คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 76

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4391/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานราชการจากการกระทำละเมิดของข้าราชการ และการฟ้องคดีเกินอายุความ
จำเลยที่ 1 รับราชการอยู่กรมข่าวทหาร สังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุดซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกระทรวงกลาโหม แต่กองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นส่วนราชการส่วนหนึ่งในสังกัดกระทรวงกลาโหมตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ กระทรวงกลาโหมและกองบัญชาการทหารสูงสุดต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 76
ค่าเสียหายในเรื่องละเมิดนั้นแม้โจทก์นำสืบถึงจำนวนแน่นอนไม่ได้ศาลก็อาจกำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีละเมิดเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์สำหรับจำเลยร่วมจึงขาดอายุความฟ้องร้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4391/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของส่วนราชการต่อละเมิดของข้าราชการ และอายุความฟ้องคดีละเมิด
จำเลยที่ 1 รับราชการอยู่กรมข่าวทหาร สังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุดซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกระทรวงกลาโหม แต่กองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นส่วนราชการส่วนหนึ่งในสังกัดกระทรวงกลาโหมตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ กระทรวงกลาโหมและกองบัญชาการทหารสูงสุดต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 76
ค่าเสียหายในเรื่องละเมิดนั้นแม้โจทก์นำสืบถึงจำนวนแน่นอนไม่ได้ศาลก็อาจกำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีละเมิดเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์สำหรับจำเลยร่วมจึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา448

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4197/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกระทรวงเจ้าสังกัดต่อความเสียหายจากลูกจ้างของหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล ตามมาตรา 76
แม้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่เป็นส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อการบังคับบัญชาของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนั้นเมื่อลูกจ้างของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งเป็นกระทรวงเจ้าสังกัดจึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4197/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกระทรวงเจ้าสังกัดต่อความเสียหายจากลูกจ้างของหน่วยงานในสังกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
แม้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่เป็นส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อการบังคับบัญชาของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดังนั้นเมื่อลูกจ้างของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งเป็นกระทรวงเจ้าสังกัดจึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของพนักงานสอบสวนและนิติบุคคลจากการละเมิดต่อของกลางที่สูญหาย
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานสอบสวนยึดรถยนต์ของโจทก์มาเก็บรักษาไว้เป็นของกลาง ย่อมมีหน้าที่เก็บรักษารถยนต์ดังกล่าวพร้อมอุปกรณ์ไว้ในที่ปลอดภัย ทั้งต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรมิให้รถยนต์ดังกล่าวและอุปกรณ์ต้องสูญหายหรือเสียหายการที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์ดังกล่าวไปจอดไว้ริมถนนนอกเขตสถานีตำรวจและไม่จัดให้มีผู้ดูแลรักษา แม้จะมีระเบียบกรมตำรวจระบุให้ผู้บังคับกองหรือหัวหน้าสถานีตำรวจเป็นผู้เก็บรักษาของกลาง ก็เป็นระเบียบภายในกรมตำรวจทั้งไม่มีข้อความระบุให้บุคคลดังกล่าวรับผิดชอบในเรื่องนี้แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น เมื่ออุปกรณ์รถยนต์ดังกล่าวหายไปจึงเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการในสังกัดกรมตำรวจ จำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 เมื่อจำเลยที่ 2 กระทำตามหน้าที่และทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของพนักงานสอบสวนและนิติบุคคลจากความประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษาสินค้ากลาง
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานสอบสวนยึดรถยนต์ของโจทก์มาเก็บรักษาไว้เป็นของกลาง ย่อมมีหน้าที่เก็บรักษารถยนต์ดังกล่าวพร้อมอุปกรณ์ไว้ในที่ปลอดภัย ทั้งต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรมิให้รถยนต์ดังกล่าวและอุปกรณ์ต้องสูญหายหรือเสียหายการที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์ดังกล่าวไปจอดไว้ริมถนนนอกเขตสถานีตำรวจและไม่จัดให้มีผู้ดูแลรักษา แม้จะมีระเบียบกรมตำรวจระบุให้ผู้บังคับกองหรือหัวหน้าสถานีตำรวจเป็นผู้เก็บรักษาของกลาง ก็เป็นระเบียบภายในกรมตำรวจทั้งไม่มีข้อความระบุให้บุคคลดังกล่าวรับผิดชอบในเรื่องนี้แต่เพียงผู้เดียวดังนั้น เมื่ออุปกรณ์รถยนต์ดังกล่าวหายไปจึงเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการในสังกัดกรมตำรวจ จำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 76 เมื่อจำเลยที่ 2 กระทำตามหน้าที่และทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของข้าราชการและหน่วยงานต่อความเสียหายจากละเมิด กรณียึดของกลางแล้วดูแลไม่ดีทำให้สูญหาย
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานสอบสวนยึดรถยนต์ของโจทก์เป็นของกลางในคดี จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องเก็บรักษารถยนต์พร้อมอุปกรณ์ในที่ปลอดภัย และต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรมิให้สูญหายหรือเสียหายการที่จำเลยนำรถยนต์ของกลางจอดไว้ริมถนนนอกเขตสถานีตำรวจและไม่จัดให้มีผู้ดูแลรักษา เมื่ออุปกรณ์ของรถยนต์หายไป จึงเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการในสังกัดกรมตำรวจจำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล เมื่อจำเลยที่ 2กระทำการตามหน้าที่และก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจอัยการในการไม่อุทธรณ์คดีอาญาและการแจ้งผลคดี ไม่ถือเป็นการละเมิดต่อผู้เสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานอัยการผู้ว่าคดี จำเลยที่ 3 เป็นอัยการจังหวัด การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญาที่โจทก์เป็นผู้เสียหาย เป็นการใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 กำหนดให้อำนาจไว้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ส่วนการแจ้งผลคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง และความเห็นที่ไม่อุทธรณ์นั้นก็ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับกำหนดให้พนักงานอัยการต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบ การที่จำเลยที่ 3 ไม่แจ้งผลคำพิพากษาและความเห็นที่ไม่อุทธรณ์ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายทราบถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายเช่นกัน
กรมอัยการจำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจอัยการไม่ฟ้องอุทธรณ์คดีอาญา ไม่ถือเป็นการละเมิดต่อผู้เสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานอัยการผู้ว่าคดี จำเลยที่ 3 เป็นอัยการจังหวัด การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญาที่โจทก์เป็นผู้เสียหาย เป็นการใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 กำหนดให้อำนาจไว้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ส่วนการแจ้งผลคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง และความเห็นที่ไม่อุทธรณ์นั้นก็ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับกำหนดให้พนักงานอัยการต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบ การที่จำเลยที่ 3 ไม่แจ้งผลคำพิพากษาและความเห็นที่ไม่อุทธรณ์ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายทราบถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายเช่นกัน
กรมอัยการจำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ที่ 3เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจพนักงานอัยการในการไม่อุทธรณ์คดีอาญา ไม่ถือเป็นการละเมิดต่อผู้เสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานอัยการผู้ว่าคดี จำเลยที่ 3 เป็นอัยการจังหวัด การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญาที่โจทก์เป็นผู้เสียหาย เป็นการใช้ดุลพินิจ ในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 กำหนดให้อำนาจไว้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ส่วนการแจ้งผลคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง และความเห็นที่ไม่อุทธรณ์นั้นก็ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับกำหนดให้พนักงานอัยการต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบ การที่จำเลยที่ 3 ไม่แจ้งผลคำพิพากษาและความเห็นที่ไม่อุทธรณ์ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายทราบ ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายเช่นกัน กรมอัยการจำเลยที่ 1 เป็นผู้ บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ที่ 3เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
of 26