คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 76

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3332/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเทศบาลต่อหนี้จากสัญญาซื้อขายสินค้าโดยหน่วยงานภายใน และอายุความของหนี้
ตอนต้นของพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 61 บัญญัติบังคับไว้ว่า เทศพานิชย์ของเทศบาลให้ตราเป็นเทศบัญญัติแต่ในตอนลำดับต่อมาบัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า กิจการใดที่เทศบาลมีรายได้หรือผลพลอยได้อันเกิดจากการกระทำตามอำนาจหน้าที่จะไม่ตราเป็นเทศบัญญัติก็ได้เมื่อระเบียบของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินงานของสำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพ พ.ศ. 2507 ตราไว้ว่า ผลกำไร อันเป็นรายได้จากการค้าปุ๋ยของสำนักงานปุ๋ย ๆ ส่วนหนึ่งให้ตกเป็นรายได้ ของเทศบาลนครกรุงเทพด้วย และเทศบาลนครกรุงเทพได้ตราเทศบัญญัติงบประมาณค่าใช้จ่ายประจำปีสำหรับสำนักงานปุ๋ย ๆ ไว้อีกด้วยสำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพจึงเป็นเทศพาณิชย์ที่เทศบาลนครกรุงเทพมีรายได้อันเกิดจากการดำเนินกิจการได้รับการยกเว้นไม่ต้องตราเป็นเทศบัญญัติตามมาตรา 61 นอกจากนี้ต่อมาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 224 ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2515 ข้อ 1 รองรับเทศพาณิชย์ที่เทศบาลได้จัดตั้งขึ้นก่อนนั้นให้ถือว่าเทศพาณิชย์นั้นได้ตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายว่าด้วย เทศบาลตั้งแต่วันเริ่มก่อตั้งสำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพจึงได้ก่อตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 39 บัญญัติห้ามมิให้ทำการมอบอำนาจให้ผู้ที่ไม่ได้เป็นพนักงานเทศบาลทำการแทนนายกเทศมนตรีเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการของเทศบาลอันเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรีตามกฎหมายนั้นเท่านั้นส่วนการดำเนินกิจการของสำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพนั้นได้มีระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินงานของสำนักงานปุ๋ย เทศบาลนครกรุงเทพ พ.ศ. 2507 ตราไว้เป็นระเบียบต่างหากว่าให้ตั้ง คณะกรรมการบริหารขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีผู้อำนวยการฯ เป็นผู้บริหาร สำนักงานปุ๋ยซึ่งการตั้งคณะกรรมการบริหารแยกออกต่างหากจากการ บริการกิจการของนายกเทศมนตรี หรือ คณะเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพ นี้ ได้รับการเห็นชอบของกระทรวงมหาดไทยแล้วรวมทั้งได้มีมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานปุ๋ยฯด้วยการอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยให้สำนักงานปุ๋ยฯ โดยผู้อำนวยการ ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการค้าปุ๋ยอันเป็นวัตถุประสงค์ที่ตราไว้ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินงานของสำนักงานปุ๋ย พ.ศ. 2507 นั้นได้ จำเลยที่ 3 ในฐานะนายกเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการควบคุมดูแลกิจการสำนักงานปุ๋ยฯ ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 4 ซึ่งมิได้เป็นพนักงานของเทศบาลนครกรุงเทพดำเนินกิจการดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามหรือขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
สำนักงานปุ๋ยฯ เป็นเทศพาณิชย์และเป็นหน่วยงานหนึ่งของ เทศบาลนครกรุงเทพ แม้วัตถุประสงค์จะเป็นไปในรูปการค้าปุ๋ยก็ตาม ก็ไม่ถือว่าอยู่นอกวัตถุประสงค์ของเทศบาลนครกรุงเทพเพราะได้ตรา ไว้ แล้วในระเบียบของกระทรวงมหาดไทยซึ่งให้อำนาจเทศบาลนครกรุงเทพ ตั้งสำนักงานปุ๋ยฯ นี้ขึ้น การค้าปุ๋ยจึงไม่ใช่เป็นการดำเนินงานไป นอกวัตถุประสงค์ของเทศบาลนครกรุงเทพ
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์มีวัตถุประสงค์ในทางการค้าตามวิธีการของธนาคารพาณิชย์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์หนี้ตามสัญญาเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต สัญญาทรัสต์รีซีทและตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งธนาคารโจทก์ค้ำประกันเป็นอาวัล เป็นการดำเนินธุรกิจการค้าตามวิธีการของธนาคารพาณิชย์อย่างหนึ่งซึ่งแตกต่างกับบุคคลผู้เป็นพ่อค้าหรือผู้ค้าที่ได้ซื้อและขายสินค้าอันเป็นปกติธุระตามนัยที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(7) จึงไม่อาจนำเอาอายุความสองปีหรือห้าปีมาใช้บังคับได้ เมื่อหนี้อันเกิดจากสัญญาดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำเอาบทบัญญัติว่าด้วยอายุความทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 164 ซึ่งกำหนดไว้สิบปีมาใช้บังคับ
