม่
โจทก์ให้บุคคลที่ 3 เช่าที่ดินปลูกสร้างอาคารให้เช่าช่วง มีกำหนด 10 ปี โดยมีข้อสัญญาว่า เมื่อครบ10 ปีแล้ว อาคารตกเป็นของโจทก์ โดยบุคคลที่ 3 ผู้เช่าที่ดินจะไม่กระทำให้อาคารที่ปลูกสร้างนี้มีภาระผูกพันกับบุคคลอื่นต่อไป เมื่อครบ 10 ปี ปรากฏว่าจำเลยเช่าอาคารนี้จากบุคคลที่ 3 นั้นเพื่ออยู่อาศัยมา 7 ปีแล้ว ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ ดังนี้โจทก์จะอาศัยสัญญาที่โจทก์ทำกับบุคคลที่ 3 ในข้อที่ว่าเมื่อครบ 10 ปี บุคคลที่ 3 จะไม่กระทำให้อาคารนี้มีภาระผูกพันกับบุคคลอื่นต่อไปมาฟ้องขับไล่จำเลยหาได้ไม่ เพราะโจทก์ผู้รับโอนอาคารพิพาทจากบุคคลที่ 3 ย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่ 3 ซึ่งมีต่อจำเลยนั้นด้วย สัญญาที่โจทก์ทำไว้กับบุคคลที่ 3 นั้น ไม่ผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคนนอกสัญญากล่าวในแง่การเช่า จำเลยเช่าจากบุคคลภายนอกโดยบุคคลภายนอกได้รับสิทธิให้เช่ามาจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยเช่าแล้วจำเลยได้รับสิทธิเพิ่มเติมโดยบทบัญญัติของพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857-859/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าตึกที่ไม่ได้จดทะเบียน สิทธิและหน้าที่ของผู้เช่าเมื่อสัญญาหมดอายุ และผลกระทบต่อเจ้าของกรรมสิทธิ์
สัญญาที่เจ้าของที่ดินให้ผู้เช่าที่ดินปลูกตึกรายพิพาท แล้วให้ตึกพิพาทตกเป็นของเจ้าของที่ดินแต่ให้ผู้เช่าที่ดินเอาตึกไปให้ผู้อื่นเช่าได้มีกำหนดระยะเวลา 6 ปี สัญญานี้ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วนั้น เป็นสัญญาที่มีผลผูกพันเจ้าของที่ดินกับผู้เช่าที่ดินเท่านั้น ส่วนจำเลยที่มีสิทธิเข้ามาอยู่ในตึกรายพิพาทได้ก็โดยอาศัยสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับผู้เช่าที่ดินที่ปลูกตึกพิพาทต่างหาก จำเลยจะมีสิทธิอยู่ในตึกรายพิพาทได้แค่ไหนเพียงใดนั้น ย่อมจะต้องเป็นไปตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดที่จะยกเอาสัญญาที่เจ้าของที่ดินทำกับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทมายันเจ้าของที่ดินได้เพราะจำเลยไม่ใช่คู่สัญญา สัญญานั้นจึงไม่มีข้อผูกพันเกี่ยวข้องกับจำเลยเมื่อสัญญาปลูกสร้างตึกพิพาทระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทระงับไปแล้ว เจ้าของที่ดินซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในตึกรายพิพาทย่อมจะรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่ผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทมีอยู่ตามสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลย จำเลย 3 สำนวนนี้ ได้ทำสัญญาเช่าตึกรายพิพาทแต่ละห้องไว้กับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทมีกำหนดเวลาเช่า 6 ปี จะทำสัญญาเช่าเป็น 2 ฉบับๆละ 3 ปี หรือจะทำเป็นฉบับเดียวมีกำหนด 6 ปี ก็ตาม เมื่อไม่ได้จดทะเบียนสัญญาเช่านั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วสัญญาเช่านั้นก็คงใช้ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น เมื่อจำเลยผู้เช่ามาครบกำหนด 3 ปีแล้วและห้องเช่าไม่ใช่เคหะที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ และเจ้าของที่ดินได้บอกเลิกการเช่าโดยชอบแล้ว เจ้าของที่ดินก็ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องขอเรียกเป็นค่าเช่า แต่ถ้าตามสภาพของคำฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยยังคงขืนอยู่ในห้องของโจทก์ในเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวแล้วโดยชอบ ให้จำเลยคืนห้องให้โจทก์ ศาลก็ย่อมให้จำเลยชดใช้เป็นค่าเสียหายได้ (อ้างฎีกาที่1593/2494)
แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องขอเรียกเป็นค่าเช่า แต่ถ้าตามสภาพของคำฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยยังคงขืนอยู่ในห้องของโจทก์ในเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวแล้วโดยชอบ ให้จำเลยคืนห้องให้โจทก์ ศาลก็ย่อมให้จำเลยชดใช้เป็นค่าเสียหายได้ (อ้างฎีกาที่1593/2494)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408-410/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าในสัญญาต่างตอบแทน แม้ไม่ใช่คู่สัญญา ก็มีสิทธิได้ตามสัญญา
สัญญาที่ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ออกเงินสร้างตึกขึ้น แล้วจำเลยมีสิทธิที่จะอยู่ได้ 8 ปี ฝ่ายเจ้าของที่ดินเป็นผู้ที่จะได้ตึกโดยไม่ต้องออกเงินสร้าง แต่จะต้องยอมให้ผู้สร้างอยู่ได้ 8 ปี สัญญาเช่นนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนกันย่อมมีผลผูกพันกันได้โดยไม่ต้องจดทะเบียน (อ้างฎีกาที่ 1460/2495)
โจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่กับน.ส.สุภาคู่สัญญาซึ่งทำสัญญากันกับจำเลยดังกล่าวข้างต้นและโจทก์รับในรายงานพิจารณาของศาลว่าโจทก์ได้รู้เห็นยินยอมให้ น.ส.สุภาทำสัญญานั้นด้วย โจทก์จึงต้องผูกพันในสัญญาด้วยและเมื่อโจทก์รับโอนที่ดินมาเป็นของตนแต่ผู้เดียวในภายหลัง โจทก์ต้องรับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญานั้นมาด้วย เมื่อตามสัญญา จำเลยมีสิทธิจะอยู่ได้ 8 ปีขณะที่ยังไม่ครบกำหนดนั้น โจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิจะเลิกสัญญาและยังไม่มีสิทธิจะขับไล่จำเลย
ตามสัญญาดังกล่าวข้างต้นปรากฎว่า น.ส.สุภายินยอมจะให้จำเลยอื่นอีก 2 คนได้เช่าตึกนั้นอยู่คนละ 1 ห้องตามเดิมมีกำหนด 8 ปี จำเลยอื่นทั้ง 2 คนนั้นได้ลงทุนเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้างตึกตามส่วนที่ตนจะเช่าอยู่ และเมื่อสร้างตึกแล้วจำเลยอื่นทั้ง 2 นั้นก็ได้เข้าอยู่ในตึกคนละ 1 ห้อง ตามสัญญาดังกล่าว กรณีเช่นนี้ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 374 จำเลยอื่นทั้ง 2 นี้แม้ไม่ใช่คู่สัญญาก็มีสิทธิที่จะอยู่ในตึกตามสัญญานั้นได้
โจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่กับน.ส.สุภาคู่สัญญาซึ่งทำสัญญากันกับจำเลยดังกล่าวข้างต้นและโจทก์รับในรายงานพิจารณาของศาลว่าโจทก์ได้รู้เห็นยินยอมให้ น.ส.สุภาทำสัญญานั้นด้วย โจทก์จึงต้องผูกพันในสัญญาด้วยและเมื่อโจทก์รับโอนที่ดินมาเป็นของตนแต่ผู้เดียวในภายหลัง โจทก์ต้องรับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญานั้นมาด้วย เมื่อตามสัญญา จำเลยมีสิทธิจะอยู่ได้ 8 ปีขณะที่ยังไม่ครบกำหนดนั้น โจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิจะเลิกสัญญาและยังไม่มีสิทธิจะขับไล่จำเลย
