คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 569

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 246 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าเมื่อผู้ให้เช่าเสียชีวิต: สัญญาเช่ายังมีผลผูกพัน แม้สิทธิเก็บกินสิ้นสุด
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทได้จดทะเบียนสิทธิเก็บกินที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ ท.ต่อมา ท. ในฐานะผู้ทรงสิทธิเก็บกินทำสัญญาให้จำเลยเป็นผู้เช่ามีกำหนดเวลา 30 ปี โดยมีการทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาเช่าย่อมีผลผูกพันโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แม้ในระหว่างอายุสัญญาเช่า ท. จะถึงแก่ความตายซึ่งเป็นผลให้สิทธิเก็บกินสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1418 วรรคสุดท้าย แต่ก็ไม่กระทบถึงสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และหามีผลทำให้สัญญาเช่าดังกล่าวระงับไปไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าที่ดินแม้สิทธิเก็บกินสิ้นสุดลง สัญญาเช่ายังมีผลผูกพันเจ้าของที่ดิน
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทได้จดทะเบียนสิทธิเก็บกินที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ ท. ต่อมา ท.ในฐานะผู้ทรงสิทธิเก็บกินทำสัญญาให้จำเลยเป็นผู้เช่ามีกำหนดเวลา 30 ปี โดยมีการทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาเช่าย่อมมีผลผูกพันโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แม้ในระหว่างอายุสัญญาเช่า ท.จะถึงแก่ความตายซึ่งเป็นผลให้สิทธิเก็บกินสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1418 วรรคสุดท้าย แต่ก็ไม่กระทบถึงสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และหามีผลทำให้สัญญาเช่าดังกล่าวระงับไปไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5021/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ตึกแถวของมูลนิธิ, อำนาจการมอบสัญญา, และข้อตกลงระหว่างบุคคลสิทธิ
ฎีกาจำเลยเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่ไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเพิ่มและให้คู่ความสืบพยานในประเด็นที่กำหนดใหม่จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 11 และมาตรา 13 นั้น ให้ถือว่ามูลนิธิที่ได้จดทะเบียนก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับนั้นยังคงใช้ตราสารก่อตั้งมูลนิธิเป็นข้อบังคับต่อไป เว้นแต่มูลนิธินั้นถูกคำสั่งศาลให้ยกเลิกตามบทบัญญัติในมาตรา 13 ดังกล่าวเมื่อตามตราสารจัดตั้งมูลนิธิโจทก์กำหนดให้ผู้จัดการมูลนิธิหรือผู้ทำการแทนและเหรัญญิกร่วมกันลงลายมือชื่อกระทำการแทนมูลนิธิได้ การมอบอำนาจให้ ส.หรือว.ฟ้องจำเลย มีผู้จัดการมูลนิธิและเหรัญญิกลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตรามูลนิธิโจทก์ การมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้โจทก์เป็นมูลนิธิซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการกุศลในทางพุทธศาสนา แต่เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวกับโจทก์ เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้วจำเลยไม่คืนตึกแถวให้โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องขับไล่จำเลยอันเป็นสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมายได้ กรณีไม่ถือว่าขัดต่อวัตถุประสงค์มูลนิธิโจทก์แต่อย่างใด
คำให้การจำเลยเรื่องจำเลยออกเงินช่วยค่าก่อสร้างแก่ ส. และม.นั้น แม้หากจะมีข้อตกลงอันเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ระหว่างจำเลยกับ ส. และ ม. จริงก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิ ไม่เกี่ยวกับโจทก์ จะนำมาบังคับเอากับโจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาทไม่ได้ ศาลชั้นต้นไม่กำหนดข้อต่อสู้จำเลยข้อนี้เป็นประเด็นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5021/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ของมูลนิธิ: อำนาจฟ้อง, การมอบอำนาจ, และข้อจำกัดการฎีกาในคดีข้อเท็จจริง
ฎีกาจำเลยเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่ไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเพิ่มและให้คู่ความสืบพยานในประเด็นที่กำหนดใหม่จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535มาตรา 11 และมาตรา 13 นั้น ให้ถือว่ามูลนิธิที่ได้จดทะเบียนก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับนั้นยังคงใช้ตราสารก่อตั้งมูลนิธิเป็นข้อบังคับต่อไป เว้นแต่มูลนิธินั้นถูกคำสั่งศาลให้ยกเลิกตามบทบัญญัติในมาตรา 13 ดังกล่าวเมื่อตามตราสารจัดตั้งมูลนิธิโจทก์กำหนดให้ผู้จัดการมูลนิธิหรือผู้ทำการแทนและเหรัญญิกร่วมกันลงลายมือชื่อกระทำการแทนมูลนิธิได้ การมอบอำนาจให้ ส.หรือว.