หนี้เงินซึ่งในสัญญาได้ตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เพียงแต่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ปรากฏว่านับตั้งแต่วันผิดนัดจำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์เลย จึงถือว่าดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากเงินที่ค้างชำระดังกล่าวเป็นดอกเบี้ยที่ค้างชำระให้แก่โจทก์นั้นด้วย ซึ่งตามมาตรา 166 บัญญัติไว้ให้สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยที่ค้างส่งนี้ได้ในอายุความเพียงห้าปี โจทก์หามีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เกินกว่า 5 ปีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3332/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทหนี้ธนาคารและเทศพาณิชย์: อายุความ, การมอบอำนาจ, และดอกเบี้ย
ตอนต้นของพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 61 บัญญัติบังคับไว้ว่า เทศพานิชย์ของเทศบาลให้ตราเป็นเทศบัญญัติแต่ในตอนลำดับต่อมาบัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า กิจการใดที่เทศบาลมีรายได้หรือผลพลอยได้อันเกิดจากการกระทำตามอำนาจหน้าที่จะไม่ตราเป็นเทศบัญญัติก็ได้ เมื่อระเบียบของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินงานของสำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพ พ.ศ. 2507 ตราไว้ว่า ผลกำไร อันเป็นรายได้จากการค้าปุ๋ยของสำนักงานปุ๋ย ๆ ส่วนหนึ่งให้ตกเป็นรายได้ ของเทศบาลนครกรุงเทพด้วย และเทศบาลนครกรุงเทพได้ตราเทศบัญญัติงบประมาณค่าใช้จ่ายประจำปีสำหรับสำนักงานปุ๋ย ๆ ไว้อีกด้วยสำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพจึงเป็นเทศพาณิชย์ที่เทศบาลนครกรุงเทพมีรายได้อันเกิดจากการดำเนินกิจการได้รับการยกเว้นไม่ต้องตราเป็นเทศบัญญัติตามมาตรา 61 นอกจากนี้ต่อมาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 224 ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2515 ข้อ 1 รองรับเทศพาณิชย์ที่เทศบาลได้จัดตั้งขึ้นก่อนนั้นให้ถือว่าเทศพาณิชย์นั้นได้ตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายว่าด้วย เทศบาลตั้งแต่วันเริ่มก่อตั้งสำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพจึงได้ก่อตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 39 บัญญัติห้ามมิให้ทำการมอบอำนาจให้ผู้ที่ไม่ได้เป็นพนักงานเทศบาลทำการแทนนายกเทศมนตรีเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการของเทศบาลอันเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรีตามกฎหมายนั้นเท่านั้นส่วนการดำเนินกิจการของสำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพนั้นได้มีระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินงานของสำนักงานปุ๋ย เทศบาลนครกรุงเทพ พ.ศ. 2507 ตราไว้เป็นระเบียบต่างหากว่าให้ตั้ง คณะกรรมการบริหารขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีผู้อำนวยการฯ เป็นผู้บริหาร สำนักงานปุ๋ยซึ่งการตั้งคณะกรรมการบริหารแยกออกต่างหากจากการ บริการกิจการของนายกเทศมนตรี หรือ คณะเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพ นี้ ได้รับการเห็นชอบของกระทรวงมหาดไทยแล้วรวมทั้งได้มีมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานปุ๋ยฯด้วยการอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยให้สำนักงานปุ๋ยฯ โดยผู้อำนวยการ ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการค้าปุ๋ยอันเป็นวัตถุประสงค์ที่ตราไว้ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินงานของสำนักงานปุ๋ย พ.ศ. 2507 นั้นได้ จำเลยที่ 3 ในฐานะนายกเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการควบคุมดูแลกิจการสำนักงานปุ๋ยฯ ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 4 ซึ่งมิได้เป็นพนักงานของเทศบาลนครกรุงเทพดำเนินกิจการดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามหรือขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