ตามสัญญาดังกล่าวข้างต้นปรากฎว่า น.ส.สุภายินยอมจะให้จำเลยอื่นอีก 2 คนได้เช่าตึกนั้นอยู่คนละ 1 ห้องตามเดิมมีกำหนด 8 ปี จำเลยอื่นทั้ง 2 คนนั้นได้ลงทุนเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้างตึกตามส่วนที่ตนจะเช่าอยู่ และเมื่อสร้างตึกแล้วจำเลยอื่นทั้ง 2 นั้นก็ได้เข้าอยู่ในตึกคนละ 1 ห้อง ตามสัญญาดังกล่าว กรณีเช่นนี้ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 374 จำเลยอื่นทั้ง 2 นี้แม้ไม่ใช่คู่สัญญาก็มีสิทธิที่จะอยู่ในตึกตามสัญญานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408-410/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาสร้างแล้วเช่า: ผลผูกพันต่อคู่สัญญาและบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง
สัญญาที่ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ออกเงินสร้างตึกขึ้นแล้วจำเลยมีสิทธิที่จะอยู่ได้ 8 ปีฝ่ายเจ้าของที่ดินเป็นผู้ที่จะได้ตึกโดยไม่ต้องออกเงินสร้างแต่จะต้องยอมให้ผู้สร้างอยู่ได้ 8 ปี สัญญาเช่นนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนกันย่อมมีผลผูกพันกันได้โดยไม่ต้องจดทะเบียน(อ้างฎีกาที่ 1460/2495)
โจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่กับน.ส.สุภาคู่สัญญาซึ่งทำสัญญากันกับจำเลยดังกล่าวข้างต้นและโจทก์รับในรายงานพิจารณาของศาลว่าโจทก์ได้รู้เห็นยินยอมให้ น.ส.สุภาทำสัญญานั้นด้วยโจทก์จึงต้องผูกพันในสัญญาด้วยและเมื่อโจทก์รับโอนที่ดินมาเป็นของตนแต่ผู้เดียวในภายหลังโจทก์ต้องรับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญานั้นมาด้วยเมื่อตามสัญญา จำเลยมีสิทธิจะอยู่ได้ 8 ปีขณะที่ยังไม่ครบกำหนดนั้นโจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิจะเลิกสัญญาและยังไม่มีสิทธิจะขับไล่จำเลย
ตามสัญญาดังกล่าวข้างต้นปรากฏว่าน.ส.สุภายินยอมจะให้จำเลยอื่นอีก 2 คนได้เช่าตึกนั้นอยู่คนละ 1 ห้องตามเดิมมีกำหนด 8 ปี จำเลยอื่นทั้ง 2 คนนั้นได้ลงทุนเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้างตึกตามส่วนที่ตนจะเช่าอยู่และเมื่อสร้างตึกแล้วจำเลยอื่นทั้ง2นั้นก็ได้เข้าอยู่ในตึกคนละ 1 ห้องตามสัญญาดังกล่าวกรณีเช่นนี้ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 จำเลยอื่นทั้ง 2 นี้แม้ไม่ใช่คู่สัญญาก็มีสิทธิที่จะอยู่ในตึกตามสัญญานั้นได้
โจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่กับน.ส.สุภาคู่สัญญาซึ่งทำสัญญากันกับจำเลยดังกล่าวข้างต้นและโจทก์รับในรายงานพิจารณาของศาลว่าโจทก์ได้รู้เห็นยินยอมให้ น.ส.สุภาทำสัญญานั้นด้วยโจทก์จึงต้องผูกพันในสัญญาด้วยและเมื่อโจทก์รับโอนที่ดินมาเป็นของตนแต่ผู้เดียวในภายหลังโจทก์ต้องรับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญานั้นมาด้วยเมื่อตามสัญญา จำเลยมีสิทธิจะอยู่ได้ 8 ปีขณะที่ยังไม่ครบกำหนดนั้นโจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิจะเลิกสัญญาและยังไม่มีสิทธิจะขับไล่จำเลย
ตามสัญญาดังกล่าวข้างต้นปรากฏว่าน.ส.สุภายินยอมจะให้จำเลยอื่นอีก 2 คนได้เช่าตึกนั้นอยู่คนละ 1 ห้องตามเดิมมีกำหนด 8 ปี จำเลยอื่นทั้ง 2 คนนั้นได้ลงทุนเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้างตึกตามส่วนที่ตนจะเช่าอยู่และเมื่อสร้างตึกแล้วจำเลยอื่นทั้ง2นั้นก็ได้เข้าอยู่ในตึกคนละ 1 ห้องตามสัญญาดังกล่าวกรณีเช่นนี้ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 จำเลยอื่นทั้ง 2 นี้แม้ไม่ใช่คู่สัญญาก็มีสิทธิที่จะอยู่ในตึกตามสัญญานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าหลังการขายฝาก: ผู้รับโอนต้องผูกพันตามสัญญาเดิม
ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน (ห้องแถว) ซึ่งมีผู้เช่าอยู่ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิ์และหน้าที่ของผู้โอนซึ่งเป็นเจ้าของเดิม
การที่ผู้ขายฝากได้รับรองสิทธิในการเช่าห้อง ซึ่งมีผู้เช่าทำสัญญาจดทะเบียนการเช่ากับผู้รับซื้อฝากไว้แล้วนั้น เมื่อผู้ขายฝากไถ่คืนมา การเช่ายังคงมีผลต่อไปตามมาตรา 569 ผู้เช่าไม่จำต้องบอกกล่าวเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเช่าอย่างไรตามมาตรา 374 อีก และกรณีเช่นนี้ไม่เข้าข่ายมาตรา 502 เพราะผู้ขายฝากซึ่งไถ่คืนมานั้นได้ทำสัญญาประนีประนอมกับผู้ซื้อฝากให้การเช่ามีผลต่อไป
การที่ผู้ขายฝากได้รับรองสิทธิในการเช่าห้อง ซึ่งมีผู้เช่าทำสัญญาจดทะเบียนการเช่ากับผู้รับซื้อฝากไว้แล้วนั้น เมื่อผู้ขายฝากไถ่คืนมา การเช่ายังคงมีผลต่อไปตามมาตรา 569 ผู้เช่าไม่จำต้องบอกกล่าวเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเช่าอย่างไรตามมาตรา 374 อีก และกรณีเช่นนี้ไม่เข้าข่ายมาตรา 502 เพราะผู้ขายฝากซึ่งไถ่คืนมานั้นได้ทำสัญญาประนีประนอมกับผู้ซื้อฝากให้การเช่ามีผลต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าเมื่อมีการซื้อขายห้องเช่า: ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ต้องผูกพันตามสัญญาเช่าเดิม
ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน(ห้องแถว) ซึ่งมีผู้เช่าอยู่ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิ์และหน้าที่ของผู้โอนซึ่งเป็นเจ้าของเดิม
การที่ผู้ขายฝากได้รับรองสิทธิในการเช่าห้องซึ่งมีผู้เช่าทำสัญญาจดทะเบียนการเช่ากับผู้รับซื้อฝากไว้แล้วนั้นเมื่อผู้ขายฝากไถ่คืนมาการเช่ายังคงมีผลต่อไปตามมาตรา 569 ผู้เช่าไม่จำต้องบอกกล่าวเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเช่าอย่างไรตามมาตรา 374 อีกและกรณีเช่นนี้ไม่เข้าข่ายมาตรา 502 เพราะผู้ขายฝากซึ่งไถ่คืนมานั้นได้ทำสัญญาประนีประนอมกับผู้ซื้อฝากให้การเช่ามีผลต่อไป
การที่ผู้ขายฝากได้รับรองสิทธิในการเช่าห้องซึ่งมีผู้เช่าทำสัญญาจดทะเบียนการเช่ากับผู้รับซื้อฝากไว้แล้วนั้นเมื่อผู้ขายฝากไถ่คืนมาการเช่ายังคงมีผลต่อไปตามมาตรา 569 ผู้เช่าไม่จำต้องบอกกล่าวเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเช่าอย่างไรตามมาตรา 374 อีกและกรณีเช่นนี้ไม่เข้าข่ายมาตรา 502 เพราะผู้ขายฝากซึ่งไถ่คืนมานั้นได้ทำสัญญาประนีประนอมกับผู้ซื้อฝากให้การเช่ามีผลต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711-1714/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่า ผู้โอนต้องพิสูจน์สิทธิหากอ้างสิทธิภายหลัง
ผู้รับโอนตึกแถวย่อมได้รับทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนรวมทั้งการเช่าระหว่างผู้โอนและผู้เช่าเดิมด้วย
ผู้โอนอ้างว่าตนกลับมีสิทธิในตึกนั้นใหม่อีก ก็ต้องนำสืบแสดงตามที่อ้าง.
ผู้โอนอ้างว่าตนกลับมีสิทธิในตึกนั้นใหม่อีก ก็ต้องนำสืบแสดงตามที่อ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711-1714/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์และสิทธิเช่า: ผู้รับโอนย่อมได้รับทั้งสิทธิและหน้าที่เดิม ผู้โอนต้องพิสูจน์สิทธิที่อ้าง
ผู้รับโอนตึกแถวย่อมได้รับทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนรวมทั้งการเช่าระหว่างผู้โอนและผู้เช่าเดิมด้วย
ผู้โอนอ้างว่าตนกลับมีสิทธิในตึกนั้นใหม่อีก ก็ต้องนำสืบแสดงตามที่อ้าง
ผู้โอนอ้างว่าตนกลับมีสิทธิในตึกนั้นใหม่อีก ก็ต้องนำสืบแสดงตามที่อ้าง