ฟ้องจำเลย มีผู้จัดการมูลนิธิและเหรัญญิกลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตรามูลนิธิโจทก์ การมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้โจทก์เป็นมูลนิธิซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการกุศลในทางพุทธศาสนา แต่เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวกับโจทก์เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้วจำเลยไม่คืนแถวให้โจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องรับขับไล่จำเลยอันเป็นสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมายได้ กรณีไม่ถือว่าขัดต่อวัตถุประสงค์มูลนิธิโจทก์แต่อย่างใด คำให้การจำเลยเรื่องจำเลยออกเงินช่วยค่าก่อสร้างแก่ ส. และ ม. นั้น แม้หากจะมีข้อตกลงอันเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ระหว่างจำเลยกับ ส. และ ม. จริงก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิไม่เกี่ยวกับโจทก์ จะนำมาบังคับเอากับโจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ ตึกแถวพิพาทไม่ได้ ศาลชั้นต้นไม่กำหนดข้อต่อสู้จำเลยข้อนี้เป็นประเด็นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อก่อนกรณีเช่าตึกแถว: สิทธิมีเฉพาะเมื่อผู้ให้เช่าจะขายก่อนครบกำหนดสัญญาเท่านั้น
ข้อความตามหนังสือสัญญาเช่าตึกแถวมีว่า "ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญาแล้วผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้า เพื่อผู้เช่าเตรียมตัวออกจากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเดือน และผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่าจะตกลงขายให้แก่ผู้ใด เป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควร" เป็นเพียงเงื่อนไขเกี่ยวกับกรณีที่ผู้ให้เช่าจะขายทรัพย์สินที่เช่าก่อนครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาโดยจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบเสียก่อน เพื่อผู้เช่าจะได้ใช้สิทธิที่จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าได้ก่อนบุคคลอื่นเท่านั้น แต่หาได้ให้สิทธิผู้เช่าที่จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าได้ก่อนบุคคลอื่นตลอดไปจนพ้นกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพร้อมด้วยตึกแถวรายพิพาททั้ง 3 คูหาให้แก่จำเลยที่ 3 หลังจากครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาแล้ว แม้โจทก์ทั้งสี่จะเช่าตึกแถวรายพิพาททั้ง 3 คูหาอยู่ต่อมาโดยไม่มีกำหนดเวลา โจทก์ทั้งสี่ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าขายทรัพย์สินที่เช่าแก่โจทก์ทั้งสี่ โจทก์ทั้งสี่จึงไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมด้วยตึกแถวรายพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3151/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าซื้อทรัพย์สินก่อนบุคคลภายนอก: สิทธิมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น
แม้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์ผู้เช่าและจำเลยที่1ผู้ให้เช่าจะระบุว่าเมื่อจำเลยที่1จะขายที่ดินและตึกแถวที่ให้เช่าจะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าเพื่อให้โอกาสโจทก์ที่จะซื้อก่อนเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควรก็ตามแต่ข้อตกลงนี้ก็เป็นเพียงก่อให้เกิดบุคคลสิทธิมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้นซึ่งไม่ผูกพันจำเลยที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโจทก์จึงหามีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3151/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อก่อนตามสัญญาเช่ามีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญา ไม่ผูกพันบุคคลภายนอก
แม้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์ผู้เช่าและจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าจะระบุว่า เมื่อจำเลยที่ 1 จะขายที่ดินและตึกแถวที่ให้เช่าจะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าเพื่อให้โอกาสโจทก์ที่จะซื้อก่อนเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควรก็ตาม แต่ข้อตกลงนี้ก็เป็นเพียงก่อให้เกิดบุคคลสิทธิมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น ซึ่งไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โจทก์จึงหามีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3151/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าซื้อก่อนบุคคลภายนอก: สัญญาเช่าสร้างสิทธิเฉพาะคู่สัญญา ไม่ผูกพันผู้ซื้อจากผู้ให้เช่า
แม้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์ผู้เช่าและจำเลยที่ 1ผู้ให้เช่าจะระบุว่า เมื่อจำเลยที่ 1 จะขายที่ดินและตึกแถวที่ให้เช่าจะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าเพื่อให้โอกาสโจทก์ที่จะซื้อก่อนเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควรก็ตามแต่ข้อตกลงนี้ก็เป็นเพียงก่อให้เกิดบุคคลสิทธิมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น ซึ่งไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โจทก์จึงหามีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาเช่าหลังผู้เช่าเสียชีวิต: สิทธิการฟ้องขับไล่ทายาทและผู้เช่าช่วง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า หลังจาก ว.ถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของ ว.