สำนักงานปุ๋ยฯ เป็นเทศพาณิชย์และเป็นหน่วยงานหนึ่งของ เทศบาลนครกรุงเทพ แม้วัตถุประสงค์จะเป็นไปในรูปการค้าปุ๋ยก็ตาม ก็ไม่ถือว่าอยู่นอกวัตถุประสงค์ของเทศบาลนครกรุงเทพเพราะได้ตราไว้แล้วในระเบียบของกระทรวงมหาดไทยซึ่งให้อำนาจเทศบาลนครกรุงเทพ ตั้งสำนักงานปุ๋ยฯ นี้ขึ้น การค้าปุ๋ยจึงไม่ใช่เป็นการดำเนินงานไป นอกวัตถุประสงค์ของเทศบาลนครกรุงเทพ
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์มีวัตถุประสงค์ในทางการค้าตามวิธีการของธนาคารพาณิชย์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์หนี้ตามสัญญาเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต สัญญาทรัสต์รีซีทและตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งธนาคารโจทก์ค้ำประกันเป็นอาวัล เป็นการดำเนินธุรกิจการค้าตามวิธีการของธนาคารพาณิชย์อย่างหนึ่งซึ่งแตกต่างกับบุคคลผู้เป็นพ่อค้าหรือผู้ค้าที่ได้ซื้อและขายสินค้าอันเป็นปกติธุระตามนัยที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(7) จึงไม่อาจนำเอาอายุความสองปีหรือห้าปีมาใช้บังคับได้ เมื่อหนี้อันเกิดจากสัญญาดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำเอาบทบัญญัติว่าด้วยอายุความทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 164 ซึ่งกำหนดไว้สิบปีมาใช้บังคับ
หนี้เงินซึ่งในสัญญาได้ตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เพียงแต่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ปรากฏว่านับตั้งแต่วันผิดนัดจำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์เลยจึงถือว่าดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากเงินที่ค้างชำระดังกล่าวเป็นดอกเบี้ยที่ค้างชำระให้แก่โจทก์นั้นด้วย ซึ่งตามมาตรา 166 บัญญัติไว้ให้สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยที่ค้างส่งนี้ได้ในอายุความเพียงห้าปี โจทก์หามีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เกินกว่า 5 ปีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของรัฐต่อความเสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจที่สำคัญผิด
พลตำรวจ พ. เข้าจับกุมคนร้ายรายเดียวกับที่ ส.ต.อ. น. บิดาโจทก์ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้เป็นผู้เข้าจับกุม การกระทำของพลตำรวจ พ. จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2 (16), 17 การที่พลตำรวจ พ. สำคัญผิดว่า ส.ต.อ. น. ซึ่งแต่งกายนอกเครื่องแบบ และถือปืนยืนอยู่ในที่เกิดเหตุเป็นคนร้ายและได้ใช้อาวุธปืนยิง ส.ต.อ. น. ถึงแก่ความตายถือได้ว่าพลตำรวจ พ. ใช้ปืนยิง ส.ต.อ. น. เป็นไปในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการ ในฐานะเจ้าพนักงานตำรวจ เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยในฐานะเป็นกรมในรัฐบาลและเป็นเจ้าสังกัดของพลตำรวจ พ. จึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของรัฐจากเจ้าพนักงานตำรวจกระทำละเมิดขณะปฏิบัติหน้าที่ สืบเนื่องจากความประมาทสำคัญผิด
พลตำรวจ พ. เข้าจับกุมคนร้ายรายเดียวกับที่ ส.ต.อ. น. บิดาโจทก์ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้เป็นผู้เข้าจับกุม การกระทำของพลตำรวจ พ. จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16),17 การที่พลตำรวจ พ. สำคัญผิดว่า ส.ต.อ. น. ซึ่งแต่งกายนอกเครื่องแบบ และถือปืนยืนอยู่ในที่เกิดเหตุเป็นคนร้ายและได้ใช้อาวุธปืนยิง ส.ต.อ. น. ถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าพลตำรวจ พ. ใช้ปืนยิง ส.ต.อ. น. เป็นไปในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการ ในฐานะเจ้าพนักงานตำรวจ เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยในฐานะเป็นกรมในรัฐบาลและเป็นเจ้าสังกัดของพลตำรวจ พ. จึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3111/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงานในโรงพยาบาลของมูลนิธิ: พิจารณาวัตถุประสงค์การจ้างเพื่อบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน และความรับผิดของประธานกรรมการ
โจทก์เป็นลูกจ้างทำงานในโรงพยาบาลที่มูลนิธิจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของและเป็นผู้บริหารงานหาผลประโยชน์จากโรงพยาบาลมาบำรุงมูลนิธิจำเลยที่ 1 โรงพยาบาลดังกล่าวไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลเมื่อมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นโจทก์ฟ้องมูลนิธิจำเลยที่ 1ได้แต่เมื่อมีปัญหาต้องพิจารณาสภาพการจ้างว่าเป็นการจ้างที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจหรือไม่ต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของโรงพยาบาลหาใช่พิจารณาวัตถุประสงค์ของมูลนิธิไม่
