คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 76

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขรก.ขับรถราชการส่วนตัวไปส่งบุคคลภายนอก เกิดอุบัติเหตุ นายจ้างไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการกรมพัฒนาที่ดินจำเลยที่ 4 ได้ขับรถยนต์ซึ่งเป็นรถใช้ในราชการของจำเลยที่ 4 ไปส่ง น. กับพวก บุคคลภายนอกที่มิใช่ลูกจ้างหรือข้าราชการของจำเลยที่ 4 แต่ได้มาหาจำเลยที่ 1 เพื่อปรึกษาเรื่องจัดงานสังสรรค์ แล้ว น. เกิดปวดท้องเนื่องจากมีประจำเดือน เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อชนกับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายพังยับเยิน ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของ จำเลยที่ 4 ไปส่ง น. กับพวก กลับบ้านนั้น เป็นเรื่องทำไปโดยความเอื้อเฟื้อส่วนตัวของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่เป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่แต่อย่างใด จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นแก่โจทก์ด้วย
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่13/2527)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลย 1 และ 10 ต้องรับผิดร่วมกันต่อความเสียหายจากการยิงพลาดทำให้นายชูศักดิ์เสียชีวิต แม้มีผู้อื่นยิงเช่นกัน
ในคดีอาญาศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) วินิจฉัยว่าการที่ จำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายเป็นการกระทำในการจับกุม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 จำเลยที่1 ไม่มีความผิดในการยิงนายฉลองแต่กระสุนปืนของ จำเลยที่ 1 ในจำนวน 3 นัดที่ยิงนายฉลอง มี 2 นัด ที่พลาดไปถูกนายชูศักดิ์ตายเป็นการป้องกันเกินสมควรกว่าเหตุในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯ มาตรา 54โดยจะวินิจฉัยเสียใหม่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการ ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ ที่จำเลยที่ 1 อ้างถึงการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ก็ไม่ปรากฏตัวผู้บังคับบัญชาผู้ออกคำสั่งโดยแน่ชัดจำเลยที่ 1 จึง ไม่ได้รับนิรโทษกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 449ต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์ (วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2527) จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของจำเลยที่ 10จำเลยที่ 1 สกัดจับนายฉลองคนร้ายตามที่ได้รับ วิทยุแจ้งเหตุ ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติ หน้าที่ของจำเลย ที่ 1 เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ทำให้ โจทก์ทั้งสามเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิดในหน้าที่การงานซึ่งจำเลยที่ 10 จะต้องร่วมรับผิดด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 จำเลยที่ 10 จะโต้เถียงอ้างว่าเป็นการนอกวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายกระสุนพลาด ไปถูกนายชูศักดิ์ 2 นัด เป็นบาดแผลฉกรรจ์ที่สามารถทำให้ นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้ และเกิดจากการกระทำของ จำเลยที่ 1 ก่อนบุคคลอื่น แม้จะมีบุคคลอื่นยิงนายชูศักดิ์อีกสองแผลอันเป็นบาดแผลฉกรรจ์และอาจทำให้ นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้เช่นเดียวกันเมื่อบุคคล ดังกล่าวมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิด โดยต่างคน ต่างทำจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุ ให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 จะอ้างว่า บุคคลอื่นมีส่วนทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์มาเป็นเหตุลดหย่อนความรับผิดของตนหาได้ไม่ นายชูศักดิ์เป็นผู้มีสุขภาพดีและไม่มีโรคประจำตัวนอกจากนั้นการแพทย์และการอนามัยในปัจจุบันเจริญขึ้น มากจึงเป็นที่คาดหมายได้ว่านายชูศักดิ์อาจมีอายุยืนยาวกว่า60ปีได้(นายชูศักดิ์อายุ 53 ปีขณะถึงแก่กรรมที่ศาลกำหนดให้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 1 เดือนละ 8,000 บาท มีกำหนด 10 ปี จึงเป็นการพอควรและเหมาะสม แล้ว ขณะนายชูศักดิ์ตายเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิบุตรนายชูศักดิ์ มีอายุ 9 ปี 2 เดือน และ 5 ปี 10 เดือนตามลำดับเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าอายุจะบรรลุนิติภาวะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 กำหนดเวลาที่ เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแม้ เกิน 10 ปี ก็เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หา เป็นการขัดกันกับกำหนดระยะเวลาที่โจทก์ที่ 1 ได้รับ ชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะไม่เมื่อเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิเจริญเติบโตขึ้นก็จำเป็นต้องได้รับการศึกษาสูงขึ้นและ ได้รับการเลี้ยงดูเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ที่ศาลคิด ถัวเฉลี่ยค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะเป็น เงินคนละ 25,000 บาทต่อปีจึงเป็นการพอสมควรและเหมาะสมแก่ฐานะของนายชูศักดิ์ผู้ตายแล้ว ในวันปลงศพหรือฌาปนกิจศพ นายชูศักดิ์มีการ พระราชทานเพลิงศพมารดาและฌาปนกิจศพเด็กหญิงทรายบุตรผู้ตายซึ่งไม่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่ความสำคัญอยู่ที่การจัดการศพนายชูศักดิ์ที่ศาลให้จำเลยที่ 1 รับผิดสองในสามของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปลงศพจึงเป็นการเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการยิงพลาดของเจ้าพนักงาน และความร่วมรับผิดของหน่วยงานต้นสังกัด
ในคดีอาญาศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) วินิจฉัยว่าการที่ จำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายเป็นการกระทำในการจับกุมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดในการยิงนายฉลอง แต่กระสุนปืนของ จำเลยที่ 1ในจำนวน 3 นัดที่ยิงนายฉลอง มี 2 นัด ที่พลาดไปถูกนายชูศักดิ์ตายเป็นการป้องกันเกินสมควรกว่าเหตุในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯ มาตรา 54โดยจะวินิจฉัยเสียใหม่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการ ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ ที่จำเลยที่ 1อ้างถึงการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ก็ไม่ปรากฏตัวผู้บังคับบัญชาผู้ออกคำสั่งโดยแน่ชัดจำเลยที่ 1 จึง ไม่ได้รับนิรโทษกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 449ต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์(วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2527)
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของจำเลยที่ 10จำเลยที่ 1 สกัดจับนายฉลองคนร้ายตามที่ได้รับ วิทยุแจ้งเหตุถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติ หน้าที่ของจำเลย ที่ 1 เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ทำให้ โจทก์ทั้งสามเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิดในหน้าที่การงานซึ่งจำเลยที่ 10 จะต้องร่วมรับผิดด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 จำเลยที่ 10จะโต้เถียงอ้างว่าเป็นการนอกวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับหาได้ไม่
เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายกระสุนพลาดไปถูกนายชูศักดิ์ 2 นัด เป็นบาดแผลฉกรรจ์ที่สามารถทำให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้ และเกิดจากการกระทำของ จำเลยที่ 1ก่อนบุคคลอื่น แม้จะมีบุคคลอื่นยิงนายชูศักดิ์อีกสองแผลอันเป็นบาดแผลฉกรรจ์และอาจทำให้ นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้เช่นเดียวกันเมื่อบุคคล ดังกล่าวมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิด โดยต่างคน ต่างทำจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุ ให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1จะอ้างว่า บุคคลอื่นมีส่วนทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์มาเป็นเหตุลดหย่อนความรับผิดของตนหาได้ไม่
นายชูศักดิ์เป็นผู้มีสุขภาพดีและไม่มีโรคประจำตัวนอกจากนั้นการแพทย์และการอนามัยในปัจจุบันเจริญขึ้น มากจึงเป็นที่คาดหมายได้ว่านายชูศักดิ์อาจมีอายุยืน ยาวกว่า 60 ปีได้ (นายชูศักดิ์อายุ53 ปีขณะถึงแก่กรรมที่ศาลกำหนดให้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 1เดือนละ 8,000 บาท มีกำหนด 10 ปี จึงเป็นการพอควรและเหมาะสม แล้ว
ขณะนายชูศักดิ์ตาย เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิบุตรนายชูศักดิ์ มีอายุ9 ปี 2 เดือน และ 5 ปี 10 เดือนตามลำดับเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าอายุจะบรรลุนิติภาวะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564กำหนดเวลาที่ เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแม้ เกิน 10 ปี ก็เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หาเป็นการขัดกันกับกำหนดระยะเวลาที่โจทก์ที่ 1 ได้รับ ชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะไม่ เมื่อเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิเจริญเติบโตขึ้นก็จำเป็นต้องได้รับการศึกษาสูงขึ้นและ ได้รับการเลี้ยงดูเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ที่ศาลคิด ถัวเฉลี่ยค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะเป็น เงินคนละ 25,000 บาทต่อปีจึงเป็นการพอสมควรและเหมาะสมแก่ฐานะของนายชูศักดิ์ผู้ตายแล้ว
ในวันปลงศพหรือฌาปนกิจศพ นายชูศักดิ์มีการ พระราชทานเพลิงศพมารดาและฌาปนกิจศพเด็กหญิงทรายบุตรผู้ตายซึ่งไม่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่ความสำคัญอยู่ที่การจัดการศพนายชูศักดิ์ ที่ศาลให้จำเลยที่ 1 รับผิดสองในสามของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปลงศพจึงเป็นการเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2527 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงตัวผู้ถือหุ้นและการดำเนินกิจการต่อเนื่อง: สถานะนายจ้าง-ลูกจ้างยังคงเดิม
การที่จำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 นั้นมีผลเพียงเปลี่ยนตัวผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งบริษัทจำเลยที่ 1 เช่ามาจากผู้อื่น จึงเป็นการดำเนินกิจการโรงแรมในฐานะผู้ซื้อหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เท่ากับบริษัทจำเลยที่1 ยังเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงแรมอยู่นั่นเอง บริษัทจำเลยที่ 1 ยังคงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานโรงแรมนี้อยู่
จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหุ้นให้ดำเนินกิจการโรงแรมแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของโจทก์ตามบทนิยามคำว่า'นายจ้าง' ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน
แม้จำเลยที่ 2 จะเข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นจากบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ทำงานต่อเนื่องกันมา จึงต้องนับอายุงานของโจทก์ที่ทำงานอยู่กับบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อเนื่องกันมาด้วย จะนับอายุงานของโจทก์เพียงเท่าที่จำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นและการสืบตำแหน่งนายจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน
การที่จำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 นั้นมีผลเพียงเปลี่ยนตัวผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1. เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งบริษัทจำเลยที่ 1เช่ามาจากผู้อื่น. จึงเป็นการดำเนินกิจการโรงแรมในฐานะผู้ซื้อหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1. เท่ากับบริษัทจำเลยที่1 ยังเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงแรมอยู่นั่นเอง. บริษัทจำเลยที่ 1 ยังคงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานโรงแรมนี้อยู่. จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหุ้นให้ดำเนินกิจการโรงแรมแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล. ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของโจทก์ตามบทนิยามคำว่า'นายจ้าง' ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน. แม้จำเลยที่ 2 จะเข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อจำเลยที่2 ซื้อหุ้นจากบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม. แต่โจทก์ก็ได้ทำงานต่อเนื่องกันมา. จึงต้องนับอายุงานของโจทก์ที่ทำงานอยู่กับบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อเนื่องกันมาด้วย.จะนับอายุงานของโจทก์เพียงเท่าที่จำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นบริษัทกับสถานะนายจ้าง-ลูกจ้างต่อเนื่อง อายุงานนับต่อเนื่อง
การที่จำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 นั้น มีผลเพียงเปลี่ยนตัวผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งบริษัทจำเลยที่ 1 เช่ามาจากผู้อื่น จึงเป็นการดำเนินกิจการโรงแรมในฐานะผู้ซื้อหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เท่ากับบริษัทจำเลยที่1 ยังเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงแรมอยู่นั่นเอง บริษัทจำเลยที่ 1 ยังคงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานโรงแรมนี้อยู่ จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหุ้นให้ดำเนินกิจการโรงแรมแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของโจทก์ตามบทนิยามคำว่า 'นายจ้าง' ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน แม้จำเลยที่ 2 จะเข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อหุ้น จากบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ทำงานต่อเนื่องกันมา จึงต้อง นับอายุงานของโจทก์ที่ทำงานอยู่กับบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อเนื่องกันมาด้วย จะนับอายุงานของโจทก์เพียงเท่าที่จำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3034/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินที่กระทำโดยเจตนาหลีกเลี่ยงการชดใช้ค่าเสียหายต่อเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 ได้รับจดทะเบียนนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ ม. อ. และโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยราชการที่จำเลยที่ 1 รับราชการสังกัดอยู่ได้รับความเสียหาย เมื่อ อ. ฟ้องเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อเอาแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 กับพวก จำเลยที่ 1 ย่อมรู้ดีในขณะนั้นว่าหากโจทก์ต้องเสียค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่ อ. โจทก์ย่อมมีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นต้นเหตุทำความเสียหายได้ภายหลัง ดังนั้นโจทก์จึงได้ชื่อว่าเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ โจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดนอกจากที่ดินพิพาทแปลงเดียว และจำเลยที่ 1 ได้โอนให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรหลังจากที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ถูก อ. ฟ้องให้ร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้น การกระทำดังกล่าวเป็นการโอนเพื่อหลีกเลี่ยงและให้พ้นจากการถูกบังคับคดี จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตและเป็นการกระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ผู้มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นต้นเหตุทำความเสียหายได้ภายหลังเสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา ต่อมาจำเลยที่ 2 ถึงที่4 โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 ให้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยเสน่หา เพียงแต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ก็ขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวได้