ได้ให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เช่าโรงงานทำพัดลมเพื่อทำเป็นโรงงานทำ ประกอบ และผลิตสินค้า โดยจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5ขออนุญาตโจทก์ แต่โจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เช่าที่ดินพิพาทอีกต่อไปจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ก็ยังคงดื้อดึงใช้โรงงานทำพัดลมบนที่ดินพิพาท ทำ ประกอบ และผลิตสินค้าเรื่อยมา โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เพิกเฉย เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงเหตุที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงและเหตุที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งห้าแล้วว่า ว.ผู้เช่าได้ถึงแก่ความตายแล้วและโจทก์ไม่ยินยอมให้บุคคลอื่นเช่าที่ดินพิพาทอีกต่อไป ซึ่งย่อมจะทำให้จำเลยทั้งห้าสามารถเข้าใจสภาพแห่งข้อหาได้ดี เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ครบถ้วนตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้ ว.จะได้จดทะเบียนเช่าที่ดินพิพาทจาก ร.มีกำหนดเวลา 30 ปีซึ่งมีผลทำให้โจทก์ผู้ซื้อที่ดินพิพาทจาก ร.ต้องยอมให้ ว.เช่าที่ดินพิพาทต่อไปตามสัญญาก็ตาม แต่สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า ดังนั้น เมื่อ ว.ถึงแก่ความตาย สัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่าง ว.กับ ร.ก็เป็นอันสิ้นสุดลง และมีผลทำให้สัญญาเช่าช่วงระหว่างว.กับจำเลยที่ 3 เป็นอันสิ้นสุดลงด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของว.จึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไป ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ซึ่งอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าช่วงจาก ว.ก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปเช่นเดียวกันโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งห้าได้
เกี่ยวกับเรื่องกำหนดเวลาในการเช่านั้น กฎหมายมิได้กำหนดเอาไว้โดยเคร่งครัด และให้สิทธิแก่คู่สัญญาในอันที่จะเลือกเอากำหนดเวลาในการเช่าได้หลายแบบรวมทั้งการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดเวลา 30 ปี ด้วย หรือแม้แต่จะทำกันตลอดอายุของผู้ให้เช่าหรือของผู้เช่าก็สามารถทำได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ว.ได้เลือกเอากำหนดเวลาเช่าเป็นเวลา 30 ปี และไม่มีข้อกำหนดให้สิทธิตามสัญญาเช่าสามารถตกทอดไปยังผู้เป็นทายาทของ ว. หรือไม่มีข้อตกลงที่เป็นการต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เช่นนี้ ก็ต้องถือว่าสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่าง ร.ผู้ให้เช่ากับ ว.เป็นสิทธิเฉพาะตัวของ ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า สิ้นสุดเมื่อผู้เช่าถึงแก่กรรม ทายาทไม่ได้รับสิทธิเช่าต่อ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า หลังจาก ว.ถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของ ว.ได้ให้จำเลยที่ 3ถึงที่ 5 เช่าโรงงานทำพัดลมเพื่อทำเป็นโรงงานทำ ประกอบ และผลิตสินค้า โดยจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ขออนุญาตโจทก์ แต่โจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เช่าที่ดินพิพาทอีกต่อไปจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ก็ยังคงดื้อดึงใช้โรงงานทำพัดลมบนที่ดินพิพาท ทำ ประกอบ และผลิตสินค้าเรื่อยมา โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เพิกเฉย เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงเหตุที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงและเหตุที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งห้าแล้วว่า ว.ผู้เช่าได้ถึงแก่ความตายแล้วและโจทก์ไม่ยินยอมให้บุคคลอื่นเช่าที่ดินพิพาทอีกต่อไป ซึ่งย่อมจะทำให้จำเลยทั้งห้าสามารถเข้าใจสภาพแห่งข้อหาได้ดี เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นครบถ้วนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม แม้ ว.จะได้จดทะเบียนเช่าที่ดินพิพาทจากร.มีกำหนดเวลา30 ปี ซึ่งมีผลทำให้โจทก์ผู้ซื้อที่ดินพิพาทจาก ร.ต้องยอมให้ว.เช่าที่ดินพิพาทต่อไปตามสัญญาก็ตาม แต่สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า ดังนั้น เมื่อ ว.ถึงแก่ความตายสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่าง ว.กับร.ก็เป็นอันสิ้นสุดลงและมีผลทำให้สัญญาเช่าช่วงระหว่าง ว.กับจำเลยที่ 3 เป็นอันสิ้นสุดลงด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของว. จึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไป ส่วนจำเลยที่ 3ถึงที่ 5 ซึ่งอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าช่วงจากว.ก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปเช่นเดียวกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งห้าได้ เกี่ยวกับเรื่องกำหนดเวลาในการเช่านั้น กฎหมายมิได้กำหนดเอาไว้โดยเคร่งครัด และให้สิทธิแก่คู่สัญญาในอันที่จะเลือกเอากำหนดเวลาในการเช่าได้หลายแบบรวมทั้งการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดเวลา 30 ปี ด้วย หรือ แม้แต่จะทำกันตลอดอายุของผู้ให้เช่าหรือของผู้เช่าก็สามารถทำได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ว.ได้เลือกเอากำหนดเวลาเช่าเป็นเวลา 30 ปี และไม่มีข้อกำหนดให้สิทธิตามสัญญาเช่าสามารถตกทอดไปยังผู้เป็นทายาทของ ว.หรือไม่มีข้อตกลงที่เป็นการต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเช่นนี้ ก็ต้องถือว่าสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่าง ร.ผู้ให้เช่ากับว.เป็นสิทธิเฉพาะตัวของว.
of 25