จำเลยที่ 2 เป็นประธานกรรมการมูลนิธิจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจึงเป็นผู้แทนของนิติบุคคลมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1ต้องถือว่าเป็นนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 จำเลยที่ 2 ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจพิจารณาและสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายได้
คณะกรรมการองค์การโทรศัพท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายกรัฐมนตรีเป็นเพียงผู้วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปขององค์การโทรศัพท์ฯจึงไม่มีฐานะเป็นนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 2ส่วนกรรมการองค์การโทรศัพท์ ฯ ผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการเป็นผู้บริหารกิจการขององค์การโทรศัพท์ฯ มีอำนาจบังคับบัญชาพนักงาน ถือได้ว่าเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลตามความหมายของกฎหมาย จึงต้องรับผิดต่อลูกจ้างขององค์การโทรศัพท์ ฯ แต่หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
กฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเพื่อจัดระเบียบในการจ้างการใช้แรงงานและแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เมื่อมีการเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจโดยไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณาและสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ ได้มิใช่เป็นการก้าวล่วงเข้าไปในอำนาจของฝ่ายบริหารส่วนมติของคณะรัฐมนตรีเป็นการดำเนินการของฝ่ายบริหารซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารเท่านั้นไม่อาจใช้บังคับในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายได้
หลังจากคณะกรรมการองค์การโทรศัพท์ ฯ มีมติให้ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์ฯพ้นจากตำแหน่งแล้วจึงได้มีคำเสนอขององค์การโทรศัพท์ ฯเชิญให้เป็นที่ปรึกษาขององค์การโทรศัพท์ฯดังนี้เป็นการเลิกจ้างแล้วหาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ไม่
เมื่อศาลแรงงานเห็นว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม แต่ทั้งสองฝ่ายไม่อาจทำงานร่วมกันได้ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจไม่สั่งให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามที่ลูกจ้างฟ้องขอให้บังคับแต่ให้ชดใช้ค่าเสียหายแทนได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้าง จึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายอื่นลูกจ้างฟ้องเรียกให้ชำระพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิได้ทวงถามก่อน ศาลพิพากษาให้ได้รับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม อำนาจศาลในการสั่งให้รับกลับเข้าทำงาน หรือชดใช้ค่าเสียหาย และดอกเบี้ย
คณะกรรมการองค์การโทรศัพท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายกรัฐมนตรีเป็นเพียงผู้วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปขององค์การโทรศัพท์ฯจึงไม่มีฐานะเป็นนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 2 ส่วนกรรมการองค์การโทรศัพท์ ฯ ผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการเป็นผู้บริหารกิจการขององค์การโทรศัพท์ฯ มีอำนาจบังคับบัญชาพนักงาน ถือได้ว่าเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลตามความหมายของกฎหมาย จึงต้องรับผิดต่อลูกจ้างขององค์การโทรศัพท์ ฯ แต่หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
กฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเพื่อจัดระเบียบในการจ้างการใช้แรงงานและแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเมื่อมีการเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจโดยไม่เป็นธรรมศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณาและสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ ได้มิใช่เป็นการก้าวล่วงเข้าไปในอำนาจของฝ่ายบริหารส่วนมติของคณะรัฐมนตรีเป็นการดำเนินการของฝ่ายบริหารซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารเท่านั้นไม่อาจใช้บังคับในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายได้