การที่ ธ. น้องชายสามีจำเลยที่ 1 ไถ่ถอนจำนองให้โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะต้องโอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่เป็นการโอนที่มีค่าตอบแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3034/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินที่กระทำโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหนี้สิน และรู้ว่าเป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 ได้รับจดทะเบียนนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ ม. อ. และโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยราชการที่จำเลยที่ 1 รับราชการสังกัดอยู่ได้รับความเสียหาย เมื่อ อ. ฟ้องเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อเอาแก่โจทก์ จำเลยที่ 1กับพวก จำเลยที่ 1 ย่อมรู้ดีในขณะนั้นว่าหากโจทก์ต้องเสียค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่ อ. โจทก์ย่อมมีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นต้นเหตุทำความเสียหายได้ภายหลัง ดังนั้นโจทก์จึงได้ชื่อว่าเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ในความเสียหายที่จำเลยที่1 เป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ โจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดนอกจากที่ดินพิพาทแปลงเดียว และจำเลยที่ 1 ได้โอนให้แก่จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรหลังจากที่โจทก์และจำเลยที่1 ถูก อ. ฟ้องให้ร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้น การกระทำดังกล่าวเป็นการโอนเพื่อหลีกเลี่ยงและให้พ้นจากการถูกบังคับคดี จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตและเป็นการกระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ผู้มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1ผู้เป็นต้นเหตุทำความเสียหายได้ภายหลังเสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ถึงที่4 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา ต่อมาจำเลยที่ 2 ถึงที่4 โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 ให้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยเสน่หา เพียงแต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ก็ขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวได้
การที่ ธ. น้องชายสามีจำเลยที่ 1 ไถ่ถอนจำนองให้โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะต้องโอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ไม่เป็นการโอนที่มีค่าตอบแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานราชการในฐานะผู้บังคับบัญชาต่อการกระทำละเมิดของข้าราชการ
โจทก์บรรยายฟ้องในเบื้องต้นว่า จำเลยที่ 1 เป็นกรมในรัฐบาลเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีหน้าที่พิทักษ์สันติราษฎร์ บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร มีหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ทำงานตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ตามคำสั่งของสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรฯซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 คำบรรยายฟ้องในตอนแรกนี้จึงเป็นการบรรยายฟ้องให้เห็นฐานะความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 ว่ามีความสัมพันธ์กันตามกฎหมาย แม้ต่อมาโจทก์จะบรรยายฟ้องเกินเลยไปว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้าง จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ก็หาทำให้คำบรรยายฟ้องของโจทก์ตอนแรกเสียไปไม่ ทั้งโจทก์ได้บรรยายมาชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 ออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบตามคำสั่งของสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรฯ อันเป็นการออกไปปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมายเมื่อจำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนที่ทางราชการจำเลยที่ 1 จ่ายให้ใช้ในราชการยิงบุตรโจทก์ถึงแก่ความตายขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย อันเป็นการบรรยายฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้บังคับบัญชารับผิดฐานละเมิดร่วมกับจำเลยที่ 2 หาใช่ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะนายจ้างแต่ประการเดียวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อการกระทำละเมิดของข้าราชการในการปฏิบัติหน้าที่
โจทก์บรรยายฟ้องในเบื้องต้นว่า จำเลยที่ 1 เป็นกรมในรัฐบาลเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีหน้าที่พิทักษ์สันติราษฎร์ บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร มีหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ทำงานตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ตามคำสั่งของสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรฯซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 คำบรรยายฟ้องในตอนแรกนี้จึงเป็นการบรรยายฟ้องให้เห็นฐานะความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 ว่ามีความสัมพันธ์กันตามกฎหมาย แม้ต่อมาโจทก์จะบรรยายฟ้องเกินเลยไปว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้าง จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ก็หาทำให้คำบรรยายฟ้องของโจทก์ตอนแรกเสียไปไม่ ทั้งโจทก์ได้บรรยายมาชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 ออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบตามคำสั่งของสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรฯ อันเป็นการออกไปปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมายเมื่อจำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนที่ทางราชการจำเลยที่ 1 จ่ายให้ใช้ในราชการยิงบุตรโจทก์ถึงแก่ความตายขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย อันเป็นการบรรยายฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้บังคับบัญชารับผิดฐานละเมิดร่วมกับจำเลยที่ 2 หาใช่ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะนายจ้างแต่ประการเดียวไม่
of 26