หลังจากคณะกรรมการองค์การโทรศัพท์ ฯ มีมติให้ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์ฯพ้นจากตำแหน่งแล้วจึงได้มีคำเสนอขององค์การโทรศัพท์ ฯเชิญให้เป็นที่ปรึกษาขององค์การโทรศัพท์ฯดังนี้เป็นการเลิกจ้างแล้วหาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ไม่
เมื่อศาลแรงงานเห็นว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรมแต่ทั้งสองฝ่ายไม่อาจทำงานร่วมกันได้ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจไม่สั่งให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามที่ลูกจ้างฟ้องขอให้บังคับแต่ให้ชดใช้ค่าเสียหายแทนได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายอื่นลูกจ้างฟ้องเรียกให้ชำระพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิได้ทวงถามก่อน ศาลพิพากษาให้ได้รับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะกรรมการบริษัทที่ไม่ใช่ลูกจ้าง: การพิจารณาจากลักษณะการทำงานและเจตนาในการรับค่าตอบแทน
การปฏิบัติงานของ ล. กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ไม่เป็นกิจจะลักษณะ ไปปฏิบัติงานบ้าง ไม่ปฏิบัติงานบ้าง สุดแท้แต่จะมีสุขภาพดีหรือไม่ ไม่มีหลักเกณฑ์การทำงานแน่นอน แต่อย่างใดแม้เงินเดือนจำน้อย ล. ก็พอใจ เพราะไม่มีเงินก็ขอเอาจากประธานกรรมการบริษัทได้ แสดงว่า ล. เป็นเพียงกรรมการผู้จัดการแต่เพียงในนาม เพราะหาก ล. เป็นลูกจ้างของบริษัทโจทก์ก็จะปฏิบัติตนเช่นนั้นไม่ได้ ล. คงเป็นเพียงกรรมการของบริษัทโจทก์ตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นแต่อย่างเดียว มิได้ตกลงทำงานให้แก่บริษัทโจทก์อีกชั้นหนึ่ง ล. จึงมิใช่ลูกจ้างของบริษัทโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะกรรมการผู้จัดการกับการเป็นลูกจ้าง: การพิจารณาความสัมพันธ์ทางแรงงานเมื่อมีพฤติการณ์ปฏิบัติงานที่ไม่เป็นกิจจะลักษณะ
การปฏิบัติงานของ ล. กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ไม่เป็นกิจจะลักษณะ ไปปฏิบัติงานบ้าง ไม่ปฏิบัติงานบ้าง สุดแท้แต่จะมีสุขภาพดีหรือไม่ ไม่มีหลักเกณฑ์การทำงานแน่นอน แต่อย่างใด แม้เงินเดือนจำน้อย ล. ก็พอใจ เพราะไม่มีเงินก็ขอเอาจากประธานกรรมการบริษัทได้ แสดงว่า ล. เป็นเพียงกรรมการผู้จัดการแต่เพียงในนาม เพราะหาก ล.เป็นลูกจ้างของบริษัทโจทก์ก็จะปฏิบัติตนเช่นนั้นไม่ได้ล. คงเป็นเพียงกรรมการของบริษัทโจทก์ตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นแต่อย่างเดียว มิได้ตกลงทำงานให้แก่บริษัทโจทก์อีกชั้นหนึ่ง ล. จึงมิใช่ลูกจ้างของบริษัทโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255-256/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, ความรับผิดกรรมการสหภาพแรงงาน, การปฏิเสธข้อกล่าวหา, ค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี, การพิสูจน์หลักฐาน
ฟ้องของโจทก์จะถูกต้องสมบูรณ์หรือเคลือบคลุมนั้น อยู่ที่ตัวฟ้องของโจทก์การที่จำเลยจะได้รับสำเนาฟ้องครบถ้วนหรือไม่หาทำให้ฟ้องที่ถูกต้องสมบูรณ์กลายเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมไปไม่
การกระทำโดยสหภาพแรงงานกับการกระทำโดยกรรมการสหภาพแรงงานนั้นไม่เหมือนกัน เพราะการกระทำโดยสหภาพแรงงานอาจเป็นการกระทำโดยมติของกรรมการอันมีเสียงข้างมากตามจำนวนที่กำหนดไว้ในระเบียบโดยที่กรรมการบางคนอาจไม่เห็นด้วย และคัดค้านการกระทำของสหภาพแรงงานนั้นก็เป็นได้ ฉะนั้นการกระทำใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างนั้น เป็นความรับผิดชอบของกรรมการผู้กระทำแต่ละคนไป ผู้ใดมิได้ร่วมกระทำด้วยก็หาต้องรับผิดชอบแต่ประการใดไม่
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามจำนวนวันและเป็นเงินตามบัญชีรายละเอียดท้ายฟ้อง จำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการวันเริ่มเข้าทำงาน อัตราค่าจ้าง และรายได้อื่น ๆ ของโจทก์ซึ่งบางรายการก็ตรงกับบัญชีของโจทก์อันเป็นการรับรองว่าถูกต้อง บางรายการก็ไม่ตรงหรือไม่มี เท่ากับปฏิเสธว่าไม่ถูกต้อง สำหรับรายการเงินค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยมิได้ระบุไว้ในบัญชี คงกล่าวไว้ในคำร้องที่ส่งบัญชีต่อศาลอันถือเป็นคำให้การว่านอกเหนือจากนั้นถือว่าปฏิเสธความถูกต้องทั้งสิ้น เพราะยังคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยปฏิเสธจำนวนวันและเงินค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบในข้อนี้
of 26